JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

The Best of Ad Schaerlaekens Vol.2 ตอนที่ 5 ภาค 3 เกล็ดเล็ก เกล็ดน้อย

2013-04-17 18:35:20 ใน บทความจากหนังสือ » 0 2535 สรรสาระ

The Best of Ad Schaerlaekens Vol.2 ตอนที่ 5 ภาค 3

สวัสดีครับ คิดว่าหลายๆท่านคงได้มีเวลาพักผ่อนกันยาวๆช่วงสงกรานต์ เติมแบ๊ตให้ร่างกายกันเต็มเพื่อประกอบภาระหน้าที่การงานกัน  บางท่านท่องเที่ยว บางท่านได้มีโอกาสกลับบ้านเยี่ยมพ่อแม่ญาติพี่น้องก็เป็นเรื่องที่ดีมากๆ

เว็บไซต์เราวันนี้มีผู้ให้เกียรติเข้าเยี่ยมชมกันประมาณ123,000 ครั้ง เร็วมากครับ  ถ้าจำกันได้ วันที่ 12 ก.พ.56 นี้เรารายงานกันว่ามีผู้ชม 70,000 ครั้งในเวลา 5 เดือน   ตอนนี้ 2 เดือนต่อมายิ่งเร็วมากๆคือ 123,000 ครั้ง ก็ค่าเฉลี่ยต่อวันจาก 700 ครั้งต่อวัน ขึ้นเป็น 950 ครั้งต่อวันโดยประมาณ 



ขอบคุณมากครับกับการให้เกียรติ เป็นกำลังใจ และ สนับสนุนกัน เร็วๆนี้ก็ได้ปรับเปลี่ยนหน้าเว็บกันให้เหมาะสม สะดวกกันมากขึ้น คิดว่าน่าจะพอใจกันนะครับ
กลับเข้าเรื่องกัน 18 ข้อผ่านไป ก็คิดว่าบางท่านคงได้แง่คิดดีๆติดตัวกัน
มาต่อกันที่ข้อ

19) อย่าย้ายนกไกล มาแข่งระยะกลาง ผลที่ให้มันประสบความสำเร็จน้อยกว่านะ (นกไกลก็คือนกไกล ข้อนี้หมายถึงหวังผลชัยชนะ นกไกลก็คือนกไกล มันเก่งทางไกลซึ่งสปีด และ การบินมันจะต่างกัน)

20)  ที่เมืองนอกนั้นเขามักจะทำความสะอาดใหญ่ก็ประมาณปีละหนที่กรงเขาในแบบที่เรียกกันว่า Heat ก็คือใช้ไฟเป่าก็ฆ่าเชื้อ และ พวกเศษขนนกที่ติดตามตาข่าย ตามซอกมุม เรื่องนี้ที่บ้านเราก็มีการใช้กันบ้าง เวลาใช้ก็ระวังไฟไหม้กันนะครับ สำหรับข้อนี้ที่จะเน้นอีกเรื่องก็คือเวลาใช้นั้นกรงต้องมีการระบายอากาศที่ดีเพราะสิ่งที่เป็นปัญหากับนกก็คือความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากการเผานั่นเอง

นกนะไม่ชอบอากาศที่มันร้อนแห้ง มันจะเป็นปัญหากับระบบทางเดินหายใจ มันทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ที่ป้องกันการติดเชื้อของนกเช่นกัน  นายแอ๊ดยังเล่าว่าสมัยที่เป็นครูอยู่เวลาเจ้าหน้าที่มาตรวจระบบความปลอดภัย พวกเขามักจะเข้าไปตรวจระดับน้ำของเครื่องทำความร้อนกลาง Central Heating system ว่าอยู่ในระดับที่ตั้งไว้หรือไม่ ก็เป็นเรื่องของออกซิเจนที่ต้องเพียงพอในอากาศ และกันเรื่องความแห้งในอากาศครับ ตอนผมอยู่จำได้ว่าบางทีเราก็ควรวางแก้วน้ำที่มีน้ำด้านบนเหนือHeather  

21) อย่าส่งนกแข่งที่มีขี้เปื้อนขาหรือห่วงขาเลอะเทอะมันเป็นสัญญานบอกถึงนกที่ไม่มีฟอร์ม  ทีเมืองนอกช่วงหน้าหนาวเขามักจะเก็บนกไว้ ไม่ปล่อยบินเพราะอันตรายจากเหยี่ยว ช่วงนี้อาหารตามธรรมชาติน้อยดังนั้นมันมักจะคอยตามต้นไม้ใกล้กรงนก  ผมเคยเห็นกรงที่ผมรู้จักที่เยอรมันสูญเสียนกไปสองตัว เลือดสาดเต็มพื้น เต็มสนาม นกตื่นตกใจกระเจิงไปเลยครับ 

นกที่เก็บไว้นานเขาแนะนำว่าอย่ารีบน้ำไปซ้อม ตอนฤดูใบไม้ผลิอากาศเริ่มดี ใกล้เริ่มแข่งขัน เขาแนะนำให้ปล่อยนกบินรอบบ้านให้ชินอย่าน้อยก็เป็นเดือนเพื่อให้นกแข็งแกร่งพอก่อนที่จะนำไปออกซ้อม  บ้านเราแม้จะไม่ใช่ปัญหาแต่ก็ควรสังเกตุว่านกนั้นพร้อมและแกร่งพอที่จะออกซ้อมหรือไม่เช่นกัน  เพราะความสูญเสียนั้นเป็นสิ่งที่เราต่างก็ไม่ต้องการ ไม่อยากประสบกันทั้งนั้น

22)  อย่าเข้าคู่นกที่นำเข้ามาใหม่ด้วยกัน ควรที่จะเข้ากับนกที่กรงของตนเองเพื่อดูผลว่าดีหรือไม่  แน่นอนเรารู้นกของเราดีอยู่แล้วว่ามันเป็นไง หวังผลระยะไหนได้ นกที่เข้ามาใหม่มันเติมเต็มได้ดีขึ้น หรือ ไม่มีผลอะไรที่ดีขึ้นมาแล้ว  ดีกว่าใหม่กับใหม่ชนกันนะ



23) ข้อนี้นายแอ๊ดแนะคนที่เลี้ยงนกระบบหม้ายและโดยเฉพาะตอนที่นกมันบินออกกำลังกายนานแล้วจะบ่งบอกถึงว่าพวกมันฟอร์มดีนะ มันไม่ใช่เลยอย่าโดนนกหลอกละ  แต่เขาให้เราสังเกตุกริยาท่าทางการบินของมัน (ผมว่าไม่เฉพาะนกหม้ายที่เมืองนอกนิยมนะ



ผมว่านกทั่วไปที่แข่งแบบบ้านเราก็เช่นกันเพราะเราใช้หลักการสังเกตุการบินของมันเป็นเกณฑ์ของมันมากกว่า กระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉง หรือ บินแบบเนือยๆ  ชอบบินเที่ยวไปไกลๆ หรือ บินวนรอบบ้าน   สับปีกบินเต็มที่หรือ ค่อยๆขยับแบบเอื่อยๆ  นกนะสมบูรณ์ฟิตผมสังเกตุมันบินเที่ยวเก่ง โฉบมากรงแป๊บก็ไปไปเที่ยวต่อ บินก็ดูมีชีวิตชีวา สับปีกเต็มที่ )

24) ถ้านกคุณหายจำนวนมากกว่าคนอื่นในวันแข่งเดียวกัน ขอให้ตรวจสุขภาพนกของคุณดีๆ มันต้องมีปัญหาแน่  และ ถ้าตอนซ้อมนกก็เช่นกันถ้านกคุณยังกลับกรงได้ไม่เร็วดีพอ ก็อย่าเพิ่งขยับจุดซ้อม ให้อยู่ที่เดิมจนกว่านกคุณจะกลับตามเวลาที่มันควรเป็น

25) อย่าคิดว่าอากาศดีสำหรับคนนั้นจะเป็นอากาศที่ดีสำหรับนกพิราบแข่ง ท้องฟ้าใสๆ ติดลมตะวันออกมักเป็นอันตรายต่อลูกนกเวลาซ้อม โดยเฉพาะนกที่ออกซ้อมใหม่ๆ มันสับปีกเต็มที่ มั่นใจในตัวเองสูง ไม่ระวัง ประสบการณ์น้อย บวกบินตามลมอีกต่างหากก็ยิ่งไปกันใหญ่  ไม่ต้องซ้อมนกยังไปได้เลย 

ผมจำได้ประมาณ 25 ปีก่อน ผมและพี่มดเคยปล่อยนกอยู่ที่บ้านบินเล่นตอนเช้าวันอาทิตย์  ไปทั้งฝูงกว่า 2 ชั่วโมงมีนกเก่ากลับมาตัวเดียว และ นกเก่าก็มีแค่ 2 ตัว   ครึ่งวันผ่านไปนกอีก 75% ยังไม่กลับกรง  ข้ามวันหายไปประมาณ 50%  วันนั้นพูดอะไรไม่ถูกเลยครับ  



จำได้เมื่อปีพี่ผ่านมาน้องตู่ เทรนเนอร์กรงคุณชูพลที่ปากน้ำก็โดนแบบเดียวกัน ปล่อยบ่าย นกครึ่งกรงข้ามวันเห็นจะได้ เล่นเอาทีมงานเซ็งกันทั้งวันเลยครับ  ดังนั้นนายแอ๊ดแนะว่าเก็บกลับบ้านถ้าอากาศไม่ดี ไม่เสี่ยง นกอยู่บ้านดีกว่านกปลอดภัยไม่หาย เขายังว่าปล่อยนกวันฟ้าใสๆเสี่ยงมากกว่าปล่อยวันที่ฟ้ามัวๆ ติดฝนหน่อยๆ ซะอีก  ถ้านกที่หายกลับมาก็ไม่ควรรีบปล่อยนะ ให้วันแข็งแรงดี และ อย่าปล่อยวันฟ้าใสนะ แนะว่าปล่อยตอนบ่ายแก่ๆใกล้มืด หรือ ถ้าเป็นไปได้ก็ตอนท้องฟ้าไม่ค่อยดี

26) ถ้าปรกติคุณชอบปล่อยนกตอนบ่ายแล้ววันหนึ่งคุณไม่ว่าง และ คิดว่าจะปล่อยนกตอนเช้าในวันนั้นทดแทน อย่ารีบปล่อยนะ นายแอ๊ดว่านกมันมีโอกาสหายได้นะ ซึ่งเขาว่า Klak เองก็เคยโดน และ บางท่านก็โดนเช่นกัน การเริ่มปล่อยเช้าควรระวังเพราะอากาศดี สดใส ก็กล้าขยับปีกเที่ยวแล้วเหนื่อยช้า ก็ยิ่งไปไกล จนหมดแรงก่อนกลับบ้านได้

27) ถ้าวันหนึ่งคุณมีนกหายไปมากในวันที่แข่งหรือซ้อม  นกมันมีโอกาสกลับได้นะในวันที่ลมเปลี่ยน เขาแนะให้เปิดแทรปไว้

28)  เขาแนะว่าให้หาสัตว์แพทย์ที่เขาเลี้ยงนกพิราบแข่งด้วยจะดีกว่าคนที่ไม่ได้เลี้ยง คิดง่ายๆ จับนกก็ไม่เป็น ไม่รู้จักนกดีพอ ไม่รู้จักการแข่งขัน และ โรคที่นกมักเป็น  เมืองไทยก็ยังไม่มีหมอนกแบบนี้นะ น่าเสียดาย

29) ข้อนี้ก็เป็นเรื่องที่เมืองนอกแต่คิดดีๆก็เกี่ยวกับบ้านเราได้นะ เขาบอกว่าตอนหน้าหนาวปรกติที่ยุโรปก็มักจะไม่เข้าคู่นกกัน แต่ถ้าใครเข้าคู่  ผมบอกได้ว่าหนาวมากๆ ผมอยู่หลายปีซึ้งในรสชาติของความหนาวสุดๆนี้ดี และ นายแอ๊ดแนะว่าอย่าเปิดไฟนานเกินปรกติ ปล่อยให้เป็นธรรมชาติดีกว่าจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการผลัดขน

เขาสนับสนุนการใช้ระบบDarking system สำหรับลูกนก และ ถ้าใครว่าให้เปิดไฟนานๆนั้นเขาว่าไม่ดีและมีผลกับระบบการผลัดขนได้  ข้อนี้อย่าลืมนะว่าที่เมืองนอกอากาศตอนหน้าหนาวนั้นสว่างช้าและมืดเร็วมากๆ บ่าย 3 ก็จะมืดแล้ว ดังนั้นหลายคนกลับจากการทำงานก็เปิดไฟเลี้ยงนก  ที่เมืองนอกเขามีระบบDarking system เพื่อควบคุมระบบการถ่ายขนของนกอ่อน Young bird   คิดเอาว่าถ้าแข่งนกขณะที่ถ่ายขนกับไม่ถ่ายขนอันไหนดีกว่ากัน

 
Copyright © 2024 www.francisloft.com All right reserved.