JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

วิธีการสังเกตุนกป่วย เขาดูกันอย่างไรครับ

2014-08-09 13:08:39 ใน สุขภาพนกและยา » 0 238883 วิธีการสังเกตุนกป่วย  เขาดูกันอย่างไรครับ

เนื่องจากธรรมชาติของนกเป็นสัตว์ที่พยายามเก็บอาการไม่แสดงอาการป่วยให้เห็นได้ง่ายๆ  จึงทำให้ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่มักจะพานกมาหาหมอหรือให้ยารักษาเมื่อมีอาการหนักแล้ว
โดยเจ้าของไม่สามารถแยกออกว่านกมีอาการป่วยอย่างไรและนกเริ่มป่วยเมื่อไหร่


ดังนั้นหากเราสามารถสังเกตุอาการเบื้องต้นได้ว่า นกมีความผิดปกติก็จะสามารถแก้ไขและให้การรักษาได้ทัน
ถ้าอย่างนั้นเรามาพิจารณาเบื้องต้นกันครับว่า จะสามารถดูได้จากอะไรบ้าง


 
1. ปริมาณอาหารที่นกกิน
เมื่อนกป่วยหรือมีอาการผิดปกติใดๆจะกินอาหารน้อยลง หรือไม่กินเลย
ถ้าเราสังเกตุปริมาณอาหารที่นกกินได้ ก็จะเป็นการเฝ้าระวังถึงความผิดปกติ เนื่องจากนกเป็นสัตว์ที่มีทางเดินอาหารสั้น
หากนกไม่กินอาหารเพียง 1 วัน ต้องรีบหาสาเหตุของการหยุดกินนั้นๆ
 
2.ความสดชื่นมีชีวิตชีวา
ไม่ว่าจะเป็นนกชนิดใดย่อมมีความสดใสมีชีวิตชีวา ตามพฤติกรรมเฉพาะของนกชนิดนั้นๆ  หากพบสิ่งต่อไปนี้อาจแสดงว่ากำลังป่วย
นกที่ป่วยจะเซื่องซึมไม่ร่าเริงกระโดดโลดเต้น หรือบินเหมือนเคย     นกเป็นสัตว์ที่รักสวยรักงามจะไซร้ขนอยู่ตลอดเวลา แต่นกป่วยจะไม่แต่งตัวไซร้ขน
ทำให้ขนยุ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนบริเวณหัวและคอ
  พฤติกรรมต่างๆที่เคยเห็นเปลี่ยนไปเช่น การเล่นน้ำ การพองขน
เรียกสั้นๆง่ายๆว่าถ้าพบอาการ ซึม หงอย ตาปิด ปีกตก ขนหยอง ต้องระวังละครับ
 
3.สิ่งขับถ่าย
นกปกติ จะมีสิ่งขับถ่ายสีเขียวจนถึงน้ำตาล  ขึ้นอยู่กับชนิดอาหารที่กิน    นกกินเมล็ดพืชส่วนใหญ่จะมีสิ่งขับถ่ายสีเขียว
ปนน้ำตาล    ถ้าสีของสิ่งขับถ่ายนกเปลี่ยนไปแสดงว่านกอาจจะป่วยได้ ทั้งนี้ปริมาณสิ่งขับถ่ายต้องสัมพันธ์กับปริมาณอาหารที่นกกินเข้าไปด้วย


 
4. สังเกตุ ตา จมูก ปาก
นกที่สุขภาพดีต้องมีแววตาที่สดใส ตาทั้งสองข้างเปิดกว้างเท่ากัน ไม่มีสิ่งสกปรกรอบดวงตา  รูจมูกสะอาดโล่งไม่มีอะไรอุดตัน หรือมีคราบใดๆ บริเวณช่องจมูก
จงอยปากสะอาดทั้งภายนอกและภายใน
(ภายในช่องปากอาจมองเห็นได้เมื่อนกอ้าปากกินอาหารในนกบางชนิด)  แต่หากพบความผิดปกติเช่น ตาปิด ซึม หัวตก  หรืออาจพบคราบน้ำมูกแห้งติดที่บริเวณรูจมูก  ตลอดจนนกบางตัวอาจจะแสดงอาการอ้าปากหายใจ   หายใจลำบาก ควรรีบนำมาพบสัตวแพทย์    นกส่วนใหญ่จะยืนหลับด้วยขาเพียงข้างเดียว ถ้าพบว่านกยืนหลับด้วยขาทั้ง2ข้าง  แสดงว่านกตัวนั้นอาจจะป่วย
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงการสังเกตุอาการคร่าวๆที่ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตุได้เองเบื้องต้น ซึ่งถ้าหากเราเฝ้าติดตามดูแลพฤติกรรมของนกอยู่เป็นประจำ จะช่วยทำให้แยกแยะอาการของนกได้ดียิ่งขึ้นว่าผิดปกติหรือไม่


 
นกที่ป่วยมักจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอาการร่วมกันดังนี้
  • นกไม่ร่าเริง
  • นกตาปิดตลอดเวลา
  • ขนฟูพองตลอดเวลา
  • ปีกตก
  • มักยืนบริเวณพื้นกรง ไม่มีแรงเกาะคอน
  • ไม่ทานอาหาร
  • ทานอาหารแล้วย่อยช้ากว่าปรกติมาก ค้างในกระเพาะอาหาร
  • มีเสียงในลมหายใจ
  • จามบ่อย
  • มีน้ำมูก หรือคราบในจมูก
  • หางกระดกขึ้นลงพร้อมการหายใจเข้าออก
  • ยืนยืดคอยาว เพื่อช่วยให้การหายใจเข้าออกง่ายขึ้น
  • อ้วก
  • ถ่ายเลอะตามก้น
  • ขนร่วงและมักจะไม่ขึ้นกลับอย่างเดิม
  • มีเลือดออก
  • น้ำหนักลด
  • บวม
  • บริโภคน้ำในปริมาณที่เปลี่ยนแปลงไป
  • นิสัยเปลี่ยน ไม่ทำกิจกรรมอย่างที่เคยทำตามปกติ
  • ถ่ายผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณหรือสี
  • ไซ้ขนมากขึ้นกว่าปกติ
  • สะบัดหัวบ่อยๆ
  • ร่างกายขาดน้ำ ผิวหนังแห้ง
  • เท้าบวม
ผู้เลี้ยงนกควรสนใจสังเกตอาการและสำรวจความผิดปกติใดๆของนกอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน
 
 
 
ดูอาการผิดปกติของนกจากสิ่งขับถ่าย
                                                                    
การสังเกตสิ่งขับถ่าย  “Dropping” ของนกมีความสำคัญมากในการวินิจฉัยโรค และเจ้าของสามารถสังเกตความผิดปกติอันซ่อนเร้นอยู่ของนกนั้นไม่ยาก
สิ่งขับถ่าย มีองค์ประกอบสำคัญสามส่วน ได้แก่

1 อุจจาระ (Feces)
2 ยูเรต (Urate)
3 ปัสาวะ (Urine)
 
พวกเราเคยสังเกตกันไหมครับว่า มันเป็นสามส่วนอย่างนั้นจริงๆ แต่ละส่วนอาจจะปนกัน หรือแยกกันจนเห็นได้ชัดเจน หากเราดูกันจริงๆ ก็จะแยกได้ วงเปียกๆ จะเป็นปัสสาวะ ก้อนสีขาวถึงสีครีมจะเป็นยูเรต ส่วนอุจจาระจะเป็นก้อนอีกสีหนึ่ง ก็คงดูกันได้ไม่ยาก
ในนกนั้นถือว่าการดูสิ่งขับถ่ายเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะบ่งบอกความผิดปกติได้ง่าย นกขนาดเล็กมักจะขับถ่ายถี่กว่า ประมาณ 25-50 ครั้งต่อวัน ขณะที่นกขนาดใหญ่จะต่ำ 8-15 ครั้งต่อวัน องค์ประกอบสามส่วนของนกแต่ละชนิดก็จะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับอาหารและน้ำที่กิน เจ้าของควรเป็นนักสังเกตที่ดี หากเกิดโรค อึมักจะเปลี่ยนไปด้วย...
 
อุจจาระ
อุจจาระที่ดี ไม่ควรพบมีเลือด หรืออาหารที่ไม่ย่อย ไม่ควรเหลวมาก (ซึ่งมักจะพบว่าเหลวเมื่อนกมีความเครียด จากการเดินทาง หรือหลังจากการให้ยาได้ และต้องแยกให้ออกจากปัสสาวะ) สีของอุจจาระจะขึ้นกับอาหาร
 
แต่หากพบว่าดำผิดปกติ อาจจะเกิดได้จากสภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (พบมากในนกแก้วอเมซอน) โลหิตจาง มีแผล เนื้องอก หรือการอักเสบในทางเดินอาหาร โรคตับ แม้กระทั่งในท่อนำไข่ หรือทวารรวม
 
หากเป็นสีเทาขาว มักเกิดจากสภาวะขาดอาหาร หรือการดูดซึมอาหารมาดี
 
ปริมาณน้ำของอุจจาระลดลง อาจเป็นเพราะว่ากินลดลง หากอุจจาระแห้งมาก มักจะเกิดจากกการขาดน้ำ หรือโรคตับได้
อุจจาระเหลวมากขึ้น อาจเป็นเพราะกินน้ำมาก แต่ในบางรายบ่งบอกถึงสภาวะการดูดซึมอาหารไม่ดี
 
พบอาหารไม่ย่อย บอกว่า การย่อยและการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ การเคลื่อนตัวของทางเดินอาหารมากกว่าปกติ (ซึ่งเกิดได้จากโรคทางเดินอาหาร โรคพยาธิภายใน) ตับอ่อนอักเสบ กระเพาะพักอักเสบ
 
ยูเรต
ปกติจะมีสีขาวถึงสีครีม หากเปลี่ยนเป็นสีเขียว เหลืองหรือน้ำตาล จะเกิดจากมีบิลิเวอริดีนมากขึ้น จากการแตกของเม็ดเลือดแดง หรือตับอักเสบจากสารพิษ ภาวะขาดอาหาร หรือโรคติดเชื้อคลาไมเดีย รวมทั้งโรคไวรัสได้ อาการยูเรตสีเขียว มักบ่งบอกถึงการเสื่อมของตับ
 
หากพบว่าไม่มียูเรตในสิ่งขับถ่ายเลย จะบอกได้ถึงโรคไต และโรคตับได้เช่นกัน
 
ปัสสาวะ
หากพบว่าปริมาณปัสสาวะมาก เกิดได้จาก การดื่มน้ำมาก โรคไต โรคตับ โรคเบาหวาน (พบได้มากในพวกคอคคาเทล) อาจจะเกิดได้จากอาการเครียด หรือการให้ยาบางชนิดและเกิดผลข้างเคียง เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (แอมพิซิลลิน อะม็อกซี่ซิลลิน และอื่นๆ) ยากลุ่มสเตียรอยด์ โปรเจสเตอโรน รวมทั้งการขาดไวตามินเอ หรือให้ไวตามินดีมากไป และอาหารที่มีเกลือมาก
 
เราพอจะทราบกันคร่าวๆ แล้วว่าเราจะสังเกตความผิดปกติของนกเราได้อย่างไร ก็อย่าลืมดูกันล่ะครับ
Copyright © 2024 www.francisloft.com All right reserved.