JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

The Best of Ad Schaerlaeckens Vol. 1 ตอนที่ 18-2 คำถามถึงนาย AD จากทั่วโลก

2012-10-11 11:15:38 ใน บทความจากหนังสือ » 0 2094 The best of Ad Schalaerskend Vol 1 ตอนที่ 18-2

คำถามที่
9
เราได้อ่านเจอ นกในเบลเยี่ยม/ฮอลแลนด์ พูดถึงนกบางสายพันธุ์ หรือ บางตระกูลเป็นพวก “Day Racers” ช่วยอธิบายให้หน่อยครับว่ามันคืออะไร?
คำตอบ
ในเบลเยี่ยม/ฮอลแลนด์ นั้นมีการแข่งทางไกล Fond races อยู่ 2 ประเภท
-   อันแรกก็คือ ระยะ 900 – 1200 กม. พวกนี้จะปล่อยเวลาเที่ยงหรือสายกว่านั้น เพื่อที่ว่าจะได้ไม่มีใครบินชนะได้ในวันเดียว (มันลดความได้เปรียบ เสียเปรียบ) การแข่งแบบนี้เรียกว่า “Two Days races” แข่ง 2 วัน
-   อีกประเภทก็คือระยะ 500 – 700 กม. นกปล่อยตอนเช้าและสามารถบินกลับได้ภายในวันเดียว พวกนี้ละครับที่เรียกว่า “Day races” คือ แข่งวันเดียวจบ
   
คำถามที่ 10
ผมเคยไปเยี่ยมกรงที่เยอรมันบางกรง มีชื่อเสียงมากในการแข่งขัน ผมเห็นนกพวกสายพันธุ์แท้ๆ อย่าง Jan Aarden และ Stichelbaut พวกมันสีดำมาก ตาก็สีน้ำตาลเข้ม แต่ที่เบลเยี่ยม/ฮอลแลนด์กลับไม่ค่อยเจอ  คุณคิดว่านกพวกนี้หมดสมัยไปหรือยัง? คุณคิดว่านกปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพวก “Speedy - บินเร็ว” เกินไปหรือเปล่า (ไม่แน่ใจว่าเป็นนกบินเร็วและระยะสั้น) และ เราควรกลับไปเล่นนกพวกสายพันธุเก่าๆหรือไม่?
คำตอบ
ผมรู้แล้วว่าคุณกำลังพูดถึงนกอะไร พูดตามตรงนะนกพวกนี้มีไว้เพื่อธุรกิจเท่านั้นละ ขนดำๆ ตาเข้มๆ เป็นนกที่คนชอบกันแต่นกพวกนี้มันจะเจ๋ง หรือ  เหนียว แกร่งกว่าทั่วไปหรือ?  ผมเห็นนกเก่งๆ ระยะทางไกลที่เบลเยี่ยม/ฮอลแลนด์ มามากก็ไม่เจอนกประเภทนี้   ไอ้ที่คุณพูดถึงนก Jan Aarden และ Stichelbaut สายพันธุ์แท้ๆ นั้น นกอย่างนี้มีแต่เฉพาะที่คนขายเท่านั้น (ก็เขาพูดว่าแท้ แล้วไง) แจนอาร์เดนนะไม่มีนกสายพันธุ์ของตัวเองหรอกเพราะเขาเองก็ซื้อนกจากคนเลี้ยงทั่วไป และ ไอ้การย้อนไปเล่นพันธุ์เก่านั้นผมก็ไม่เห็นด้วยนะ  ก็อย่างที่บอกนกที่ผมเห็นเก่งๆมามากก็ไม่ได้เป็นสีหรือตา หรือ พันธุ์แท้อย่างที่คุณว่าไว้ 


คำถามที่ 11
นกตัวผู้ที่ผมแข่งระบบหม้าย Widowhood มันเริ่มเข้าฟอร์มและมันก็คึกหาตัวเมียมาก จนมันไม่ค่อยกินข้าวมากนัก กินน้ำก็น้อย  ก่อนจับนกลงตระกร้าผมควรอัดน้ำเข้าปากมันหรือไม่?

คำตอบ
ที่คุณอธิบายมานั้นมันเป็นเรื่องปรกติครับ นกมันคึก มันหงุดหงิด และ ติดประสาทหน่อยก็เลยทำให้มันกินน้อย และการที่มันกินน้ำน้อยก็พิสูจน์ได้ว่ามันอยู่ในสภาพที่ดีเช่นกัน  ไม่จำเป็นต้องอัดน้ำ นกมันรู้ มันปรับตัวมันเอง

คำถามที่ 12
สำหรับนกพันธุ์ใหม่ที่คุณทดลอง  คุณเพาะลูกนกกี่ตัว  จนเมื่อไรคุณถึงบอกว่ามันไม่ดีและต้องเอาออกจากกรง 
คุณกระตุ้นนก Motivate ด้วยวิธีใดครับ? 
นกที่นำเข้าจากต่างประเทศควรให้เวลามันปรับสภาพร่างกายและภูมิอากาศหรือไม่  หรือ โยนเข้ากรงเลย

คำตอบ
ต้องเพาะลูกนกกี่ตัวมันบอกไม่ได้ตายตัวหรอกครับ แล้วแต่ 
ส่วนเรื่องกระตุ้นนกนั้น หลักๆก็คือนกควรที่จะรักกรง รักช่องของมัน ซึ่งก็มีหลายวิธี 
ส่วนนกที่นำเข้าผมว่าควรที่จะปรับสภาพมันก่อนอย่ารีบเอาเข้ากรง หรือ เข้าคู่  นกมันเปลี่ยนอากาศ อาหาร แปลกถิ่นที่เคยอยู่  ปรับตัวจำเป็นครับ



คำถามที่ 13
อาหารนกในแต่ละระยะไม่ว่าจะสั้น กลาง ไกล ควรมีอัตราส่วนเท่าไร?
นกระยะไกลควรที่จะกระตุ้นอย่างไร และ หลังจากที่นกกลับมาแล้วจากระยะกลาง-ไกลควรจะต้องพักสักกี่วันดี
มีวิธีการใดที่จะเรียกพลัง หรือ ทำให้นกฟื้นตัวได้เร็วที่สุด

คำตอบ
ไอ้การให้อาหารมันเป็นหัวข้อที่ถ้าถามคน 10 คน ก็ 10 แบบ มันเป็นอะไรที่ทำให้โต้เถียงกันได้ในหัวข้อนี้  เอาเป็นว่าระยะใกล้-กลาง ไม่ใช่เรื่องสำคัญหรอก อาหารอะไรก็ได้ แต่ ถ้าไกลเนื่องจากผมไม่ได้แข่งระยะไกล แต่ แน่นอนว่าเราต้องเพิ่มข้าวโพด หรือ ถั่วลิสง  แต่ถ้าลูกนกไม่ควรให้ (นกมันจะนิสัยเสีย รอกินถั่วลิสงอย่างเดียว)

ไอ้เรื่องการล่อคู่ กระตุ้นนกไกลผมไม่เชื่อว่ามันจะดี นกควรที่จะสงบ นิ่ง และ สบายๆ   
ส่วนเรื่องต้องพักกี่วันหลังจากกลับมันก็ไม่แน่นอนเพราะการแข่งขันแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน และ สภาพนกแต่ละตัวก็ต่างกัน
ดีที่สุดก็คือช่วงซ้อมนกถ้ามันกลับปรกติ และ ให้ดูเนื้อที่อกมัน ดี สีสวยก็แข่งได้  และ 
การให้นกได้พักผ่อนเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้นกได้ฟื้นตัวเร็ว
 
คำถามที่ 14   
มีข้อแนะนำไหมครับว่าเราจะสร้างคู่นกพันธุ์ที่ดีได้อย่างไร? และ วิธีการเข้าคู่แบบดูหางซ้าย ขวาประกอบกันคืออะไรครับ?
คำตอบ
ถ้าคุณไปถามคนอื่นผมไม่แปลกใจเลยในคำตอบที่คุณได้รับว่า “เขาก็ไม่รู้เหมือนกัน” ไม่ว่าจะ Meulemans, Houbens, Louis van Loon, Janssen, Klak    คุณรู้ไหม Adrian Janssen Arendonk บอกผมว่าไง?  คนเราถ้าเข้าคู่นกแล้วเกิดตัวเก่งมากๆ ขึ้นมาตัวหนึ่ง นั่นถือว่านกคู่นั้นสุดยอดแล้ว  คิดดูบางคนมีนกพันธุ์ 60 คู่ ถ้าเข้าคู่มันจะได้ลูกปีละเท่าไร แต่ผมไม่เห็นเขามีนักเก่งเกิน 3 ตัวเลย  ถ้าเก่งปีละ 3 ตัว 4 ปี ก็ 12 ตัวแล้ว  นี่กรงเดียวนะ ถ้านับหมด นกเก่งบานเลยครับ   ไอ้เรื่องเข้าคู่ดูหางมันเป็นเรื่อง BS (Bull Shit) เรื่องขี้วัว ไร้สาระ

คำถามที่ 15
ขอถามครับ  เพื่อนผมบอกว่า มีนักเลี้ยงนกทางไกลที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของฮอลแลนด์กล่าวว่า “ ถ้าเราเข้าคู่นกไกลกับนกใกล้คุณจะไม่ได้นกที่ไกลหรือ ใกล้เลย (ว่าง่ายๆคือมันไม่เก่งเอาซะอย่าง)   ส่วน Piet de Weerd กล่าวตรงกันข้ามว่าสายเลือดของนกไกลนะได้อนิสงค์มาจากนกของแจนเซ่น  ดูอย่าง Patrick ของ Van Hee ซิ   มันเลยทำให้ผมงงมาก  ช่วยคิดว่าไงครับ?   ผมต้องขอขอบคุณที่คุณตอบคำถามที่จริงใจ และ ตรงไปตรงมาตลอด
คำตอบ
นกไกลที่คุณว่าคงหมายถึงนกที่บิน 2 วันนะ ผมเองก็ไม่ได้แข่งไกลแบบนี้ แต่ ผมก็รู้จักคนที่เป็นแชมป์จำนวนมาก และ ผมว่าเพื่อนคุณถูกนะที่ว่า นกไกลก็ควรที่จะเข้ากับนกไกล อย่างไรก็ตามอย่าลืมนะว่า “มันไม่มีกฎตายตัว”  เจ้า Patrick ของ Van Hee เป็นแจนเซ่นครึ่งตัวจริงๆ และ เจ้าตัวเก่ง Barcelona ของ De Wit ก็เป็น Klak ครึ่งตัวเช่นกัน   Dusarsuyn ก็เป็นอีกคนที่เก่งทางไกลและเขาเลี้ยงนกแข่งที่มี Klak ครึ่งตัวผสมกันกับนกของเขา  และ  เขามักจะบอกว่า Jef van Wanroy ประสบความสำเร็จก็นกเขาเช่นกัน   ผมอยากบอกว่านี่เป็นข้อยกเว้นเพราะมีคนจำนวนมากลองนกไกลกับนกใกล้แล้วล้มเหลวกีมีเยอะ 


 
คำถามที่ 16
ความยาวของตะเกียบขานกสำคัญกับนกทางไกลไหมครับ?

คำตอบ
ครับมันเกี่ยวกันแน่เพราะ  นกไกลต้องมีกล้ามเนื้อที่ดีมาก  ตะเกียบนกยิ่งยาวยิ่งดีมันหมายถึงเกล้ามเนื้อมากขึ้นเช่นกัน 

คำถามที่ 17
คุณว่าถ้าเราให้โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตมากกับนกจะทำให้มันถ่ายขนดีและเร็วขึ้นไหม?

คำตอบ
เสียใจด้วยครับผมไม่เชื่อเรื่องพวกนี้  นกที่มีสุขภาพที่ดีมันจะถ่ายขนมันเองโดยธรรมชาติของมัน  ไม่มีเหตุผลที่จะต้องไปยุ่งอะไรกับมันเลย

ก็สรุปคำถามตอบที่คิดว่ามีสาระและเกี่ยวกับเรา  ทั้งหมดมี 26 คำถาม ผมคัดได้ 17 ก็คิดว่า OK แล้วละครับ  บางคำถามมันไร้สาระ  บ้างก็ไม่เกี่ยวกับเรานัก   บทที่ 19 ก็จะเป็นเรื่อง Conditioning  ก็คงต้องดูกันว่าภาวะ เงื่อนไข ตามสถานสถาพของนกเป็นไงก็ลองติดตามดูกัน
 
ตอนที่ 19  Visit CP Shanghai
ก็เขียนช้าไปหน่อยเพราะ 5 วันที่ผ่านมาก็ไปประชุมงานของบริษัทที่เซียงไฮ้    มาคราวนี้ก็เห็นเมืองเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก ขุดปรับปรุงกันทั้งเมืองก็มาร้องอ๋อตอนที่เพื่อนที่นั่นบอกว่ารัฐปรับปรุงทุกอย่างเป็นอย่างมากเพื่องาน  EXPO 2010 ที่ เซี่ยงไฮ้ จนทำให้รถติดมาก   ไปงวดนี้ก็ได้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมกรง CP ที่เซี่ยงไฮ้ ก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ทั้ง 2 วัน   วันแรกหลังผมประชุมงานบริษัทเสร็จก็ได้พบกันตอนบ่ายสัก 5 โมงได้  คุณสมบัติและคุณบีมารับที่ โรงแรม Hilton  ก็ได้ไปดูกรงที่คุณบีดูแลอยู่  ก็เป็นทั้งนกแข่ง และ นกพันธุ์ทั้งหมด  ก็ได้รับความรู้จากคุณสมบัติ และ คุณบีมาก เย็นก็ไปทางอาหารจีน อร่อยมากครับ   พอวันรุ่งขึ้นก็นัดกัน 7 โมงเช้าไปดูกรงของ CP อีกที่หนึ่งก็ไม่ไกลกันมากนัก สัก 15 กม. ได้ แต่จาก Hilton ไปก็เกือบชม.ได้นะ ที่นี่คุณสมบัติดูแล ก็เป็นนกแข่งแทบจะทั้งหมดดูได้สัก 2 ชม. ก็ต้องไปอีกกรงเพราะนัดกับคุณเล็กไว้ ก็กลับไปกรงที่คุณบีดูแล และ ดีใจที่ได้พบกันคุณเล็กซึ่งแม้ท่านจะยุ่งมากแต่ก็ได้สละเวลามาให้ความรู้แลกเปลี่ยน ซึ่งผมก็ได้ความรู้และข้อคิดดีๆ เอาไว้จะหาโอกาสมาเล่าสู่กัน  คุณเล็กได้ให้เกียรติจับนกตัวเก่งๆ พ่อ แม่นกมากมายให้ดู โดยเฉพาะสาย 36 ครั้งนั้น ก็เริ่มตั้งแต่ รุ่น 1 คือ เจ้า “92” มาจนถึงรุ่นสุดท้าย รวมถึง “เจ้าปุ่น” ตัวเก่งซึ่งเป็นรุ่น 6 เช่นกัน   คุณเล็กจำได้แม่นมาก  และนกที่เก่งซื้อเข้ามาทำพันธุ์ก็ได้มีโอกาสได้จับ ได้ชมกันจุใจ  คุณเล็กบอกกับผมว่างานข้างล่างยุ่งมาก ขึ้นมาบนกรงนกนั้นเหมือนสวรรค์ มีความสุขก็ทำให้ผมมีไฟรักนกได้มากขึ้น  นอกเหนือจากนั้นพี่สมบัติก็ได้ให้ความรู้และคลายข้อสงสัยถึงวิธีการเลี้ยง และ การให้ยา การบิน การกระตุ้นนก รวมถึงที่สำคัญการให้อาหารนกที่ผมติดอยู่ในใจหลายเรื่องว่าต้องเลี้ยงอย่างไรดี  พี่เขาก็ให้ข้อคิดดีๆเช่นกัน  เราก็ได้เปิดตู้ยาดูกัน   เปิดถังข้าวดูกันจะจะ   จากนั้นคุณเล็กก็ได้พาไปเลี้ยงอาหารกลางวันกันที่ร้านอาหารญี่ปุ่น พอถึง 2 โมงครึ่งผมก็ต้องขอลา  คุณสมบัติและคุณบีก็ได้ขับรถมาส่งถึงสนามบิน 

สุดท้ายก็ต้องขอขอบคุณเล็ก คุณสมบัติ และ คุณบีเป็นอย่างสูงที่ได้ให้การต้อนรับผมเป็นอย่างดีมากๆ ทั้ง 2 วัน  เป็นความประทับใจที่ผมไม่มีวันลืมครับ  ก็ยังบอกพี่สมบัติว่าไปเบลเยี่ยมเมื่อไรบอกด้วยนะครับ  จะได้ให้พี่เขาช่วยกรุณาหานกดีๆมาเติมกรงนกพันธุ์ผมบ้าง 
กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ
Copyright © 2024 www.francisloft.com All right reserved.