JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

The Best of Ad Schaerlaeckens Vol. 1 ตอนที่ 22 Young Bird Disease โรคสำหรับลูกนก

2012-10-22 11:18:43 ใน บทความจากหนังสือ » 0 2564 ตอนที่ 22 Yong bird disease  โรคสำหรับลูกนก



ปลายยุค 70 นกพิราบก็ได้พบกับปัญหาเรื่องสุขภาพอันใหม่ ซึ่งในเยอรมันเรียกมันว่า  “Young bird disease โรคสำหรับลูกนก” และ ใน เบลเยี่ยม และ ฮอลแลนด์เรียกมันว่า “ Adeno / Coli” ซึ่งผมเองก็มั่นใจว่าในเมืองไทยเราก็ยังไม่ค่อยจะรู้จักโรคนี้เท่าไรนัก   โรคนี้เกิดขึ้นที่ เบลเยี่ยม และ ฮอลแลนด์ ก่อน และ มันเกิดขึ้นหลักๆ ก็กับลูกนก Young Bird

Adenoviroses type 1 พบในปี 1976 ซึ่งหลักๆแล้วลูกนกโดนหนักกว่านกแก่  แต่ก็ไม่ใช่ว่านกแก่จะไม่เป็นนะครับ   นกแก่ก็โดนในปี 1992 เป็น Adenoviroses type 2  เกิดขึ้นครั้งแรกก็ใน เบลเยี่ยม    ไอ้เจ้า Type 1 นั้น แรกๆ ก็เป็นเฉพาะบางกรงเท่านั้น แต่พอมากลางยุค 90 ก็แพร่ระบาดกันไปทั่วโลก   บางกรงเป็นก็ถึงกับปิดกรงไปก็มี

Symptoms อาการ
Type 1 นั้นปรกติ ลูกนกจะไม่ทานอาหาร  เวลาออกไปนอกกรง เราเรียกก็จะไม่ค่อยจะรีบลงกรงเหมือนเคยก็เพราะมันไม่หิว   สังเกตให้ดีลูกนกจะย่อยอาหารไม่ดี  อาหารเย็นกินเข้าไปแล้วเช้ายังไม่ย่อยก็แน่นอน  น้ำหนักตัวของนกก็ลดลง   นกจะยืนนิ่งจ๋อยๆ ดื่มน้ำมาก   ขี้เป็นน้ำ และ หนักขึ้นก็จะเขียวๆ เหลือง ๆ มีกลิ่น  และ ถ้าไม่รักษา ภายใน 2-3 วันนกจำนวนมากก็จะติดโรค   บางตัวก็ตาย   การรักษาถ้าจะฟื้นตัวก็ใช้เวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ถ้ารักษาด้วยยาที่ถูกต้อง   ถ้าเปรียบกับ Type 2 นั้น ส่วนใหญ่ตายเร็วกว่ามาก เป็นเพราะมันจู่โจมทำลายเซลของตับ   สถิติถ้าเป็นแล้วนกในกรงที่ติดประมาณ 30% ก็ตาย  บางกรงเป็นหนักๆ นกที่ติด ก็ตายได้ 100% ก็มี
Adeno-Coli

ที่จริงแล้วตัวที่เป็นปัญหาหลักนั้นคือ Adeno ซึ่งเป็นไวรัสตัวหนึ่ง ส่วน E-Coli นั้นเป็นตัวรองที่เพิ่มขึ้นมาซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่ง E-Coli ตัวมันเองไม่น่าเป็นห่วงหรอก เพราะมนุษย์หรือนกนั้น เจ้า Coli เป็นแบคทีเรียที่สำคัญต่อการดำรงชีพ  แต่เมื่อนกป่วยโดยโดนเจ้าไวรัสเล่นงานมากไป เจ้า Coli ก็พัฒนาตัวมันเองมากไปเช่นกันก็เลยเป็นปัญหาทำให้นกป่วย ดังนั้นเมื่อนกป่วยด้วย Coli ก็ต้องรีบรักษาโดยด่วน  ส่วนเจ้า Adeno นั้นตอนนี้ก็ยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะรักษาได้ ซึ่งต่างกับเจ้า E Coli ซึ่งมียาปฎิชีวนะหลายอย่างรักษาได้  แต่ก็มีอย่างหนึ่งที่ต้องรู้ไว้ว่า ไม่มีอะไรที่เรียกได้ว่า “ดีที่สุด” เพราะยาแต่ละอย่างก็มีโอกาสให้ผลที่ต่างกันได้  ยาบางตัวใช้กับกรงนี้ดีแต่อาจจะไม่ค่อยดีกับกรงอื่นก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่พบกันกันมาก

จากภาพก็เป็นนกที่ติดโรค Adeno ซึ่งเป็นแล้วก็หมดสภาพ ใช้การไม่ได้ หนักเข้ายืนแทบจะไม่ได้ก็มีสิทธิถึงตายได้
 
Cause
Type 1 ก็อย่างที่เขียนไว้ข้างต้นว่าเป็นหนักที่ลูกนกขวบแรก นกแก่จะไม่ค่อยเป็นกันนัก ก็เพราะ นกแก่แข็งแรงกว่าและที่สำคัญมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า  (Immune system จำได้ว่าตอนที่ผมอยู่ที่เยอรมันนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดถึง และ มีบทความในหนังสือนกพูดถึงเรื่องนี้กันมาก  ต้องอย่าลืมว่าที่เมืองนอกนั้นเขาแข่งนกกัน โดยนกแต่ละตัวแข่งกันได้มากหลายๆ ขวบ  โดยปรกติก็ ถึง 5 ปี  ดังนั้นสุขภาพนกนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญต้องดูแลกันให้ดีตั้งแต่ลูกนก  ฝึกให้นกมีภูมิต้านทานกันตั้งแต่เล็ก  การให้ยานั้นเป็นเรื่องที่เขาระวังกันมาก  กลัวมันจะมีผลต่อสุขภาพนกได้  ผมเคยถามคนต่างประเทศว่าทำไมกรงนกyouไม่ค่อยที่จะทำความสะอาดกันมากนักเหมือนในเมืองไทย  เขาบอกว่าทำทำไมทุกวันเช้าเย็น   นกมันอยู่ในตะกร้าแข่งเป็นวันๆ หรือ หลายวัน ตอนมันไกลขึ้น  ดังนั้นนกต้องคุ้นเคย  ไม่อย่างนั้นติดเชื้อนิดหน่อยก็ป่วยแล้ว เพราะไม่มีภูมินั่นเอง  นั่นก็เป็นแค่เรื่องหนึ่งครับ)  หลายๆ คนว่าไอ้โรคนี้มันพัฒนามาจากการใช้
Cortisone ก็ไอ้ยาหยอดตา ที่ใช้หยุดถ่ายขน แถมโด๊ปอีกต่างหาก ตอนช่วงปี 80นั่นแหละ   เรื่องนี้ก็ไม่ได้พิสูจน์กันเป็นที่แน่นอนว่าจริงหรือเปล่าว่า Cortisone เป็นผลเพราะ  ยาประเภทนี้ห้ามใช้กับนกแข่ง  ถ้าตรวจพบก็ถูกแบนห้ามแข่งครับ  บ้างก็ว่าเป็นเพราะระบบ Darkening system ที่คุมระบบการถ่ายขนของนก ก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าจริงเช่นกัน   แต่มีสิ่งหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นผลมากก็คือ  Stress ความเครียด ความกดดันของพวก Young bird มีมากขึ้น  โดยเฉพาะกรงที่เลี้ยงนกจำนวนมากเกินไป เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นก็เป็นโรคได้ หรือ ตอนช่วงซ้อมใหม่ๆก็เป็นได้

Prevention Impossible  
นักเลี้ยงนกจำนวนมากต่างก็กังวลและคิดกันว่ามียาอะไร "ป้องกัน" ไอ้โรคนี้ได้หรือเปล่า และ จำนวนมากก็คิดถึงพวก "ยาปฎิชีวนะAntibiotics"   ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกเป็นเพราะยาพวก Antibiotics นี้จะมีผลก็ต่อเมื่อมันต่อต้านสู้กับพวก Pathogens ในร่างกาย ก็คือติดเชื้อแล้วนั่นเอง

ก็พอจะจับใจความกันได้แล้วนะครับว่า  การติดโรคนั้นอย่างแรกเกิดจาก  Adedo Virus มันทำให้นกอ่อนแอมาก และ ทำให้ Coli  bacteria ในร่างกายนกมันพัฒนา  ไอ้สองอย่างนี่พอมันรวมกันเข้าก็ทำให้นกป่วย ดังนั้นพวกเบลเยี่ยมและ ฮอลแลนด์เรียกโรคนี้ว่า “Adeno / Coli”    การรักษานั้น พวกหมอนกพิราบให้พวกยา Antibiotics เพื่อฆ่าแบคทีเรียก่อน และ เมื่อนกแข็งแรงขึ้นมันก็จะต้านไวรัสได้เอง ซึ่งกว่าจะฟื้นก็ต้องเป็นอาทิตย์ เพราะเซลของตับมันถูกทำลายไปตอนติดไวรัส  ก็ต้องให้เวลามันฟื้นตัวกลับ   นกบางตัวมันอาจจะดูเหมือนกับฟื้นตัวได้เร็วหลังให้ยา  แต่ไม่ใช่หรอกครับข้างในมันยังไม่ดีดังนั้น อย่าเพิ่งบิน ซ้อม หรือ แข่ง ควรพักซักช่วงหนึ่ง นี่คือเหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้การรักษาต้องใช้เวลานานถึง 5 วัน    บางคนว่าโรคนี้มันเป็นกรรมพันธุ์  ไม่เกี่ยวกันเลยครับ  นกทุกตัวมีสิทธิเป็นโรคนี้กันได้ แม้แต่นกแก่ นกพันธุ์ ก็มีโอกาสติดโรคจาก Type 2 ได้

Research
ที่เยอรมัน นักเลี้ยงนกจำนวน 1605 คน ได้ถูกสัมภาษณ์เกี่ยวกับ “Young bird disease โรคของลูกนก (Adeno / E.Coli)”  วัตถุประสงค์ก็เพื่อทำความเข้าใจ เห็นภาพ สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรค ซึ่งผลของการค้นคว้านี้น่าสนใจและมีประโยชน์อย่างยิ่ง   

มีไม่น้อยไปกว่า 1153 รายจาก 1605 คน บอกว่าลูกนกของเพวกเขาประสบกับโรคนี้   บางรายบอกว่าเขาเจอโรคนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่เจอซ้ำแล้วซ้ำอีก และ บางรายบอกว่ามันเหมือนฝันร้ายเพราะเจอทุกปี 

56% ของนักเลี้ยงนกเยอรมันนั้นลี้ยงนกที่ลาน สนาม  ที่เหลือเลี้ยงบนห้องใต้หลังคา  เป็นที่น่าสังเกตุว่าคนที่เลี้ยงนกบนห้องใต้หลังคาจะเจอโรคนี้มากกว่าคนที่เลี้ยงที่ลานสนาม เหตุผลที่อาจเป็นได้ก็เพราะอุณหภูมิข้างบนสูงกว่าที่สนามนกก็เลยอ่อนแอกว่า  และ คนที่เลี้ยงนกแบบมีกรงเปิดให้อาบแดด ได้อากาศบริสุทธิ์ จะมีปัญหาน้อยกว่า และ คนที่เลี้ยงลูกนกจำนวนมากเกินไปจะเจอปัญหานี้มากกว่าเช่นกัน



การค้นคว้า วิจัย ได้แบ่ง จำนวนนกว่ามากหรือไม่ ตามนี้
1.   คนที่เลี้ยงลูกนกมากกว่า 100 ตัว
2.   คนที่เลี้ยงลูกนกระหว่าง 50 - 100 ตัว
3.   คนที่เลี้ยงลูกนกน้อยกว่า 50 ตัว
กลุ่มแรกเจอปัญหามากที่สุด และ คนที่เลี้ยงน้อยกว่า 50 ตัว เจอปัญหาน้อยที่สุด   และ  ผลที่ได้นี้ก็ตรงกับผลที่ได้จาก ฮอลแลนด์ เช่นกัน

Loft conditions and Hygiene
70% ของนักเลี้ยงนกเยอรมันนั้นทำความสะอาดกรงทุกวัน ไม่แปลกใจเลยที่คนกลุ่มนี้เจอปัญหานกป่วยมากกว่าคนที่ไม่ได้ทำทุกวัน  และ  48%ของคนที่ทำการฆ่าเชื้อโรคที่กรงนั้นจะพบปัญหาการติดโรคมากกว่าคนที่ไม่ได้ทำ  ซึ่งAdเองก็ไม่ได้ทำความสะอาดกรงทุกวัน และ ก็ไม่เจอปัญหา  พอเขียนบทความนี้นักเลี้ยงนกหลายคนก็เปลี่ยนโดยไม่ทำความสะอาดกรงบ่อยเหมือนเดิม และ สุขภาพนกก็ดีขึ้น   ที่เป็นเช่นนี้เพราะนกที่ถูกดูแลแบบอนามัยสุดๆ ก็มี “ภูมิต้านทาน” น้อยลง  เขาว่ากันว่ากรงที่ทำความสะอาดบ่อย  พวกฝุ่นขนก็ปลิวว่อนตอนทำความสะอาด พวกนี้ก็ทำให้นกป่วยได้  กรงที่ไม่ค่อยได้ทำความสะอาดบ่อยนักพวกฝุ่นขนก็จับตัวกันหรือติดอยู่ที่มูลนก  พวกกรงที่พ่นไฟเพื่อต้องการแบคทีเรีย แมลง หรือ ไวรัส นั้นก็เจอปัญหามากกว่ากรงที่ไม่ได้พ่นไฟเช่นกัน

A deal
AD จำได้ดีเพราะเขาเคยแลกนกที่บินเก่งมากตัวหนึ่งของเขา กับ ลูกนก 8 ตัว  เจ้า 8 ตัวนี้พอนำมาที่กรงเขา  มันดูดีกว่านกเขามาก สวยจนน่าอายที่นกเขาดูด้อยไปเลย แต่ หนึ่งเดือนต่อมา เจ้า 8 ตัวนี้ตายเกลี้ยง   ADเองก็งงและได้ไปหาหมอนก พร้อมซากนกที่ตาย 2 ตัว เพื่อหาเหตุผลว่าเพราะอะไร?  หมอได้ถามเขาว่า  ”AD คุณได้นำนกจากกรงอื่นที่เขาทำความสะอาดกรงทุกวันมาเข้ากรงหรือเปล่า?”   ใช่เลยกรงที่เขานำนกมานั้นทำความสะอาดอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน แถมดูดฝุ่นและฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนบ่อยๆ อีกต่างหาก   หมอเองก็บอกเขาว่า หมอไม่ได้แปลกใจเลยเพราะ กรณีแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ  แถมบอกว่า  นกที่กรงคุณไม่ได้ทำความสะอาดบ่อยครั้งนักมันมีภูมิคุ้มกันที่ดี  ผิดกับกรงที่ทำความสะอาดบ่อยๆ นกพวกนี้มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ ขาดภูมิไปเลยก็ว่าได้   

จากนั้นมาADบอกกับตัวเองว่าเขาจะไม่ซื้อนกจากกรงที่ทำความสะอาดบ่อยๆ และ ก็กรงที่ให้ยามากๆ ก็ไม่เอาเช่นกัน   

More
ตามที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้น ไม่ว่าจะความเครียด  พวกที่เลี้ยงนกมาก ทำความสะอาดบ่อยเกินไป และ กรงที่มีอุณหภูมิที่สูง เป็นเหตุให้เกิดโรคนี้ขึ้น    บางกรงก็เจอปัญหาหลังจากฉีกวัคซีน PMV   ADแนะนำว่าให้ฉีดยาตอนนกอายุ 6 สัปดาห์ ดีกว่า ฉีดตอนอายุน้อยไป   กรงที่ฉีดยา Paratyphoid จะมีโอกาสเป็นโรค Adeno / Coli น้อยกว่า พวกไม่ฉีด   ไม่ควรฉีด PMV กับ Paratyphoid พร้อมกัน อย่างน้อยควรห่างกัน 4 สัปดาห์   พวกโฆษณายาป้องกันโรคนี้นั้น ไร้สาระ   สิ่งที่ดีที่ควรให้กับนกคือ Apple Vinegar น้ำส้มสายชูที่ทำมาจากแอปเปิล 

In conclusion
•   หลีกเลี่ยงการเลี้ยงนกจำนวนมากเกินไป
•   หลีกเลี่ยงความเครียดกับนก เมื่อนกป่วย เช่น การซ้อมนก การแข่ง
•   อยู่ห่างๆพวกยา พวกวิตามิน  พวกนี้ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
•   กรงนกมีอากาศถ่ายเทดี
•   ในกรณีที่มีการระบาดของโรค  อย่าเคลื่อนย้ายนกจากกรง  งดข้าว 2-3 วัน ให้อีเลคโตรไลท์ พร้อม กลูโคสในน้ำ
•   อย่าให้นกขาดน้ำเพราะกลัวนกท้องเสีย  เพราะนั่นอาจทำให้นกตายได้เพราะ Dehydration ภาวะการขาดน้ำในร่างกาย 

จบตอนที่ 22 แล้วครับ  ก็เป็นโรคที่เราต้องระวัง เพราะบ้านเราแข่งนกแทบจะทั้งหมดเป็นลูกนก  ตอนต่อไป ตอนที่ 23 เป็นเรื่อง Klak Again  ก็ดูกันว่าเป็นอะไรที่เกี่ยวกับ Klak

กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ
Copyright © 2024 www.francisloft.com All right reserved.