JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

OLYMPIADE 36TH งานโอลิมเปียดนกพิราบครั้งที่ 36 ปี 2019

2018-07-26 10:19:46 ใน สรรสาระ » 0 1793 OLYMPIADE 36TH
งานโอลิมเปียดนกพิราบครั้งที่ 36 ปี 2019




งานสำหรับนกพิราบที่ถือป็นทางการ และ ใหญ่ที่สุดก็คือ Racing Pigeon Olympiade งานที่คนเลี้ยงนกทั่วไปเรียกกันจนติดปากกันว่า Olympiade  ก็มีจัดกันทุกๆ 2 ปี  
ผมเองก็ได้เคยเขียนเอาไว้มากพอควรถึงเรื่องราวของ Olympiade และ ใครได้เคยจัดปีไหนกันบ้าง  ก็ลองหาอ่านย้อนหลังกันนะครับ 

การจัดงานนั้น ใครอยากเป็นเจ้าภาพก็มีการเสนอตัวในการขอจัดล่วงหน้าก็อย่างน้อย 2 สมัย คือ 4 ปี (ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมานะครับ)
จากนั้นคณะกรรมการก็จะมีการออกเสียงเลือกกันไปในช่วงวัน Olympiade นี่ละครับ  ว่าใครจะได้จัดในปีไหนก็มีเวลาเตรียมตัวกันมากพอควร  

การจัดงาน Olympiade แถบจะทั้งหมด จะจัดอยู่ในยุโรป ก็มีอยู่ สองครั้งเท่านั้นที่จัดนอกยุโรป ก็มีในเอเชียตามประวัติศาสตร์ก็มีเพียงครั้งเดียวที่ทวีปเราเคยได้จัดก็ที่ประเทศญี่ปุ่นครับ ในปี 1981 และ ปี 2001 ที่ Cape Town ประเทศ South Africa  ประเทศที่จัดการแข่งแบบ One Loft Race ที่ดังที่สุดของโลกที่เรียกกันว่า One Million Dollar Race.



Olympiade ของนกพิราบเราจัดครั้งต่อไปจะเป็นครั้งที่ 36  ก็จะจัดกันที่ประเทศโปแลนด์ที่เมือง POZNAN วันที่ 25-27 มกราคม 2019  
ใครที่ไม่เคยไปก็นึกถึงงาน Trade Fair ที่จัดกันที่เมืองทองอารีน่า  งานก็มีร้านค้าขายนก ขายยา กรงนก รถปล่อยนก นาฬิกา และ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับนกพิราบมากมาย 
ก็จะมีการคัดสรรนกเก่งประจำปีที่จัดว่าใครจะเป็นแชมป์โอลิมเปียด และ อันดับรองลงไป  นกเก่งOlympiade เก่งจริงๆนะครับ เพราะ
นกที่ถูกคัดสรรมาจะต้องเก่งที่สุดของประเทศนั้นๆ 2 ปีติดต่อกัน  ช่วงหลังประเทศที่ชนะนั้นส่วนใหญ่นั้นก็เป็นประเทศที่อยู่ในยุโรปตะวันออกเป็นส่วนใหญ่   
คนไปส่วนใหญ่ก็เที่ยวดูนก ซื้อของ กลุ่มหนึ่ง  อีกกลุ่มก็มาเพื่อขายนก ขายสินค้า






ความสามารถของนกพิราบในการบินกลับมาบ้านของมันเองนั้นมีบันทึกย้อนหลังกันก็สมับอียิปต์ ก็ประมาณ 5000 ปีมาแล้วนะครับ 
มีภาพวาด รูปปั้น งานเขียน ถึงนกพิราบได้ปล่อยสดุดีเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ของ ฟาโรห์ ซึ่งช่วงนั้นละครับ มนุษย์เราก็ได้ใช้นกพิราบในการสื่อสารเช่นกัน
ซึ่งต่อมาการพัฒนาการเพาะนกเพื่อใช้ในการสื่อสารนั้นขยายวงกว้างขึ้นซึ่งจุดเริ่มก็จากกลุ่มประเทศอาหรับก่อน


ต่อมาก็ที่กรีซ โรม ซึ่งยุคนั้นก็ได้เพิ่มทักษะใช้นกพิราบสื่อสารในการศึกสงคราม 

จนกระทั่งในศตวรรษที่18 ก็พัฒนาเริ่มใช้นกพิราบเพื่อการแข่งขัน   ประเทศที่กล่าวกันว่าเป็นจุดกำเนิดของนกพิราบแข่งคือ ประเทศเบลเยี่ยม การแข่งนกพิราบนั้น
เริ่มเป็นที่นิยมกันมากเชื่อไหมว่าในปี ค.ศ.1936 มีคนเลี้ยงนกที่ลงเบียนเป็นสมาชิกมากถึง 400,000 คน ซึ่งถ้าเรานับเอาสมาชิกในครอบครัว เพื่อนๆ รวมกัน ว่ากันว่า ยุคนั้นมีคนที่ยุ่งเกี่ยวกับนกพิราบแข่งมากถึง 1 ใน 3 ของประเทศครับ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 นกพิราบถูกใช้ในการสื่อสารทางทหารมาก ซึ่งพอหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สิ้นสุดลง
เชื่อไหมว่าทางกองทัพในยุโรปเองนี่แหละเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้คนเลี้ยงนกพิราบแข่งกันมากขึ้น 






ช่วงนั้นประเทศทางยุโรปตะวันตกก็จะเกิดคลับ สมาคม กันมากมาย
นอกจากเบลเยี่ยม ซึ่งต่อมาก็เกิดการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศของนกพิราบแข่งกันขึ้น ในปี1938 ที่กรุงบรัซเซลของเบลเยี่ยมก็เป็นจุดเริ่มต้นขององค์การดังกล่าวนี้
มีการประชุม หารือ ตั้งกฎเกณฑ์กันไป การแข่งขันซึ่งใช้ผลของการบินแข่งขันเป็นหลัก และ ถูกตั้งชื่อกันเป็นทางการว่า

The Racing Pigeon Olympiad

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1939 ก็ได้มีการจัดงาน Olympiade ขึ้นมาครั้งหนึ่ง และ การประชุม ร่วมมือกันก็ยังคงมีจนถึงปี 1948  การประชุมที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ก็ได้มีการจัดตั้งองค์กร Federation Colombophile International อย่างเป็นทางการ หรือ ที่เราเรียกันแบบย่อๆว่า FCI  และ มติของที่ประชุมที่สำคัญคือ
ให้มีการจัดงานโอลิมเปียดทุกๆ 2 ปี โดยให้เริ่มครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศส เมือง lille ปี 1949 เป็นต้นไป  



การก่อตั้ง FCI ในครั้งนั้น ก็มีตัวเลขเป็นสถิติบันทึกไว้ดังนี้
- ห่วง ที่ขายไปเพื่อแข่งนานาชาติ ตั้งแต่ก่อตั้งถึงตอนนี้ มากถึง 5,000,000 ห่วงแล้ว
- สมาชิกที่แข่งนกมีมากถึง 4,350,000 ราย
- สมาคมที่เป็นสมาชิกมี 65 องค์กร
- การแข่งขัน ภายใต้ชื่อของ FCI มีมากถึงปีละ 7800 การาแข่งขัน


ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นกพิราบก็ถูกใช้ในการสื่อสารสำหรับทางกองทัพทหารกันมาก ช่วยชีวิตทหารและพลเรือนได้มาก มีตัวดังๆหลายตัว เช่น G.I.JOE, CHER ARMI ก็มีการให้รางวัล ให้เกียรติกับนกพิราบด้วยเหรียญกล้าหาญเกียรติยศ Dikken Medal กันดัวย 

อย่างในภาพก็ Cher Ami ผู้มีบุญคุณในสงคราม กลับมาบ้านด้วยสภาพสาหัส ขาขาด บาดเจ็บ แต่ก็ทำหน้าที่สำเร็จในการส่งสารที่สำคัญ ภายหลังตายไปก็สต๊าฟศพไว้ที่เป็นอาลัยในวีรกรรมของมัน




สำหรับเจ้าภาพโปแลนด์ ช่วงแรกประเทศโปแลนด์ยังไม่ได้ร่วมเพราะผลพวงจากสงคราม และ การข้ามผ่านด่านพรมแดนระหว่างประเทศเป็นปัญหา  ตัวแทนของโปแลนด์ได้เข้าร่วมประชุม FCI ครั้งแรกก็ปี 1957 งาน Olympiade ครั้งที่ 5 ที่เมือง Amsterdam

จะว่าไปงานOlympiade  ที่จะจัดที่โปแลนด์ ปี 2019 ที่จะถึงนี้ก็เป็นครั้งที่ 3 แล้วนะครับ สองครั้งแรกจัดกันเมื่อปี 1969 และ 1989 ที่เมือง Katowice ที่ Spodek Arena ถ้าใครเป็นแฟนตามข่าวงานOlympiadeกันจะจำได้ว่า ผมเคยเล่าให้ฟังถึงงานนี้มีปัญหา หิมะตกหนัก อาคารที่จัดหลังคาถล่ม คนตกน้ำกันเป็นแถว  และ มีผู้เสียชีวิตมากถึง 65 คน

ภาพอาคารที่จัดงาน หลังคาถล่มจากหิมะที่ตกหนัก


แท่นหินที่สร้างเพื่อไว้อาลัยกับเหยื่อผู้เสียชีวิตที่ Katowice



 
ปัจจุบันศูนย์กลางโลกของนกพิราบแข่งก็ยังคงอยู่ที่ยุโรป โดยมีเซ็นเตอร์อยู่ที่เบลเยี่ยม และ ที่กรุงบรัซเซลล์ก็เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของ FCI   
เบลเยี่ยมก็ยังเป็นที่ที่มีนักเลี้ยงนกอยู่มาก งานใหญ่ก็มักจะมีจัดกันที่นี่ การแข่งขันแบบพิเศษเช่น One loft Race หรือ พวก Auction อย่าง PIPA ก็อยู่ที่นี่เช่นกัน 
ไม่เพียงเฉพาะในเบลเยี่ยมเท่านั้นที่เลี้ยงนกพิราบแข่งได้ดี  ในยุโรป ประเทศอย่าง เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน อังกฤษ เองก็มีการแข่งนกกันมานาน และ
เป็นทีนิยมอยู่ถึงปัจจุบัน

สำหรับตัวผมเอง ผมชอบงานที่เยอรมัน อย่างที่ Kassel ก็เป็นงาน International Pigeon Trade Fair ที่ใหญ่มากๆ จัดกันประจำก็เดือน ตุลาคม
คนยุโรปก็แข่งนกกันเสร็จเรียบร้อย ต่างก็มาจับจ่ายใช้สอย หาซื้อของ ปรับปรุงกรงนก หาช่องเข้าคู่ใหม่ ขยายกรงนก หานกเพื่ิอเตรียมทำผสมใน
ฤดูต่อไป คนมากันเยอะมากๆ ผมขับรถไปจำได้ว่าสัก 3-4 ชั่วโมงได้จาก Leverkusen เมื่องที่ผมอยู่



อีกงานที่ผมเองก็ชอบไปคืองานประจำปีของเยอรมันที่เรียกว่า DBA บ่อยๆ งานนี้ก็จะเป็นงานประจำปีจัดกันเดือนมกราคม หนาวมากๆ
หลักๆ ก็หาแชมป์นกเก่งประจำปี ของประเทศเยอรมัน จัดโดยสมาพันธ์ผู้เลี้ยงนกพิราบแข่งประเทศเยอรมัน
สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Essen

สมัยก่อนการแข่งนกที่เยอรมัน ผู้คนที่เลี้ยงนกพิราบแข่งจะอยู่แถว Ruhrgebiet คือแถวเมือง Essen, Dortmund, Bochum
การจัดงานประจำปีเมื่อก่อนก็จะสลับกันปีเว้นปีที่เมือง Essen และ Dortmund ก็เมืองแถบจะติดกันละครับ  ช่วงหลังก็จะจัดที่เมือง
Dortmund เพราะค่าเช่าที่จัดที่เมือง Essen ขึ้นราคาแพงมาก  สำหรับผมสบายครับ เพราะ บ้านพี่สาวผมอยู่ที่เมือง Essen ก็สบายไป


ผมชอบไปเดินดูของ มีความสุขที่ได้เห็นวิวัฒนาการ  เห็นแล้วชอบใจมากๆไม่ว่าจะกรงนก ช่องเข้าคู่ ล่อคู่ 
จำได้ว่าเมื่อสมัยก่อนเมื่อ 20 ปี ชอบใจมากๆก็เห็นวิวัฒนาการที่เขาทำสายพานใต้กล่องล่อคู่นก ขี้นกก็ตกไปที่สายพาน
คนเลี้ยงก็กดปุ่ม สายพานก็หมุนไปปลายทางมีใบมีดรออยู่สำหรับทำความสะอาด  ขี้นกก็ลงถัง ง่ายมากๆ เลยครับ
เห็นแล้วก็ขำสมัยนั้นแต่ก็ต้องเข้าใจนะครับว่าคนเลี้ยงนกในยุโรปส่วนใหญ่ก็เป็นคนแก่ วันเกษียณ หรือ ใกล้เกษียณ กันเป็นส่วนใหญ่
หนาวก็หนาว ไม่ค่อยจะมีคนช่วยเลี้ยงหรอกครับ ค่าแรงที่นั่นแพงมหาโหด เหนืออื่นใดผมชอบไปดูนกที่เป็นแชมป์ของทั้งประเทศ
มันสวยๆทั้งนั้น เก่งๆทั้งนั้น ถ้าใครเป็นแฟนพันธุ์แท้บทความที่ผมเขียนจะเข้าใจดีว่าทำไมผมชอบนกแข่งที่เยอรมัน ทำไมผมชอบนำนำที่นี่มาทำพันธุ์ 
ระบบแข่งที่นี่โหดสุด ดีสุด เก่งที่สุดก็ว่าได้ครับ 

ภาพบรรยากาศเมื่อต้นปี 2018 ที่คิดว่าทำให้หลายท่านคงเข้าใจได้ง่ายที่สุด ว่ามันโคตรน่าไปเลย มีแต่เรื่องราว สิ่งของ ของ นกพิราบแข่งล้วนๆ




นอกจากในยุโรปที่คนชอบเลี้ยงนกพิราบแข่งแล้ว ในแถบฝั่ง เอเชียเราก็มี จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และ ไทย   
นักเลี่ยงนกในแถบนี้จะเน้นหนักไปที่การพนัน หนักสุดก็ที่ ไต้หวัน
แต่ดังสุดก็พี่จีนละครับตอนนี้มีนักเลี่ยงนกพิราบแข่งมากกว่า 300,000 คนได้ 
จีนมาทีหลังแต่แรงสุดๆ กำลังเงินที่พี่แกทุ่มเข้ามามันมหาศาลมากเสียจนรูปแบบการขายนกเปลี่ยนไปจากนกที่ยุโรปตัวหนึ่งไม่ค่อยแพง
ขายกันแบบง่ายๆ สบายๆ   จนพี่จีนมาก็แพงมหาโหดไปหมด 

เมื่อก่อนใครจะซื้อนกอย่างของ KLAK ที่กรงเขาขายแบบง่ายๆคือตัวละ DM 500.-
ก็ประมาณ 10000 บาท ทุกตัวเหมือนกันหมด  ของ Flor Engels และ นักเลี้ยงนกจำนวนมาก ก็คล้ายๆกัน ราคาไม่แพงเลยครับ 
สมัยนั้นตอนที่ยังไม่มีจีนเข้ามาในวงการนกพิราบแข่ง นักเลี้ยงนกขายนกกันไม่ค่อยแพง ต้อนรับดีมากๆ  ปัจจุบันเป็นอาชีพแบบสุดๆ  
นักเลี้ยงนกจีนเป็นที่ต้อนรับแบบ Super VIP ซึ่งปรกติไม่ใช่นิสัยคนเลี้ยงนกในยุโรปเลย ก็ว่าไม่ได้ละครับ หมูเขาจะหาม เขาก็ต้องช่วยกันทำมาหากิน
 
ปัจจุบันนักเลี้ยงนกในยุโรปน้อยลงไปมากๆ จะมีก็แต่ประเทศของ Christiano Ronaldo ก็โปรตุเกส นี่ละครับ ที่ผมเคยเขียนไว้เมื่อหลายปีมาแล้วว่าให้จับตาดูประเทศนี้ให้ดี
เขามีบูรณาการส่งเสริม การเลี้ยงนกเป็นอย่างดีมาตลอด ตั้งแต่นักเรียนได้รู้จักนก คนเลี้ยงนกเข้าไปให้ความรู้
เด็กๆมีโอกาสไปดูงานถึงที่กรงและผู้ใหญ่ใจดีก็สร้างกรงนกให้เด็กๆได้เลี้ยงนกแข่ง แบ่งหน้าที่กันเลี้ยงดูนกแข่งโดยแถบจะไม่มีค่าใช้จ่าย
พ่อแม่ก็เห็นลูกๆมีกิจกรรมดีๆ ก็ส่งเสริมกัน  และ อีกที่หนึ่งก็ที่ประเทศโปแลนด์ ว่ากันว่า ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมามีนักเลี้ยงนกเพิ่มมากขึ้นถึงเฉลี่ยปีละ 800 คนเลยนะ    




โปแลนด์ตอนนี้มีสมาชิกอยู่ 45,000 คน ก็เป็นรองแค่ประเทศที่ผมรักคือเยอรมันมีสมาชิก 46,000 คน  
ทำไมประเทศเหล่านี้ถึงประสบความสำเร็จ อย่างแรกเข้าเลี้ยงเป็นแบบงานอดิเรก เป็นกีฬาจริงๆ 
ยุโรปไม่ค่อยจะมีการเล่นพนันแบบในเอเชียบ้านเรา จะมีบ้างก็ในเบลเยี่ยม จำนวนเงินก็ไม่ได้มากมาย เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน แถบจะไม่มี
การเลี้ยงแบบนี้ภาพลักษณ์ในสังคมรวมก็เป็นที่ยอมรับกันได้ง่าย ส่งเสริมกันจริงจังได้ง่าย การตอบรักจากภาครัฐเองก็ทำได้ง่ายและเต็มที่
ดังนั้นการพัฒนาโดยรวม ทั้งข่าวสาร การให้ความรู้ก็เป็นกลาง มีศูนย์กลาง ก็ขอยกตัวอย่างที่ดีมากๆเช่นที่เยอรมัน
ก็จะมีคลีนิคนกพิราบของประเทศอยู่ ก็จะมีการให้ข่าวสาร ความรู้ การดูแลนก ป้องกัน รักษาโรคภัย โทรไปปรึกษา
ส่งขี้นก ซากศพนกไปตรวจได้ ข่าวสารความรู้ก็มีให้ตลอดในนิตยสารนกพิราบประจำสัปดาห์ของสมาพันธ์นกพิราบแข่งของเยอรมัน

อีกเรื่องที่เป็นการสนับสนุน ก็มีเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่เลี้ยงนกแข่งที่อังกฤษ เด็กคนนี้ซวยครับเพราะวันหนึ่งก็มีเจ้าแมวตัวหนึ่งเข้าไปในกรงและ
ฆ่านกของน้องคนนี้ตายหมด เด็กคนนี้เสียใจมากๆ ก็ไม่รู้ข่าวสารไปถึง Queen Elizabeth ได้อย่างไรไม่ทราบ พระองค์ได้ให้กำลังใจกับเด็กน้อย
และได้เชิญให้เด็กน้อยคนนี้ไปเยี่ยมกรงนกพิราบแข่งของพระองค์ท่าน (หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่า Queen Elizabeth ของ อังกฤษ นั้น พระองค์
ก็มีกรงนกพิราบแข่งด้วยนะ)  เด็กน้อยผู้โชคดีได้มีโอกาสไปเยี่ยมกรงนกพิราบแข่งของพระองค์ท่าน และ Queen Elizabeth ก็ยังได้มอบนกของพระองค์
ให้กับเด็กน้อยด้วย  นกพิราบของกรงพระองค์จะมีห่วงพิเศษส่วนตัวเขียนด้วยด้วยตัวอักษร ER นะครับ  ก็เป็นอะไรให้รู้กันครับ 
การแข่งนกที่อังกฤษก็เป็นงานอดิเรก เป็นกีฬา ไม่มีการพนันครับ



กลับมาที่เรื่องนกที่เข้าประกวด เราต้องเข้าใจและระวังให้ดีนะครับ  ว่าเขามีประกวดกันอยู่ 2 แบบ คือ
Standard กับ Sports

ทั้ง 2 อย่างแตกต่างกันนะครับ

Standard เป็นการตัดสินแบบดูรูปร่าง สรีระ เป็นหลัก  โดยหลักการก็ทั่วๆไปคือ รูปร่าง กล้ามเนื้อ กระดูก ขนนก   สวยดูดีแข็งแรงก็ชนะไป

Sports เป็นการวัดกันที่ความเก่งของนกเป็นหลักครับ  นกที่เข้ามาหลักๆก็ต้องเป็นนกเก่งของแต่ละประเทศ 2 ปีติดต่อกันก่อน  นกก็ต้องเก่งจริงๆ ดูจากอันดับ จำนวนนกที่ร่วมแข่ง  ส่วน ระยะทางนั้นเขาจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ สั้น กลาง ไกล และ ไกลมากคือเกิน 1000 กม. 

นกที่ชนะในโอลิมเปียด ในอันดับต่างๆ ก็จะมีราคาที่สูงมาก ประเทศหลักๆที่มักจะซื้อกันก็มี 2 ทวีป คือ เอเชีย ก็มี จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น  
และ ในในแถบอเมริกาเหนือก็มีที่ อเมริกา และ แคนาดา

งานOlympiade ครั้งที่ 36 ปี 2019 ที่ โปแลนด์ ผู้จัดคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 50,000 คน ก็ถือว่ามากที่สุดเท่าที่เคยจัดกันมา ส่วนหนึ่งผมว่าเป็นไปได้เพราะคนเลี้ยงนกทางแถบยุโรปตะวันออกนั้นมาก เดินทางสะดวก หาที่พักก็ไม่แพงเหมือนประเทศยุโรปใหญ่เขาจัดกัน
 
ก็ขอจบเพียงเท่านี้ ข่าวสารผมก็นำมาจากผู้จัดงานOlympiade พอมีเวลาก็มาสรุปกันให้เป็นข่าวสาร เป็นสาระ เป็นความรู้เล็กๆน้อยๆครับ
 
                    ***********************************************************************

 
Copyright © 2024 www.francisloft.com All right reserved.