JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

The Best of Ad Schaerlaeckens ตอนที่ 5 ภาค 2

2013-04-11 07:46:18 ใน บทความจากหนังสือ » 0 2603 The Best of Ad Schaerlaeckens ตอนที่ 5 ภาค 2

ก็มาถึงภาคที่ 2 ของ ตอนที่ 5 ซึ่ง 8 ข้อแรกที่นายแอ๊ดพูดถึงนั้นก็ มาจากคำถามที่มักโดนถามจากนักเลี้ยงนกเป็นส่วนใหญ่ และ ก็เป็นอะไรที่เขาให้คำแนะนำส่วนตัวไปก็เยอะ  ตอนนี้ก็เลยรวมมิตรกัน 

ก่อนจะเข้าเรื่องก็อยากจะบอกว่าผมได้เขียนบทความท้ายรายการของสมาคมส่งเสริมฯครั้งใหม่นี้ก็ครบ 1 ปีเต็ม ไม่มีขาดหายสักสัปดาห์เลยครับ เริ่มจากอีสาน ใต้ เหนือ และ ก็กลับมาบรรจบครบที่อีสานอีกครั้ง  ก็เป็นความรู้เล็กๆ น้อย ๆ มาแบ่งปันกันครับ ยังมีอีกมากมายที่อยากจะทำ อ่านแล้วชอบก็มีเยอะ ก็พยายามหาเวลาเพิ่มเติมมาลงให้อ่านกันครับ ดีใจครับที่มีส่วนในการสร้างสรรสังคมนกที่ดีๆร่วมกันครับ

ในโลกของวงการนกพิราบนั้นมีบทความดีๆมากมายให้เราเข้าไปศึกษาหาความรู้กันไม่ว่าจะในอินเตอร์เนท จากหนังสือนกต่างประเทศซึ่งมีออกมาหลายภาษา บ้างก็เป็นรายสัปดาห์อย่างของเยอรมัน อย่าง Die Brieftauben  และ จำนวนมากก็เป็นรายเดือน เช่น Pictorial, Taubenmarkt, Reiseduif อีกหลายฉบับก็เป็นรายปีอย่าง Squills บ้างก็ออกเป็นเฉพาะกิจของแต่ละเรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนเลี้ยงนก โรคของนกพิราบก็เยอะ  และ  บ้างก็ออกเป็นประจำตามงานสำคัญต่างๆ เช่น De Duif ฉบับโอลิมเปียด ของ  Jan Hermans ผมเองก็เป็นแฟนประจำมาสิบกว่าปีได้  ได้รู้จักนกดีๆ กรงเด่นๆ ดาวรุ่งใหม่ๆ ก็เยอะ  ผมเองก็ซื้อหนังสือ  DVD หรือ อ่านในเนทเป็นประจำ  ที่เขียนมานี้ก็เพียงแนะนำ ถ้าใครสนใจก็หาอ่านกัน มีความรู้ ข้อแนะนำ แง่คิดดีๆ มากเหมือนกัน  



ส่วนการนำมาเขียนในบทความท้ายรายการของสมาคมส่งเสริมฯ หรือ ในเว็บของผมเองนั้น  มันก็ไม่ง่ายนะ เพราะอ่านแล้วบางเรื่องก็ไม่น่าสนใจเพราะไม่เกี่ยวกับบ้านเรานักก็อ่านแล้วก็ผ่านไป บางเรื่องที่น่าสนก็อ่านและตีความว่าเขาหมายถึงอะไร สื่ออะไรให้เราเหรอ แล้วที่ยากยิ่งขึ้นก็คือมาสรุปเป็นคำพูด มาแปลกันให้เป็นภาษาไทย สื่อเป็นภาษานกแบบเราๆได้เข้าใจกัน  ซึ่งถ้าจะเอาบทความที่ฝรั่งเขาเขียน มาพิมพ์ หรือที่คนอื่นเคยเขียนมาปะติดในเว็บมันก็ง่ายมากๆ ไม่กี่วินาทีก็ได้แล้ว  ผมเองตั้งใจว่าเว็บของผมก็จะเป็นเรื่องราวที่ผมเขียน ผมแปล มันอยู่ที่ว่าถ้าเป็นบทความที่เคยเขียนแล้วใช้นามปากกาอื่น ชื่ออื่น ก็ขอให้เข้าใจกันว่าเรื่องที่นำมาลงในเว็บผมทั้งหมดนั้น ผมเขียน ผมแปลครับ ( ชื่ออะไรก็แล้วแต่) 

แต่สำหรับการที่ผมแปลนั้นก็เพื่อให้ผมเข้าใจเอง เหมือนอย่างที่ผมเขียนเรียนให้ท่านได้ทราบกันโดยทั่วไปไว้หลายครั้ง  ผมเองก็นำมาเก็บไว้ในเว็บซึ่งผมเองก็เปรียบให้เข้าใจกันอยู่เสมอว่ามันเสมือนห้องสมุดส่วนตัวของผม ซึ่งก็เผยแพร่สำหรับท่านใดที่สนใจก็เข้ามาอ่านกัน ผมเองก็เหมือนกับนายแอ๊ดก็คือ บทความทั้งหมดนี้มันไม่เหมาะสำหรับคนที่คิดว่าตนเองเป็นแชมป์ และ คงมีประโยชน์น้อยสำหรับคนทีคิดว่าตนเองเป็นเซียนกันไปแล้วครับ  อย่างบทความของนายแอ๊ดเองผมก็แปลมาลงเน็ตให้อ่านกันก็สัก 4- 5 ปีได้แล้ว ซึ่งท่านที่ติดตามในเน็ทก็จำกันได้ดี ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดจะทำเว็บของตนเอง พอมีเว็บก็นำมารวบรวมกัน หลายๆเรื่องก็โดนไวรัสคอมฯกินหายไปก็จำนวนมากพอควร ก็เก็บมาลงเท่าที่มีส่วนที่เหลือเอาไว้เขียนใหม่ครับ 

ก็มาเข้าเรื่องกันต่อ

9) ข้อนี้นายแอ๊ดแนะนำว่าถ้าเราอยากได้นกกรงไหนก็ไปหาเขาเลยครับ  ไม่ต้องไปซื้อผ่านคนอื่น  และที่เมืองนอกเองก็มีเว็บไซต์ที่โปรโมทขายนก ของกรงตนเอง หรือจัดประมูลนกกันมากมายที่ดีๆก็ของ PIPA ตามที่นายแอ๊ดว่านะ  อะไรในโลกมันนี้แน่นอนมีคุณภาพที่แตกต่างกันออกไป บางที่ก็อาจจะไม่ดีพอ ก็พิจารณากันเองนะครับ


10) เมื่อเราอ่าน เราศึกษา เกี่ยวกับผลการแข่งขัน เราควรที่จะศึกษาเรื่องสัดส่วน เปอร์เซนต์ด้วย (ทั้งส่วนที่เป็นจำนวนที่ติดของแต่ละกรงคิดเป็นเปอร์เซนต์กับนกที่ส่งแข่ง  และ  ก็ควรดูที่เปอร์เซนต์การติดของกรงกับอันดับของสมาคมด้วย  มันเป็นการบอกถึงคุณภาพของนก ของกรงนั้นๆนะ)



11) อย่าไปหลงเชื่อว่ามีคนที่เก่งมากๆสามารถมองปุ๊บรู้ได้เลยว่าตัวนี้ดีไม่ดี หรือ ยิ่งไปกว่านั้นสามารถมองไปที่ฝูงลูกนกและสามารถบอกว่านกตัวไหนดี ไม่ดี เก่ง ไม่เก่ง  เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วละก็ เราไม่ต้องแข่งนกกับเขาเหล่านี้หรอก เขาแค่มองก็รู้แล้วไง และ ซึ่งถ้าเขาเก่งอย่างที่ว่าทำไมต้องเพาะนกจำนวนหลายๆ ตัวละ   จริงอยู่ที่บางคนมีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญมากกว่า เห็นอะไรได้ง่ายกว่าซึ่งพอที่จะวิเคราะห์กันได้ แต่รับรองได้ว่าฟันธงไม่ได้100%ทั้งหมดแน่ 



ก็อย่างที่คนเกือบทั้งโลกใช้เกณฑ์และหลักการของคำว่า “ตระกร้านก” เป็นตัววัดผลดีที่สุดครับ  คนเก่งที่นายแอ๊ดว่าเลี้ยงนกเก่งตอนนี้ก็เอ่ยถึง Leo Heremaans (ก็คู่หูเซียน Heremaans – Ceusters ไงครับ), Fernand Marien, Jack Overkerk คนนี้นกสายแจนเซ่น Klak ที่ดีมากๆเป็นตนสายของเซียนหลายๆคนเช่น Verkerk, Verbree etc.


12) อย่าสับสนเรื่องขนาดกับความแข็งแกร่งของนก อย่าสับสนเรื่องน้ำหนักกับกล้ามเนื้อ  นายแอ๊ดบอกว่าเขาสัมผัสจับนกเก่งๆมามาก และ อยากจะบอกว่ามันมีทุกขนาด ทุกรูปแบบ ทุกระยะ และ แม้กระทั่งทวนลมในระยะทางไกลกว่า 1000 กม.ก็ตาม


13) อย่าเข้าคู่นกทางไกลที่บินแบบข้ามวันกับนกเร็วเพียงเพื่อหวังว่ามันจะบินได้เร็วขึ้น ผลมันจะแย่กว่าเดิมนะ (ที่เมืองนอกเขาแยกนกทางไกลออกเป็นสองประเภทคือบินแบบวันเดียวจบ กับ ประเภทบินข้ามวันก็พวกไกลมากๆก็ประมาณ 900 กว่ากม.ขึ้นไป)

14) อย่าซื้อนกแก่จากกรงที่เราไม่รู้จักดีนะ  น้อยคนนักที่จะให้นกแก่ที่ดี ที่พิสูจน์ผลงานดีแล้ว ของแบบนี้บางอย่างก็ต้องใช้เงินมากนะ เพื่อซื้อความเสียดายและซื้อเวลากับการที่เขาคลำนก คัดนกจำนวนมากมายกว่าจะเจอเพชร เขาแนะนำว่าถ้าจะซื้อนกให้ซื้อแบบ Clearance Sale คือประเภทขายหมดกรง เลิกเลี้ยง แล้วไปคลำหานกกันซึ่งก็คือเปิดบ้านให้เลือกกันส่วนราคาก็แล้วแต่นะ  ไม่ต้องไปสนใจว่าเกิดจากนกแข่ง นกพันธุ์  นายแอ๊ดยังเปรียบถึงนกตัวเก่งตัวหนึ่งสีมั่งฮวยชื่อ Gritze มันชนะที่ 1 National Ace Pigeon KBDB 2006 ของ Cruke นกตัวนี้ซื้อมาจากการ van Lancker ในราคา 25 Euro นกตัวนี้เกิดจากนกแข่ง yearling นกขวบหนึ่ง

15) เมื่อนกพิราบบินไม่ดี ไม่มีฟอร์ม อย่างคิดว่าให้วิตามินแล้วจะช่วยให้มันดีขึ้นนะ นายแอ๊ดบอกว่าเขาไม่เคยเห็นนกตัวไหนที่ไม่มีฟอร์มแล้วให้วิตามินแล้วดีขึ้นเลย  เราจะเห็นได้ง่ายๆว่านกนะจะมีฟอร์ม ฟอร์มดีขึ้น หรือ หรือไม่ก็ฟอร์มเปลี่ยนไป หมดไปก็ตอนที่อากาศเปลี่ยน  แต่ถ้าคุณเชื่อในการให้วิตามินก็อย่าตั้งไว้นานเกินไปนะ วิตามินจำนวนมากมันเสียได้เร็วนะ และ เช่นเดียวกันถ้าคุณให้ชากับนกก็อย่าตั้งนาน เพราะชาถ้าตั้งไว้นานๆมันเสียและเป็นพิษได้


16) เมื่อนกไม่อยากกินอาหารมากดั่งที่เคยเป็นเพราะติดโรค Coli  ก็อย่าไปบังคับให้มันกิน ตรงกันข้ามอดอาหารมันสักหลายวัน แต่ต้องมีน้ำนะ นกที่ถ่ายเป็นน้ำก็เหมือนกัน  น้ำอย่าให้ขาดนะครับ

17) นอกจากอาหารนกปรกติแล้ว  อาหารที่สำคัญสำหรับมากที่สุดอีกอย่างคือพวกหินกริต การให้ที่ดีที่สุดคือเปลี่ยนบ่อยๆ  ถ้าตั้งไว้นานๆไม่เปลี่ยนสังเกตุว่านกมันก็ไม่ค่อยกินกันนะเพราะพวกฝุ่นมันไปเกาะ แต่ถ้าเปลี่ยนบ่อยๆ สังเกตุดูมันชอบรุมกัน แย่งกันกิน ลองเอาพวกหินกริตเก่าๆไปตากแดดตากฝนให้แห้งแล้วเอากลับมาให้มันกินใหม่ซิ  ซัดไม่เลี้ยง..



18) อย่าส่งนกลงตระกร้าไปแข่งขณะที่มันมีน้ำเต็มกระเพาะ  นกน่าจะมีปัญหา ลองจับเปรียบเทียบกับตัวอื่นดู อย่าให้กริตในวันจับนกไปแข่ง มันจะหนักอยู่ในกระเพาะอยู่นานพอควร และ อย่าให้อาหารนกก่อนจับลงตระกร้าแบบกระชั้นชิด(คือกินเสร็จไม่ทันไรจับลงตระกร้าเลย) 

อาหารนะมันต้องมีขบวนการย่อยอาหารซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดที่มันต้องใช้คือ “น้ำ” ครับ ซึ่งถ้านกไม่ได้กินน้ำมากพอควรละก็ นกคุณเป็นรองนะ


 
ก็จบตอน 2 เท่านี้ก่อนครับ สุขสันต์วันสงกรานต์ทุกท่านครับ มีความสุขกันถ้วนหน้านะครับ
Copyright © 2024 www.francisloft.com All right reserved.