JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

The Best of Ad Schaerlaekens vol.1

2012-09-03 18:15:20 ใน บทความจากหนังสือ » 0 6012


               


“The Best of Ad Schaerlaekens vol.1”

 
ผมอ่านบทความของนาย AD มาหลายปีแล้ว ผมว่าเขาเป็นนักเขียนที่ดี และเป็นนักเลี้ยงนกที่เก่ง ท่านใดที่ติดตามผลการแข่งขันหรือนักเลี้ยงนกในเนเธอร์แลนด์ จะเห็นได้ว่านกเก่งๆ ในหลายปีนี้มีเหล่านกของนาย AD ปนอยู่ ผมชอบสไตล์การเขียนของเขาคือ อ่านและเข้าใจง่าย กล้าฟันธงในหลายเรื่อง และ เรื่องที่เขียนก็เป็นอะไรที่ใกล้ตัวอยู่เสมอ  ผมเองก็ได้แง่คิดดีๆ จากบทความของนาย AD เรื่องนี้ผมแปลไว้เมื่อหลายปีก่อน ก็ขอนำมาลงใหม่ก็พยายาม ทบทวนและปรับให้มันทันสมัยมากขึ้น  เล่มนี้ก็เป็นแล่มแรกที่ผมแปลแบบทั้งเล่มให้ได้อ่านกัน ผมถือว่า ที่นาย AD เขียนให้อ่านนั้นเป็นวิทยาทาน ที่เขาให้เราได้เรียนรู้ มีมุมมองมากขึ้น และ ผมเองที่แปลก็มีเจตนาเพื่อเก็บไว้ส่วนตัวและเพื่อเป็นความรู้ที่แบ่งปันกันโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ

The Best of Ad Schaerlaeckens Vol. 1
ตอนที่  1  Intro โหมโรง
สวัสดีครับ  ผมอ่านและแปลเรื่องนี้เป็นทางการเป็นครั้งแรก ส่วนใหญ่ก็อ่านแบบผ่านๆ ก็ได้แปลไว้และเผยแพร่ไปให้สาธารณชนคนเลี้ยงนกไปแล้ว ครั้นมีเว็บตนเองก็คิดว่าน่าจะรวบรวมงานเขียนเท่าที่มีอยู่ไว้ที่เดียวกัน  ก็เลยนำเรื่องนี้มาขัดเกลากันใหม่  หนังสือนี้เท่าที่ดูสารบัญ   ก็เห็นมีหลายตอนที่แตกต่างไปจากในอินเตอร์เน็ท  อาจเป็นเพราะนาย AD เอง เขียนไว้มากมาย ก็คัดเอาบางตอนมาลงที่เล่ม  1  ก่อน  (Vol. 1)  ที่เหลือก็รอเล่มต่อๆ ไป
ก่อนอื่น ก็ต้องขอเรียนให้เพื่อนๆ ได้ทราบอีกครั้ง  ก็ตามที่ผมได้เกริ่นไว้ในตอนที่แล้ว  ว่าผมเขียนในสไตล์ของผม  ผมคงไม่แปลตรงๆ  แต่จะอ่าน เมื่อเข้าใจก็จะสรุปให้เป็นตอน ๆ  และ ถ้ามีช่วงที่น่าสนใจ  ก็จะนำมาเน้นกันมากขึ้น
ที่จริงแล้วไม่ใช่สไตล์ของนาย AD ที่จะพูด หรือ เขียนเกี่ยวกับความสำเร็จ  ผลงาน หรือ ตัวเขาเองนัก  ก็นาย Peter Fox  บก.ของหนังสือเล่มนี้ บอกเขาว่า  ผู้อ่านควรที่จะรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเขาเองบ้าง  ก็เป็นที่มาของตอนที่  1  เอาย่อๆ  ว่าเขาเป็นอดีตครูชั้นประถมปลาย   เริ่มเลี้ยงนกตั้งแต่ปี 1950   ปัจจุบันเป็นนักเลี้ยงนก   และ นักเขียนที่มีชื่อเสียงดัง ก้องโลกคนหนึ่ง
ปี 1990  บทความของเขาได้ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือนก ที่มีชื่อเสียงในหลายๆ ประเทศ และปี 1997  ก็เริ่มหันเหอาชีพมาเป็นนักเขียน  นักข่าวที่เกี่ยวกับเรื่องนกพิราบแข่ง  เขียนบทความเยี่ยมๆ ลงในหนังสือนกของหลายๆ ประเทศ หลายๆ คนคงได้เป็นเจ้าของหรือเคยอ่าน  หนังสือนกที่ขายดีที่สุดในโลก

Janssens Brothers – Arendonk , the Greatest pigeon fancier of all time    แจนเซ่น  นักเลี้ยงนกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล” 
หนังสือที่นักเลี้ยงนกทั่วไปเรียกกัน The White Book  ก็นาย AD  นี่แหละครับที่ได้รับเกียรติจากตระกูลแจนเซ่น  ให้เขียนหนังสือเล่มนี้ในปี 1984  ซึ่งเขาได้ใช้เวลานานในการรวบรวมข้อมูล  ประวัติของนก และความเก่งกาจของนกพวกเขา  หนังสือเล่มนี้ได้มีการพิมพ์ออกมามากถึง 11 ภาษา  เป็นหนังสือที่มีผู้ที่อยากอ่าน และเป็นเจ้าของกันมากที่สุด  ผมเองครั้งแรกที่ได้อ่านเป็นภาษาเยอรมัน  ก็ตอนทำงานอยู่ที่นั่น  จากนั้นก็หาซื้อภาษาอังกฤษ  ก็เก็บไว้อีก 2 เล่ม
ปัจจุบัน  นาย  AD  ยังคงเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง  และโด่งดังมาก  ผลงานของเขาดังมากในยุโรป  และตะวันออกไกล (Europe and Far East)


ในวัยเด็ก  ตอนปลายยุค  50  เขาก็เริ่มเลี้ยงนก  มันไม่ใช่เรื่องแปลกเลยในยุคนั้น  เพราะไม่ว่าจะเพื่อนบ้าน  ครอบครัว  ของเขาเอง  เพื่อนๆ ของเขา  ต่างก็เป็นนักเลี้ยงนกกันทั้งนั้น  วันๆ ก็คุยกันแต่เรื่องนก เอาง่ายๆ  ยุคนั้นในเบลเยี่ยม  ประเทศเล็กๆ มีนักเลี้ยงนกมากถึง 250,000 คน เฉพาะในเมือง  Tilburg เองก็มีนักเลี้ยงนกถึง 1,800 คน  ไม่เลี้ยงชิแปลก  มันเป็นกีฬายอดนิยมของประเทศก็ว่าได้
อายุ 19 ก็เป็นแชมป์อันดับที่ 2  ขณะเดียวกันเขาเองก็คิดว่าเขาได้เห็นข้อผิดพลาดหลายๆ อย่าง ที่นักเลี้ยงนกหลายๆ คนได้ทำ  ซึ่งเขาคิดว่า ความสำเร็จในกีฬานกแข่งเรา มันน่าจะเป็นอะไรที่ไม่น่าจะยากนัก
ในตอนที่ 1 นี้เขาก็ได้พูดถึงสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ เขาเขียนว่า เขามักจะได้ยินนักเลี้ยงนกพูดกันอยู่เสมอ ถึง”ความลับ” ต่างๆ นาๆ ที่ทำให้หลายๆ คนประสบความสำเร็จ สำหรับเขา อันดับแรกที่ต้องมาก่อนก็คือ “นกดี นกเก่ง” ครับ

 
ในตอนที่ 1 นี้เขาก็ได้พูดถึงนกที่เป็นพื้นฐานของเขา  ซึ่งก็มาจากเพื่อน ก็เป็นพวก  TTuyskens  van  Riel , TTofkens , Van Loon , Maurice Voets  ผ่าเข้ากับนกสาย Janssens  ที่ได้มาจากเพื่อนบ้านของเขา
นอกนั้นก็บรรยายสรรพคุณความเก่งกาจของนกเขา  ที่แข่งที่กรงตัวเอง และที่คนอื่นเอาไปเล่นคงไม่เสียเวลาเรา  เอาเป็นว่านกเขาเก่งก็แล้วกัน  ขนาดแชมป์อย่าง Michel Vanlint , Verkerk หรือ Zoontjens ตัวแชมป์ๆ ของพวกเขาก็มาจากนกของนาย  AD ครับ
ตอนที่ 1  ก็พอ หอมปาก หอมคอ ได้รู้จักตัวเขา  พื้นฐานนกของเขาบ้าง  ผมว่าจุดที่แกเกิดในยุคที่คลาสสิคที่สุด ที่มีนักเลี้ยงนกจำนวนมาก ทำให้มีประสบการณ์หลากหลาย  เริ่มเลี้ยงนกตั้งแต่อายุยังน้อย และ สังเกตุข้อผิดพลาด จนถึง กล้าที่จะวิจารณ์ ทำให้เขาได้พัฒนาการ เขียนของเขา และ ผู้อ่านเองก็ตอบสนองความคิดเห็นของเขาเป็นอย่างดี
พบกันใหม่ ตอนที่ 2  ครับ  เริ่มจะเข้าบทความของเขา
 
 
 
ตอนที่  2   The Press  คำชื่นชมจากสื่อ
ตอนนี้พูดถึผลการแข่งขันของนาย AD ที่เก่งเหลือหลาย  จนทำให้เขาได้รับคำชื่นชมต่างๆ จากสื่อของ วงการนกไม่ว่าจะเป็น NPO , Do  Duif , Ons  Wookblad , Taubonmarkl , Do  Vrodosduif , Duivonkrant , Taubensport International , Do Fondkrant  ผมว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเรา  ที่ได้นาย AD เป็นนักเขียน  นักวิจารณ์ และ ที่สุดยอดก็คือ เขาเองเป็นนักเลี้ยงนกที่เก่งกาจ  และที่สำคัญ เขาเลี้ยงด้วยตนเอง จะดีกว่าพวกเก่งทฤษฏี พวกเก่งวิจารณ์ที่ไม่เคยสัมผัสชัยชนะ หรือไม่เคยเลี้ยงเอง ก็จะไม่เคยเข้าใจถึงตัวนกจริงๆ
NPO :  หนังสือนกกของเนเธอร์แลนด์  บอกว่า นาย  AD เป็น “ราชาที่ไม่เคยสวมมงกุฏของจุด Orlcans” (ซึ่งเป็นจุดแข่งระดับ National และ International   นาย  AD  เรา ชนะอันดับเยี่ยมๆ มาหลายปี  รวมถึงที่ 1  ระดับ National)
 
Ons Weekblad :  “มีใครบ้างไหมที่เคยสร้างความสำเร็จปีแล้วปีเล่า อย่างที่นาย AD  ทำไว้ ?  และ จะมีใครบ้างไหมที่สามารถสร้างผลงานได้ดีอย่างที่เขาได้ทำไว้ในอนาคต”
De Duif :  “Piet van de Merwe   เป็นนักเลี้ยงนกที่เยี่ยมยอดทันทีหลังจากที่ได้นกของนาย AD  มาเข้ากรง”
ตอนนี้ก็คงต้องอดทนหน่อยที่ต้องย่อยข้อมูลความเกงของนาย  AD มาลงแระเพาะเรา  ในหนังสือมีคำชมของนาย AD   จากสื่อต่างๆ อีกมาก  ก็ขอนำมาลงเพียงเท่านี้  สำหรับผมถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่นาย  AD  เอง  เลี้ยงก็เก่ง วิจารณ์นกก็เยี่ยม   เขียนอ่านก็ง่าย  และน่าติดตาม    ตอนต่อจากนี้ก็จะเป็นเรื่องของการวิจารณ์ บทความ จากคนเก่งที่ชื่อนาย AD

 
 
 
 ตอนที่ 3   A Review on year 2007 in Holland and Belgium   ปี 2007  มีอะไรน่าสนใจใน ฮอลแลนด์ และเบลเยี่ยม
ตอนนี้ถือได้ว่าเป็นตอนที่ค่อนข้างจะล่าสุดที่นาย  AD  ได้เขียน  เพราะการแข่งขันปี 2007  ก็เพิ่งจะสิ้นสุดไปไม่นาน  ปี 2007  เป็นปีที่น่าจดจำอีกปีของนักเลี้ยงนกทั้งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ เพราะอากาศ เปลี่ยนแปลงขึ้นลงมาก  โดยเฉพาะคนฮอลแลนด์มักจะบ่นอยู่บ่อยๆ  ว่าการเริ่มการแข่งขัน น่าที่จะเริ่ม 1 เดือน ช้าจากที่เป็นอยู่  ปรกติเขาเริ่มแข่งปลายเดือน มีนาคม  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ช่วงนั้นอากาศยังคงเย็น และ ลมแรงอยู่  มันเป็นอะไรที่นกไม่ชอบเอาเสียเลย  นักเลี้ยงนกหลายคนแข่งไม่ทันไรก็ต้องหาหมอ  ให้ช่วยรักษานกให้ฟื้นกันก็มีมาก
แต่ปี 2007 กลับต่างกัน เพราะอากาศกลับดีแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน  ดีกว่าตอนฤดูร้อนเสียอีก ปรกติ 7 องศา  แต่ปีนี้ 30 องศา ฟ้าสวยใส  นกของนาย AD เองก็โชว์ผลงานสุดยอดมาก  จนมาถึงวันหนึ่ง  วันแข่งขันระยะ 425 กม. นาย AD เล่าว่าเช้านั้นเขาได้รับรายงานว่านก ได้ปล่อยแล้ว อากาศก็ดี  จนหลายชั่วโมงต่อมาเขาได้รับโทรศัพท์ที่เขาจะไม่มีวันลืมตลอดไป จากเพื่อนของเขา เพื่อนของเขาถามเขาว่า เขาส่งนกแข่งกี่ตัว? นาย AD ตอบแบบภูมิใจว่า “หมดกรง” เพื่อนของเขาก็เลยบอกว่า “เตรียมตัวพบกับวันที่เลวร้าย  เพราะว่านกของพวกคุณทั้งคันรถ  บินวนรอบๆ อยู่ที่รถ กว่า 2 ชั่วโมง  นกหลายตัววนจนหมดแรงลงหลังคารถก็มี ลงหลังคาชาวบ้านก็เยอะ  ก็เพราะว่านกของพวกคุณบินไม่เข้าอย่างนี้ เห็นแล้วกลัว  นกของพวกเราก็ดึงรอไปปล่อยช้าลงอีก 2 ชั่วโมง  ที่จุดใกล้เคียง” (นกของเพื่อนนาย AD แข่งกันคนละคลับ คนละคันกันก็เลยโชคดีไป ที่รอดูคนอื่นเขาปล่อยก่อน  ถ้านกชาวบ้านไปได้ก็ค่อยปล่อยตาม)
นาย AD บอกว่าเขาคิดอะไรไม่ออก ก็รอนกที่ปรกติน่าจะเข้าตอนเที่ยงก็ไม่มา ยิ่งได้ข่าวว่ารถของเบลเยี่ยมพอเห็นนกของพวกเขาวนแบบนี้ก็ยกเลิกการแข่งขัน  นำนกกลับก็ยิ่งปวดหัว นาย AD รอไปอี 3 ชั่วโมง ถึงจะมีนกเริ่มเข้ามา สภาพนกที่เขาเห็น่าเวทนามาก  มันแทบที่จะยืนด้วยขาไม่ได้เลย  มันเป็นไปได้อย่างไรทั้งๆ ที่บินตามลม ?  มันเป็นคำถามที่นาย  AD  ไม่มีคำตอบให้กับตัวเอง
 
 
 เรื่องที่แปลกก็คือ
  •  ปรกติถ้าเจอกับวันแข่งที่แสนเลวอย่างไร  นกก็สามารถบินกับมาได้ไม่วันรุ่งขึ้นก็วันถัดไป  แต่นกดีๆ ของเขาไปแล้วไปลับ  ไม่กลับมาเลย  มันต้องมีเหตุผลอะไรบ้าง ซึ่งนาย AD ก็พยายามหาอยู่
  • จำนวนนกโดยรวมที่หายแม้จะมาก แต่ที่แปลกก็คือ พวกมันล้วนเป็นยอดนกทั้งนั้น  ไอ้พวกที่ปรกติเขาปั้มกันไปเป็นชั่วโมงแล้วค่อยกลับ  วันนี้กลับเป็นพระเอกขึ้นหน้าแรกกันเป็นแถว
  • บางคนแถวบ้านแข่งก็ไม่เคยจะติดเลยก็ว่าได้  แต่นกเขากลับกรงกันครบ
  • เพื่อนของเขาที่โทรหาเขา  รถเขาปล่อยช้ากว่า 2 ชั่วโมง นกกลับได้ดี เร็ว และ ครบ
 
สำหรับนาย AD เขาสูญเสียนกชั้นยอด ประวัติดีๆ ไปหลายตัว บางตัว เป็นยอดนกของกรง  เป็นดาวรุ่ง  ก็หายไป  ยังคงไม่มีคำตอบ  แต่พอจะคาดเดาเอา ก็อยู่ท้ายบทครับ
มันเป็นอะไรที่นาย AD  เอง ก็หาเหตุผลไม่ได้  เมืองไทยเราเองก็เคยมีกรณี
คล้ายๆ แบบนี้ บ้างก็บินไปในทิศทางที่ไม่น่าจะเป็นไปก็มาก  บินเลยตามลมทะลุก็มาก  ตัวดีๆ ของเพื่อนๆผม รวมทั้งผมเองก็หายเช่นกัน  ตัวที่ไม่น่าจะเก่งในวันนั้นก็มาเก่งได้ ก็มี  ขนดีๆ สวยๆ หาย ขนเต็มๆ ถ่ายเป็นหนามเพียบมาดีด้วย เซ็งกันไปตามๆกัน  ปีนี้อย่างจุดศรีเทพ  ภาคกลาง ก็เป้นตัวอย่างที่ดี  วันนั้นนกมีการสูญหายพอควร บินผิดทิศอย่างไม่น่าไปก็มี  นกเราไอยู่บ้านเพ เกาะเสม็ดก็หลานตัว สัตหีบก็มี บินไปได้อย่างไร
 
ในเล่มก็ยังมีการพูดถึงจุด Sint Vincent (1000 – 1200 กม.) ที่คนปล่อยดันลืมข้อตกลงกันของสมาคมนกที่ฮอลแลนด์ว่าไว้ คือถ้าลมใต้ก็ปล่อยเช้าได้ นอกนั้นปล่อยเที่ยงวัน ทั้นนี้ก็ป้องกันนกบินกลับตอนกลางคืน ก็มีการได้เปรียบ เสียเปรียบกัน ปีนี้เขาดันลืมไปปล่อยเที่ยง และแล้วสิ่งที่เขากลัวกันก็เป็นจริง มีนกเข้าตอนกลางคืนหลายตัว  ที่ 1 ก็คือ Koopman ซึ่งนกบินสปีดถึง 134 กม./ชม. (เร็วมากๆ เลยใช่ไหมครับ)
 
 
“ไข้หวัดนก”  ก็เป็นอะไรที่สร้างความปวดหัวให้คนที่ยุโรปพอควร  ฝรั่งเศสปิดพรมแดน เขาก็เลยเปลี่ยนเส้นทางไปแข่งทางเยอรมัน  โดยรวมก็ไม่มีอะไร  นกก็บินเข้าปรกติ แต่ที่สังเกตุได้คือ นกรุ่น (1 ปี)  บินดีกว่านกแก่ เพราะพวกนกแก่ชำนาญเส้นทางเดิมอยู่ (ตรงไปทางฝรั่งเศส)  นกรุ่นยังสด สมองโล่ง ก็เลยกล้าตัดสินใจ  แต่ก็มีอยู่วันหนึ่ง สมาคมที่ฮอลแลนด์แข่งที่ Baden  ประมาณ 400 กม.  พวกเบลเยี่ยมไปข่งที่ Heidelberg  ระยะทางพอๆ กัน  ปรากฏว่านกที่ออลแลนด์ก็กลับบ้านกันปรกติดีมากๆ แต่ นกของพวกเบลเยี่ยมหายกันประมาณ 50 %  งง กันเป็นแถว  ว่ามันอะไรกัน  ท้องฟ้าเดียวกัน  เพียงแต่ท้องฟ้าไม่มีเมฆ  นกมันทะลุไปไหน  ไม่มีใครให้คำตอบได้ครับ ?????????  ปรกติทุกๆ ปี  นาย AD จะสนใจดูผลงานของนักเลียงนก  โดยเฉพาะพวกที่มีผลงานยอดเยี่ยมในปีนั้นๆ  ปี 2007 ก็มีนักเลี้ยงนกที่มีผลงานดี  แต่ไม่มีใครที่มีผลงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี  เขาสรุปคร่าวๆ ว่า หลักๆ น่าจะเป็นเพราะอากาศที่ไม่ค่อยจะดี  เปลี่ยนไป เปลี่ยนมา และก็เป็นผลให้สุขภาพ และ สภาพของนกตอนแข่งปรับตัวไม่ทัน
 

 
    

ตอนที่ 4 ของ The Long Hot Summer

           ตอนนี้เป็นตอนที่นาย  AD  พูดถึง เรื่องของความร้อน  ซึ่งตอนแรกก็ พูดถึงเพื่อนของเขาคนหนึ่งซึ่งเป็นนักเลี้ยงนกที่เก่งมากมาเยี่ยมกรงเขา และ พูดถึงความร้อนภายในกรงจะเป็นปัญหากับนกของเขาแน่   แต่นาย AD เองก็มีข้อชี้แจงที่ดีถึงทิศทางของกรงที่สร้างไว้รับลมดี  ภายในกรงก็มีอุปกรณ์หลายอย่างติดเพื่อให้อากาศภายในระบายได้ดี     เขาเน้นไปที่ “กรงนก”  ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจอย่างว่า กรงนกในแต่ละ โซน และ ทวีปนั้นจะออกแบบการสร้างที่ต่างกัน  ลองนึกง่ายๆ ถ้าเอากรงแบบไทยๆ เราไปตั้งไว้ในยุโรป   เรียบร้อยแน่ทั้งนกในกรงคงป่วย   คนเลี้ยงก็ป่วยแน่   โดยเฉพาะในหน้าหนาว  ที่หนาวเข้ากระดูก  การออกแบบจะต่างกันไป  ของเราหน้าร้อนไม่มีปัญหานักเพราะเราเจอร้อนเป็นอาชีพอยู่แล้ว   แต่กรงที่ยุโรปต้องออกแบบเพื่อเจอกับอากาศที่แปรปรวนตลอดเวลา   การออกแบบกรงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก   แดด ลม การถ่ายเทของอากาศภายในกรงเป็นเรื่องที่สำคัญ      ที่ยุโรปกรงนกจำนวนมากจะมี กรงอาบแดดด้านหน้า และมีกรงกั้นภายใน  และมีกระจกเพื่อให้แดดเข้ามาได้ แต่ลม กับความหนาวจะป้องกัน   

นายAD บอกว่า คนที่เป็นแชมป์นั้นมีวัฐจักรของตนเอง   และ หนึ่งในนั้นก็คือกรงนกที่ดี    อุณหภูมิ ออกซิเจน แสง การถ่ายเทของอากาศ และ การออกแบบภายในกรงที่สามารถทำให้นกเข้าฟอร์มหรืออยู่ในสภาพที่ดีง่ายที่สุด

เขาให้แง่คิดว่ากรงนกไม่จำเป็นต้องหรูหรา  ไม่ต้องแพง  นกเราชนะได้สม่ำเสมอ กรงก็ถือว่าดีแล้ว  จะดีกว่านั้นก็ไปหานกที่ดีๆมาเข้ากรง   
กรงนกบ้านเราต้องระวังเรี่องลมให้มากที่สุด  นกจะเข้าฟอร์มได้ดี  สุขภาพจะดี หรือ ไม่ดี ก็ตอนออกแบบสร้างกรง หรือ ควบคุมการถ่ายอากาศภายในกรงละครับ 

ผมชอบใจที่นายADเปรียบเปรยไว้ตอนท้ายว่า นกพิราบไม่สามารถ “เปิด” หรือ “ปิด” ประตูเองได้   มันก็เหมือนกับนักโทษที่โดนขังอยู่  ดังนั้นมันต้องการความช่วยเหลือจากเรา

การอาบน้ำให้นกเป็นเรื่องที่สำคัญ หลายท่านบอกว่าใม่ค่อยจะให้นกอาบน้ำก็แล้วแต่ละครับ ถ้านั่นเป็นสูตรของท่าน  แต่ธรรมชาติของนกมันต้องการ และ ค่อนข้างจะบ่อยครั้ง    ถ้าเราสังเกตุว่าเราไม่ได้ให้มันอาบหลายวัน  มันจะไปนอนข้างๆ ภาชนะที่ใส่น้ำ เล่นน้ำอยู่แถวนั้น   การอาบน้ำให้นกเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะช่วงที่นกถ่ายขน ต้องมากกว่าปรกติ    นกที่เข้าฟอร์มก็จะชอบอาบน้ำมากว่านกที่ไม่สบาย    หลายคนบอกว่า ตอนอาบน้ำนก แป้งยิ่งมากยิ่งดี  มันอาจจะจริง แต่ไม่ชัวร์
           
หลายๆครั้งที่เขาคิดว่าจะจับนกที่ไม่ยอมอาบน้ำลงตระกร้าไปแข่งดีหรือเปล่า  ขณะที่ผลแข่งของมันก็ออกมาดี   บางครั้งนกเองก็ไม่มีความรู้สึกอยากจะอาบน้ำ  ไม่ใช่ว่าสภาพนกจะไม่ดี แต่เป็นเพราะอากาศเช่นกัน  บางครั้งร้อนๆ มันก็ไม่อยากอาบ  แต่กลับกันอากาศเย็นๆ มันกลับชอบก็มี  อากาศมีผลเช่นกัน ( แต่ก็ต้องขึ้นกับเราอาบบ่อยขนาดไหน)  บางคนนกกลับจากแข่งก็อาบน้ำเลยก็มี แต่นายADกลับไม่เห็นด้วย   ผมว่านกควรจะพักให้เต็มที่ก่อน  แต่ถ้าใครคิดว่าเป็นหนึ่งในความสำเร็จขอนตนเองก็ทำต่อไปครับ   สิ่งที่จะช่วยให้นกคายเครียด คายร้อน ได้ดี ก็อยู่ที่มือเราแล้วละครับ ว่าจะให้อาบหรือไม่

 
 ตอนที่ 5 The English Patient
 
สวัสดีเพื่อนๆ ชาว Lee Van Hawk Club สื่อกลางของวงการนกพิราบแข่ง และ ถือได้ว่าเป็นเว็บที่ดีที่สุดที่ไทยเราเคยมีมา   จำได้ว่าตนเองได้คุยกับทาง LVH เมื่อตอนที่พวกเขามีสมาชิกสัก60คน ก็ได้บอกพวกเขาว่าตามความคิดผมน่าจะเกิน 80 ได้สบายตอนสายเหนือ และ จะมากเกินร้อยตอนสายอีสานแน่ ก็มากเกินคาด และ ขอแสดงความยินดีกับทาง LVH ด้วยที่ประสบความสำเร็จเกินคาดในระดับหนึ่ง   ก็ขอให้รักษาระดับมาตราฐาน และ จุดยืนในการทำงาน รวมถีงความเป็นกลางที่ทำได้ดีในเวลาที่ผ่านมา

              ก็ขอเข้าเรื่องเลยครับ   ก่อนอื่นก็ต้องขอโทษด้วยครับที่ไม่ได้แปลตอนที่ 5 ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันก่อนหน้านี้  ซึ่งอันที่จริง ผมก็ได้อ่านจบเล่มไปหลายเดือนแล้ว ก็ตอนที่ไปเที่ยวยุโรปกับครอบครัวช่วงสงกรานต์ ก็เลยได้อ่านทั้งบนเครื่องบิน รถไฟ โรงแรม จนจบ     ชื่อของ ตอนที่ 5 นี้ก็เป็นการเล่นคำ โดยใช้ชื่อหนังดังเรื่อง The English Patient ซึ่งเป็นหนังคลาสสิคเรื่องหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ เป็นหนังออกแนวดรามา ได้ออสการ์กันไปหลายตัว   นายAD เรา ก็ช่าวเปรียบเปรย  ก็เป็นเรื่องที่นักเลี้ยงนกชาวอังกฤษข้ามน้ำ ข้ามทะเลมาเยี่ยมเขา  เขาก็ต้อนรับ เขาก็ได้นำนกให้หมอนี่ดู  นายADเห็นเขาจับนก เหมือนกับทรมานนกเหลือเกิน จับไม่ค่อยจะเป็น และ ไม่นุ่มนวลพอ ก็พอเดาได้ว่าไม่น่าจะเป็นนักเลี้ยงนกที่ดีนัก   ส่วนตัวเขาแล้วคนเลี้ยงนกที่ดีหรือไม่ ส่วนหนึ่งที่สำคัญก็สามารถตัดสินดูได้จากการที่เขาเหล่านั้นจับนกดู   นกตัวแรกที่ADจับให้ดูเป็นนกที่เขาซื้อมาเพื่อทำพันธุ์แต่ลองเล่นดูแล้วใช้ไม่ได้  ลูกก็บินไม่ได้เรื่อง   แต่พอยื่นให้คนอังกฤษนายนี้กลับทำตัวเป็นเซียนบอกว่า “ไอ้นกตัวนี้เป็นยอดนก เป็นนกแบบแท้ๆนายADเลย  นกอย่างนี้แหละที่เขาฝันหา และต้องการ” ก็ทำให้นายAD ถามตัวเองว่า “ไอ้นกที่เขาซื้อมาไม่ได้เรื่องเลยนี่นะเป็นนกสุดยอด  และ เป็นนกแบบของนาย AD เลยเหรอ?”  สรุปว่าถ้าขายนกดีๆให้กับหมอนี่เสียของแน่.....  ก็เป็นแง่คิดดีๆ สำหรับเรา อย่าวิจารณ์ถ้าไม่รู้จริง อาจหน้าแตกได้ ๕๕๕๕

                     ในที่สุด Ad ก็ไม่ได้ขายนกสักตัวให้กับหมอนี่  การขายนกที่ไม่ดีให้กับคนอื่นแม้จะบาทเดียวก็ไม่ใช่สไตล์ของเขา  ก็เลยบอกกับคนที่มาเยี่ยมว่า “ผมไม่มีนกที่จะขายให้คุณครับ”  ก็เป็นอะไรที่บอกถึงความบริสุทธ์ใจ ไม่หลอกขาย  นกไม่ดีก็ไม่ขายให้  เจ้าหมอนี่ก็เลยบ่นว่า “ไอมาตั้งไกลเพื่อได้ยินคำนี้เหรอ???”  ก็เลยโดนนายAdสวนกลับว่า “นกของผมไม่เคยโฆษณาว่าจะขาย  ผมก็ไม่ได้ชวนคุณมา  คุณเองอยากมาเยี่ยม ผมก็ต้อนรับแล้ว”

         
               2ปีให้หลัง คนอังกฤษนายนี้ก็กลับมาอีก ครั้งนี้มาเพื่อขอปรึกษา สักพักก็พอจะชัดเจนขึ้นก็เมื่อหมอนี่เอาทั้งแคตตาล็อก และ เพ็ดดีกรีมากองบนโต๊ะเป็นปึกมากจากหลายๆ กรง  และ ถามว่าผมคุ้นเคยกับนกเหล่านี้ที่อยู่ในเพ็ดดีกรีหรือเปล่า? แน่นอนจำได้ เพราะ นกที่อยู่ในนั้นมันก็มีเชื้อสายนกของนายAD เขาก็เลยพูดกับนายอังกฤษว่า “คุณเริ่มนำนกผมมาเล่นแล้วหรือ? แต่นกที่โชว์อยู่ในเพดดีกรีอีกจำนวนมากนี้ถ้าถามความเห็นผมตรงๆ ก็ต้องเสียใจที่จะต้องให้ความเห็นของผมตรงๆ นกพวกนี้ไม่ได้เรื่อง.... เท่านี้หละนายอังกฤษก็ต้องช็อคแล้วบอกว่า “นกพวกนี้ไร้ค่าเหรอ?” ADก็ตอบว่า “แน่นอน”  “โอ้...พระเจ้า คุนแน่ใจได้ไง คุณ  AD”

              “ผมรู้จักแชมเปี้ยนจำนวนมาก รวมถึงนกของเขา  หลายๆคนมีนกพันธุ์ตั้ง 50 คู่ แต่ผมไม่เคยเห็นใครมียอดนกแข่งเกิน 10 ตัว ....คิดง่ายๆ ถ้าพวกแชมเปี้ยนเพาะนกแข่งเองปีละ 75 ตัว 4 ปีก็จะมี 300 ตัว ถ้ามันง่ายขนาดนั้นนกพวกนี้ก็เป็นยอดนกกันไปหมดนะสิ....  พวกคุณต่างก็ต้องการนกแชมปเปี้ยน แล้วคุณไม่คิดหรือว่าคนอื่นเขาไม่ต้องการ?  แต่ละประเทศมีแชมเปี้ยน และ ยอดนกมากมายถ้าทุกคนคิดแบบนี้ เรามีแชมป์ และ ยอดนกเต็มล้นโลกไปนานแล้ว....    จากเพ็ดดีกรีกองเต็มโต๊ะนี่ “เอ้า...จะบอกให้ว่าคนอื่นเขาทำกันอย่างไร? พวกเขาซื้อลูกนกจากแชมเปี้ยน 10 ตัว  ถ้าโชคดีจริงๆ ได้นกที่ดีแค่ 2 ตัวก็โชคดีมากๆ แล้ว ที่เหลือ ที่พวกเขาคิดว่านกไม่ดี ไม่ควรค่าที่จะเก็บ  ก็หาทางขายให้กับคนต่างชาติเพื่อคุ้มกับเงินที่พวกเขาได้ลงทุนไป” และ นกที่ใช้ไม่ได้เหล่านี้ละ ก็คือนกที่นายAD ชี้ไปที่เพดดีกรีที่กองอยู่บนโต๊ะของเขา.....
             นายอังกฤษยังก็ร้องว่า “แต่ว่านกพวกนี้มันมาจากนกที่ดีๆทั้งนั้นนะ”  นายADก็สวนทันทีว่า “แล้วไง...คุณว่านกตัวมันต้องดีเพราะว่าพ่อแม่มันดีงั้นเหรอ? แล้วคุณได้นกพวกนี้มาจากไหนละ? ” นายอังกฤษตอบแบบมั่นใจว่า “มาจากอินเตอร์เนท....พวกเขาเขียนว่านกพวกนี้ และ ตัวอื่นๆ พวกนี้เป็น Pure Gold ทองเนื้อแท้ และ ผมเองก็ต้องการนกที่ดีๆแบบนี้”  นายAD ก็เลยสวนกลับว่า “คุณรู้อะไรไหม? ไอ้พวกโฆษณาชวนเชื่อขายนกรู้ดีว่าเขาจะต้องเขียนยังไงเพื่อให้ผู้ซื้ออย่างคุณหลงไหลในเวทย์มนต์การเขียนของเขา....   คุณอาจจะมีโอกาสที่ดีในการออกเดทกับนางงามโลกมากกว่า ที่จะได้ยอดนกแก่ๆจากกรงแขมปเปี้ยนแต่มาจากคนอื่นๆ (ถ้ามันดีจริงพวกเขาจะขายออกมาให้คุณเหรอ? ทำไมต้องซื้อผ่านมาจากคนอื่น ทำไม่ซื้อจากเจ้าโดยตรง ให้เขาซื้อมาลองเล่นก่อนตัวไหนดีก็เก็บ  ไม่ดีก็มาขายให้พวกคุณ!!!)  ไอ้พวกนายหน้าขายนกเขารู้ดีว่าจะโกหกอย่างๆไรให้เหมือนจริง  ยิ่งบนอินเตอร์เนท ละตัวดี”

 
              ก็ติดตามตอนต่อไป   ระหว่างที่เขียนก็ดูบอลคู่ ฮอลแลนด์ กับ รัสเซีย  ต้องยอมรับว่ายอดโคช กุ๊ด ฮิดดิ้ง นั้นไม่ธรรมดา ทำทีมรัสเซียปราบทีมเต็งอย่าง ฮอลแลนด์ ได้ 3-1  ทั้งๆที่ฮอลแลนด์นั้นได้ปราบทั้งอิตาลี และ ฝรั่งเศสมาได้อย่างสุดยอด  ยอดนักเตะที่ผมได้ยิน และ ได้เห็นครั้งแรก “อาชาวิน”ของรัสเซีย คนนี้เยี่ยมมาก   ก็มาคิดได้ถึง ยอดโคช และ ยอดนักเตะ  ก็เหมือนกับ นักเลี้ยงนกเราที่เปรียบเสมือนกับโคช หรือ ผู้จัดการทีม และ นกของเราก็เหมือนนักเตะ  ก็หา "อาชาวิน" ให้เจอนะครับ.......   
 
เจ้าหนุ่มอังกฤษก็เลยถามนาย AD ว่า “แล้วเจ้า Mattens และ Sissiของคุณละ พวกมันเป็นนกพันธุ์ที่ดีหรือเปล่า?  “ดีมาก... พวกมันได้ให้ลูกที่เป็นยอดนกให้กับผมถึง 5 ตัว และ นกคู่ใดที่ให้ลูกเป็นยอดนกแข่งถึง 5 ตัวนั้นหาได้ยากมาก”  (Mattens และ Sissi เป็นยอดนกของนาย AD)  .....คนบางคนไม่สามารถที่จะหยุดซื้อ “นกกระดาษ” (นกที่คัดสรรโดยดูที่เพดดีกรีเป็นหลัก) วันหนึ่งพวกเขาก็จะซึ้งในประสบการณ์แบบนี้ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนถูกโกง โกรธ และ รู้สึกไม่มั่นใจต่อไป... บางครั้งการวิจารณ์ตรงๆแบบนี้ก็สะเทือนใจเหมือนกัน   ไอ้พวกคนขายนกแบบนี้ก็เหมือนนักการเมือง สัญญิง สัญญา  สร้างฝันมั่วไปหมด... ปัญหาของเจ้าหนุ่มอังกฤษที่นาย AD อยากจะสอนก็คือ ทำไมอยากได้นกของใคร ไม่ตรงไปหาคนนั้นละ  ทำไมไปซื้อจากคนอื่นซึ่งซื้อไปแล้ว อาจจะเล่นไม่ดี หรือ คัดนกที่ดีที่สุดเก็บไว้และขายนกที่ไม่ดี ไม่เอาออกเสีย.....  การซื้อนกนั้น  ควรที่จะซื้อนก Late bird เพราะนกเหล่านี้ไม่ได้เพาะมาเพื่อแข่ง  ถ้าซื้อนกที่เขาเพาะก่อนหน้านี้เป็นลูกนกที่ใช้แข่งละก็ ไม่ได้ของของดีแน่ เพราะของดีพวกเขาจะเก็บไว้แข่ง........

                 นาย AD เล่าว่า มีครั้งหนึ่งที่พ่อค้าคนกลางเขาติดต่ออยากได้นกของKlak เพื่อลูกค้าชาว Taiwan แต่ Klak ไม่มีให้  เจ้าคนนี้ก็ต่อพ้อ Klak ว่า “ผมนะส่งนกของคุณออกมากกว่าตัวคุณเสียอีก”  Klakก็เลยสวนให้ว่า “ผมเชื่อคุณ แต่พวกมันเป็นนกที่ไม่ดีที่คนอื่นเขาต้องการกำจัดออกจากกรง คุณนะช่างไม่สนใจ เอาใจใส่ลูกค้าของคุณเลย คุณมันพวกนักล่าคอมมิชชั่น”  Klakว่าเข้าให้อย่างแรง และ ยังเปิดหนังสือนกโชว์ให้ดูซึ่งเขียนว่า “ต้องการนกของKlak เพื่อลูกค้าชาวต่างชาติ นกต้องมีเพดดีกรีของแท้  ไอ้คนเหล่านี้นะทำลายชื่อเสียงของผม และ ตอนนี้ผมขอให้คุณออกไปจากบ้านของผม และ อย่ากลับมาอีก”  เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่ หลายๆ ปีก่อน นกของKlak โด่งดังมาก จนพวกพ่อค้าคนกลางโฆษณา หานกKlak จะมีคุณภาพอะไรก็เอาหมด ส่งไปขาย  จะดีไม่ดีไม่รู้  ขอให้ขายได้เป็นใช้ได้  นั่นละที่Klakโกรธที่พวกนี้ไม่มีจรรยาบรรณ หรือ สามัญสำนึกเลย  แทนที่จะหานกดีจริงๆ ให้ลูกค้า ซึ่งพวกที่
 
 
ต้องการกำจัดนกที่ไม่ดีก็ขายได้  ทำให้ลูกค้าที่ซื้อไปเล่นไม่ดี หรือ พอเห็นนกก็หมดอารมณ์ บ้างก็พ้อว่า. “นี่เหรอ นกKlak ทำไมแม่งช่างโหลยโท่ยอย่างนี้วะ”   ใครเสีย   Klak นะเสีย  คนซื้อดูแต่เพดดีกรีว่าของใคร...  (ไม่ใช่ว่าพอเป็นนกของ Klak แล้วจะดีทุกตัว แม้แต่ตัว Klak เองก็รู้ดีถึงข้อนี้  และ อยากที่จะให้คนซื้อทุกคนรู้เช่นกัน....)

                นาย  AD ก็ชี้ไปที่เพดดีกรี  “ปี2001...... ปีนี้ 2005 คุณเพิ่งจะได้นกมา  ก็ลองคิดดูง่ายๆว่าพวกเขาเล่นมา 4 ปี และ ไม่ประสบความสำเร็จก็โละขายออกมาให้คุณ.....   เจ้าหนุ่มอังกฤษก็อุทานปนสบถตามสไตล์ฝรั่งว่า “HOLY SHIT” และ ก็เปลี่ยนเรื่องคุยโดยถามว่า “จริงหรือเปล่าที่ Gaby Vandenabeele แข่งนกด้วยพวกสติคเฮลเบาท์แท้ๆ”  Ad ก็เลยสวนกลับว่า “มันจริงหรือเปล่าที่ประธานาธิบดีบุช มีอะไรกับโป๊บ”( ก็เป็นการเปรียบเทียบแบบค่อนข้างแรง  สรุปก็คือมันไม่จริงหรอก  ไอ้พันธุ์แท้ๆมันเป็นไง  สติคเฮลเบาท์ตายไปนานครึ่งศตวรรษนานพอจะมีใครมีแท้ๆอีกเหรอ   แท้แล้วมันการันตีว่ามันจะเก่งเหรอ?)  นายอังกฤษก็เลยถามว่าแล้วหลุยส์ แวนลูนละเคยได้ยินและรู้จักไหม?  Ad ก็เลยบอกว่า เขาอยู่ห่างจากนี้แค่ 5 นาที  เจ้าอังกฤษก็เลยได้ทีคุยว่าเขามีนกของแวนลูนเป็นพวกลูกของ King, Speedy, Incredible, Wonder girl  ว่าแล้วคำตอบของ Ad ก็ทำให้นายอังกฤษเราอ้าปากค้างได้เพราะ Ad บอกเขาว่า “ เขารู้จักแวนลูนดี และ นกแถบจะทั้งหมด  แวนลูนพูดอังกฤษไม่ได้เลย  และ  แวนลูนไม่มีวันที่จะตั้งชื่อนกของเขาซะสุดหรูขนาดนี้  แวนลูนตั้งชื่อนกของเขาแสนง่าย เขาตั้งชื่ออย่างเก่งก็ ไอ้กระ  ไอ้เทาปีกขาว   ไอ้ที่คุณเห็นในแคตตาล็อกนะไม่ใช่แล้วละ”   ว่าแล้วนายอังกฤษเราก็อุทานเหมือนเดิมคือ “Holy Shit !!!”  (กูโดนหลอกอีกแล้วเหรอ)

                 หนึ่งปีให้หลัง .... วันหนึ่งโทรศัพท์ก็ดังขึ้นซึ่งปรกติAdจะไม่ค่อยได้รับ  ภรรยาเขาจะรับและส่วนใหญ่เมื่อใครถามหาAd เมียเขาก็มักจะบอกว่าไม่อยู่ เพราะวันๆมีแต่โทรมาถาม มาคุยจน แถบบ้าได้ในบางวัน .... วันนี้เมียเขาไม่อยู่ก็เลยรับแทน   คนที่โทรก็คือนายอังกฤษคนเดิม เขาขอบคุณที่Adให้คำแนะนำดี ๆ มีความรู้ ตาสว่าง แต่พระเจ้า เหลือเชื่อว่าเขาก็ยังมีคำถามที่ดูเหมือนว่าหมอนี่ไม่ได้พัฒนาตามที่คิดไว้ เขาถามAdว่า “Ad คุณมีความเห็นอย่างไร ถ้าผมจะเข้าคู่นกโดยนำนก Hofkens แท้ๆ กับ Weggeแท้ๆ มาผ่าเหล่าเข้าด้วยกัน”   Ad แทบจะไม่เชื่อกับหู ว่า Hofkens แท้ๆ กับ Weggeแท้ๆ ก็ เจ้า Hofkens คนทั้งโลกต่างก็รู้ดีว่าไม่มีนกพันธุ์หลักของตนเอง  เขาซื้อทั่วๆไป และ สำหรับ Wegge ซึ่งตายไปร้อยกว่าปีแล้ว ยังมีนกแท้ๆ ของเขาหลงเหลืออีกเหรอ  ว่า
 
 
แล้วนาย Ad  เราก็ยืมคำอุทานของนายอังกฤษมาใช้ว่า  “HOLY HOLY SHIT”  ว่าแล้วก็เอาเหล้าสก๊อตวิสกี้กรอกปาก  วันที่แสนดีก็หมดไปอีกวัน.... (ผมเองก็เห็นโฆษณาแบบนี้อยู่บ่อยๆเหมือนกันถึงนกพันธุ์เก่าแท้ๆ  หลายๆคนคิดว่าจะเรียนลัด และ เก๋า หรือ เจ๋งกว่า คิดว่าถ้ามีนกพวกคลาสสิคเหล่านี้อยู่ในกรง และ ส่งแข่ง   ผมเคยคิดว่ามันโฆษณาชวนเชื่อซะมากกว่า  และ นกพวกนี้มันยังพัฒนาอยู่รอดพอที่จะคว้าแชมป์ได้อย่างมั่นคงอย่างต่อเนื่องเหรอ?)


บทที่ 5 ก็จบลง ก็คิดว่าจะมีแง่คิดอะไรบางอย่างโดนใจเราได้บ้าง.....สวัสดี
 
 
 
 
 สวัสดี
ก่อนหน้านี้ก็ได้พูดค้างไว้เกี่ยวกับการทำทีมฟุตบอล ก็ มีความคล้ายกับการทำทีมนก  ที่อยากเขียนซ้ำอีกครั้งก็เป็นเพราะอยากที่จะสื่อในอีกแง่มุมหนึ่งโดยให้อะไรที่ใกล้ตัวอย่างฟุตบอลที่เราต่างก็รักกัน มาเปรียบเทียบให้เห็น ให้แง่คิดดีๆ มาคิด มาปรับปรุงทีมนกของเรากัน

จุดอ่อน จุดบกพร่อง ต้องแก้ไขไหม?

มาลองคิดดู ถ้าการทำทีมนกของเราไม่มีการเปลี่ยนแปลง โอกาสที่จะชนะดีขึ้น หรือ รักษามาตราฐานที่ดีไว้คงที่ก็ยากเหมือนกัน เป็นเพราะคู่แข่งของเราจำนวนมากเขาต่างก็อยากที่จะชนะ และ เขาก็คิดที่จะปรับปรุงในจุดที่เขาต่างคิดกันว่ายังเป็นจุดอ่อน ต้องปรับปรุง ต้องเติมให้ดีขึ้น ดังนั้นถ้าเรายังอยู่กับที่ก็เท่ากับว่าเราถอยหลังนะครับ  ถ้า Man U ทีมที่สมัยเป็นแชมป์พรีเมียร์ 3 สมัยติดกันครั้งแรก ไม่ปรับปรุง จะมีวันได้ถึง 18 แชมป์ลีกสูงสุดของอังกฤษหรือ  จำได้ว่า อาร์เซนอล เชลซี ก็มาเบียดแย่งแชมป์ไปในบางปี  โดยเฉพาะเสี่ยหมีของค่ายเชลซีที่ปรับทีมขนานใหญ่ตั้งแต่ ผู้จัดการทีม รวมถึงซื้อนักเตะดีๆมาเข้าทีมแบบชนิดที่ว่า  เอาเงินมาปูทางเป็นแชมป์กันเลย แต่ อย่าลืมว่ามันก็ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ  เขาต้องมีการทำงานที่ค่อนข้างหนักทั้งทีมงาน

อะไรที่ต้องเพิ่ม เสริม เติมแต่ง?

เชลซีอย่างที่บอก เปลี่ยนโค๊ช เอา โฮเซ่ มูลินโย่ มา พร้อมนักเตะดีๆ อีกมากมาย ดรอกบา เอซเซียง ใช้เงินมหาศาลนะครับ  อยากชนะ อยากดัง ก็ลงทุน     Man U ไม่เปลี่ยนโค๊ช แต่ เติมนักเตะในตำแหน่งที่อ่อน เช่น วีดิช เอวรา มาเติมแนวหลัง เพราะ พี่ เวส บราวน์ ลงทีไรเสียวไส้  ผมถือว่าท่านเซอร์ตัดสินใจดีมาก  ก็เหมือนกับทีมนกเรา ถ้าเรามีนกพันธุ์ที่ให้ลูกไม่ดี ไม่นิ่งพอ เราจะเสียเวลาไปทำไม เราก็ต้องหาใหม่มาเติม   เราไม่มีนกพันธุ์ทางไกล เราก็ต้องเสาะหา เพราะถ้วยพระราชทานอยู่ไกลๆกันซะส่วนใหญ่  เรามีนกที่สปีดยังไม่ดีพอ  ทีมนกมาไม่แน่น อันนี้สำคัญ แสดงว่าสายพันธุ์หลักๆในกรงไม่นิ่งพอ  ในวันที่คนอื่นเขามากันได้มาก มาแน่น ต้องพิจารณากรงเรา นกเราหน่อยครับ   ในที่นี้เรา
 
 
 
 
ต้องสมมุติให้การเลี้ยงนั้นมีค่าคงที่นะครับจะได้ไม่ต้องมาศรีธนนชัยกันนอกแถวไป  เราไม่มีเวลาก็ต้องหาคนเลี้ยง หรือ หุ้นส่วนที่ดีมาช่วยกัน    ดังนั้นเราคงต้องถามตนเอง วิเคราะห์ตนเอง  หาเหตุผลที่สนับสนุนเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

สิ่งที่มีอยู่ ดีอยู่แล้วยังต้องเสริมไหม?

คงต้องคิดถึงอนาคต ถ้าเราไม่คิดเปลี่ยนแปลง เราก็ถอยหลัง  เราคงต้องลองเสริมทีม ตัวไหนดีก็เก็บไว้ต่อสายพันธุ์ ครอสกับนกเหล่าอื่นเผื่อจะได้นกที่ดีกว่าเดิมก็ได้ มันต้องลองละครับ  ก็เหมือนทีมฟุตบอลสิ่งหนึ่งที่ ทีมอย่าง Man U, Liverpool, Arsenal อยู่ได้นานในหัวแถว Big four และ จะอยู่อย่างนี้อีกนานเพราะเขามีทีมสำรองที่ดี ทีมเยาวชนซึ่งปั้นขึ้นมาเสริมทีมอยู่เรื่อย  พวกนี้ใช้เวลา แต่ต้นทุนต่ำ และ ได้เห็นวิวัฒนาการของเด็ก นิสัย ปลูกฝัง Loyalty ในการรักกับสโมสรแบบอยู่ในสายเลือด เช่น กิกส์ เจอราด เนวิลส์ พวกนี้ลูกหม้อ ปั้นมากับมือ  ทีมนกเราก็ต้องคิดถึงอนาคต หานก หรือ ทำทีมไว้ด้วย ทดลองกันถ้าดีก่อต่อสายได้ยาวขึ้น

เราควรคิดถึงอะไรเวลาหมดสาย?

ฟุตบอลผมเชื่อว่าไม่ทันหมดการการแข่งขัน ปิดฤดูกาล เขาก็รู้แล้วละครับว่าอะไรที่เป็นข้อเสีย เป็นจุดอ่อนให้คู่แข่งแซงหน้าไป  เขาต้องคิดวางแผนกันเนิ่นๆ เห็นแววใครไม่ดีก็ต้องเตรียมเปลี่ยน เตรียมซื้อตัวมาแทน  สำหรับนกเราคงต้องทำการบ้านบ้าง
เราประสบความสำเร็จหรือไม่? พอใจกับผลงาน?  ถ้าไม่   รู้หรือเปล่าว่าอะไรที่มันพลาด มันควรจะต้องปรับกัน?  สายพันธุ์  วิธีการเลี้ยง  เวลา ฯลฯ   ถ้าไม่รู้ก็ไม่รู้จะทำไงเหมือนกัน ก็อยู่กับที่ ถอยหลัง  ให้เวลาคิด คุยกับคนเลี้ยง กับตนเองบ้างนะ เพื่ออนาคตที่ดีกว่า
 
 
 ทุนเป็นปัจจัยที่สำคัญไหม?
Man U , Chelsea, Liverpool, Arsenal เขาต่างก็ใช้เงินจำนวนมากเพื่อหานักเตะดีๆ มาเสริมทีมกันเสมอ  นกพันธุ์เราก็เหมือนกัน เราต้องคิดเสมอว่ามันมีถอย มันมีแก่ มันมีโอกาสอ่อนแอ  การเลี้ยงนกมันใช้เงินเหมือนกันนะ  นกพันธุ์ที่ดี ที่ประสบความสำเร็จ นกนอก พวกนี้ใช้เงินซื้อนะครับ ที่ให้กันมันก็มี ฟรีมันก็มี ก็ถ้าเจอดีก็เฮงไป แต่ที่แน่ๆ เราต้องใช้เงินซื้อบ้าง  กรงใหญ่ๆเขามีกำลังทรัพย์ ทีมงานที่ดี ก็เป็นต่อ แต่ไม่ใช่ว่ากรงเล็กจะไม่มีสิทธิชนะนะ  มีโอกาสครับแต่ต้องปรับสภาพแวดล้อม ทีมให้เหมาะกับตนเอง แต่สัดส่วน โอกาสก็ถือว่าเป็นรองเหมือนกันนะในแง่ความสม่ำเสมอ   เงินนอกจะใช้กับการเสริมนกแล้วยังคงมีผลต่ออาหารนก ยา วิตามิน ใช้ยาให้ถูก ใช้ให้เป็น ราคาของเหล่านี้สำหรับนกไม่ถูกนะครับ

ครับที่เขียนมาทั้งหมดก็เป็นแง่คิดในมุมมองหนึ่ง ก็หวังว่าจะให้ประโยชน์กับบางท่านได้บ้าง

ช่วงสุดท้ายในฉบับต่อไปครับ.... 
 
 
 
 
 สวัสดี

ก็มาถึงบทสรุปก่อนจะชมบอลกันวันนี้ให้สนุก  ปนแง่คิดสำหรับเรื่องนกด้วย

ผมเคยเขียนไว้ว่า "การเลี้ยงนกพิราบแข่ง มันเป็นทั้งศาสตร์ และ ศิลป์ ในตัวมันเอง" ศาสตร์ที่เราต้องเรียนรู้  หลายๆคนที่พลาด ที่แพ้ เป็นเพราะไม่เข้าใจในวัฐจักร วงจรชีวิตของตัวนกดีพอ  มันเป็นศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้ การให้ยา  การให้อาหารให้เข้ากับหลักการโภชนาการ การเรียนรู้วงจรชีวิต  การแก้ปัญหา เป็นศาสตร์ที่เราต้องรู้นะครับ ถ้าจะเลี้ยงนกแข่ง   เลี้ยงเล่นๆนะได้ แตเลี้ยงแข่งมันเป็นอะไรที่มีผล แพ้ ชนะ ความดีใจ ภูมิใจ เสียใจ ผิดหวังในตัวมันเอง  หลายอย่างมันขึ้นอยู่กับเรา หลายอย่างก็ช่วยไม่ได้เช่น ลม ฟ้า อากาศ  การดูแลนกที่ทรุด ไม่สบาย โทรม ให้ฟื้น  เราให้ใจอย่างเดียวไม่ได้  การเข้าคู่ก็เป็นศิลป์ที่เราฝันว่าเข้าแล้ว รูปร่างเป็นอย่างไร ปีกอย่างไร ตาอย่างไร บินระยะไหน หวังผลได้ขนาดไหน เข้าคู่นกโดยไม่ฝันมันไม่ได้นะครับ  เสร็จแล้วก็เอาฝันมาประเมิณผลกันภายหลัง

ฟุตบอลก็เหมือนกันทีมงานจะต้องมีความรู้ในการจัดการไม่ว่าจะการออกกำลังกาย การกิน เทคนิคที่ต้องปรับ นักเตะมีพรสวรรค์เป็นศิลปินในตัวแต่ก็ต้องมีคนคอยช่วยแนะ ขัดเกลากัน ก็ดูอย่างคริสเตียโน่ โรนัลโด ปีแรกที่ย้ายมาแมนยู เป็นไง? บ้างก็ว่าเป็นลูกพ่อเลี้ยง เลี้ยงอยู่นั่นละ ผมเองยังลำคาญเลย ส่งไม่เป็น สับขาหลอกตัวเองก็มี  พอขึ้นปีสองหนังคนละม้วนเลย  โตขึ้น เทคนิคดีขึ้น ท่านเซอร์เก่งมากที่ปรับจุดเหล่านี้ให้เด็กได้  แล้วเราละปรับทีมนก ทีมงานเรา หรือ ตัวเราเองได้หรือไม่? 

ผมเข้าใจดีว่าความพร้อมเป็นเรื่องสำคัญ ปัจจัยหลักอย่างเงินทอง คนเราต้องทำมาหากิน มีครอบครัว มีภาระที่ต้องรับผิดชอบหลายอย่าง  แต่ที่พูดหมายถึงการปรับปรุงซึ่งเรามีเงินทองเหลือจากการเก็บออม  และ ค่าใช้จ่ายต่างๆของเราไปแล่วนะครับ  เรื่องนกเป็นเรื่องของงานอดิเรก ว่างๆ พักผ่อนสมองกับมัน  ไม่ใช่มีเท่าไรบ้านกหมดอย่างนี้ไม่ใช ไม่ถูกต้องครับ สุดท้ายก่อนจากก็อยากจะสรุป อยากบอกว่าจะปรับปรุงอะไรก็ตาม ก็ให้อยู่ในสัดส่วนที่เรารับได้
 
 
ท้ายสุดก็คิดว่าบทความเล็กๆ ที่ได้นำเอาทีมฟุตบอลมาเปรียบเทียบบ้าง เป็นอะไรที่เป็นแง่คิดดีๆให้กับบางท่านได้บ้างครับ ซึ่งที่จริงแล้วยังมีอีกหลายเรื่องที่หลังจากวิเคราะห์ถึงปัญหา และ การที่เราจะปรับปรุงแบบรวมๆ กว้างๆ แล้ว ค่อยมาเจาะเป็นจุดๆไปเช่นการให้อาหาร นกพันธุ์ สายพันธุ์ ยา วิตามิน ซ้อม เทคนิค ทีมงาน ฯลฯ ที่เราอยากจะทำ นั่นเป็นเรื่องที่ต้องลงลึกลงไปในรายละเอียดของปัญหา หาทางก็ปรับกันไป  ท้ายสุดผลที่ออกมาน่าที่จะดีขึ้นหว่าที่ไม่ทำ ไม่คิดอะไรเลยจิรงไหมครับ?......สวัสดี

วิรัช .
 
 
บทที่ 6  What everybody should know? อะไรคือสิ่งที่ทุกคนควรรู้ไว้


สวัสดีครับ ก็ต้องขออภัยที่ขาดการแปลหนังสือของนาย AD อย่างต่อเนื่อง  ที่ผ่านมาก็ยุ่งๆ อยู่หลายๆเรื่อง  พอตัดเรื่องที่มันยุ่งสมอง กวนเวลา กวนใจไปได้บ้างก็มีสมาธิที่อยากจะทำในสิ่งที่ตนเองอยากจะทำ และอะไรที่ค้างไว้ยังไม่ได้ทำ ทำไม่เสร็จก็เริ่มมีโอกาสได้ทำกันบ้าง หลายชิ้นแล้วครับที่ผมได้ทำ ได้ไปในสถานที่ที่อยากจะไป และ ก็ยังคงที่จะวางแผนที่จะทำต่อไป

ขอนอกเรื่องนิดนึงครับ  ... อาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้ไปพนมเปญประเทศเขมรเพื่อนบ้านเรา ก็ไปงานบริษัทที่ผมทำงานอยู่ ไป 4 วัน เราเปิดบริษัทใหม่ที่นั่น ก็ไปตรวจงาน สอนงานเพื่อนร่วมงานที่นั่น  ผมไม่เคยมาพนมเปญ แต่เคยไปที่เสียมเรียบ ไปเที่ยวอังกอร์วัดเมื่อหลายปีก่อน  พนมเปญพอศึกษาประวัติศาสตร์ก็เข้าใจ และ สงสารประเทศเขาเหมือนกันในยุค Killing Field ทุ่งสังหารในยุคเขมรแดงโดยการนำของ พอลพต และ พวก ว่ากันว่าสังหารคนไป 3 ล้านคนได้ในช่วงปี 1975-1979 ยังดีที่เวียดนามมาเคลียร์ประเทศให้ไม่งั้นเป็นไปตามแผนก็หมดประเทศแน่  บริษัทฯผมนั้นเริ่มแค่เอาธุรกิจกลุ่มเดียวคือ ยาคน ไปเปิดตลาดก่อน ก็ไม่เลวนะครับสำหรับจุดเริ่มไม่กี่เดือนตามเป้าหมายปีนี้ก็ประมาณ 100 ล้านบาท  กลุ่มอื่นก็เริ่มวางแผน วางคน ไปลงแล้ว สินค้าเกี่ยวกับ เกษตร ยาสัตว์ ยาคนเพิ่มเติม เคมีสารพัด พลาสติค มองแล้วน่าจะสดใสมีอนาคต โตวันโตคืนได้ การเมืองที่นิ่งเป็นโอกาสที่ดีของเรา และ เขาครับ  นอกจากนี้เราก็เริ่มลุยไปที่พม่า และ มองที่ลาวเช่นกัน  บ้านเราก็คงไม่อยากพูดถึงการเมืองเป็นปัญหาหลักที่ขัดขวางอนาคตของประเทศ   เพื่อนๆท่านใดที่มีธุรกิจที่มองโอกาสขยายก็อย่ามองข้ามประเทศเพื่อนบ้านเล็กๆของเราไว้นะครับ เหมือนอย่างที่ผมเห็นเวียดนามตอนที่ผมทำงาน เปิดบริษัทอยู่ที่นั่น ตอนนี้ธุรกิจไปได้ดี และ ไกลกว่าที่คิดไว้มาก
 
 
 กลับเข้าเรื่อง ตอนนี้นายADของเราก็ยังคงตอกย้ำให้นักเลี้ยงนกนอกประเทศเบลเยี่ยม และ ฮอลแลนด์ได้เข้าใจถึงโครงสร้างของระบบการจัดการแข่งขัน และ ยังคงเหน็บถึงสื่อที่เราอ่านๆกัน ปัจจุบันมันเป็นเรื่องของการค้าซะมาก จ้างเขียน จ้างโฆษณากัน

จุดเริ่มของบทนี้ก็มีคำถามที่หลายคนมักจะถามกันว่า “ทำไมนกเลี้ยงนกบางคนประสบความสำเร็จในการหานกดีๆเข้ากรง เล่นได้ดี ได้ผล  แต่ทำไมอีกหลายๆคนถึงไม่ประสบความสำเร็จ?”  มันเป็นเรื่องที่ตอบได้  “ไม่ยาก” ครับ เป็นเพราะเขา “ฉลาด” กว่า  เขารู้ดีว่าต้องไปหาซื้อที่ไหน ที่ใคร?  ปัญหาอยู่ที่ว่าเรานะเชื่อ “สื่อ” ไม่ได้ตลอดไป สื่อก็อาจะจะได้เงินเพื่อเขียนเชียร์ โฆษณาให้ก็เยอะ และ เราก็เชื่อในสิ่งที่คนๆ หนึ่งพูดถึงคนอื่นๆ ก็ไม่ได้เช่นกัน    สิ่งเดียวที่เชื่อถือได้ก็คือ “ผลการแข่งขัน” เราจะรู้ได้เลยว่ากรงนี้นะดีหรือไม่?  และมีอีกสิ่งที่สำคัญคือ ผลการแข่งขันนั้นๆ ให้ข้อมูลครบถ้วน ให้เราได้วิเคราะห์กันได้หรือไม่


The Press สื่อ สิ่งพิมพ์ ข่าวสาร
หลายท่านทีได้อ่านหนังสือของต่างประเทศไม่ว่าจะเบลเยี่ยม หรือ ฮอลแลนด์ เห็นผลแข่งแล้วมันไม่ได้ครบถ้วนเลย อาจเป็นเพียงหนึ่งในหลายร้อยคลับที่เขาจัดการแข่งขัน   สื่อก็ลงแค่ที่ 1 ถึง 10 ทั้งๆที่มีนกแข่งถึง 2000 ตัว แล้วเจ้าคนที่ติดที่13, 15, 20 ละ ไม่ได้ลงสื่อ  เขาอาจจะเป็นแชมป์ เป็นฮีโร่ตัวจริงก็ได้ เพราะเขาอาจจะส่งนกแข่งเพียง 3 ตัว ติดดีๆ เต็ม 100% ไอ้คนที่ติดที่ 1 อาจจะส่งนก100 ตัว ติด 8 ตัว แต่โชคดีที่ 1 ไอ้อย่างนี้ใครน่าจะเจ๊งกว่า  คนเก่งจริงๆ ก็เลยไม่ได้รับความสนใจ  ที่เมืองนอกในยุโรป  ผลการแข่งขันของเขาจะมีบอกรายละเอียดถึงนกกรงนี้ส่งเข้าแข่งกี่ตัวติดกี่ตัว คิด% เสร็จ แล้วถ้าดูตัวนี้ ตัวต่อไปของกรงติดที่เท่าไรก็มีบอก บอกถึงนกที่ลุ้นเอซพีเจ้นว่าติดกี่ครั้ง  กรงยอดเยี่ยมใครนำกันอยู่เท่าไรก็บอกเสร็จ คอมพิวเตอร์ที่ยอดเยี่ยมมีมานานกว่า 15 ปีแล้ว  ดังนั้นกรงดัง กรงเก่งๆ ที่เราอ่านกันก็ควรจะรู้ด้วยว่า Performance หรือ ผลงานการส่งนกเขา ผลรวมของทีมนกดีหรือไม่ 
 
  
Fellow Fanciers
สังคมคนเลี้ยงนกเราก็ย่อมต้องยอมรับว่ามีการอิจฉากันบ้าง  ว่ากันว่าในArendonk เป็นพื้นที่หนึ่งที่การแข่งขันกันสูง คิดดูมีทั้ง Janssens, Meulemans, Louis van Loon  มีคนเคยไปกรงแจนเซ่นเสร็จแล้วถามทางไปกรงมูลีมันส์  ปู่หลุยส์ก็ตอบได้แสบมากว่า  “มูลีมันส์ ใครเหรอ เขาเป็นนักฟุตบอลเหรอ?” ปู่เราแสบไหม?


Fake ของปลอม
นายAD บอกว่าเขาเคยโชว์ผลการแข่งขันของนักเลี้ยงนกที่เขาว่าดังมากๆ ให้คนต่างชาติดู ชี้ให้เห็น พวกเขาดูแล้วช๊อกและร้องอ๋อกันเช่นจุด National Bourges เป็นจุดที่มีชื่อเสียงมากของเบลเยี่ยมมีนกแข่ง 20000 ตัว ดู 200 อันดับแรก  เซียนA ติดอยู่ได้ 4 ตัว ไม่เลวใช่ไหม แต่รู้ไหมเขาส่งนกเข้าแข่งกี่ตัว 50  เซียน B ติด ใน 200 ถึง 6 ตัว เจ๋งใช่ไหม? แต่ส่งนกมากถึง 80 ตัว  และ มาดูนาย C ติดใน 200 ได้ 2 ตัว แต่ส่งนกเข้าแข่งก็ 2 ตัว 100%เต็ม  คนอย่างนาย C นี่ละครับที่คนที่ฉลาด เขาแวะไปหา ไปขอซื้อนกกัน  พวกเซียนเขาขอให้ได้อันดับๆดีๆต้นๆ สักตัวก็เพื่อได้โฆษณากันเพื่อพวกนักซื้อจะได้มาติดหล่ม  ดังนั้นเราคงแยกแยะได้ออกนะครับว่า Winning Top Prize ชนะอันดับเยี่ยมๆ ก็แบบหนึ่ง (นกอาจจะดีตัวเดียวของกรง)  Having a top result  ผลการแข่งที่ดีเยี่ยม ทีมนกดีเยี่ยม ก็แบบหนึ่งซึ่งมันต่างกันโดยสิ้นเชิง  เราจะไปซื้อ ไปหานกที่ใครดีละ  ใครกันละที่ละควรจะให้เครติดที่เขาประสบความสำเร็จ   

บทที่ 6 ยังมีต่อ ก็จะสรุปให้จบในเร็ววันนี้ละครับ  วันนี้เป็นวันเริ่มสายใต้ของบางสมาคม บางสมาคมก็จุดที่สองแล้ว  ก็ขอให้แฟน LVH โชคดีทุกคนครับ
 
 
 Real Champs
คนอย่างนาย C นี่ละครับเป็นแชมป์ตัวจริงที่เวลาเราหานก หรือซื้อนกเราเข้ากรงต้องนึกถึงเข้าไว้  การแข่งขันที่สูงผู้ชนะต้องเก่ง ส่งนกน้อยติดมาก ติดอันดับดีๆ สม่ำเสมอที่ละครับ Real Champ ของ นาย AD

Mystery Man ชายลึกลับ
นาย AD บอกว่าเมื่อปี 2001 เขาได้นกตัวเมียที่ดีมากมาตัวหนึ่ง  เขาได้มันมาจากคนเลี้ยงคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงในละแวกที่เขาอยู่ เป็นคนที่ไม่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเพราะเขาไม่ชอบที่จะทำตนเองให้เป็นข่าว หรือ โฆษณา และ เขาแข่งเฉพาะนกระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งระยะนี้คนทั่วไปก็ไม่ค่อยสนเท่ากับคนดังในระยะทางไกล  แต่เขาแข่งในเบลเยี่ยมในพื้นที่ที่เรียกได้ว่าเขี้ยวสุดๆที่หนึ่งคือ  Arendonk ที่ซึ่งเต็มไปด้วยยอดเซียนของโลกอย่าง Hofkens, Janssens, Meulemans, Louis van Loon etc. ที่แถวนี้แม้จะมีนกแข่งไม่มากประมาณ 200 กว่าตัวแต่มีคนเลี้ยงนกอยู่ 70 คน นี่ถือเป็นการแข่งที่ยาก เพราะ แต่ละคนเลี้ยงนกไม่มาก แต่ คุณภาพสุดๆ  และ หมอนี่ละครับที่เก่งปราบเซียนได้ ซึ่งถ้าจะพูดถึงการแข่งในเบลเยี่ยมทำไมนกน้อยก็ขอให้ลองอ่านบทความที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้ เรื่องที่ว่าทำไมนกเบลเยี่ยมถึงแข่งกันน้อยตัวนัก เมื่อเทียบกับฮอลแลนด์ซึ่งผลแข่งมีนกแข่งกันมากกว่ามาก  ก็ลองอ่านดูจะได้เข้าใจเห็นภาพมากขึ้นนะครับ

Nightmare ฝันร้าย
คนที่นาย AD ว่าคนนี้แข่งนก 11 ตัว แต่คนเลี้ยงนกให้ฉายาทีมนกเขาว่า “Dream Team ทีมในฝัน” เพราะอะไรหรือ? เป็นเพราะผลงานแข่งของเขาจุดที่แย่ที่สุดก็คือ ติดได้ 8 ตัว จากนกที่ส่งแข่ง 11 ตัว  สำหรับการส่ง 11 ติด 11 เป็นเรื่องปรกติ  เยี่ยมมากๆ   มีอยู่จุดหนึ่งที่ยอดนกแข่งรวมได้มากถึง 2042 ตัว จากนักเลี้ยงนก 274 คน หมอนี่ ก็ส่ง 11 ตัวเหมือนเดิม และชนะที่ 1, 4, 9, 11, 15, 20, 30, 39, 43, 80 และ 93  ครบ 11 ตัว อยู่ ในร้อยทั้งหมด  คิดดูว่าเขาปั้มนกไปหมดกรงแล้ว นี่เท่ากับว่าชาวบ้านยังมากันได้ไม่กี่ตัวเลย พี่แกเตรียมส่งนกฬิกาได้แล้ว 
 
Strong enough แกร่งพอไหม?
นาย AD แข่งนกระยะกลางเป็นหลัก ทำไมหานกสั้นๆอย่างนี้เข้าผ่ากับนกเขาละ  มันจะไหว จะ แกร่งพอเหรอ ?   ก็เป็นเพราะ แจน กรองเดอแล Jan Grondelaers และ ฮอฟเก่น Hofkens สองนักเลี้ยงนกที่ยิ่งใหญ่ของโลก สอนให้เขาได้รู้ว่า  ไอ้นกสั้นเก่งๆเหล่านี้เราต้องยิ่งหามาเข้ากรงเพราะนกพวกนี้มีคุณสมบัติที่สำคัญ เป็นสิ่งที่นกสั้นมีมากกว่านกทั่วไปคือ Navigating  การหาทิศทาง นำทาง ตัดสินใจมุ่งหน้ากลับกรง  พวกนี้มีอยู่ในตัวมันและเราก็ต้องเอามันมาให้กับนกเรา  นาย AD และอีกลายๆคนต่างก็ประสบความสำเร็จกับแนวทางนี้   ตัวผมเองก็หานกประเภทนี้มาเข้ากรง เป็นนกที่ยอดเยี่ยมมากๆ  อย่างนกตัวหนึ่งได้มาจากคุณชัยยุทธตัวมันบินปีเดียว ในผลการแข่งสั้น ถึง กลาง ปีเดียวมันติดที่ 1, 1, 3, 4, 7, 9, 15 เก่งไหมครับ  นกที่บินได้ถ้วยหลายๆ ใบผมก็หามาเข้ากรงหลายๆตัว ก็เพราะเหตุผลเดียวกันกับนาย AD ละครับ
นกตัวหนึ่งที่นาย AD ยกตัวอย่างว่าเป็นยอดนกคือ Olieman ของ V d Veken นกตัวนี้แข่งรุ่นเดียวกับเจ้า 019 ของแจนเซ่น 2คนนี้บ้านอยู่ใกล้กันแต่แข่งคนละคลับ  ว่ากันว่าถ้าเจ้า Olieman แข่งคลับเดียวกับ 019 เจ้า 019 ไม่ได้ดังแบบนี้แน่ เพราะ สปีดนกตัวนี้ดีกว่า 019 มาก   ยอดนกอย่าง Fieneke 5000 ของ Flor Vervoort ก็มีสายเลือดของเจ้า Olieman นี่ละครับ

The Art of Champion ความเป็นศิลปินของแชมเปี้ยน
ศิลปะที่ว่าคือไม่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อ  หลงแต่ชื่อคนเคยดัง สายพันธุ์ หรือ เพดดีกรี นกต้องดูที่ผลงานเป็นหลักครับ  เคยมีคนญี่ปุ่นมาหานายADเพื่อให้ไปเป็นเพื่อนซื้อนกจากคนดังๆที่เจ้ายุ่นต้องการ  นายAd เห็นแล้วอดคันปากไม่ได้ก็เลยโชว์ผลการแข่งขันพร้อมอธิบายวิธีการดูรายงาน  เจ้ายุ่นร้องเลยว่าเก่งไม่จริงนี่หว่า ก็เลยไม่ไปซื้อ  และ ก็มีคนตะวันออกกลางมาหาเขาเพื่อไปหาซื้อนก  Adก็พาคนที่เก่งที่แข่ง 11 ตัวนี้ละครับ พี่แขกเห็นนกราคาถูกก็ไม่เอาด้วยเหตุผลที่ว่านกราคาถูกแบบนี้มันไม่เจ๋ง ไม่ดีแน่ ก็ไม่เอา   หลายวันต่อมานายAdก็พาคนฮอลแลนด์ไปซื้อนกคนที่เลี้ยง 11 ตัว  ซึ่งต่อมาผลการแข่งขันของคนฮอลแลนด์คนนี้ดีมากๆ    ก็เกิดข้อคิดที่ว่าคนเรานั้น บางครั้งก็เหมือนตาบอด หูหนวก คำแนะนำดีๆ ก็ไม่รู้จักคิด  ถ้ารู้จักชั่งใจ ฉุกใจคิดหน่อย และก็เอาไปลองดู  ยังดีกว่าที่จะเมินเฉย หรือ ปฏิเสธไป  อย่าลืมนะครับ ถ้าคุณปฏิเสธเขาครั้งหนึ่ง ถ้าไปขอให้เขาช่วยแนะนำ ก็อาจจะไม่ได้รับการ
 
 
 
ตอบสนองก็ได้นะครับ
ครับก็จบตอนที่ 6 ก็เป็นเรื่องที่เขียนให้แง่คิด เข้าใจ ระบบการแข่งขันของ เบลเยี่ยม ฮอลแลนด์ และ เรื่องของสื่อที่ปัจจุบันเป็นเรื่องของการค้า มากกว่าที่จะให้ความรู้กัน  สุดท้ายของเรื่องก็เป็นแง่คิดของการหานกดีๆเข้ากรงครับ   พบกันใหม่ตอนที่ 7 Double Widowhood ซึ่งเป็นวิธีแข่งที่ยอดฮิตในปัจจุบันในยุโรป
 
 
 
 บทที่ 7 Double Widowhood

ก่อนที่จะเขียนบทใหม่ของนาย AD เมื่อเช้าตอนตี4ครึ่ง ตื่นมาก็ได้ข่าวที่ช็อคโลกว่า Michael Jackson หัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจวายตายที่บ้านเช่าของเขาที่ L.A. ผมเองก็ช็อคเหมือนกันเพราะตัวผมเองก็เป็นแฟนเพลงที่ชื่นชอบเขามากๆ โชคดีที่ได้เข้าชมการแสดงสด หรือที่เรียกันว่า Concert ของเขา 3 ครั้ง บทเพลงที่ยอดเยี่ยมในหลายๆ อัลบั้มนั้นอยู่ในใจตลอดมา เพลงที่แต่งดีๆเพื่อโลกเราอย่าง We are the world, Heal the World นั้นไพเราะมาก  เขาเป็นตำนานที่โลกต้องจารึกในผลงานดีๆที่เขาได้สร้างไว้ 

ก็ขอแสดงความเสียใจร่วมกับแฟนเพลงทั่วโลกต่อการจากไปของ MJ  ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่มอบให้กับเรา  คุณจะอยู่ในบทสวดภาวนาที่ผมมอบให้ครับ  เหมือนกับคำคมที่ฝรั่งมักพูดถึงคนดีที่จากไปเร็วเกินไป "Only the good die young"

Man in the Mirror...Beat It...Smooth Criminal...Ben...Billy Jean...Thriller...Bad...Black or White...Dangerous...Off the Wall...I'll be there...I just can't stop loving you... ลาก่อนอัจฉริยะผู้เปล่าเปลี่ยว 

Rest in Peace
 
 
บทที่ 7 Double Widowhood ระบบหม้าย ยกกำลัง 2

ตอนที่ 7 กว่าจะจบก็คงช้ากว่าที่ผมคาดแน่เพราะงานที่บริษัทที่ทำอยู่แน่นมาก ก็มีผู้ตรวจสอบจากบริษัทแม่ที่เยอรมันมา 4 คน มา 4 สัปดาห์ ซึ่งผมเป็นผู้รับผิดชอบในหลายๆส่วนก็ต้องประชุม และ ร่วมอธิบาย  ก็มาทุกทุก 1-2 ปีเป็นประจำ มาทีก็ยุ่งหน่อยก็คงทำให้งานเขียนช้าไปหน่อยแน่  เดือน กรกฏาคมก็ต้องไปประชุมที่เวียดนามและเซี่ยงไฮ้ ยังไงก็จะรีบปั่นต้นฉบับให้เสร็จครับ
ที่เบลเยี่ยมนั้นเดิมแบ่งการแข่งขันออกเป็นกลุ่มนกแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน  โดยนกที่ส่งแข่งแยกเป็นดังนี้
-   Cocks นกเพศผู้ (นกแก่)
-   Yearlings นกอายุ 1 ขวบ
-   Hens นกเพศเมีย
-   Youngsters ลูกนก
จนปี 2006 ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยยุบไม่แยกการแข่งขันนกเพศเมีย(นกแก่) นั้นก็หมายความว่านกแก่แข่งรวมดังนั้นเวลาอ่านหนังสือนก หรือ เพดดีกรีก็จะได้เข้าใจนะครับ…… มียุบ ก็ต้องมีเพิ่ม ครับเขาก็เพิ่มการแข่งขันนกออกมาอีก 1 ประเภท คือ นกอายุ 2 ขวบ  ผมไม่แน่ใจว่าทำไมแต่คิดว่าเขาคงต้องการให้อนาคตการแข่งนกสนุกกว่าเดิม โดยรักษานกให้อยู่เป็นนกแก่มากขึ้น และ ให้ผู้เลี้ยงสนุกกับการแข่งมากขึ้น ก็เลยเพิ่มลีกขึ้นมาอีกลีกหนึ่ง

หลายท่านถามว่าเขาแยกประเภทมากมายไปทำไมกัน? ทุกอย่างมันก็มีเหตุ มีผล ในตัวมันเองละครับ ก็เขาคิดกันว่านกแก่นั้นอาวุโส มีประสบการณ์ ความเก๋ามากกว่า นกรุ่น และ ลูกนก และเขาก็คิดว่าตัวผู้นั้นดีกว่าตัวเมีย ขืนไม่แยกละก็นกแก่ และ นกตัวผู้ชนะรางวัลหลักๆไปหมดแน่ ก็เลยจัดประเภทการแข่งขัน ซอยย่อยตามที่เขียนไว้ด้านบนไงครับ  และเป็นแฟร์เกมส์ยุติธรรม ซึ่งจะว่าไปถ้าใครมีนกตัวเมียเก่งๆ หรือ นกรุ่นเก่งๆ ละก็น่าสนใจมากเลยเพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะมันอาจจะชนะรางวัล Double ที่ 1 ทั้ง 2 ประเภทได้ รับเงินบานเลยละ  ยิ่งถ้ามีนกตัวเมีย 1 ขวบเก่งๆ ก็อาจชนะ ที่ 1 ได้ถึง 3 ประเภทได้ ก็ประเภทนกเพศเมีย  Hens   นกอายุ 1 ขวบ Yearlings และ นกแก่ได้  แต่
 
 
 
 
ถ้าการแข่งขันทางไกล 900 กม.ขึ้นไป นั้นคนละเรื่องนะครับ นกส่วนใหญที่ชนะจะเป็นนกเพศเมีย  ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม? แต่มันเป็นข้อเท็จจริง เป็น Fact  หลายท่านคงมีคำถามว่าไอ้เรื่องที่เขียนมาตอนนี้ มันเกี่ยวอะไรกับเรื่อง Double Widowhoodนี้? เกี่ยวแน่ ก็ขอให้รอหน่อยครับ
Sensational Development การพัฒนาที่น่าตื่นเต้น

ก่อนจะไปลึกในบทที่ 7 บังเอิญได้อ่านบทความล่าสุดที่นายAD เขียนไว้เมื่อวันที่ 11.6.2009 มาเสิรมเติมแต่งให้บทความตอนนี้ชัดขึ้น ก็เป็นการบ่งบอกถึงวัฒนธรรมการแข่งขันที่เปลี่ยนไปของเบลเยี่ยม  ซึ่งก็อ้างถึงการแข่งขันล่าสุดปีนี้  ที่เบลเยี่ยมนั้นการแข่งขันระดับชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศตลอดมาก็คือ National Bourges ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับกลาง ปีหนึ่งมี 2 ครั้ง  ครั้งแรกก็จะตอนสิ้นเดือน พฤษภาคม และ อีกครั้งก็เป็น สิ้นเดือนสิงหาคม การแข่งขันจุดนี้จะมีคนร่วมแข่งกันมาก   การแข่งขันเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคมปีนี้เป็นปีที่ดีมากๆ ไม่เฉพาะอากาศที่ดีเท่านั้น(ท้องฟ้าเปิด และ มีลมแม้จะทวนลมก็ตาม)  แต่จำนวนนกที่ร่วมแข่งมากถึง 49,000 ตัว มากกว่าปีที่แล้วมากถึง 18,000 ตัว   อะไรก็ดีไปหมดยกเว้นลมที่มาติดตะวันออกดังนั้น คนที่อยู่ทางตะวันตกก็จะได้เปรียบ (คิดง่ายๆก็เหมือนกับการแขังขันสายเหนือเวลามีลมตะวันออกเข้ามา นกฝั่งธนฯ ก็เป็นพระเอก ฝั่งพระนครก็เป็นใบ้กัน)  คนทั่วไปก็ประเมิณผลการแข่งขันว่าอากาศแบบนี้เสร็จพวกนกระบบหม้ายตัวผู้แน่เพราะตามประวัติเก่าๆเป็นแบบนั้น

อดีต
ในอดีตนั้นก่อนปี 2000 พวกนักเลี้ยงนกที่นั่นเชื่อกันว่านกตัวเมียนั้นอ่อนแอกว่านกตัวผู้  ตัวเมียจะบินดีได้ก็ต่อเมื่ออากาศไม่ดี หรือ เป็นการแข่งทางไกล 2 วันจบ ยกเว้นก็แต่เจ้า Fieneke 5000 ของ Flor Vervoort หรือ Paula ของ Remy de Mey ที่เขายกให้เป็นยอดนกแข่งตัวเมียที่เก่งมากๆ   การแข่งขันระยะกลางนี้จะแตกต่างกันระหว่างเบลเยี่ยมกับฮอลแลนด์   ซึ่งที่ฮอลแลนด์นั้นเขาเริ่มนิยมใช้ระบบ Double Widowhood ซึ่งแข่งทั้ง 2 เพศ   ส่วนที่เบลเยี่ยมนั้นเขาแข่งตัวเมียน้อยกว่า 10% ก็ว่าได้ ก็ยังคงนิยมระบบเดิมๆ ที่ไม่เชื่อนกตัวเมีย   ยิ่งไปกว่านั้นที่เบลเยี่ยมเขายังมีการแข่งขันตัวเมียแยกต่างหากเพื่อให้พวกนกตัวเมียมีโอกาสโชว์ฝีมือได้
 
 
 

ปัจจุบัน
พอมาเริ่มทศวรรษนี้สิ่งที่เปลี่ยนไปในการแข่งขันระดับชาติก็คือ นกเพศเมียเริ่มเข้ามาชนะอันดับเยี่ยมๆระดับชาติของประเทศกันให้เห็นแล้วหลายๆครั้ง จนมีพวกปากเสียพูดกันว่ามันมียาพิเศษสำหรับนกตัวเมีย  เป็นโลชั่นพิเศษ ช่างเหลวไหลสิ้นดี   สมาพันธ์นกพิราบแข่งของเบลเยี่ยม KBDB ก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างต่อเนื่อง  จนประกาศยกเลิกการแข่งขันพิเศษสำหรับนกเพศเมีย และ ให้นกตัวเมียแข่งรวมกับนกตัวผู้ได้  หลายๆท่านที่ได้ติดตามที่ผมเขียนก็จะเข้าใจในสิ่งที่ผมนำมาโยงเข้าด้วยกันในหลายๆคอลัมน์นี้  เห็นภาพชัดขึ้นแล้วใช่ไหมครับ?

มาดูผลการแข่งขัน Bourges ปี 2009 นี้
-   Vandenheed ชนะที่ 1ประเภทนกแก่ก็เป็นนกตัวเมีย   และ นกอีกตัวก็ชนะที่ 1 ประเภท นกรุ่น 1ขวบ ก็เป็นนกตัวเมีย คิดดูนะครับ นก 2 ตัวของเขาชนะนกแข่ง 49,000 ตัว
-   Cassaert คัสสาร์ท ชนะที่ 5 และ 6 ก็นกตัวเมีย
-   Van Hove Utterhoeven ชนะที่ 1Provincial Antwerp จุดนี้ก็นกตัวเมีย
-   Marcel Vercammen ก็ชนะที่ 2 Provincialด้วยนกตัวเมีย
-   Rik Cools ชนะที่ 1 Provincial Flandersก็ด้วยนกตัวเมีย
-   วันเดียวกันที่ฮอลแลนด์ Veenstra ก็ชนะที่ 1NPO จุด Albis และ  Hoogland ชนะจุด Orleans นก 15,000 ตัว ทั้งคู่ก็เป็นนกตัวเมีย   ทั้งหมดที่พูดมาก็เป็นวันเดียวเท่านั้นนะครับจะเห็นได้ว่านกตัวเมียนั้นเริ่มเป็นที่นิยมแข่งกันมากขึ้น และ นี่ละครับที่เรียกกันว่า Double Widowhood คือ แข่งทั้งตัวผู้ และ ตัวเมีย  เป็นการเปลี่ยนวัฒนธรรมการเลี้ยง การแข่ง ที่เกิดขึ้นในยุโรปในทศวรรษนี้   วิธีการนี้จะทำให้เขาเลี้ยงนกน้อยลงเพราะไม่ต้องมีนกล่อสำหรับตัวผู้เหมือนในอดีต  ตัวเมีย กับ ตัวผู้ต่างก็ล่อคู่กันไปมา  ซึ่งผู้คนต่างก็ประหลาดใจเมื่อ น.ส.พ. นกได้รายงานผลการแข่งขันในหลายๆ จุดแข่ง  และ นกที่ชนะอันดับเยี่ยมๆ นั้นเป็นนกตัวเมียเสียมาก  แม้ในวันที่อากาศจะไม่ค่อยดีก็ตาม


 ก็อยากที่จะสรุปว่าในอดีตนั้นที่ยุโรปเขาไม่นิยมแข่งนกตัวเมียนัก  พวกมันเหมือนกับมีไว้ต้อนรับตัวผู้เวลากลับบ้าน ซึ่งตอนผมอยู่ที่นั้น เกือบ 3 ปี ก็คิดแบบนี้เหมือนกัน เห็นตัวเมียสวยๆ หลายตัว ก็ยังคิดอยู่ว่าพวกนี้ถ้าแข่งน่าจะดีกว่าคู่ของมันเสียอีก  และ  พวกนกตัวเมีบพวกนี้ขอก็ไม่อยากจะให้  ซื้อก็ไม่อยากจะขาย เพราะ เขาเอาไว้ล่อตัวผู้  ยิ่งถ้ามันเข้าคู่ รู้ช่อง รู้ใจ กันแล้ว  ยากมากครับ   เคยแงะมาได้ตัวหนึ่งเป็นตัวที่ผมชอบมาก ตื้ออยู่ 2 ปีครับ เพราะมิตรภาพที่ดีซึ่งกัน เขาให้ฟรีครับ เป็นของขวัญก่อนย้ายกลับ   ปัจจุบันนกตัวเมียเป็นที่นิยมแข่งกันมากขึ้นซึ่งไม่แน่นะในอนาคตเขาอาจจะเลี้ยงนกตัวเมียมากกว่าตัวผู้ก็เป็นได้  ใครจะไปรู้ได้? ……
 
ก็มาถึงช่วงท้ายของบทที่ 7 ซึ่งเมื่อวานก็เขียนไปเกือบจะหมดก็ไม่รู้เป็นอะไรกดปุ่มผิดหายเกลี้ยง ก็เซ็งไปนานพอควร  ไม่เป็นไรมันอยู่ในสมองก็แค่เขียนใหม่เท่านั้นเอง

เรื่องของ Double Widowhood นั้นเป็นอะไรที่ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นเพราะวัฒนธรรมและการฝังรากลึกในความคิดว่าตัวผู้ดีกว่าตัวเมีย ของ คนเลี้ยงนกที่ เบลเยี่ยม และ ฮอลแลนด์นั้นมีมานาน   จนมีคนเก่งกล้าแหวกแนวความคิดที่ว่าเพิ่มขึ้นและประสบความสำเร็จด้วยนกตัวเมียอย่าง Fieneke 5000 หรือ Paula  จึงทำให้นกตัวเมียที่มีบทบาทโชว์ฝีมือน้อยกว่าได้แสดงความเก่งกาจออกมา      จะว่าไประบบแข่งนกแบบ Double Widowhoodนั้นที่เยอรมันเขาแข่งกันมานานแล้วเป็นเพราะเขามีการแข่งนกตัวเมียกันเป็นกิจจลักษณะและ มีรางวัลความเก่งกาจของประเทศไว้ให้นกและคนเลี้ยงได้แสดงฝีมือ   อย่าลืมว่าที่เยอรมันนั้นเขานับถือนกเก่งเป็นหลัก คือ นกยอดเยี่ยม หรือ ที่บ้านเราเรียกติดปากกันว่า  เอซ พีเจ้น นั่นแหละ  ติดมากอันดับ และ ดีที่สุดถึงจะเก่ง   เอาไว้มีเวลาจะขอเขียนวิจารณ์ และ แนวความคิดเป็นเชิงสร้างสรรค์ และ เป็นแนวให้คิดกัน  ว่าหลายสิ่งที่เราเป็นอยู่นี้ดีแล้วหรือ  เมื่อเปรียบเทียบกับรางวัลต่างๆที่บ้านเรามี   ผมเองเมื่อก่อนตอนที่เป็นกรรมการอยู่ในสมาคมหนึ่งของเมืองไทยก็พยายามผลักดันให้มีการพิจารณารางวัลนี้อย่างเป็นรูปธรรม ให้พวกเราได้เห็นคุณค่ากับนกยอดเยี่ยมมากขึ้น  ก็ผลักดันให้เกิด และ มีรางวัลสูงที่เปี่ยมด้วยคุณค่าอย่างถ้วยพระราชทานให้กับนกที่ชนะ  ก็ใช้เวลากันพอควรครับ   ก็ขอย้อนกลับมาที่เยอรมันอีกหน่อย ไม่ใช่ว่าทุกกรงจะแข่งนกทั้งผู้และเมียกันทุกคน   แต่ที่ผมเคยเห็นมานั้นก็ยังมีพวกชอบตัวผู้อยู่บ้าง
 
 เหมือนกัน  เขาบ่นว่าตัวเมียมันยุ่ง มันเลสเบี้ยน มันไข่    ลำคาญก็เลยแข่งแต่ตัวผู้   ก็แล้วแต่เขาละครับ

เอาเป็นว่าก่อนจบบทนี้การแข่งนกระบบ Double Widowhood นั้น เป็นการแข่งนกทั้งเพศผู้และเมีย ซึ่งเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการแข่งขันที่เน้นไปที่ตัวผู้เป็นหลัก   การแข่งขันระบบนี้เป็นอะไรที่คล้ายๆกับWidowhood เพียงแต่เพิ่มนกตัวเมีย และ ให้ความสนใจกับนกตัวเมียในการแข่งขันมากขึ้น  มีการล่อคู่นกทั้ง 2 เพศ  แต่ระบบนี้คนเลี้ยงต้องมีเวลาพอ และ มีกรงที่ออกแบบมาดีพอจึงจะได้ผลดี   ระบบก็เริ่มจากนกYoung bird ที่เสร็จจากการแข่งขัน  ก็เริ่มเข้าคู่ มีช่อง  มีกรงของตนเอง  ตัวเมียส่วนใหญ่ก็จะมีที่ยืนแบบ V กันเลสเบียน    จากนั้นทำระบบเข้าคู่ ออกไข่ ฟักลูกไม่กี่วัน  นกก็จะจำคู่ จำกรงตัวเองได้  ก็แยกกรงแข่งออกจากกัน   การปล่อยก็จะแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด  อาจเป็นเช้าผู้ เย็นเมีย ก็แล้วแต่    ช่วงแข่ง ช่วงซ้อมก็มีโอกาสได้เจอกัน  บ้างก็อยู่ไม่นาน  บ้างก็อยู่ถึงเย็น  บ้างก็อยู่ข้ามวันก็มี     เทคนิคที่ว่าทั้งหมดนี้ก็แล้วแต่นักเลี้ยงแต่ละคน เพราะ เทคนิค ความถนัด สภาพของกรง  ความเชื่อ  และ เลือกที่จะปฎิบัตินั้นเป็นเรื่องของแต่ละคนไป  บทที่ 7 ก็เป็นการสรุปซะมากกว่าที่จะแปลตรงๆ  ก็เป็นอะไรที่เกิดขึ้นในวงการนกของเบลเยี่ยม และ ฮอลแลนด์  การเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างนั้นมันไม่ง่าย และ ใช้เวลา แต่ ผลของความสำเร็จที่ได้มานั้นคุ้มค่าในการเปลี่ยนแปลง  นายAD ก็เลยเขียนให้เราได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่หายไปของนกตัวเมีย  เขียนให้คิดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นดี เป็นอะไรที่เกิดจากความคิด การสร้างสรร และ ที่สำคัญมันได้ผลด้วยละ

บทที่ 8 ก็เป็นเรื่อง Road is not taken ถนนที่ไม่ได้ถูกเลือกที่จะเดิน บางครั้งมันอาจจะมีอะไรใหม่ๆ ดีๆ ก็ได้ ......
 
 
 
 
 บทที่ 8 Road is not taken

ถนนที่ไม่ได้ถูกเลือกที่จะเดิน บางครั้งมันอาจจะมีอะไรใหม่ๆ ดีๆ ก็ได้ ...... บทนี้นาย Ad ก็ได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการแข่งนกของเขาโดยเปลี่ยนจากสูตรเดิมที่เคยแข่งแต่ตัวผู้มาลองแข่งเพิ่มด้วยนกตัวเมียบ้าง  เขาเริ่มเปลี่ยนวิธีการเมื่อปี 2005 ที่ผ่านมาก็ไม่นานนัก  ตอนเริ่มเขียนบทนี้เขาเดินอยู่ในป่า เดินไปก็ไปเจอทางแยกก็คิดว่าจะไปทางไหนดี ทางเดิมที่เคยไปหรือลองไปทางที่ไม่เคยไปดี ท้ายสุดก็ไปทางที่ไม่เคยไป  ก็ได้คำตอบกับตัวเองว่า “มันแตกต่างกัน” ก็มีอะไรใหม่ๆท้าทายตัวเอง มีอะไรให้คิด  ก็วนกลับมาถึงวิธีการเลี้ยงนกของเขาที่เคยแข่งแต่ตัวผู้ ความสำเร็จที่เกิดก็เยอะมากๆ  แต่ปัจจุบันหลายคนเริ่มแข่งนกตัวเมีย และ ก็ชนะอันดับดีๆมากเสียด้วย เขาควรจะทดลองเปลี่ยนบ้างดีไหมหนอ? เพราะคนอย่างนายADนั้น ปรกติจะเลือกทำอะไรที่ตนเองคิดว่า ง่ายและสบายสำหรับตนเองที่สุด   
Reasons
มันก็มีเหตุผลที่ดีที่สนับสนุนให้ลองคิดดู เขาก็ให้เหตุผลว่า
•   มันก็ดีนะที่นกครึ่งหนึ่งที่เป็นตัวเมียเดิมเก็บไว้ล่อตัวผู้ก็ได้มีโอกาสแข่งแสดงฝีปีกได้
•   ไม่ต้องเหนื่อยกับการจับนกตัวเมียไปหาตัวผู้ตอนล่อก่อนและกลับจากแข่ง เหนี่อยมาก
•   เป็นการท้าทายตนเอง และ ถ้าดีก็จะทิ้งคู่แข่งไปอีกก้าวหนึ่ง เพราะคนเลี้ยงจำนวนมากยังคงปักหลักกับวิธีแข่งเดิมๆด้วยนกตัวผู้
พอเริ่มแข่งด้วยระบบ Double widowhood เขาไม่เคยเสียใจกับการตัดสินใจในครั้งนั้นเลย เป็นเพราะผลงานที่ออกมาดีมากๆ และ เลี้ยงข้าวก็น้อยลง นกน้อยลง ออกซิเจนในกรงเพิ่มมากขึ้น ขนนกที่ปลิวตกไปตามพื้นทั่วไปก็น้อยลงตอนฤดูถ่ายขน ขี้นกก็น้อยลง มีเวลาเป็นของตนเองมากขึ้น  การเขียนตอนนี้ก็มีแง่คิดที่ดี การเปลี่ยนแปลงนั้นเราคิดให้ดีก่อนว่า เพื่ออะไร? ต้องการอะไร? หวังผลอะไร? และ ก็คิดถึงผลดี ผลเสียของมัน กับ ตัวเราเอง ว่าจะ + หรือ - กันแน่  หลายคนก็จะบอกว่าแน่นอนคนเราถ้าจะเปลี่ยนก็ต้องดีเยอะๆ จริงครับ คิดได้ และ จะทำอย่างไรละ เข้าใจกับมันดีหรือยัง วางแผนอะไรไว้บ้าง และ ความพร้อมต่างๆ พร้อมหรือยัง รับได้ขนาดไหนกับผลของมันถ้าไม่ได้อย่างที่หวังไว้  เสี่ยงได้ขนาดไหน  ก็เป็นเง่คิดฝากกันก่อนที่จะถึงตอนต่อไปของบทนี้   บทนี้ก็เริ่มช้าไปนิด ก็เพิ่งกลับจากการประชุมที่เวียตนาม เหนื่อยมาก เพราะ ต้องเป็นเหมือนอาจารย์สอนหนังสืออยู่ที่นั่น 3 วัน เช้ายังเย็น  เย็นยันมืดๆ พูดทั้งวัน ก็กลัวคอแห้ง เสียงหาย กลัวเป็นหวัด ก็ดื่มน้ำอุ่นมากพอควร  บริษัทผมที่เวียตนามก็โตเร็วมากๆ
 
 
  
พนักงานก็กว่า 600 คน แล้ว และ เราก็ได้ย้ายเข้าไปอยู่ตึกที่หรู และ ใหม่ที่สุดของไซง่อน  ประเทศนี้โตเร็วมาก ประชากรที่ไซง่อนตอนนี้เพิ่มมากขึ้นจนผมเองฟังแล้วก็งงว่าถึง 10 ล้านคนเท่ากรุงเทพแล้ว  ธุรกิจขยายขึ้นมากครับ  ความเป็นอยู่ของประชากรเห็นได้ชัดว่าดีขึ้นมากๆ  การเมืองที่นิ่งสงบ เป็นตัวผลักดันให้การลงทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาไม่ขาดสาย ก็เสียดายที่บ้านเรามัวแต่เดินท่า Moonwalk ของ ไมเคิล ตั๋งอยู่
 
 
Club

นายADเล่าว่าเขาไม่เคยลืม การแข่งขันครั้งแรกปี 2005 เลย ซึ่งเขาได้เริ่มใช้นกตัวเมียแข่ง  ซึ่งเมื่อวันแข่งเจ้าหน้าที่ที่จับนกขึ้นรถยังถามเขาว่า นี่นกตัวผู้หรือ?  บางคนก็ล้อเล่นว่านกของเขานั้นตัวเล็กกว่าขนาดนกโดยทั่วไป จึงมุดออกจากซี่กรงของตระกร้า หรือ กรงแข่งได้   และตัวต่อไปที่ส่งให้คนจับนกก็เป็นตัวเมียอีก  หมอนั้นก็เลยถามว่า “นายกำลังจำทำอะไรหรือ?” ผมแข่งนกตัวเมียครับ เป็นคำตอบที่นายADให้กับหมอนั่น ซึ่งแน่นอนเขากระจายข่าวไปทั่ว และ หลายคนก็ดีใจเพราะพวกเขาจะได้ชนะง่ายขึ้น (เป็นเพราะพวกเขาฝังใจกับนกตัวผู้ และ ดูถูกนกตัวเมีย)  แน่นอนการเปลี่ยนแปลงมันก็เหมือนเล่นการพนันอะไรซะอย่างซึ่งผลที่ออกมา “ไม่นรก ก็ สวรรค์”  นายADขอบคุณพระจ้าที่ผลออกมาเป็น สวรรค์

Peter

ปีเตอร์เป็นคนสวนที่มาทำงานบ้านของนายAD เขาเป็นนักเลี้ยงนกเก่าที่เลิกเลี้ยงไป พอเขาทำสวนเขาก็สังเกตุเห็นนกนายADซึ่งเป็นนกตัวเมียบิน 2-3 ชั่วโมง   เขาก็สงสัย และ ถามเขาว่า นกพวกนี้แข่งหรือ  ถ้าแข่งเขามาเฝ้าได้หรือไม่?  คำตอบที่ได้ OKแถมโดนเหน็บว่า “มาเฝ้านะหัวใจแข็งแรงดีพอ?”   พอวันแข่งแดดแรง ทวนลม ซึ่งคนเลี้ยงนกบ่นกันอุบเลย   พอช่วงบ่ายปีเตอร์ร้องหาแม่เลยครับเพราะนกตัวเมียของนายADมาทิ้งลงกรงไม่ขาดสายเหมือนจะพุ่งชนกรงให้ได้ ผลการแข่งขันวันนั้นสุดยอด และ ทำให้ปีเตอร์ต้องกลับบ้านไปสร้างกรงเลี้ยงใหม่ และ เป็นสมาชิกของคลับอีกครั้งด้วยเหตุฉะนี้ละครับ  นายAD บอกว่าเขาไม่เคยเสียใจเลยที่เปลี่ยนมาเลี้ยงระบบ Double Widowhood ซึ่งเป็นสิ่งที่คนเบลเยี่ยมในตอนนั้นกลัวการเปลี่ยนแปลงกันนักหนา
 
 
 มันก็เหมือนกับเรามองหญิง ใหม่ๆก็สวยไปหมด  นานๆเข้าก็เบื่อ  ทำอะไรซ้ำๆ ซากๆ สักวันก็เบื่อและหาอะไรที่มันใหม่และท้าทายเรา (นายADเขียนเปรียบเปรยถึงนะครับ เดี๋ยวคุณเธอใกล้ตัวท่านที่อ่านอยู่จะเข้าใจคนเลี้ยงนกอย่างเราผิดไป -

ก็จบบทที่ 8 หนทางที่เลือกนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นทางเดิมเสมอ   บทที่ 9 ก็จะเป็นเรื่อง Some do nots……..บางสิ่ง บางอย่างที่ไม่ควรทำ   ก็ติดตามกันดูนะครับว่าอะไรควร ไม่ควร.......


บทที่ 9  Some do nots…………..บางสิ่ง บางอย่างที่ไม่ควรทำ   

•   ช่วงแข่งนกไม่ควรย้ายนกบางตัวออกแม้ว่ามันจะแข่งไม่ดี  ให้รอจนแข่งเสร็จแล้วค่อยย้าย  เพราะนกบางตัวมันเกิดการกระตุ้นให้คึก ซ่า เพราะมันได้ข่มเจ้านกเหล่านี้ก็เป็นได้  แยกไปฟอร์มนกอีกตัวตกก็เป็นไปได้นะ
•   ไม่ควรเข้าคู่นกพันธุ์ซ้ำซากจำเจหลายๆปี จริงอยู่มันเคยให้ลูกดี แต่ผลที่ปรากฎออกมานั้นส่วนใหญ่จะด้อยลงไปเรื่อยๆ  (ไม่อย่างนั้นนกดีล้นโลกซิ)
•   อย่างเปิดช่องนกทิ้งไว้  เพราะนกตัวอื่นมันจะเข้าไปยึดและแน่นอนตีกันเละ  ไม่ว่าจะนกพันธุ์หรือนกแข่งก็ตาม
•   ช่วงแข่งไม่ควรปล่อยนกให้โดนฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนเย็น เพราะนกตัวจะแห้งไม่ทัน พอกลางคืนขึ้นช่องนอนทั้งที่ตัวยังไม่แห้ง  ฟอร์มนกตกไปแน่นอน
•   ไม่ควรประหยัดเงินในเรื่องการรักษานก  ถ้าต้องรักษาก็ควรจะรักษาไปทั้งเล้า ไม่ใช่แต่ทำเฉพาะนกแข่งเท่านั้น
•   อย่าคิดว่าคนเลี้ยงนกที่มีเว็บไซต์ของตนเองเท่านั้นที่จะมีนกดี  ความจริงแล้วมันตรงกันข้ามกันก็เยอะมากๆ
•   อย่างคิดว่านกตัวนั้นดีเพราะเพดดีกรี หรือ มันดีเพราะมาจากกรงใหญ่ที่มีชื่อเสียง  (นกมันต้องดูที่ผลงาน)
•   ถ้าอยากได้นกจากกรงที่มีชื่อเสียงก็ไปซื้อกับเขาโดยตรงเลย ไม่ต้องซื้อจากกรงอื่น
•   นักเลี้ยงนกที่มีชื่อเสียงจำนวนมากมักที่จะเลี้ยงนกจำนวนมาก  ฝูงใหญ่ และ แน่นอนว่านกที่ “ไม่ดี” ย่อมมีมากกว่าคนที่เขาเลี้ยงนกน้อยๆแต่ “ดี”  ซึ่งหลายคนก็ไม่มีใครรู้จักกันทั่วไป โดยเฉพาะต่างชาติ  ดังนั้นก็อย่าไปหลงงมงายกับผลที่ดีแค่ตัวเดียวจากนกทั้งกรง แถมโฆษณาไปทั่วโลกว่าได้แชมป์  จะว่าไปการเป็นแชมป์นั้น “ยาก” และ จะยากขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะต้องรักษาแชมป์ไว้ให้ได้นานที่สุด   สำหรับการแข่งนก คนที่เป็นแชมป์ หรือ อยากเป็นแชมป์ ก็มีผลงานที่ดีสม่ำเสมอ ต้นๆตลอด และ ทีมนกดีมากๆ เสมอ  ยิ่งเคย “เก่ง” KPI ที่ฝรั่งเขาใช้วัด หรือ ถือเป็นเกณฑ์ที่ขั้นต่ำต้องทำให้ได้นั้นสูงกว่า ชาวบ้านทั่วไปแน่นอน  เรียกกันง่ายๆว่าต้องเก่งและเจ๋งกว่าทั่วไป   ชาวบ้านเด็กเลี้ยงใหม่ๆ อาจจะถ้วยใบถึงสองใบต่อสายถือว่าประสบความสำเร็จสูงแล้ว  สำหรับแชมป์นั้น4-5ใบถือว่าพอใช้ได้ บ้างก็ว่าไม่เข้าเป้า จนถึงล้มเหลวก็ได้  อันนี้ก็แล้วแต่ใครจะกำหนดมาตราฐานของตนเองละครับ
 
 
อย่าเชื่อเลยว่าในโลกนี้มีคนที่เป็น “เซียน” หรือเรียกว่า “เก่ง”  100% ที่จะคัดนกที่ไม่ดี ออกจากนกดีได้  มั่วก็เยอะ
•   และ อย่าไปเชื่อเรื่องอายซายน์  มันเป็นเรื่องที่เหลวไหล ไร้สาระสิ้นดี ที่ค่าของการแข่งขันหรือการเข้าคู่นั้นสามารถอ่านได้จากตา  ลองดูกีฬาแข่งอื่นๆ ซิ เช่น ม้าแข่ง หมา ไก่ชน เขาดูตามันหรือเปล่า
•   อย่าไปเชื่อเด็ดขาดว่า มีคนที่รู้ หรือ รู้ว่าใครมีวิธีเข้าคู่นกที่เก่งเป็นแชมป์ได้
•   อย่าเข้าใจผิดในเรื่องของ “ขนาด” กับ “ความแข็งแกร่ง”   นกตัวใหญ่ไม่ได้หมายความว่ามันจะแข็งแรง ส่วนใหญ่จะตรงกันข้าม
•   อย่าเชื่อในเรื่องที่จะสร้างสายพันธุ์ของตนเอง  ถ้าอยากจะเป็นแชมป์ นกที่ดีๆนั้นส่วนใหญ่มาจากการผสมแบบผ่าเหล่า Cross breed   ไอ้นกที่บอกสายพันธุ์บริสุทธ์ สายพันธุ์ของตนเองนั้น เป็นเรื่องของการค้า  เพราะยังมีคนเลี้ยงนกจำนวนมากที่งมงายกับนกเลือดเข้มๆแบบผสมลงเหล่าอยู่ In Breed   คุณรู้ได้อย่างไรที่เขาบอกคุณว่านกตัวนี้เลือดบริสุทธิ์ นกที่เขาสร้างมากับมือหลายชั้นแล้ว  แท้ที่จริงแล้วนกตัวนั้นเขาอาจจะผ่าเหล่าเอานกที่อื่นมาเข้าก็ได้   แต่เพื่อสร้างเครดิตให้กับกรงตนเอง สายเลือดที่เป็นของตนเองก็ “โกหก” เพราะถ้าเป็นนกที่เป็นสายที่เขาสร้างขึ้นมา  คุณก็หาซื้อที่ไหนไม่ได้จริงไหม   ก็ต้องมาหาเขา  แต่กลับกันถ้าเขาบอกว่าพ่อนกมาจากบ้านนาย A สายนั้นๆ  และ แม่นกมาจากบ้านนาย B สายนี้ เข้ากันแล้วเจ๋ง  แล้วเขาจะได้อะไรเหรอ    คนก็ไปหานาย A และ B กัน เพื่อได้ต้นสายบ้าง ไม่ดีกว่าเหรอ  ก็เหมือนอย่าง Koopman ที่บอกถึงแม่ของ Kleine Dirk ว่าเป็น Golden Lady  ลูกของ Kannibal มาจากกรง  Dirk & Louis van Dyck เท่านั้นละ van Dyck เพาะนกขายไม่ทันเลย ทั้งลูกKannibal พี่น้อง ญาติๆมัน ขายดีมากๆ    ผมเชื่อว่าโลกของวงการนกมีคนประเภทนี้อยู่พอควร   บางครั้งก็สร้าง  “วีรบุรุษ วีรสตรี” ของกรงขึ้นมาเช่น ลูกหลานในกรงที่เก่งๆ เป็นแชมป์มาจากนกตัวนี้ทั้งนั้นก็มี  มันถ่ายทอดสายเลือดการเป็นแชมป์มาหลายชั้นแล้วก็มี  แล้วคุณจะไปหาที่ไหนละ  หลงคารมเพราะเชื่อว่าสายนี้มันถ่ายทอดความเป็นแชมป์ได้หลายๆชั้น ก็อยากได้บ้าง   ไอ้นกดีๆ แบบนี้ มัน “มี” ครับแต่ “น้อยตัวมากๆๆๆๆ” ในโลกนี้   ไม่ใช่ว่ามันจะไม่มี แต่คุณ”รู้จัก” นกเขา และ เจ้าของกรง ดีพอหรือ  หรือ เชื่อลมปาก หรือ เชื่อสื่อที่เขียนละ  และก็ต้องดูคนที่เขาพูด เขาเขียน ด้วยว่าใคร แกงค์เดียวกันหรือเปล่า   สื่อสมัยนี้ผลประโยชน์ทับซ้อนกันก็มาก
•   อย่าเชื่อเด็ดขาดว่าว่าถ้าคุณมีนกแข่งที่ดีมากๆ แล้วพี่น้องของมันที่ผลงานแข่งไม่ดี มันจะเป็นนกพันธุ์ที่ดีแน่
 
 แง่คิดของนาย AD ยังคงมีอยู่อีกหลายอย่างก็ขอเขียนต่อ

•   อย่าเข้าคู่นกไกลกับนกใกล้ เพราะผลที่ได้มันจะไม่ดีนัก มันอาจจะห่วยแตกหรือพอใช้ได้เท่านั้น
•   อย่าลืมว่านักเลี้ยงนกที่จริงจังกับการแข่งนกจะไม่เคยขายนกที่พิสูจน์แล้วว่าดีมากๆ   เราควรที่จะสั่งนกอ่อน ลูกนก มันมีโอกาส และ ประหยัดสตางค์ได้หลายอยู่
•   อย่าคิดว่าวิตามินจะเร่งหรือปรับสภาพให้นกเป็นยอดนกแข่งได้
•   อย่าทิ้งวิตามิน หรือ ยาผสมไว้ในน้ำให้นกกินนานเกินไป ยิ่งบ้านเราอากาศร้อนมันเสียเร็ว
•   อย่าลืมทิ้งพวกหินกริต (หินบดหลากชนิด) ให้นกกิน และ เปลี่ยนบ่อยๆ มันเป็นของที่สำคัญสำหรับนก
•   อย่าส่งนกที่กระเพาะเต็มไปด้วยน้ำเข้าแข่ง  นกพวกนี้ไม่อยู่ในสภาพพร้อมแข่ง
•   อย่าหวังว่านกไกลมากๆ มันจะบินใกล้หรือกลางได้ดี หรือ แม้แต่ไกลไม่มากเช่นกัน  มันก็อาจจะยังไม่โชว์ฝีปีก  เลี้ยงนกพวกนี้ต้องทำใจกับมัน
•   อย่าส่งนกที่ขา ไม่สะอาด เลอะขี้มากๆ ห่วงก็อ่านยากเพราะขี้ติดเต็มไปหมด นกพวกนี้มันไม่อยู่ในสภาพ  ปรกตินกที่ดีมันไม่ใช่แบบนี้

ก็จบบทที่ 9 ซึ่งคิดว่ามีแง่คิดที่ดีๆ สื่อถึงกันบ้าง   บางท่านถ้าคิดว่ารู้ดีอยู่แล้วก็ไม่เป็นไร  เอาไว้สำหรับคนที่คิดว่าเป็นประโยชน์ก็แล้วกัน   
ตอนที่ 10 ก็เป็นเรื่อง  Electrotytes?  Yes Sir!  ท่านต้องการอีเลคโตรไลท์หรือครับ?  ได้เลย เดี๋ยวจัดให้ครับ
 
 
                 ตอนที่ 10  Electrotytes?  Yes Sir!
บทนี้ก็มาถึงเรื่องที่สำคัญสำหรับนกแข่ง หลายท่านคงใช้อีเลคโทรไลท์ (ETL) กันตามกรงอยู่แล้ว มันคืออะไรหรือ?
ก็เป็นอะไรที่เขาเรียกกันว่าเกลือแร่ ปรกติก็ใช้กับเครื่องดื่มของนักกีฬาเพื่อทดแทนการสูญเสียของน้ำขณะที่ใช้ในการออกกำลังกาย เล่นกีฬา และ ผู้ป่วยที่ท้องสีย อาเจียนมากๆ หรือ อดอาหาร  ถ้าคนที่ออกกำลังกายหนักเขาจะสูญเสีย ETL มากทางเหงื่อที่ออก โดยเฉพาะพวก โซเดียม และ โปตัสเสียม ซึ่งเป็นตัวหลักของ ETL และ เราต้องรีบหามาทดแทนกลับเข้าร่างกายโดยเร็วเพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย   โดยปรกติแล้วพวกคารโบไฮเดรต และ กลูโคสจะเพิ่มเข้าไปอยู่ตามผลิตภัณฑ์ที่ขายกันเพื่อเพิ่มพลังงาน

Pigeon

สำหรับนกแล้วมันก็ต้องการ ETL เพราะนกเองก็ใช้พลังงานมาก ตอนซ้อม ตอนแข่ง โดยเฉพาะวันที่ร้อนมากๆ   นกเองก็เหมือนกับคนละครับ มีอาการขาดน้ำในร่างกายได้  แล้วเราใช้ของบริษัทอะไรดีละ? ยี่ห้ออะไรก็ได้ขอให้เป็นของที่ผลิตจากบริษัทที่เชื่อถือได้ ปรกติมันก็จะประกอบไปด้วย Sodium, Potasium, chloride, calcium, magnesium, bicarbonate, sulphate  ของคน ของนกก็ได้ทั้งนั้นครับ


Function and Administration

ETL ใช้ทำอะไร และ มีประโยชน์อะไร?
•   อย่างแรกก็ชดเชยการสูญเสียน้ำในร่างกาย รักษาระดับของน้ำในร่างกาย
•   ลดการกระหายน้ำ

เราควรจะให้เมื่อไร?

-   วิธีที่ดีที่สุดกคือให้ทันทีที่รู้ว่านกสูญเสียน้ำในร่างกาย เช่นวันแข่งที่ร้อนมากๆ แข่งไกลๆ ให้ผสมน้ำตอนนกกลับ
-   อาจให้ตอนก่อนส่งนกแข่งก็ได้ในวันที่อากาศร้อน แต่ การให้ก็ต้องระวังเพราะนกอาจจะดื่มน้ำน้อยกว่าปรกติแล้วขึ้นรถก็ดื่มยิ่งยากก็ได้ ก็ขาดน้ำไปได้
-   เมื่อนกกลับมาแล้วหมดสภาพก็ควรให้เพราะนกสูญเสียน้ำไปมากก็ได้   บางครั้งให้ผสมข้าวก็ได้ แล้วตอนกินน้ำมันก็จะดื่มมากขึ้นเพราะมันเค็มจากอาหารที่กิน  มันก็จะดื่มน้ำมากขึ้นก็ดี
-   ถ้าร่างกายไม่ขาดน้ำ นกก็จะมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะร่างกายมันพร้อม
-   ไกลขึ้นก็ควรให้ ETL มากวันขึ้น 2-3 วันก็ดีเพราะนกยิ่งไกลยิ่งใช้งานหนัก

Finally

-   บางครั้งลูกนกที่อายุ 10 วัน ขี้นกเป็นน้ำมาก ก็ให้ETL 2 วัน มันช่วยให้นกเป็นปรกติได้
-   นกที่ป่วยมากจากโรค E Coli ท้องเสียมันก็ดื่มน้ำมาก ถ่ายเป็นน้ำมาก ก็ควรให้ ETL
-   ETL เป็นของที่ควรให้นก เหมือนพวกหินกริต

บทที่ 11 Trapping การฝึกนdลงกรงให้เร็วนั้นเป็นเรื่องที่ยาก และ เป็นอะไรที่เซ็งมากๆในวันแข่ง ที่มาแล้วไม่ลง  ได้ยินบ่อยมาก เห็นจนชินชา มาดูกันว่า นาย Ad พูดว่าอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้
 
 
 
บทที่ 11 Trapping การฝึกนกลงกรง

การฝึกนกลงกรงเป็นเรื่องที่ยาก และ เป็นอะไรที่เซ็งมากๆในวันแข่ง ที่มาแล้วไม่ลง   นาย Ad พูดก็เหมือนกับที่ผมเห็นและได้ยินมาตลอดชีวิตการเลี้ยงนก

Not Alone
ก็คือ นกมาแล้ววน  ถ้ามันไม่วนละก็กูถ้วยแน่นอน ถ้วยขาดๆเลย    ทุกอาทิตย์ไม่ได้มีกรงเดียวที่เป็นแบบนี้  เป็นกันเยอะครับ บ้างก็บ่นให้ได้ยิน  บ้างก็ชินชา ไม่รู้จะพูดไปทำไม  แต่ส่วนใหญ่ที่ได้ยินก็โทษ “ตัวนก” กันทั้งนั้น  นี้ละครับสีสันของกีฬาของเราที่โทษนก โทษโน่น โทษนี่ ไปหมดเพราะนกไม่ลงกรง บ้างก็ว่าทิศทางของ
กรงสร้างไว้ไม่ดี จังหวะลงกรง กับ ลงไม่สมดุลกัน  บ้างก็ว่าไอ้คนชนะมันโชคดี เพราะอากาศมันไม่ดี นกมันเลยชนะ  บ้างก็อ้างว่าแม้แต่กรงเซียนดังๆ หลายๆ กรงยังไม่มา หรือ มาไม่ดี  นกกูก็มาไม้ได้เหมือนกัน  ไอ้คนชนะมันเฮงไป   บางครั้งก็มีความคิดว่า ไอ้ที่เราชนะอาทิตย์นี้เป็นเพราะนกเรามันไม่ดีหรือ ยังไงนี่  ไอ้พวกดีๆ เซียนๆ ไม่มา J

Own fault
นกที่ลงกรงไม่ค่อยดีนะ ส่วนใหญ่มาจากคนเลี้ยงที่ยังไม่ดีพอ ไม่ละเอียดอ่อนพอ  บางคนหยาบมากในการจับนก ตะครุบขนกระจุย จับทีนกตื่นทั้งกรง จับนกต้องจับมันอย่างทะนุถนอม เราอยู่กับมันทุกวัน เราต้องระวังเรื่องนี้ให้มาก  ยิ่งเฉพาะวันแข่งที่สมัยก่อนต้องดึงห่วงยางละก็ เห็นชัดถ้านกกลัว หรือ มัน
 
 
เจ็บจากการที่เราทำมันในช่วงวันแข่งไม่ว่าจะขา หรือ ไล่คว้ามันละก็  มันจะจำไว้เลยว่ามาแล้วทำกูเจ็บ  นกก็มาแล้ววนไงละครับ 
เราต้องทำให้นกพิราบนั้นเชื่อใจเรา เห็นเราแล้วไม่กลัว  ดีใจที่เห็นเรา คุ้นเคยกับการที่เราเดินไป เดินมา  ไม่ใช่เห็นเราแล้วเกร็งเตรียมบินหนีให้ได้  จ้องเราตาเขม็ง   มันเป็น TRUST ที่เราต้องมีให้มันเห็น  ถ้ามันไม่เชื่อใจเราละก็ จะมาแก้ไขมันยากครับ  โชคดีที่สมัยนี้มีนาฬิกาอีเลคโทรนิค บันทึกกันใต้แทปได้  คนเลยไม่ต้องออกไปต้อน  บางกรงออกไปไม่ได้ นกเห็นก็บิน ยิ่งเน่าเข้าไปใหญ่

Feeding
บางกรงก็วางอาหารบนแทปทางเข้า ตอนวันแข่งเพื่อหวังว่ามันจะดี นกติดใจ  คิดผิดครับ  ความหิวไม่ได้ช่วยเลย  นกถ้ามันกลัว มันประสาทแล้วละก็ อาหารที่วางก็ไม่ได้ช่วยให้มันลงเร็วขึ้นหรอกครับ    บางคนก็เลี้ยงอาหารวันส่งน้อยๆก็กะว่ามันหิวก็จะลงกรงเร็ว ความหิวไม่ได้ช่วยเรื่องลงกรงเร็วหรอกครับ
การให้อาหารเป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่เราสร้างความเชื่อใจ ใกล้ชิดกับมันได้ ค่อยๆให้นั่งดูมันกินไปเรื่อยๆ  นกถ้ามันรู้สึกดี สบายใจ มันก็เชื่อมัน เชื่อใจในคนเลี้ยงละครับ  ให้นกคิดเสมอว่า “มือ” ที่ยื่นมาหามันนั้นไม่ใช่มาเพื่อคว้า หรือ จับมัน แต่เป็น “มือ” ที่มันเชื่อใจ มือที่มันเชื่อเสมอว่า มือนี้ละที่มันรอคอยของที่มันรอ มันต้องการ ก็คือ “อาหาร” นั่นเอง   บางครั้งเลี้ยงทีละตัวบนกล่องของมันยิ่งดีใหญ่เลยเพราะมันจะคุ้นเคยกับเรามากขึ้น   
สำหรับผมแล้วมันเป็นเรื่องจริง เพราะนกหลายๆตัวที่ลงกรงดีนั่นมันมีนิสัยที่ดี คุ้นเคยกับเรา ไม่กลัวเรา นกพวกนี้ลงกรงเร็ว
 
 
 
 
 Minimizing the loft
กรงนกถ้ามันใหญ่ไปก็เป็นปัญหาในการจับนก  และ นกจะตื่นตกใจ ควรกั้นกรงให้เล็ก จับง่าย และ นกไม่ตื่นเรา

A Dropper
“นกต่อ” ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก  นกต่อที่ดีก็ต้องอยู่กับนกแข่งมันจำกันได้ดี และ เป็นอะไรที่มันคุ้นเคยกัน  กินอยู่ในกรงเดียวกัน เป็นเพื่อนกัน
พวกที่ล่อคู่นกบางคนก็เอาคู่ของมันมาโชว์ ให้อยู่ด้วยกันสักพักก่อนจับไปแข่ง  อย่าลืมนะครับมันอาจจะไม่ได้ช่วยให้นกลงกรงเร็วขึ้น ถ้าสิ่งที่เขียนไว้ข้างต้นไม่ได้ปฏิบัติ

Conditioning
การที่จะฝึกสัตว์อะไรก็ตาม Trick กลของมันมีอยู่อย่างเดียวก็คือ  ให้รางวัลต่อเมื่อมันปฏิบัติตามที่เราต้องการให้มันทำ ไม่ว่าจะช้าง ปลาโลมา หมา ม้า เหมือนกันหมด  ถ้าให้ก่อนยากครับที่จะฝึกมัน

In Conclusion
ก็มีข้อคิดง่ายๆ ว่า คนที่เขาเลี้ยงนกดี นกจะไม่ตื่นกลัว  สามารถจับนกได้ด้วยมือเดียว และ คนพวกนี้เขาคุ้นเคยกับนก เขารู้ดีว่านกตัวไหนชอบอยู่ตรงไหน  ถามตัวเองก่อนว่าเราเลี้ยงนก จับนก ดีพอหรือยัง ตอนผมเป็นเด็ก ผมจำได้ติดตาตลอดจนทุกวันนี้ คนที่เลี้ยงนกลงกรงดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาในชีวิตนี้ คือ คุณวินัย เทวปฏิคม พี่หยุย ปัจจุบันก็เลิกเลี้ยงไปแล้ว  นกเขามาสูงมากๆ แต่ละตัวทิ้งลงกรง
 
 
 เหมือนกับโดนยิ่งล่วงหล่นจากฟ้าก็ว่าได้  หุบปีก บิดตัว ปรับองศาการลงกรงได้ น่าทึ่งมากๆ ทั้งๆที่ทำเลกรงสมัยก่อน ข้างโรงหนังปรินซ์ที่บางรักนั้นทำเลลงกรงก็ไม่ค่อยดี ตึกก็เยอะ แต่นกที่มาแต่ละตัว ใจเด็ดมากๆ  ภาพนั้นติดตาผมตลอดมา

ตอนที่ 12 ก็เป็นเรื่องของ The Sound of Hollow Barrels  ก็ติดตามดูกันว่ามันหมายถึงอะไร
 

ตอนที่ 12 The Sound of Hollow Barrels 
เรามาดูกันว่าเสียงของการเคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็วมันเป็นอย่างไร? อะไรทำให้มันเร็วขึ้นหรือ? 

The Panel

ก็เป็นอะไรที่นาย AD เรานั้นมักจะเห็นอยู่บ่อยๆ  อย่างวันหนึ่งที่เขาตอบรับไปเข้าร่วมสัมนาเรื่องของนกพิราบแข่ง  วิทยากรที่ร่วมงานด้วยก็มีหมออยู่ถึง 3 ท่าน   คนเลี้ยงนกนั้นก็ยิงคำถามซึ่งพวกหมอพวกนี้ไม่สนใจเท่าไรนัก คำถามก็ออกแนวที่ว่า “นกพิราบที่ดีนั้นมันเป็นยังไง ดูอย่างไรครับ?” ไอ้คำถามลักษณะแบบนี้ไม่ค่อยที่จะได้รับความสนใจจากหมอ และ คนเลี้ยงนกทั่วไปเท่าที่ควร  เพราะอะไรหรือ? เป็นเพราะคนเลี้ยงนกทั่วไปต่างก็คิดว่านกที่บ้านตนเองนั้นดีอยู่แล้วแค่หาเทคนิค หาอะไรมาเสริมหน่อยก็แจ๋วแน่  คำถามก็เลยไม่โดนใจ    พอมาถึงคำถามที่ว่า “ทำอย่างไรถึงทำให้นกบินเร็วขึ้น?” คำถามนี้ละครับพวกหมอต่างรอคอย ลืมตาอ้าปากตอบทันที  พวกหมอก็จะพูดถึงพวกไวรัสต่างๆ แบคทีเรียสารพัด วิตามิน ยาหยอดตา ยาป้องกันโรค และ อีกสารพัด  หมอก็สรุปว่าไอ้ยาสารพัดนี่ละทำให้นกบินเร็วขึ้น   มันเป็นอะไรที่นายadเราตระหนักดีว่า ไอ้เจ้าหมอลึกลับเหล่านี้นะหรือที่คิดว่าตนเองเป็นพ่อมดปรุงยาที่ว่ามาแล้วทำให้นกพิราบบินเร็วขึ้น?  เขาว่ามันเป็นธุรกิจที่อยู่ไปอีกนานตราบเท่าที่เรายังแข่งนกกันอยู่ เพราะคนเราเชื่อเรื่องพวกนี้ก็เยอะ  เขาก็บ่นกับตัวเองว่าเขาเลือกอาชีพผิดหรือเปล่าจากครูมาเป็นคนเลี้ยงนกและเป็นนักเขียนบทความนกพิราบ  น่าจะไปเรียนหมอศาสตร์นี้ ได้เงินง่ายและมากกว่าเยอะ เพราะคนเลี้ยงนกตกหลุมไอ้ “สูตรลับ” ต่างๆ ที่หมอและบริษัทยาโฆษณาชวนเชื่อ ขมขู่ทางอ้อมถึงผลร้ายถ้านกขาดของเหล่านี้ไป ….
 
 
  
Champions & Clowns  แชมปี้ยน กับ ตัวตลก

เชื่อเถอะครับคนที่เขาเป็น “แชมเปี้ยน” นั้นเขาไม่ได้เป็นหนี้พวกยาต่างๆ นาๆ สารพัดหรอกครับ แต่ Common Sense ประสบการณ์ การตัดสินใจแบบพื้นๆ ที่เขามีอยู่ในตัวนั่นละ สิ่งที่บริหารนกของเขาในแต่ละวันนั่นละ เป็นสิ่งที่ผลักดันให้เขาเป็นแชมป์ได้ และ เขามีนกที่ดี มีคุณภาพอยู่ในกรงก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน    กลับกัน “ตัวตลก” นั้นก็มีอยู่มากวันๆ ก็คิดแต่หาของวิเศษ ไม่ว่าจะเป็นยาให้กิน หรือ ฉีด และ เชื่อว่านี่ละของดีที่ทำให้เป็นแชมป์ได้   ไอ้ตัวตลกเหล่านี้ยิ่งโดนแชมป์อำ โดนหลอก ยิ่งไปกันใหญ่  สิ่งที่หลอกก็คือ ไอ้ยานี่ดี ไอ้ยานั่นดี ทั้งๆที่เขามีนกดีๆอยู่ในกรงกลับไม่บอกความจริงให้รู้กัน  ระวังหลงทางกัน  ก็ใช้ Common Sense มากหน่อยดีกว่า  โฆษณาก็เป็นอะไรที่ต้องคิดให้หนัก อย่าโดนหลอก


Ridiculous

โฆษณาที่เห็นตามหนังสือนก ตามงานโชว์ต่างๆ ก็มักจะเอาแชมป์ต่างๆ มาโฆษณาว่า เขาเป็นแชมป์ได้เพราะเขาใช้สินค้า อาหาร หรือ ยา ของบริษัทนี้ละครับ  มันเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่คนขายรู้ดีว่า คนเลี้ยงนกเป็นคนขี้ระแวง ขี้กลัว กลัวแพ้ ก็เป็นอะไรที่ไม่อยากแพ้  ใครใช้อะไรดีก็อยากจะตามกัน  แท้จริงแล้วเราต้องคิดให้ดีว่า การที่พวกเขาชนะมันมีอะไรมากมายเป็นองค์ประกอบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะ ประสบการณ์ กรงทีดี กรงอยู่ในทำเลที่ดี อาหารที่ดี เหมาะสม สัดส่วนที่ดี และที่สำคัญนกที่ดี
 
 
 
 มากๆ อยู่ในกรง เอาเป็นว่า ถ้าคิดกันง่ายๆว่า ไอ้กรงนี้ที่เป็นแชมป์มันบอกว่า การที่มันเป็นแชมป์ได้นั้นมาจากอาหารยี่ห้อนี้ ยาบริษัทนั้น แสดงว่า นกกรงมันไม่ดี  ของที่มันใช้ดี  ก็เอานกเฮงซวยให้มันเลี้ยงก็ได้ซิ  Common Sense อยู่ไหน
คนเราบางทีบอกความจริงว่าเขาเลี้ยงแบบธรรมดา ไม่ได้ใช้อะไรมากมายเลย  คนอื่นมันไม่เชื่อก็มีเยอะนะ  มันต้องมองตามตู้ ตามชั้นว่าใช้อะไรบ้าง เพื่อหาความลับให้ได้ก็มีนะ 

ทำเลที่ตั้งกรงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ โดยเฉพาะในเมืองไทย  ใครว่าเซียนคนนั้น คนนี้เก่ง  ก็ลองไปเลี้ยงในทำเลที่ไม่ใช่ดูซิ  ติดยังยากเลย 

ตอนที่ 12 ก็จบลง ก็เห็นได้ว่ามันไม่ใช่เรื่องลี้ลับมากมาย  Common Sense เป็นเรื่องหลัก  ตอนที่ 13 เป็นเรื่อง Pedigree don’t fly   ก็ลองดูกันว่าเพดดีกรีมันบินไม่ได้เป็นอย่างไรกัน
 
 
 ตอนที่ 13  Pedigree don’t fly   เพดดีกรีมันบินไม่ได้

มีนกตัวหนึ่งที่นายAdได้พูดถึง มันเป็นนกที่สวยมากตั้งแต่เล็ก ถูกตา ต้องใจ ก็ว่าได้ เขาตำราเปะคือ “ตาสวย ขนดี หลังแข็ง”  แต่เขาก็สังเกตุเห็นอะไรแปลกๆที่นกตัวนี้คือ นกหาที่กินน้ำเป็นช้ากว่านกตัวอื่น และ มันก็หาทางออกจากกรงเวลาปล่อยบินช้ากว่าตัวอื่น  จากนั้นตอนซ้อมถ้าเห็นมันกลับแล้วละก็คือปิดกรงได้เลยเพราะนกมากันหมดแล้ว  ตอนเป็นลูกนกแข่งไม่ติดเลย เขาก็เลยคิดว่าเอานะ มันน่าจะดีตอนโตขึ้นเป็น Yearling หรือ Old bird ก็คือ ขวบหนึ่งไปแล้วก็ได้  นกตัวนี้ก็เลยรอดชีวิตไปตอนคัดนก  ตอนย้ายไปกรงแข่งอีกกรง (ที่เมืองนอกกรงลูกนกแข่ง กับ นกโตจะแยกจากกัน ดังนั้นลูกนกพอแข่งเสร็จก็ย้ายไปกรง Yearling หรือ Old bird ) ไอ้นกตัวนี้พอย้ายไป บินขึ้นช่องก็จะผิดอยู่เรื่อย  ปล่อยบินก็เข้าแทปผิดประจำ  สร้างปัญหาอยู่เรื่อยก็เลยต้องอเปหิจากกรง   นายADก็ถามตนเองอยู่ว่าเขาทนกับไอ้นกตัวนี้ได้ไง ก็เป็นเพราะมันสวยและพี่มันเป็นนกที่เก่งมากและมันเหมือนพี่มันเปะเลยก็เลยเก็บไว้  นกตัวนี้ก็ไม่ได้ให้ใคร หรือ ขายให้ใคร เพราะกลัวว่าคนอื่นจะเจอปัญหาความโง่ของมันเข้า  ก็ทำให้คิดได้ว่า   “นกที่สวย และ แถมด้วยเพดดีกรีที่งามหรู ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีถึง คุณภาพ เลย”  ท้ายที่สุดนกตัวนี่ก็เก็บเป็นนกฟักไว้เตือนใจจนมันตาย เพื่อนของAD ก็เคยถามว่ามันสวยนะ พี่มันก็เก่งมันก็น่าจะให้ลูกดี  ADคิดว่าเขาตีนกตัวอื่นที่แข่งเก่งน้อยกว่าพี่ของไอ้นกตัวนี้ดีกว่า ที่จะเสียเวลาตีนกที่มันแปะยิ้งให้เห็นตั้งแต่เล็กจนโต
 
 
 Buying
เสน่ห์ของการซื้อนกก็คือ การมีความฝันกับนกตัวนั้นๆ ก็มี “ความสุข” ไปแล้วระดับหนึ่ง  แม้ว่าภายหลังผลของลูกมันจะเน่า หรือ รู้สึกเสียดายเงินที่ซื้อไปแล้วก็ตาม
บางท่านก็ว่า “นกดีๆไม่ต้องไปซื้อให้เสียเงินหรอก ไปขอเอาฟรีๆก็ได้”  ก็ไม่รู้จะพูดไงดี “ก็เอาเป็นว่าคนที่ซื้อนกมา แล้วเก่งก็มีเยอะกว่าก็แล้วกัน”   ถ้าคุณรู้ว่านิสัยของคุณเป็นคนที่คัดนกออกจากกรงยาก  เสียดายเงินที่ซื้อ  ขอแนะนำว่าอย่าซื้อนกเลย เพราะถ้านกมันไม่ดี ให้ลูกไม่ได้เรื่อง จะเก็บไว้ทำไม?   นักเลี้ยงนกจำนวนมากให้เครดิตกับนกที่มีราคาแพง เพดดีกรีสวย หรือมาจากกรงดังๆ  ก็ต้องคัดกันให้ดี จะซื้อนกนะ รู้จักเขาดีพอหรือเปล่า ทั้งนก ทั้งคนขายด้วย   ไม่อย่างนั้นไอ้นกดีๆก็ตกไปอยู่กับคนที่มีเงินหมดซิ  จริงอยู่คนมีเงินสามารถซื้อนกแพงๆ ได้ แต่มันก็เป็นได้ทั้งประโยชน์ ถ้านกมันดีจริง และ อาจจะไม่มีประโยชน์ก็ได้ถ้านกมันไม่ดี ก็เสียเงินมากเช่นกัน

A Star down- to- Earth
ใครที่รู้จัก Klak ก็จะรู้ดีว่า ราคานกของเขานั้น มีราคาเดียวเหมือนกันหมด  เขาให้เหตุผลว่านกของเขานะมันไม่ได้ให้ลูกดีไปหมดทุกตัว  มันต้องมีทั้งดีและไม่ดี  มันขึ้นอยู่กับ “โชค”  ดังนั้นไอ้ใครที่โฆษณาว่า “คู่ทอง” นะ เหลวไหลสิ้นดี
มันไม่มีอะไรที่เป็นมาตราฐานหรอกครับว่าเข้าคู่กันแล้วมันต้องให้ลูกดีแน่ๆ มันไม่มีมาตราฐานอะไรหรอกที่ว่า inbreed ดี หรือ linebreedดี หรือ  Crossing จะดี 


ก็มีเรื่องเล่าอยู่ว่า ชายคนหนึ่งไปหาเซียนที่เบลเยี่ยม ก็อยากที่จะซื้อลูกนกตัวหนึ่งเอาจากนกที่ดีที่สุดของกรงเลยนะ   เซียนก็บอกว่าได้เลย มันมาจากยอดนกคู่ทองของกรง ลูกมันตัวละ 1000 ยูโรนะ  ยอดนกคู่ทองเมื่อได้ยินชายคนนี้ก็หูผึ่งแล้วก็ตอบไปว่า “เงินไม่สำคัญหรอกถ้ามันเป็นนกที่ดีจริงๆ  เอาอย่างนี้เรามาทำข้อตกลงกัน  ผมจะให้คุณ 10000 ยูโร ถ้ามันเก่งจริงๆ แต่ถ้าหากมันไม่เก่ง ไม่เป็นไร คุณเอานกกลับไป เอาเงินผม 10000 ผมคืนมา “  การซื้อขายก็ไม่ได้เกิดขึ้นหรอกครับ เพราะคนขายก็ไม่กล้าประกันว่ามันต้องดีเยี่ยมอย่างที่คุยไว้ตั้งแต่แรก.... แสบมากไอ้หมอนี่ ตอนที่ 14 ก็เป็น เรื่อง Clip Rings are blessing  มาดูกันว่าไอ้ห่วงสีที่บ้านเราเรียกกันมันดีอย่างไร



ตอนที่ 14  Clip Rings are blessing 

ห่วงสีที่บ้านเราเรียกกันมันดีอย่างไร  ผมว่ามันดีมากๆ เวลาผมไปต่างประเทศทีไรก็จะซื้อกลับมาทุกครั้ง  ผมก็ใช้ห่วงสีนี้ละครับแยกกลุ่มมัน  ข้อดีของห่วงสีมีมาก  มันทำให้เราสะดวก จำง่าย  แยกพวก แยกกลุ่มได้เร็ว  คนเราจำอะไรได้ไม่หมดหรอกครับ นกเยอะๆ จะช่วยให้คนเลี้ยงทำงานง่ายขึ้นมาก  มันช่วยลดการหัวเสียของคนเราได้พอควร  คนเลี้ยงจำนวนมากก็มักจะจำว่าสีนั้น สีนี้คืออะไร ตัวผู้ ตัวเมีย หรือ สายพันธุ์นั้นๆ หรือ แม้แต่นกตัวนี้อาจจะต้องจำเป็นพิเศษ   เล่นกุ๊ หรือ นกป่วย เกเร   นกซ้อมกลับมาเร็วหมายตาเป็นพิเศษ หรือ มาช้า สาย แข่งหายไปหลายวัน ก็ใส่ห่วงสีพิเศษจะได้ไม่ซ้อม ไม่แข่ง พักบินก็ช่วยได้   แยกนกเป็นรุ่นๆ สำหรับโฮมนกก็ได้  มันเป็นอะไรที่ช่วยได้เยอะมากๆ   บางครั้งผมก็ใส่ห่วงสีเพื่อจำสายพันธุ์ของมัน ดูการเติบโตของลูกหลานมัน  จะได้จำได้ง่ายขึ้นเป็นพิเศษ

ปัจจุบันการแข่งนกในบ้านเราส่วนใหญ่ใช้ห่วงบาร์โค๊ด (ยกเว้นสมาคมส่งเสริม) ทำให้สะดวกต่อการบันทึกเวลานกมาง่ายขึ้นมากๆ  ห่วงก็มีหลายสี  และจะให้จำได้ง่ายขึ้นบางท่านก็แทนที่จะใช้ห่วงสี ก็ใช้สติคเกอร์แถบสีพันที่ห่วงบาร์โค๊ดก็ทำหน้าที่ได้เหมือนกับห่วงสีไงครับ 

ไม่อยากหงุดหงิดก็ใช้ห่วงสีให้เป็นประโยชน์ให้มากขึ้นนะครับ

ตอนที่ 15 คือ Growing Problem  ปัญหาช่วงที่นกกำลังเติบโตคืออะไร ก็คอยติดตามกันต่อไปครับ


 




 
 
 
  
 
 
 
 

ตอนที่ 15 A Growing Problem  ปัญหาระหว่างการเติบโตของนก

โรคที่ผมถือว่าเป็นโรคที่น่ากลัว และ เป็นปัญหาสำหรับนกจริงๆก็คือ Trichomoniasis หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่า Canker  มันไม่เป็นทั้งไวรัส หรือ แบคทีเรีย แต่เป็นโปรโตซัวเซลเดียว  ซึ่งหมอที่ยุโรปก็ส่งสัญญาณเตือนคนเลี้ยงนกมาหลายปีแล้ว เพราะมันเป็นอะไรยากหรือเป็นไปไม่ได้เลยที่จะกำจัดมันเพราะตัวมันเองก็ได้สร้างภูมิต้านทาน ดื้อยา ปัญหาที่ว่าก็เป็นอะไรที่อาจจะกระทบถึงนกทั้งกรงหรือเฉพาะตัวก็เป็นได้

“ True Champion - แชมเปี้ยนนั้นเห็นนกวันนี้ก็รู้แล้วว่าพรุ่งนี้มันจะป่วย”
เรื่องนี้จะโทษใครก็ไม่ได้ก็ต้องโทษตัวเราเองที่ปัจจุบันเอาแต่ให้ยากันมากมาย  ไม่เป็นอะไรก็ให้  เป็นก็ให้ไม่ครบ ไม่ถูก  ยิ่งวันก็ยิ่งแย่ เพราะ โปรแกรมต่างๆที่บริษัทขายยานกต่างก็ใส่กันทั้งปี  เราก็ให้กันเพียบ  โรคก็ดื้อยาโดยฉะนี้  ยาเดี๋ยวนี้มันให้กันทั้งปี ก่อนเข้าคู่ ตอนเป็นลูกนก ก่อนแยกจากพ่อแม่  แยกแล้ว ก็มีให้เป็นช่วงๆ ก่อนซ้อม ก่อนแข่ง และช่วงแข่ง  แล้วอย่างนี้ไม่ดื้อยาได้ไง    ADแนะนำว่าให้ยาเท่าที่จำเป็นก็พอ   นี่เป็นสิ่งที่เขาทำและก็แนะนำให้คนอื่นทำเข่นกัน



 
 
 
 
 
 
 
 
    Symptoms - อาการของโรค
     1 นกจะซึม ไม่ร่าเริง
     2 นกจะขี้เป็นน้ำ โดยเฉพาะลูกนกอ่อนจะเห็นได้ชัด และ ผอม
     3 มันจะอ้าปาก และดูเหมือนมันยากที่จะปิดมัน
     4 มันจะไม่อยากบินออกกำลังกาย
     5 กินน้อย ดื่มมาก เนื้อตัวจับแล้วไม่แน่น รัดเหมือนปรกติ
     ถ้าท่านเห็นอาการเหล่านี้ มันสายไปแล้วเพราะโรคมันไปเยอะแล้ว   
     ว่ากันว่า “ แชมเปี้ยนนั้นเห็นนกวันนี้ก็รู้แล้วว่าพรุ่งนี้มันจะป่วย”  เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะพวก                         เขาหมั่นสังเกตุนกเขาตลอดเวลา  ถ้ามันเริ่มผิดปรกติ ก็ต้องเริ่มรักษา เขาไม่ปล่อยให้โรคมันบาน  ปลาย   หมั่นเปิดปากนกดู  ถ้ามันเป็นหนักมันจะมีก้อนเหลืองอยู่ในคอ นั่นก็สายไปหน่อย   คอนกมัน  จะบอกอะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับสุขภาพของมัน

Selection การเลือกนก
     เราควรเลือกนกที่ดีทั้งสุขภาพ และ ผลการแข่งขัน  มากกว่า  ที่จะเลือกจากการมองดู Eye sign ตา หรือ เพดดี        กรี  สิ่งที่สำคัญที่ Ad แนะนำก็คือ ถ้าจะต้องให้ยาก็ควรจะให้นกทั้งหมด เพราะ ไม่งั้น คู่ของมันเป็นโรคมันก็ติด กินน้ำร่วมกันมันก็ติดได้
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 16 Smart or Not? 

ตอนนี้ จั่วหัวก็ลอยไว้ด้วยคำปริศนาว่า “ฉลาดหรือไม่?”  ปี 2006 การแข่งขันนกแก่ก็มีจุดหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของนาย Adก็คือ จุดนั้นเขาชนะที่ 1, ที่3 และ ที่ 6 ซึ่งมีนกแข่งมากกว่า 10000 ตัว นกที่ส่งแข่ง 90% เป็นตัวผู้ แต่ นก 3 ตัวที่เขาชนะอันดับยอดเยี่ยมนั้น เป็น “ตัวเมีย” ทั้งหมด  มันไม่ได้แค่ฟลุ๊คที่มาได้เพราะปีก่อนหน้าพวกมันก็ชนะที่ 1 และ อันดับต้นๆ มาแล้ว (นก 3500 ตัว)  นก ที่ 1 และ ที่ 3 เป็นพี่น้องกัน  พ่อของมันก็เก่งมากชนะที่ 1 นก 13200 ตัว ทิ้งตัว 2 ถึง 5 นาที  ก็เป็นอะไรที่เขาบอกถึงความเก่งกาจของนกตัวเมีย ที่เขาย้ำชัยชนะอีกครั้งบนหน้ากระดาษนี้ และ บอกถึงความเก่งของนกที่สืบทอดสายเลือดกันมา  ส่วนแม่ของมันนั้นเป็นเรื่องที่พิเศษมากก็ลองตามกันดูครับ สนุกดี

Boeckx – นายโบ๊ค
ปี 2001 AD ได้ยินกิติศัพท์ความเก่งกาจของนายคนหนึ่งในเบลเยี่ยมซึ่งบ้านเขาก็ไม่ได้ไกลกันนักแค่ 10 กม. หมอนี้ชนะที่ 1 ถึง 7 ครั้งระยะสั้น ซึ่งการแข่งขันระยะสั้นของเบลเยี่ยมรับรองได้ว่าไม่ได้ชนะมาด้วยโชคแน่ ว่าแล้วนายAD ก็ใส่หมวก ปั่นจักยานไปเยี่ยมหมอนี่  เขาชื่อ นายBoeckx รู้จักแต่ชื่อไม่เคยเจอกันมาก่อน 
เมื่อไปถึง AD ก็ถามว่า “คุณมีนกที่ดีจริงๆใช่ไหม? ผมยังสงสัยว่าในเบลเยี่ยมจะมีใครเก่งกว่านี้หรือเปล่า?”
คำตอบที่ได้ก็คือ “ใช่ ผมมีนกที่ดีจริงๆ แต่ สงสัยว่ามันจะไม่ได้ นกยอดเยี่ยมระดับชาติ National ACE Pigeon เพราะ จำนวนนกที่ร่วมแข่งมันน้อยไปหน่อย  พี่มันซิเก่ง โชคดี และ ก็ได้ที่ 1 National Ace Pigeon นกยอดเยี่ยม เมื่อปีที่ผ่านมา “  เท่านี้ละครับนาย AD ร้องเลยว่า “อะไรนะ พี่ของไอ้พวกนี้อะนะ ปีก่อนเป็นแชมป์ของประเทศ” ว่าแล้วนาย AD ก็ถามว่า “ผมขอซื้อ ลูกนก พ่อแม่เดียวกัน 2 ตัวได้ไหม?”  คำตอบที่ได้ช่างน่าผิดหวังเพราะ เขาบอกว่า “คุณไม่สามารถซื้อนกที่นี่ได้” สักพักก็ทำใจใสหมวกขึ้นจักรยานเตรียมกลับ


 
 
 

A.S.?
รอเดี๋ยว คุณคือ A.S.? (Ad Schaerlaeckens) “ใช่ครับ และ สิ่งที่คุณได้ยินเกี่ยวกับผมอาจจะเป็นเรื่องโกหกก็ได้นะ”  คำตอบที่นาย Boecks ให้กลับนั้นดีมาก เขาบอกว่า “ผมได้ยินแต่ผลงานของคุณเท่านั้น  เหตุผลที่คุณไม่สามารถซื้อนกที่นี่ได้เพราะผมต้องการแลกนกกับคุณเท่านั้น  ผมจะเพาะนก 2 ตัวจากพ่อแม่ที่ให้ลูกที่ 1 และ ที่ 4 National Ace Pigeon และ คุณก็ช่วยเพาะให้ผม 2 ตัวจากคู่ที่ดีที่สุดของคุณ”  ก็ตกลงกันได้สวย  ไม่กี่เดือนต่อมา นาย Boeckx ก็มาเคาะที่ประตูบ้านของ AD พร้อมกับตระกร้านกเล็ก เขาบอกให้ Ad ลองเปิดและจับนกดู มันมีนก 3 ตัว กระ 2 ตัวที่มาจากคู่เก่ง และ สีเทาอีกตัว เป็นของขวัญ   
นาย AD ก็เอาเจ้า 3 ตัวนี้ทำพันธุ์และ แน่นอน เจ้า 2 กระก็เป็นตัวโปรดเพราะเข้าคู่กับนกเก่งหลายๆ ตัว แต่ ใน 4 ปี ผลงานของลูกมันน่าผิดหวัง มีดีอยู่ตัวเดียว สมควรต้องออกจากกรงไป แต่ ลูกของไอ้เทาของขวัญนี่สิครับมันเจ๋งมากเพราะลูกของมันก็คือ เจ้า 2 สาวที่ชนะที่ 1 และ ที่ 3 ที่เขียนไว้ต้อนต้นบทไงครับ  ตอนที่ 16 ยังไม่จบ ติดตามกันวันต่อไปครับ
Klak – คลัก
AD ได้ไปช่วย Klak กดนกอยู่ 4 ปี ช่วงที่คลักไม่สบาย  ที่ช่วยได้ก็เพราะ AD แข่งวันเสาร์ ส่วนคลักแข่งวันอาทิตย์ ทั้งคู่นั้นเป็นเพื่อนสนิทกันมากแม้จะต่างวัยก็ตาม  คลักเองก็ให้นกกับADแบบที่ชนิดเรียกว่าเลือกเอาได้เลยก็ว่าได้  ความที่สนิทกัน พวกเขาก็มีไปทานข้าวกันอยู่เรื่อยๆ  คลักเองไม่ชอบแข่งนกอ่อน Young bird นัก  ดังนั้นคลักมักที่จะไปเฝ้านก ADในวันแข่งที่สำคัญๆ อย่าง National วันหนึ่งคลักเห็นนกกลับมาดีมากๆ  ก็ชื่นชมกับAD  จนADเองเอ่ยปากว่าจะให้นกจากคู่เก่งกับคลัก  ซึ่งเขาเองก็เพาะไปให้  ดังนั้นประวัติการนำเข้านกของคลัก นอกจากแจนเซ่นก็จะมีจาก AD นี่ละครับ แต่ ผลที่ออกมามันทำให้ AD ผิดหวังมากที่นกไม่โชว์ฟอร์มดีเท่าที่ควรนักที่กรงของคลัก  ซึ่ง AD เองก็ถึงกับเอ่ยกับคลักว่าเขาผิดหวังที่นกของเขามันไม่สร้างผลงานที่ดีที่กรงของคลัก  แต่คำตอบที่ได้จากคลักนั้นดีมากๆ ซึ่ง คลักบอกว่า “นี่ละกีฬานกแข่ง  เขาเองก็เพาะนก 50 ตัวหรือมากกว่านั้นต่อปี ก็เคยหวังว่ามันจะเก่งมากหลายตัว แต่  ที่จริงแล้วได้เก่งจริงแค่ตัวเดียวก็ดีพอแล้ว ผมไม่ต่อว่าคุณหรอก สบายใจได้”  นี่ละครับ คลัก คนที่จริงใจเสมอ พูดตรงไปตรงมา และ เข้าใจอะไรๆ ได้ดี


 
 
 

Meire  นายไมเร
ปี 2000 วิลเลม เพื่อนของ AD บอกกับเขาว่า “เขาต้องการนกใหม่ๆเข้ากรง  AD นายรู้จักใครที่มีนกดีและราคาถูกบ้างหรือเปล่า”  ADก็แนะนำว่าไปที่ Flanders ไปหาคนที่ชื่อ Meire กัน  ซึ่งADก็ได้เคยพาคนอเมริกาไปแต่ก็ไม่ได้ซื้อเพราะพวกเขาไม่ชอบแถมบ่นว่าจะไม่มาที่ Flanders อีกเลย ก็ว่าไม่ได้เพราะนกที่แถบนี้มันจะต่างจากนกที่อื่น  ทั่วไปคนจะชอบพวก หลังแข็ง หางตกลง  และ ตาสวย  แต่ที่นี่มันต่างกัน  นกที่นี่จะตาเหลือง สีนกก็จะแบบสีเทาหม่นๆ  สีกระสวยๆ เทาสวยๆ ไม่ค่อยมีหรอก ดังนั้นมันจะไม่ค่อยโดนใจคนอื่นนัก  แต่ วิลเลมไม่แคร์ครับ  เขาไม่ได้ซื้อนกที่เก่งๆ แพงๆ  แต่เขาเหมายกครอกลูกนกทั้งหมด เพื่อเอาไปแข่งที่บ้านเขา   ลูกนกที่ได้ไปนั้นหลายๆ ตัวก็ไม่ค่อยเก่งนัก มี2ตัวที่ใช้ได้ แต่ มีอยู่ตัวหนึ่งดีทั้งแข่งและทำพันธุ์   ไอ้นกตัวนี้ละครับต่อไปได้ผลิตลูกหลานให้เป็น National Championship ให้กับ Michael Vanlint และ นกโอลิมเปียด ให้กับ G&S Verkerk

Willem Again
วิลเลมพอใจกับคำแนะนำการหานกของ AD มาก  ปี 2004 ก็มาหาAD ให้ช่วยแนะนำนกให้เขาอีก  คราวนี้แนะให้ไปหาดาวรุ่งที่ชื่อ Heremans   พอไปถึง Heremans คิดว่า วิลเลมจะซื้อลูกนกจากคู่เก่งๆของเขา แต่ผิดครับ เพราะ วิลเลมนั้นของซื้อไข่ 60 ฟอง จากนกแข่ง และ บางฟองจากคู่เก่ง  จากไข่ชุดนี้เหลือเชื่อที่ ไม่น้อยกว่า 10 ตัวเป็นนกที่เก่งและดีมาก    พอ ไอเยอร์แคมป์ ได้ข่าว เพราะมันไม่ธรรมดาแน่ เก่งตั้ง 10 ตัว จากไข่ 60 ฟอง  ซึ่งปรกติไอเยอร์แคมป์นั้นจะซื้อนกที่เก่ง และ ก็ยอมจ่างเงินก้อนโตเพื่อให้ได้มา แต่ คราวนี้ไม่ครับพวกเขาขอซื้อลูกนก 100 ตัว ไปแข่ง  และ ได้ผลดี ก็สั่งใหม่อีกรอบ    นกของ Heremans นั้นส่วนใหญ่จะมีสายเลือดมาจาก Hasendonkx & Gust พวกเขาแข่งนกดีมาเป็นทศวรรษแล้ว แต่อย่าไปถามเรื่องเพดดีกรีเพราะพวกเขาไม่เคยสนใจมัน ที่ต่างประเทศผมเห็นหลายๆกรงที่ไม่ใช่พวกนักโฆษณา ก็มักจะไม่ค่อยสนเพดดีกรี ถามว่านกพันธุ์อะไร ก็ไม่ค่อยจะได้อะไรกลับมาเป็นเรื่องเป็นราวนักเพราะบางคนก็เป็นนกที่ตกทอดมาจากพ่อ จากปู่ก็นานพอควร สายพันธุ์หลายคนก็ไม่ค่อยสนพอถามก็บอกว่าไม่รู้มาจากคนที่เขาซื้อชื่ออะไรก็ว่าไป  ดังนั้นเวลาที่เราเป็นเพดดีกรี เรามักจะเห็นชื่อคนเป็นหลัก  เมืองนอกส่วนใหญ่จะไม่ค่อยแคร์สายพันธุ์มากนัก เขาสนนกที่เขาต้องการและมันเก่งเป็นใช้ได้   
 
 
 

ผมเห็นนักเลี้ยงนกบางคนอย่างเพื่อนสนิทผมคนหนึ่งซึ่งคบกันมาตั้งแต่ปี 1978 จนถึงทุกวันนี้ 31 ปี  ก็ติดต่อกันมาตลอด  โทรคุยกันประจำ  ตอนผมทำงานอยู่ต่างประเทศเขาก็เขียนจดหมายมาถามไถ่ทุกข์สุขอยู่เรื่อยๆ เล่าเรื่องราวของเขา และ นกให้ฟังกันเสมอ  คบกันตั้งแต่เขาไม่มีอะไร จนเป็นเศรษฐีก็ว่าได้  31ปีที่คบกันเราไม่เคยใช้คำว่า มึง กู เลย เราใช้คำว่า คุณ หรือ เฮียแทนคำนำหน้าเสมอ ไม่เปลี่ยน   เขารวยกว่าเรามากความสัมพันธุ์ก็ยังเหมือนเดิม   เมื่อเร็วๆนี้เขาก็มาเยี่ยมผมที่กรง ผมก็คุยและโชว์นกที่ประสบความสำเร็จ ให้แกดู ให้แกได้คลำ และ นกนอกใหม่ๆที่นำเข้า เราก็ได้แลกเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงที่ดัดแปลงจากเดิม อาหาร ยา ก็แลกเปลี่ยนให้กัน  พอถึงเรื่องสายพันธุ์นกนอกใหม่ๆของผม แกก็บอกผมว่า เขาไม่ได้ตามวงการนกต่างประเทศมานานแล้ว สายพันธุ์ใหม่ๆต่างๆก็เลยไม่ค่อยจะรู้เรื่อง  ซึ่งผมก็รู้ดีมานานมากแล้วว่าเขาไม่ค่อยสนใจนกต่างประเทศนัก แต่ก็เปิดใจรับรู้บ้างเหมือนกัน  แกชอบนกที่เก่ง และ นกในสไตล์ของแก  เร็วๆนี้ผมก็ไปเยี่ยมกรงเขา เขาก็โชว์นกที่เขาหามาใหม่ส่วนใหญ่เป็นนกสายพันธุ์เก่าอย่าง เฟบบรี่ มวล แวนเดนบรุครุ่นเก่า แคททรีสเก่าๆ  18/21 ฯลฯ  ผมรู้นิสัยของเขาดี 31 ปี แกก็ยังฝังใจ และ สุขในรูปแบบของแก   ก็เคารพในสิ่งที่เขาคิดและชอบแต่ว่าไม่ได้นะนกพวกนี้มันก็บินดี มีผลงาน เข้าถ้วยเหมือนกันนะครับ ผมคนหนึ่งละถือหลักที่ว่านกของทุกคนนั้นมีดีทุกคน เราดูถูกว่านกเราดีกว่าคนอื่นไม่ได้ คิดง่ายๆถ้าแพ้เขาแล้วเป็นไงละ  ที่เขียนมานี้ก็อยากจะบอกว่าพี่คนนี้ก็เป็นอีกคนที่ ไม่เคยสนใจ เรื่อง "เพดดีกรี" เลยก็ว่าได้ เพราะ เพดดีกรีมันเขียนอะไรก็ได้ สู้ได้จับได้คลำไม่ได้ แกชอบแกก็ซื้อ  นกนอกบางทีเห็นแกมีหลายตัวถามแกว่าพวกอะไรแก็รู้แค่ชื่อสายพันธุ์นิดหน่อย อย่างมูลีมันส์  กอมแมร์ สายไหนไม่สน ไม่จำ จับชอบแกก็ไปซื้อมาไว้ในกรง  เอาเพดดีกรีมาดูผมก็บอกว่า "เฮียนกตัวนี้เลือดสูงมากเหมือนกันนะ"  แกก็บอกว่า "ผมก็ไม่ได้สนใจเพดดีกรีมันหรอกคุณวิรัช  จับชอบก็ซื้อ ตัวนี้ซื้อมาก็สัก 3 หมื่นได้"  ผมชอบนิสัยแกมากครับ เทียนฟงคนตรง 1000ปี ของผม 
 
 
 
 
 
 
Vanlint & Crucke
Michel Vanlint คนเบลเยี่ยมที่เคยอยู่ที่ไต้หวันมานานหลายๆปีจนได้เมียและมีลูกสาวที่นั่น  เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็กลับมาอยู่ที่บ้านเกิดที่เบลเยี่ยมอีกครั้งและก็เริ่มกลับมาเลี้ยงนก  ความที่ตอนอยู่ที่ไต้หวันก็ยุ่งกับเรื่องนกพอควรก็เลยได้รู้จักคนที่ยุโรปมาก มีเพื่อนเยอะก็ว่าได้  ดังนั้นเรื่องนกดีที่จะมาที่กรงนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ๋ คนปรกติคิดว่าการได้พี่ น้องของตัวเก่ง หรือ ลูกตัวเก่งนั้นเจ๋งแล้ว แต่ Michel นั้นฉลาดกว่า เขาขอให้เพื่อนๆ 3 คนของเขาเพาะนกให้เขาแบบยกครอก Round และ แทบจะทั้งหมดนั้น ฟรี  นี่ละครับเพื่อน  เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ  และ 2 ปีเท่านั้นคนทั่วโลกรู้จักชื่อของ Michel Vanlint กับชัยชนะที่ยากที่ผู้อื่นจะทำลายสถิตินี้ได้   แชมป์National ของ เบลเยี่ยมมากมายเหมือนฟ้าประทานก็ว่าได้

อีกคนก็คือ Luc Crucke เศรษฐ๊อีกคนที่ใช้เงินซื้อนกน้อยมาก  เขามีเงินที่จะซื้อนกดีๆ เก่งๆ แต่เขาฉลาดมากที่จะศึกษาว่านกของใครที่ดี และ เขาก็ไปหา van Lancker  นักเลี้ยงนกที่ทั่วไปไม่ค่อยจะรู้จักเพราะไม่ค่อยจะเห็นกันในสื่อ  เขาขอซื้อลูกนกยกครอก และ หนึ่งในนั้นก็เป็นนกยอดเยี่ยมของเบลเยี่ยม National Ace KBDB Middle distance 2006  ต่อมากนกตัวนี้ขายไปที่ราคามโหฬาร   รู้ไหมว่านกตัวนี้เขาซื้อมาตอนเป็นลูกนกราคาเท่าไร?เขาซื้อลูกนกที่ราคา  “25 ยูโร”  ก็ราคา ประมาณ 1200 บาทครับ
ทั้ง 2 คนที่ประสบความสำเร็จนั้นก็อยากจะบอกว่า “ฉลาดซื้อ  ฉลาดหา”  ครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
Chinese
มีอยู่วันหนึ่งซึ่งนาย AD จำได้ดีและรู้สึกเสียใจแทนหญิงซึ่งเป็นนายหน้าชาวจีน เรื่องก็มีอยู่ว่า ลุกค้าของเธอต้องการนกที่เป็นพี่น้อง และ ลูกของยอดนก "เงิน" ปรกติไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับลูกค้าชาวจีนแต่ "เพดดีกรี" ซิใช่  เขาก็พาเธอไปหา Meire และ ต้องรบกวนMeireให้ช่วยทำเพดดีกรีให้ด้วย

ADต้องอธิบายให้Meireฟังว่าเพดดีกรีคืออะไร และ ให้เขาช่วยเขียนใหหน่อย ซึ่งMeireใช้เวลาเขียน 2 วัน แต่เมื่อลูกค้าของเธอเห็นเพดดีกรีเท่านั้นแหละ ยกเลิก การซื้อขายทั้งหมด คงเป็นเพราะ ชื่อของเขาไม่ดังพอ ไม่เป็นที่รู้จักในเมืองจีน  โฆษณาน้อยไปมั้ง เพดดีกรีไม่สวยมั้ง เขียนเอา รายละเอียดพูดถึงนกแชมป์ๆ น้อยไปมั้ง แต่ นั่นนะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่ Meire ประสบมาเพราะ นกพวกนี้เขาเอาไปแข่งและชนะรางวัลเพียบ 

ต่อมาหญิงคนนี้ภายหลังADก็พาไปหาคนที่เก่งคนหนึ่งและตกลงซื้อลูกนก 2 ตัว จากนกที่ได้ที่ 3 National Ace Pigeon นกยอดเยี่ยมของประเทศ 2 ครั้ง AD ก็ถามหญิงคนนี้ว่า "Happy แล้วใช่ไหม?" "ใช่ค่ะ แต่มีปัญหาที่จะขายมัน" "อะไรนะ นกดีๆอย่างนี้นะเป็นปัญหา" ADถึงกับร้อง หญิงน้อยก็ตอบว่า"เพราะเจ้าของนกนั้นเป็นฝรั่งที่ไม่ค่อยมีชื่อในไต้หวัน พวกเขาไม่ค่อยรู้จักชื่อนัก" 

หลายอาทิตย์ต่อมาก็มีการประมูลนกทางอินเตอร์เนท นกบางตัวถูกประมูลไปในราคาที่สูงมากจากนักเลี้ยงนกที่ค่อนข้างธรรมดาในยุโรป แต่มีชื่อในเอเชียเพราะเขาโฆษณามากที่นั่น  โลกนี้บางครั้งก็บ้าเหมือนกัน นักเลี้ยงนกจำนวนมากคิดผิดที่พวกเขาคิดว่านกที่ดีๆนั้นมาจากกรงที่มีชื่อเสียง(ทางสื่อ)เท่านั้น

ผมเองตอนไปเยี่ยมกรงหนึ่งที่เยอรมัน เพื่อนผมก็ได้รับโทรศัพท์ขอซื้อนกจาก นายหน้าชาวจีนเป็นผู้หญิงเหมือนกัน  เธอพูดเยอรมันไม่ได้ เพื่อนผมพูดอังกฤษไม่ได้  ผมเลยเป็นล่ามแปลให้ ท้ายสุดเพื่อนผมไม่ขายนกให้ เพราะ เธอเคยติดต่อแล้วและสัญญาว่าจะโอนเงินก็ยังไม่โอนซะที  ก็เลยไม่ขาย


 
 
 
 
RUDI
หน้าร้อนปี 2006 AD ได้รู้จักกับนกที่ชื่อ "Goudhaantje" ยอดนกที่ชนะที่ 1 หลายๆ ครั้งของ Rudi Diels.  ADโชคดีได้ซื้อลูกนก 2 ตัว และ น้องสาวอีก 2 ตัว ในราคาที่ถูกมากๆ

เพื่อนชาวอเมริกันถามหานกที่ดีจาก AD ซึ่ง AD ก็เสนอนกที่ได้จาก Rudi ให้กับหมอนี่โดยที่ไม่ได้บอกถึงผลการแข่งของ Goudhaantje เพียงแต่บอกว่า "ถ้าคุณอยากได้นกที่ดีละก็นกตัวนี้ละที่คุณควรจะซื้อมัน" Adก็เดาคำตอบได้ว่าหมอนี่จะพูดอะไร เขาต้องการเห็นเพดดีกรีก่อน เขาไม่ชอบ และ ก็ไม่ซื้อมัน เช่นเดียวกับคนจีน เป็นเพราะพวกเขาไม่เคยรู้จัก Rudi Diels แต่หลายเดือนต่อมา Goudhaantje ชนะที่ 1 Olympiade พวกเขารีบกลับมาถามหา ซึ่ง ADก็ให้คำตอบกลับว่า "สหาย สายไปแล้ว เหมือนเดิม"

Conclusion
ปัจจุบันเห็นคนประมูลนกราคาแพงๆกันแล้วใจหายเหมือนกัน  ทำไมไม่ซื้อลูกนก หรือ ไข่ยกเล้าซึ่งจะได้นกที่ดีมีโอกาสมากกว่านกตัวเดียว และอีกอย่างลูกนกหรือไข่พวกนี้ถูกกว่าเยอะ และ จะเห็นผลดีกว่า

ก็จบบทที่ 16 ที่แสนยาว และ 17 ก็เป็นเรื่อง that's the way it goes ก็ดูกันว่า มันจะเป็นอย่างไร



 ตอนที่ 17 That’s the way it goes

เรื่องยากของการเขียนหนังสือหรือบทความอะไรก็ตาม คือ การไม่มีไอเดีย หรือ เรียกง่ายๆว่าไม่รู้จะเขียนอะไรดี? ผมเองก็มีอยู่บ่อยๆ ที่มีอาการนี้ หรือ ที่ฝรั่งเรียกว่า “Writer’s block”  ไม่ลองเขียนไม่รู้หรอกครับ ว่าบางครั้งมัน "ยาก"  แต่บางทีบทจะ "ง่าย" ก็ง่ายเสียเหลือเกินเพราะอะไรหรือครับ?  “ง่าย” เพราะมันมีอารมณ์ มีไฟ และ มีแก๊ก  ที่จะเขียน แต่มันไม่ได้มีแบบเรียกได้ หรือ ซื้อได้ มันเป็นจังหวะ และ อารมณ์พาไปซะมากกว่า 

Good Ones
สิ่งที่สำคัญสำหรับกีฬานกแข่งที่เรารักถ้าจะสรุปสั้นๆก็คือ
“คุณต้องมีนกที่ดี อยู่ในกรงที่ดี และ เลี้ยงมันให้มีสุขภาพที่ดี”
แต่พื้นฐานที่สำคัญที่สุดก็คือ “นกที่ดีมีคุณภาพ”  แต่จะหามันได้ที่ไหน นี่ซิเป็นคำถามใหญ่ จนมีคนพูดกันอยู่บ่อยๆก็คือ “Good blood never lies สายเลือดที่ดีไม่เคยโกหก” อันนี้มันไม่จริง เพราะถ้าบอกว่าสายเลือดดีๆ ไม่โกหก แล้วอย่างนี้ทุกกรงก็มีนกดีเต็มไปหมด  เพราะถ้าไม่ดีเลี้ยงมันทำไม ใช่มะ    โดยเฉพาะไอ้พวก คู่ทอง คู่เก่งละก็  โกหก มันจะเก่งซะทุกตัวเหรอ  จริงอยู่มันอาจจะเก่ง 2-3 ตัว แล้วตัวอื่นละ     นกถ้าไปอยู่คนที่เลี้ยงไม่ดีละจะเก่งหรือเปล่า คำถามมันเยอะมากนะครับ  นกจะเก่งได้มันมีอะไรประกอบหลายๆอย่างๆ และ ถ้าปีไหนจะเก่งแบบสุดๆละก็ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ “โชค”  ซึ่งคุณต้องมี

ตอนที่ 17 นี้ก็สั้นเหลือเกิน  ส่วนตอนที่ 18 นั้นก็น่าสนใจเพราะ เป็นเรื่อง Q&A from fanciers worldwide ก็เป็นคำถามที่นักเลี้ยงนกทั่วโลกถามมา ก็ติดตามกันดูนะครับ
 
 
 
 
 
ตอนที่ 18 Q&A from fanciers worldwide
ก็เป็นคำถามที่นักเลี้ยงนกทั่วโลกเขียนถามAD ก็จะนำเฉพาะคำถามคำตอบที่น่าสนใจและเกี่ยวกับเราให้ดังนี้

คำถามที่ 1 ในอดีตในการเพาะลูกนกที่มีสุขภาพดีนั้นง่ายมาก  ปัจจุบันนั้นต่างกันแม้จะให้ทั้งวิตามิน ยาสมัยใหม่  มันกลายเป็นเรื่องยากไปเลยก็ว่าได้  ขอให้ช่วยอธิบายให้เข้าใจถึงเหตุผล และ ข้อแนะนำด้วยครับ  ช่วยอธิบายถึงวิธีป้องกันโรคแคงเกอร์และพาราไทฟอยด์ หรือ คุณรักษามันต่อเมื่อมันติดโรคไปแล้ว?

คำตอบ
ปัญหาก็เกิดจาก "ยา และ พวกวิตามินเสริมสารพัด"  ก็เป็นเพราะพวกนี้นี่ละครับที่เราใช้กันพร่ำเพรื่อ  ใช้กันทั้งปี จนทำให้เรามองข้ามภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติของนกที่ควรมีไป  เราถึงต้องชดใช้มันไงครับ  ประเทศที่ใช้ยาน้อยปัญหาก็น้อยตาม ที่จริงแล้วสื่อและสัตวแพทย์ควรที่จะมีหน้าที่แจ้งเตือนคนเลี้ยงให้ทราบและช่วยเหลือ  แต่ปัจจุบันสื่อเองอยู่ได้หรือมีรายได้มากมายก็จากการโฆษณา ส่งเสริมการขายของเหล่านี้  บางสื่อก็ขายเองด้วยซ้ำไป
สำหรับตัวADเองเขาบอกว่านกเขามีสุขภาพที่ดี ปัญหาน้อยมาก ส่วนเรื่องโรคทั้งสองเขารักษาเมื่อมันป่วย

คำถามที่ 2
วิธีการเข้าคู่แบบใดที่จะรักษาสายเลือดของนกแข่ง line breed / in breed? และ คุณคิดว่าสายพันธุ์ใดดีที่สุด?

คำตอบ
ผมไม่เคยเชื่อเรื่อง line breed หรือ in breed   นกที่ดีๆนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการผ่าเหล่า Crossing  นั่นก็คือผมก็ไม่เชื่อเรื่องสายพันธุ์ที่ดีที่สุดเช่นกัน  (เชื่อในนกเก่งเป็นหลัก)


 
 

คำถามที่ 3
คุณเชื่อใน Eye Sign หรือไม่? ถ้าเชื่อ รบกวนช่วยอธิบายวิธีการดูและนำไปเข้าคู่?

คำตอบ
แชมป์ส่วนใหญ่ในยุโรปพบว่า Eye Sign เป็นเรื่องตลกมาก นักวิทยาศาสตร์ที่เลี้ยงนกก็บอกว่ามันเป็นเรื่องเหลวไหลสิ้นดี  สำหรับผมอิสระและขึ้นอยู่กับโชค

คำถามที่ 4
คุณใช้หลักการในการคัดเลือกนกพันธุ์อย่างไร?

คำตอบ
ผมคัดเลือกนกจากนักเลี้ยงนกที่ประสบความสำเร็จ ไม่ต้องมีชื่อเสียงโด่งดังตามสื่อ ยิ่งคนเลี้ยงนกที่ธรรมดาๆ แต่อยู่ในกลุ่มที่มีคนเลี้ยงเยอะๆ และ เก่งๆ ด้วยละก็ยิ่งชอบ  ผมดูที่ผลการแข่งขันเป็นหลัก ที่ยิ่งยากยิ่งดี  เชื่อไหมบ่อยครั้งที่ผมชอบนกที่ชนะในการแข่งขันที่มีนกแค่ 100 ตัว  มากกว่า นก 10000 ตัว ผมจะเข้าคู่นกเหล่านี้กับนกที่ดีของผม   ไอ้นกคู่ทองมันไร้สาระมันเหมาะแล้วที่จะอยู่ตามแคตตาล็อกหรือรายการประมูลเพื่อดึงดูดความสนใจ   ผมก็ไม่ซีเรียสกับพวกที่อวดตัวว่ารู้วิธีการเข้าคู่นกที่ดีได้เช่นกัน (มันไม่มีหรอก)   
Super Pair ไม่ได้สร้างนก Ace Pigeon  แต่  Ace Pigeon ต่างหากที่สร้าง Super Pair!!!
 
 
 
 
 
 
 
 
คำถามที่ 5
ในฐานะที่คุณเป็นผู้ที่มีความคุ้นเคยกับนกแจนเซ่นแท้ๆ  คุณว่ามันบินได้ไกลสุดแค่ไหน?

คำตอบ
ในฮอลแลนด์หรือแม้แต่ในเบลเยี่ยมเองก็ตาม นกแจนเซ่นแท้ๆนั้นหมดสมัยไปแล้ว  ถ้าคุณศึกษาเพดดีกรีของยอดนกจำนวนมากในปัจจุบัน คุณยากที่จะเห็นชื่อของแจนเซ่น ในฮอลแลนด์นั้นอาจจะต่างกันเรื่องมันยาว (อาจเป็นเพราะอิทธิพลของคนที่เล่นนกแจนเซ่นนั้นมันมีจำนวนมาก ส่วนใหญ่ได้ใช้นกของคลัก Klak  หรือ คนอื่นๆเล่น แต่ก็ยังอ้างอิงว่าเป็นนกแจนเซ่น)  แจนเซ่นก็สมควรที่จะได้รับเกียรติเพราะพวกเขาได้สร้างชื่อเสียงให้กับคนเลี้ยงนกจำนวนมากที่นำนกเขาไปเล่นไม่ว่าจะทางตรง หรือ ผ่านจากคนอื่นเองก็ตาม ตัวแจนเซ่นเองแข่งนกเฉพาะระยะสั้นเท่านั้น  แต่นกของพวกเขาก็ได้พิสูจน์ผลงานในระดับ 500-600 กม.ก็มีมากเช่นกัน ก็อยู่ที่คนเลี้ยงละครับ

คำถามที่ 6
อยากจะขอความเห็นเกี่ยวกับการแข่งในอากาศที่ร้อน  เราควรจะให้อาหารอย่างไร? ข้าวโพดจะดีหรือเปล่าเพราะได้ยินมาว่ามันเพิ่มความร้อนในร่างกาย  ถั่วลิสงละครับเหมาะกับอากาศร้อนหรือไม่? ช่วยแนะนำถึงเทคนิคในการแข่งในภูมิอากาศนี้ด้วยครับ?

คำตอบ
สิ่งที่คุณได้ยินทั้งข้าวโพดและถั่วลิสงมันไม่จริงครับ  ถ้าอากาศร้อนมากคุณควรที่จะเอาอาหารแช่น้ำ มันจะช่วยให้นกดูดซึมน้ำในร่างกายไปใช้น้อยลง  อีเลคโตรไลท์มีประโยชน์   ผมเองถ้าอากาศร้อนเวลาส่งนกไปแข่งผมเองก็อัดน้ำนกเข้าปากมันเช่นกัน


 
 
 
 

คำถามที่ 7
ในประเทศอังกฤษ คนที่นี่สนใจแต่นกที่ชนะที่ 1  แต่ ประเทศอื่นๆ ให้ความสนใจกับนกที่บินชนะรางวัลมาก ติดเยอะๆ  ขอถามว่าเวลาคุณคัดนกเขากรงคุณให้น้ำหนักอันไหนสำคัญมากที่สุดครับ?  และ เวลาที่คุณจะนำนกใหม่เข้ากรง คุณชอบที่จะหาซื้อ “ลูกนก” ที่ไม่เคยลองแข่งแต่มาจาก “แชมเปี้ยน”  หรือ  คุณชอบที่จะนำ “นกที่บินมีผลแข่งสม่ำเสมอ” แม้มันจะไม่เป็นนกแชมเปี้ยนก็ตาม ?

คำตอบ
ผมชอบนกที่บินชนะได้ทั้งตามลมและทวนลม และ บินชนะสม่ำเสมอ   ผมไม่เคยซื้อนกแก่ที่ไม่เคยมีผลงาน ยกเว้นในกรณีที่ประมูลแบบยกกรง  ไม่มีคนเลี้ยงนกที่จริงจังคนไหนขายนกพันธุ์ที่พิสูจน์ผลงานดีมาแล้ว  ผมแนะว่าควรซื้อลูกนก โดยเฉพาะซื้อเป็นฝูงที่ราคาถูกหน่อยมากกว่าที่จะซื้อนกตัวเดียวแต่ราคาแพงจากนกที่มีชื่อเสียง เพราะนกตัวนี้มันก็อาจจะเป็น “นกขยะ” ก็ได้  ก็พยายามหาเพื่อนที่เบลเยี่ยมหรือฮอลแลนด์คนที่สามารถให้คำแนะนำไปกรงเล็กๆ แต่ดีและราคาถูก 

คำถามที่ 8
คำถามนี้จากโรมาเนีย  มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพนก แคงเกอร์และ E-Coli ไม่รู้จะทำอย่างไรดี  ช่วยบอกถึงโปรแกรมในช่วงแข่งให้ด้วยครับเพราะนกไม่มีฟอร์มเลย ผมแข่งนกทั้งผู้และเมีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

คำตอบ
ทั้งแคงเกอร์และ E-coli  นั้น เป็นปัญหากับนกแน่   ถ้านกติดโรคแล้วยากที่จะกำจัดมันให้หายขาดได้ ผมรักษาน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้  ดีที่สุดคือป้องกันก่อนที่จะเข้าคู่นก ผสมอาหารนก  ก่อนแข่งก็ควรให้อีกสักอาทิตย์  ช่วงแข่งผมจะให้ทุกๆ 3 สัปดาห์ ให้ 2 วัน  ก็มียาที่ดีสำหรับ E-Coli อาจเป็นพวก Trimethoprim, Cosumix , Baytril
.
 
 
 
คำถามที่ 9
เราได้อ่านเจอ นกในเบลเยี่ยม/ฮอลแลนด์ พูดถึงนกบางสายพันธุ์ หรือ บางตระกูลเป็นพวก “Day Racers” ช่วยอธิบายให้หน่อยครับว่ามันคืออะไร?
คำตอบ
ในเบลเยี่ยม/ฮอลแลนด์ นั้นมีการแข่งทางไกล Fond races อยู่ 2 ประเภท
-   อันแรกก็คือ ระยะ 900 – 1200 กม. พวกนี้จะปล่อยเวลาเที่ยงหรือสายกว่านั้น เพื่อที่ว่าจะได้ไม่มีใครบินชนะได้ในวันเดียว (มันลดความได้เปรียบ เสียเปรียบ) การแข่งแบบนี้เรียกว่า “Two Days races” แข่ง 2 วัน
-   อีกประเภทก็คือระยะ 500 – 700 กม. นกปล่อยตอนเช้าและสามารถบินกลับได้ภายในวันเดียว พวกนี้ละครับที่เรียกว่า “Day races” คือ แข่งวันเดียวจบ
   
คำถามที่ 10
ผมเคยไปเยี่ยมกรงที่เยอรมันบางกรง มีชื่อเสียงมากในการแข่งขัน ผมเห็นนกพวกสายพันธุ์แท้ๆ อย่าง Jan Aarden และ Stichelbaut พวกมันสีดำมาก ตาก็สีน้ำตาลเข้ม แต่ที่เบลเยี่ยม/ฮอลแลนด์กลับไม่ค่อยเจอ  คุณคิดว่านกพวกนี้หมดสมัยไปหรือยัง? คุณคิดว่านกปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพวก “Speedy - บินเร็ว” เกินไปหรือเปล่า (ไม่แน่ใจว่าเป็นนกบินเร็วและระยะสั้น) และ เราควรกลับไปเล่นนกพวกสายพันธุเก่าๆหรือไม่?
คำตอบ
ผมรู้แล้วว่าคุณกำลังพูดถึงนกอะไร พูดตามตรงนะนกพวกนี้มีไว้เพื่อธุรกิจเท่านั้นละ ขนดำๆ ตาเข้มๆ เป็นนกที่คนชอบกันแต่นกพวกนี้มันจะเจ๋ง หรือ  เหนียว แกร่งกว่าทั่วไปหรือ?  ผมเห็นนกเก่งๆ ระยะทางไกลที่เบลเยี่ยม/ฮอลแลนด์ มามากก็ไม่เจอนกประเภทนี้   ไอ้ที่คุณพูดถึงนก Jan Aarden และ Stichelbaut สายพันธุ์แท้ๆ นั้น นกอย่างนี้มีแต่เฉพาะที่คนขายเท่านั้น (ก็เขาพูดว่าแท้ แล้วไง) แจนอาร์เดนนะไม่มีนกสายพันธุ์ของตัวเองหรอกเพราะเขาเองก็ซื้อนกจากคนเลี้ยงทั่วไป และ ไอ้การย้อนไปเล่นพันธุ์เก่านั้นผมก็ไม่เห็นด้วยนะ  ก็อย่างที่บอกนกที่ผมเห็นเก่งๆมามากก็ไม่ได้เป็นสีหรือตา หรือ พันธุ์แท้อย่างที่คุณว่าไว้ 


 
 

คำถามที่ 11
นกตัวผู้ที่ผมแข่งระบบหม้าย Widowhood มันเริ่มเข้าฟอร์มและมันก็คึกหาตัวเมียมาก จนมันไม่ค่อยกินข้าวมากนัก กินน้ำก็น้อย  ก่อนจับนกลงตระกร้าผมควรอัดน้ำเข้าปากมันหรือไม่?

คำตอบ
ที่คุณอธิบายมานั้นมันเป็นเรื่องปรกติครับ นกมันคึก มันหงุดหงิด และ ติดประสาทหน่อยก็เลยทำให้มันกินน้อย และการที่มันกินน้ำน้อยก็พิสูจน์ได้ว่ามันอยู่ในสภาพที่ดีเช่นกัน  ไม่จำเป็นต้องอัดน้ำ นกมันรู้ มันปรับตัวมันเอง

คำถามที่ 12
สำหรับนกพันธุ์ใหม่ที่คุณทดลอง  คุณเพาะลูกนกกี่ตัว  จนเมื่อไรคุณถึงบอกว่ามันไม่ดีและต้องเอาออกจากกรง 
คุณกระตุ้นนก Motivate ด้วยวิธีใดครับ? 
นกที่นำเข้าจากต่างประเทศควรให้เวลามันปรับสภาพร่างกายและภูมิอากาศหรือไม่  หรือ โยนเข้ากรงเลย

คำตอบ
ต้องเพาะลูกนกกี่ตัวมันบอกไม่ได้ตายตัวหรอกครับ แล้วแต่ 
ส่วนเรื่องกระตุ้นนกนั้น หลักๆก็คือนกควรที่จะรักกรง รักช่องของมัน ซึ่งก็มีหลายวิธี 
ส่วนนกที่นำเข้าผมว่าควรที่จะปรับสภาพมันก่อนอย่ารีบเอาเข้ากรง หรือ เข้าคู่  นกมันเปลี่ยนอากาศ อาหาร แปลกถิ่นที่เคยอยู่  ปรับตัวจำเป็นครับ


 
 
 
 
 
 

คำถามที่ 13
อาหารนกในแต่ละระยะไม่ว่าจะสั้น กลาง ไกล ควรมีอัตราส่วนเท่าไร?
นกระยะไกลควรที่จะกระตุ้นอย่างไร และ หลังจากที่นกกลับมาแล้วจากระยะกลาง-ไกลควรจะต้องพักสักกี่วันดี
มีวิธีการใดที่จะเรียกพลัง หรือ ทำให้นกฟื้นตัวได้เร็วที่สุด

คำตอบ
ไอ้การให้อาหารมันเป็นหัวข้อที่ถ้าถามคน 10 คน ก็ 10 แบบ มันเป็นอะไรที่ทำให้โต้เถียงกันได้ในหัวข้อนี้  เอาเป็นว่าระยะใกล้-กลาง ไม่ใช่เรื่องสำคัญหรอก อาหารอะไรก็ได้ แต่ ถ้าไกลเนื่องจากผมไม่ได้แข่งระยะไกล แต่ แน่นอนว่าเราต้องเพิ่มข้าวโพด หรือ ถั่วลิสง  แต่ถ้าลูกนกไม่ควรให้ (นกมันจะนิสัยเสีย รอกินถั่วลิสงอย่างเดียว)

ไอ้เรื่องการล่อคู่ กระตุ้นนกไกลผมไม่เชื่อว่ามันจะดี นกควรที่จะสงบ นิ่ง และ สบายๆ   
ส่วนเรื่องต้องพักกี่วันหลังจากกลับมันก็ไม่แน่นอนเพราะการแข่งขันแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน และ สภาพนกแต่ละตัวก็ต่างกัน
ดีที่สุดก็คือช่วงซ้อมนกถ้ามันกลับปรกติ และ ให้ดูเนื้อที่อกมัน ดี สีสวยก็แข่งได้  และ 
การให้นกได้พักผ่อนเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้นกได้ฟื้นตัวเร็ว
 
 
 
 
 
 
 
 
คำถามที่ 14   
มีข้อแนะนำไหมครับว่าเราจะสร้างคู่นกพันธุ์ที่ดีได้อย่างไร? และ วิธีการเข้าคู่แบบดูหางซ้าย ขวาประกอบกันคืออะไรครับ?
คำตอบ
ถ้าคุณไปถามคนอื่นผมไม่แปลกใจเลยในคำตอบที่คุณได้รับว่า “เขาก็ไม่รู้เหมือนกัน” ไม่ว่าจะ Meulemans, Houbens, Louis van Loon, Janssen, Klak    คุณรู้ไหม Adrian Janssen Arendonk บอกผมว่าไง?  คนเราถ้าเข้าคู่นกแล้วเกิดตัวเก่งมากๆ ขึ้นมาตัวหนึ่ง นั่นถือว่านกคู่นั้นสุดยอดแล้ว  คิดดูบางคนมีนกพันธุ์ 60 คู่ ถ้าเข้าคู่มันจะได้ลูกปีละเท่าไร แต่ผมไม่เห็นเขามีนักเก่งเกิน 3 ตัวเลย  ถ้าเก่งปีละ 3 ตัว 4 ปี ก็ 12 ตัวแล้ว  นี่กรงเดียวนะ ถ้านับหมด นกเก่งบานเลยครับ   ไอ้เรื่องเข้าคู่ดูหางมันเป็นเรื่อง BS (Bull Shit) เรื่องขี้วัว ไร้สาระ

คำถามที่ 15
ขอถามครับ  เพื่อนผมบอกว่า มีนักเลี้ยงนกทางไกลที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของฮอลแลนด์กล่าวว่า “ ถ้าเราเข้าคู่นกไกลกับนกใกล้คุณจะไม่ได้นกที่ไกลหรือ ใกล้เลย (ว่าง่ายๆคือมันไม่เก่งเอาซะอย่าง)   ส่วน Piet de Weerd กล่าวตรงกันข้ามว่าสายเลือดของนกไกลนะได้อนิสงค์มาจากนกของแจนเซ่น  ดูอย่าง Patrick ของ Van Hee ซิ   มันเลยทำให้ผมงงมาก  ช่วยคิดว่าไงครับ?   ผมต้องขอขอบคุณที่คุณตอบคำถามที่จริงใจ และ ตรงไปตรงมาตลอด
คำตอบ
นกไกลที่คุณว่าคงหมายถึงนกที่บิน 2 วันนะ ผมเองก็ไม่ได้แข่งไกลแบบนี้ แต่ ผมก็รู้จักคนที่เป็นแชมป์จำนวนมาก และ ผมว่าเพื่อนคุณถูกนะที่ว่า นกไกลก็ควรที่จะเข้ากับนกไกล อย่างไรก็ตามอย่าลืมนะว่า “มันไม่มีกฎตายตัว”  เจ้า Patrick ของ Van Hee เป็นแจนเซ่นครึ่งตัวจริงๆ และ เจ้าตัวเก่ง Barcelona ของ De Wit ก็เป็น Klak ครึ่งตัวเช่นกัน   Dusarsuyn ก็เป็นอีกคนที่เก่งทางไกลและเขาเลี้ยงนกแข่งที่มี Klak ครึ่งตัวผสมกันกับนกของเขา  และ  เขามักจะบอกว่า Jef van Wanroy ประสบความสำเร็จก็นกเขาเช่นกัน   ผมอยากบอกว่านี่เป็นข้อยกเว้นเพราะมีคนจำนวนมากลองนกไกลกับนกใกล้แล้วล้มเหลวกีมีเยอะ 


 
 
 
 
คำถามที่ 16
ความยาวของตะเกียบขานกสำคัญกับนกทางไกลไหมครับ?

คำตอบ
ครับมันเกี่ยวกันแน่เพราะ  นกไกลต้องมีกล้ามเนื้อที่ดีมาก  ตะเกียบนกยิ่งยาวยิ่งดีมันหมายถึงเกล้ามเนื้อมากขึ้นเช่นกัน 

คำถามที่ 17
คุณว่าถ้าเราให้โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตมากกับนกจะทำให้มันถ่ายขนดีและเร็วขึ้นไหม?

คำตอบ
เสียใจด้วยครับผมไม่เชื่อเรื่องพวกนี้  นกที่มีสุขภาพที่ดีมันจะถ่ายขนมันเองโดยธรรมชาติของมัน  ไม่มีเหตุผลที่จะต้องไปยุ่งอะไรกับมันเลย

ก็สรุปคำถามตอบที่คิดว่ามีสาระและเกี่ยวกับเรา  ทั้งหมดมี 26 คำถาม ผมคัดได้ 17 ก็คิดว่า OK แล้วละครับ  บางคำถามมันไร้สาระ  บ้างก็ไม่เกี่ยวกับเรานัก   บทที่ 19 ก็จะเป็นเรื่อง Conditioning  ก็คงต้องดูกันว่าภาวะ เงื่อนไข ตามสถานสถาพของนกเป็นไงก็ลองติดตามดูกัน
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 19  Visit CP Shanghai
ก็เขียนช้าไปหน่อยเพราะ 5 วันที่ผ่านมาก็ไปประชุมงานของบริษัทที่เซียงไฮ้    มาคราวนี้ก็เห็นเมืองเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก ขุดปรับปรุงกันทั้งเมืองก็มาร้องอ๋อตอนที่เพื่อนที่นั่นบอกว่ารัฐปรับปรุงทุกอย่างเป็นอย่างมากเพื่องาน  EXPO 2010 ที่ เซี่ยงไฮ้ จนทำให้รถติดมาก   ไปงวดนี้ก็ได้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมกรง CP ที่เซี่ยงไฮ้ ก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ทั้ง 2 วัน   วันแรกหลังผมประชุมงานบริษัทเสร็จก็ได้พบกันตอนบ่ายสัก 5 โมงได้  คุณสมบัติและคุณบีมารับที่ โรงแรม Hilton  ก็ได้ไปดูกรงที่คุณบีดูแลอยู่  ก็เป็นทั้งนกแข่ง และ นกพันธุ์ทั้งหมด  ก็ได้รับความรู้จากคุณสมบัติ และ คุณบีมาก เย็นก็ไปทางอาหารจีน อร่อยมากครับ   พอวันรุ่งขึ้นก็นัดกัน 7 โมงเช้าไปดูกรงของ CP อีกที่หนึ่งก็ไม่ไกลกันมากนัก สัก 15 กม. ได้ แต่จาก Hilton ไปก็เกือบชม.ได้นะ ที่นี่คุณสมบัติดูแล ก็เป็นนกแข่งแทบจะทั้งหมดดูได้สัก 2 ชม. ก็ต้องไปอีกกรงเพราะนัดกับคุณเล็กไว้ ก็กลับไปกรงที่คุณบีดูแล และ ดีใจที่ได้พบกันคุณเล็กซึ่งแม้ท่านจะยุ่งมากแต่ก็ได้สละเวลามาให้ความรู้แลกเปลี่ยน ซึ่งผมก็ได้ความรู้และข้อคิดดีๆ เอาไว้จะหาโอกาสมาเล่าสู่กัน  คุณเล็กได้ให้เกียรติจับนกตัวเก่งๆ พ่อ แม่นกมากมายให้ดู โดยเฉพาะสาย 36 ครั้งนั้น ก็เริ่มตั้งแต่ รุ่น 1 คือ เจ้า “92” มาจนถึงรุ่นสุดท้าย รวมถึง “เจ้าปุ่น” ตัวเก่งซึ่งเป็นรุ่น 6 เช่นกัน   คุณเล็กจำได้แม่นมาก  และนกที่เก่งซื้อเข้ามาทำพันธุ์ก็ได้มีโอกาสได้จับ ได้ชมกันจุใจ  คุณเล็กบอกกับผมว่างานข้างล่างยุ่งมาก ขึ้นมาบนกรงนกนั้นเหมือนสวรรค์ มีความสุขก็ทำให้ผมมีไฟรักนกได้มากขึ้น  นอกเหนือจากนั้นพี่สมบัติก็ได้ให้ความรู้และคลายข้อสงสัยถึงวิธีการเลี้ยง และ การให้ยา การบิน การกระตุ้นนก รวมถึงที่สำคัญการให้อาหารนกที่ผมติดอยู่ในใจหลายเรื่องว่าต้องเลี้ยงอย่างไรดี  พี่เขาก็ให้ข้อคิดดีๆเช่นกัน  เราก็ได้เปิดตู้ยาดูกัน   เปิดถังข้าวดูกันจะจะ   จากนั้นคุณเล็กก็ได้พาไปเลี้ยงอาหารกลางวันกันที่ร้านอาหารญี่ปุ่น พอถึง 2 โมงครึ่งผมก็ต้องขอลา  คุณสมบัติและคุณบีก็ได้ขับรถมาส่งถึงสนามบิน 

สุดท้ายก็ต้องขอขอบคุณเล็ก คุณสมบัติ และ คุณบีเป็นอย่างสูงที่ได้ให้การต้อนรับผมเป็นอย่างดีมากๆ ทั้ง 2 วัน  เป็นความประทับใจที่ผมไม่มีวันลืมครับ  ก็ยังบอกพี่สมบัติว่าไปเบลเยี่ยมเมื่อไรบอกด้วยนะครับ  จะได้ให้พี่เขาช่วยกรุณาหานกดีๆมาเติมกรงนกพันธุ์ผมบ้าง 




 
 
ตอนที่ 19  Conditioning
ก็ขอเข้าเรื่องกันต่อก็เป็นเรื่อง Conditioning เงื่อนไข ตามภาวะ และ สภาพ โดยเฉพาะสัตว์นั้นเป็นอะไรที่มนุษย์เราต้องสังเกตุในพฤติกรรมของมัน ไม่ว่า หมา แมว นก มันก็จะมีการเรียนรู้ ปรับตัว เป็นเงื่อนไขอะไรที่พวกมันเองก็ปรับตัวให้เข้ากัน หรือ เพื่อความอยู่รอด  คำถามหลายๆคำถามที่มักเจอบ่อยว่า ทำไมลูกนกของคุณลงกรงเร็วจัง?  ทำไมคุณไม่ล่อคู่นกก่อนจับลงตระกร้า? สารพัดปัญหาแบบนี้มันตอบยากเพราะเราสร้างเงื่อนไขแตกต่างกันในแต่ละกรงนั่นเอง   ก็เหมือนกับเราเลี้ยงหมา แมว ใหม่ๆก็พยายามเรียกชื่อมัน   ต่อมาแค่เคาะจานข้าวมันก็รีบมาแล้ว  มันเรียนรู้ถึง เสียงที่เรียก ไม่ว่าจะเรียกชื่อ หรือ เคาะสัญญาณก็คือเวลากินแล้วนั่นเอง  พวกละครสัตว์ก็เช่นกันทำแบบนี้ แบบนั้น ถ้าถูกต้องก็ได้รางวัลเป็นการตอบแทน  หรือ เวลาเป็นนักเรียนถ้าจำกันได้แวลาทำอะไรผิดครูก็จะลงโทษ  ต่อมาเวลาที่ทำอะไรเราก็ต้องดูครูให้ดี หรือ เวลาครูจ้องมาเราก็ต้องรู้แล้วว่าอะไร ใช่ไหมครับ?  นกเองก็ไม่ต่างกันหรอกครับ  มันก็จะเรียนรู้  ทราบถึงเงื่อนไขต่างๆ ระหว่างกันและกัน ก็คือ เรากับมันนั่นเอง  จากนั้นก็จะเป็น Trust ความไว้วางใจ เชื่อใจกัน ก็ตามมา    มันกลัว มาก็วนเป็นของธรรมดา มันรักมันก็ลงกรงเร็วกว่า  เราก็เรียนรู้ถึงนิสัยมันว่ามันจะดีตอนไหน ล่อคู่แบบไหนถึงจะดีกับมัน ไม่ล่อเลยสำหรับบางตัวจะดีกว่า ก็เป็นไปได้  เงื่อนไขมันต่างกัน
 
 
 
 
 
 
 
 
Signals
“นก” นั้นก็เรียนรู้ถึงสัญญาณที่ “คน” เรามีให้กับมัน   ยิ่งสอนให้กับมันเร็วเท่าไรตอนมันยังเล็กๆยิ่งดี  ที่สำคัญที่สุดคือ Trust  ความไว้ใจ จริงใจ ที่เรามีให้กับนก  และ  นกก็ตอบรับด้วยดี  การที่เราให้ความคุ้นเคย ให้อาหารกับมือ กับช่องของมัน มันก็จะไม่ตื่นกลัวเรา    การจับนกต้องระวังให้มาก ไม่ใช่จับแบบตะครุบให้ได้ จับขา คว้าปีก  นกมันก็กลัว ตัวอื่นเห็นมันก็กลัวเช่นกัน    นกไม่ควรที่จะกลัวมือของคนที่จะจับ   คนที่เลี้ยงดี เวลาเข้ากรงนกก็ไม่ตื่น ยืนนิ่ง  คนที่เลี้ยงดีนั้นจับนกได้ด้วยมือเดียว  แต่ถ้ากลัวเวลาเราเข้ากรงละก็ บินกันว่อน ฝุ่นขนปลิวเพียบ  ดังนั้นเวลาที่เราเร่งรีบ หรือ เครียดก็ให้ห่างกรงเข้าไว้เป็นดี   เวลาจับนกก็จับให้ดีๆ อย่าให้มันกลัว หรือ ตกใจ  เวลาปล่อยนกจากมือก็เช่นกันค่อยๆปล่อยไม่ใช้โยนมันบางตัวไม่ทันหล่นหรือชนมันก็จำและกลัว


Trapping
ผลของการที่นกลงกรงเร็วนั้นมาจากการที่เราให้ทั้ง Trust & Love ที่เห็นได้ชัดต่อนก ตั้งแต่มันยังเป็นเด็ก และ ต่อเนื่องจนโต หรือ ทุกๆวันก็เรียกได ้  เราวาง Conditions เงื่อนไขให้มันเรียนรู้ว่า สัญญาณนี้คือ ถึงเวลากิน  เวลาลงกรง  เห็นเราก็ไม่กลัว กลับรักด้วยซ้ำ  ดังนั้นเวลาที่เราแข่งกีฬาที่แพ้ชนะกันที่วินาที  สิ่งสำคัญก็คือ Trust , Love  and Conditions


Widowers
การแข่งนกที่เมืองนอกอย่างยุโรปนั้นเป็นการแข่งแบบ “ระบบหม้าย Widowhood” หลายๆ คนก็จะเอาคู่ของมันมาล่อก่อนจับลงตะกร้า  วิธีนี้สำหรับนาย AD แกก็มีความคิดที่ต่างกัน  แกคิดว่านกที่กลับบ้านนั้น ไม่ใช้เพราะคิดถึงคู่ของมันเป็นหลัก  การที่เอานกมาล่อก่อนลงตะกร้าจะทำให้มันแตกต่างเปลี่ยนไปได้หรือ  เขากลับคิดว่าสภาพนก เป็นหลักมากกว่า  เขากลับคิดว่าไอ้การที่โชว์คู่ของมัน กลับเป็นการทำให้มันเครียด  และ สู้กันในเข่ง ใน รถแข่ง และ เสียพลังงานไปเปล่าๆ    ที่เมืองนอกก็มีบางกรงที่แข่ง 2 ที่  เขาก็ลองว่านกที่ไปสมาคมหนึ่งโชว์นกที่เป็นคู่ของมัน  นกอีก
 
 
 
 
กลุ่มที่ไปอีกสมาคมไม่โชว์ ผลที่ออกมาไม่ต่างกัน   พวกเขาถึงตระหนักได้ว่า  สภาพนก Condition ของนกเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า   คิดง่ายๆ  ถ้าเลี้ยงไม่ดี แล้ว คิดว่ามาล่อคู่โชว์นกแล้วจะเก่ง  ง่ายแบบนี้มีแชมป์ล้นโลกครับ…..  ตอนต่อไป ตอนที่ 20 ชื่อ The 10 commandments of a 90 years old monument ก็มาดูกันว่าบัญญัติ 10 ประการของเขาคืออะไร?
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 20 ชื่อ The 10 commandments of a 90 years old monument

Smoking & Drinking

ทั้งเหล้าและบุหรี่เราต่างก็รู้ดีว่ามันไม่ดีต่อสุขภาพ  นักเลี้ยงนกชาวDutch ก็คือ เนเธอร์แลนด์  ที่มีชื่อเสียงทางไกลมากๆ คนหนึ่งก็คือ Staf Dusarduyn (1905-1999) เป็นคนที่สูบบุหรี่หนักมากๆ และ
เครื่องดื่มที่ผสมด้วยแอลกอฮอล์ก็เป็นที่โปรดปรานเป็นอย่างยิ่ง   นายAD เคยถามเขาว่า  “Staf ถ้ามี ฮอบบี้ อื่นๆ นอกเหนือจาก เหล้าและบุหรี่แล้ว คุณมีอะไรที่ชอบอีก ?”  คำตอบที่ได้ก็คือ “ นกพิราบ และ ผู้หญิง “  เราไม่เคยเห็นเขา ไม่สูบบุหรี่ และ ถอดแว่น เลย  และ  ในวัย 90 ปี เขายังแข็งแรงพอที่จะออกไปล่าสัตว์ได้   (ก็ขอแทรกนอกเรื่อง หน่อยครับ  ผมว่ากรณีของผู้เฒ่า Staf นี้อาจจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี  ทั้งเหล้าและ บุหรี่  แต่จะว่าไป ตาเฒ่านี้เจ๋งจัง แต่สำหรับผมก็ขอแทรกเรื่องส่วนตัวเข้ามาในบทความ แบ่งปันกัน  บุหรี่ผมเลิกสูบมาได้สัก 4 เดือนแล้ว เคยติดอยู่พักใหญ่ๆพักหนึ่ง พวกแอลกอฮอล์ก็ลดลงไปได้มากๆ จากที่เคยดื่มเป็นนิสัย ตอนนี้ก็นิดหน่อยเฉพาะมีงานเลี้ยงเท่านั้น  ตอนนี้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้นและการที่เราให้เวลาออกกำลังกาย ก็ทำให้ร่างกาย สมาธิ และ จิตใจดีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  ผมสมัครที่ Fitness First และ ถ้าจะให้ดีใหม่ๆ ผมแนะนำว่าควรจ้าง Personnel Trainer  ครูฝึกเพื่อที่จะได้สอนและดูแลเรา และ วางโปรแกรมตอนนี้น้ำหนักลงได้ 3 กก.แล้วใน 1 เดือนครึ่ง  ก็ไม่ได้อดอาหาร แต่ระวังเรื่องกินมากขึ้น  และ รอบเอวก็ลงไปเกือบ 2 นิ้วแล้ว  กางเกงต้องตัดใหม่ : )-  ที่นี่เขาจะวัดรอบตัวเรา แขนขา และ ดูวิวัฒนาการ  ที่ชอบก็คือ เราสามารถรู้ถึง การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเรา เช่นมวลรวมของ กล้ามเนื้อ ไขมัน และ น้ำ การออกกำลังกายมากขึ้นก็ทำให้เปลี่ยนไขมันไปเป็นกล้ามเนื้อ  น้ำหนักอาจจะไม่ลดมาก แต่ เราเปลี่ยนและเสริมสร้างกล้ามเนื้อนี้ให้เกิดมากขึ้นนี้เป็นเรื่องสำคัญ  และ ถ้าเราดื่มน้ำปรกติน้อยเหมือนผมในอดีต ก็ทำให้เรารู้ว่าปริมาณน้ำในร่างกายน้อยเกินไปก็ดื่มมากขึ้น   ผมเห็นนักเลี้ยงนกคนเก่งอย่างคุณวิสุทธิ ก็ออกกำลังกายที่นี่บ่อยมาก    ตอนนี้มีเวลาก็ท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศ  ทำสิ่งที่เราอยากจะทำแล้วยังไม่ได้ทำ และ มีเวลาอ่านหนังสือ
 
 
 
 
ได้มากขึ้น ก็มาค้นพบว่าเราทิ้งหนังสือ ทิ้งความรู้ดีๆ ไปหลายๆปี เลย   ผมว่าการออกกำลังกายนี้ทำให้เรามีสมาธิ และ นิ่ง และ อ่านหนังสือได้รวดเร็วมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  ตอนนี้ก็คงเป็นเรื่องของการอดทนไม่ว่าจะเรื่องบุหรี แอลกอฮอล์ ซึ่งเราตั้งใจเลิก และ มีวินัยกับตนเองตั้งใจออกกำลังกายให้เป็นนิสัยให้มากขึ้น  ตอนนี้ก็เข้า Fitness ได้อาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง  ก็อยากที่จะชักชวนเพื่อนๆท่านใดที่ยังไม่มีเวลาออกกำลังกาย ก็ขยับตัวหน่อยก็ดีนะครับ ด้วยความปรารถนาดีครับ )   

ก็ขอกลับเข้าเรื่อง  แม้ชื่อเสียงของเขา Staf จะไม่ดังเหมือน Jan Aarden, Moris Delbar, Van de Wegen, Cattrijsse, Vanbruane  ชื่อของเขาไม่ได้อยู่ในชื่อชั้นนี้ แต่ เขา ดี กว่าครับ  และ กล่าวได้ว่าเป็นนักเลี้ยงนกทางไกลที่ดีที่สุดของเบลเยี่ยม และ ฮอลแลนด์ ก็ว่าได้    เขาชนะการแข่งขันระดับชาติไม่น้อยกว่า 13 ครั้ง  ว่าไปก็มีแต่ Leopol Bostjin  บอสติน เท่านั้นละที่พอจะเทียบชั้นความสำเร็จกับเขาได้   

Staf ชนะรางวัล National ระดับชาติ ครั้งแรกก็ปี 1937 จุด Sint Vincent  และ เขาก็เป็นคนเดียวที่ชนะการแข่งขันระดับชาติ ด้วยลูกนก Young bird ในจุด Chateauraux  570 กม.
Interview
มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ ลูกค้าชาวญี่ปุ่นต้องการที่จะซื้อนกจาก Staf  โดยให้นาย Ad ช่วยติดต่อให้    เขาก็พาไป  สิ่งหนึ่งที่ทำให้ลำบากใจมากๆ ก็คือ  Pedigree  ซึ่ง Staf ไม่ยอมที่จะเขียนให้ในตอนแรก  เขาก็ย้อนถามว่า “พวกเขาต้องการ “นก” ที่ดี หรือ ต้องการ “เพดดีกรี”  ที่ดี ?  ผมไม่ค่อยชอบที่จะเขียนมันนัก มันไร้สาระ  และ  ฉันจะเขียนอะไรในนั้นก็ได้”
ปัญหาอีกอย่างก็คือ Staf คิดค่านกถูกมากแค่ตัวละ US$ 50.- เท่านั้น ซึ่งพวกญี่ปุ่นก็คิดว่าราคาถูกนั้นไม่ดี  และ นาย AD เองนั้นก็ลำบากไปด้วยเพราะเขาคิดค่าบริการ 10% บ้านของ Staf ก็ไกล ค่าน้ำมันกับค่าเหนื่อยยังไม่คุ้มกันเลย  แต่นายAD คิดว่าการได้รู้จักกับ Staf และ มีโอกาสได้คุยกันนั้นก็คุ้มค่าแล้ว


 
 
 

Famous
เมื่อตอน AD เป็นเด็กมีกีฬาอยุ่ 3 อย่างที่คนเบลเยี่ยม และ ฮอลแลนด์บ้ากันมากๆ ก็คือ  ฟุตบอล, การแข่งขันจักรยาน และ นกพิราบแข่ง   กีฬานกแข่งเราตอนนั้นคนดังๆ ก็มี Janssens, Louis van Loon, Huyskens van Riel, Delbar และ Staf Dusarduyn   “ชื่อเสียง” คุณอาจซื้อได้ (ก็ซื้อหน้าโฆษณา มากๆ ไง)  แต่ชาวนาธรรมดาๆ อย่าง Staf นั้นไม่เคยคิดที่จะโฆษณาชวนเชื่อ หรือ จ่ายเงินเพื่อให้คนอื่นเขียนเชียร์ โฆษณาให้  นั้น ไม่เคยอยู่ในสมองของ Staf

WAR
ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารเยอรมันนั้นกักขังนกพิราบแข่งของฮอลแลนด์หมด รวมถึงของ Staf  เกือบ 5 ปีที่นกพิราบไม่มีการแข่งขัน พอสงครามจบสิ่งแรกที่ Staf ได้ทำก็คือ หานกมาเลี้ยงอีก  เขาไปหา Delbar และ Charel Dhaens และ ก็เป็นการตัดสิ้นใจที่ถูก   ตอนต้นยุคปี 50 Staf ชนะที่ 1 ระดับชาติ Dax 700 ไมล์ ถึง 2 ครั้ง และสมัยนั้นเวลาคนส่งนกฬิกาเขาก็ไม่คิดว่าจะชนะกันหรอกถ้านาฬิกาของ Staf ยังไม่มาส่ง

Staf ชนะที่ 1 National Barcelona 1979 และ ที่ 1 National Limoges 1994 ครั้งนี้ก็เป็นประวัตศาสตร์อีกเพราะ นกเขาสามารถมาได้ในวันเดียวซึ่งปรกติต้องบินดึง 2 วัน

สมัยเขานั้นวิธีการเลี้ยงนั้นเปลี่ยนแปลงไปหลายครั้ง  แชมป์ก็ผลัดเปลี่ยนกันเข้าๆ ออกๆ แต่สำหรับ Staf เขายังคงเป็นคนเก่งเหมือนเดิม

ดังนั้นการที่เขาประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันยาวนาน นั้นสามารถสรุปได้เป็นอย่างเดียวว่า  หมอนี่ต้องรู้วิธีและกีฬานกพิราบแข่ง ที่คนอื่นรู้ไม่ถึงแน่

ต่อไปก็จะเป็นข้อแนะนำ 10 ประการที่ Staf ให้  ก็ติดตามกันนะครับ
 
 
 
ก่อนจะถึง Lesson learn จาก Staf ก็ขอเสริมหน่อยครับ  การเลี้ยงนก และ ความสำเร็จนั้นมันไม่ได้มีกฎอะไรที่ตายตัว  มันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือเราควรที่จะเรียนรู้ และ เปิดใจกว้างๆ รับฟัง  การเปิดทำให้เราได้ฟัง ได้ยิน ได้เห็น จากนั้นแล้วก็อยู่ที่เราละครับว่ามันมีเหตุผลดีพอไหม น่าเชื่อถือไหม Make Sense ไหม  จากนั้นก็ขึ้นอยู่กับเราละครับว่าเราจะนำมันไปใช้ไปปรับให้เข้ากับตนเองอย่างไร  ผมชอบอ่านเรื่องแบบนี้มากที่คนให้แง่คิดดีๆ จริงอยู่แม้สิ่งที่เขาพูดถึงนั้นมันจะต่างจากเมืองไทยที่เราเลี้ยงกัน แต่ Basic พื่นฐานดีๆ ที่เขาให้ใช้กันได้ครับ

1) เลี้ยงนกแบบสบายๆ ธรรมชาติ ธรรมดาๆ  จงเชื่อและศรัทธาในนกที่ดี และ นอกนั้นก็ลืมมันไปซะ  การเลี้ยงนกแข่งมันไม่มีความลับอะไรหรอกที่จะทำให้มันบินเร็วขึ้น
2) อย่า “วิ่ง” ก่อนที่คุณสามารถที่จะ “เดิน” ข้อผิดพลาดของคนที่เริ่มเลี้ยงก็คือ ต้องการอะไรที่เร่งด่วนและมาก อย่างเช่นชื่อเสียง และ รางวัล มันไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายและเร็ว  มันต้องใช้เวลาศึกษา เรียนรู้ และ สั่งสมประสบการณ์
3) ให้ลืม “ชื่อคนเลี้ยง” และ “สายพันธุ์” ซะ   ชื่อนั้นเป็นอะไรที่โดยมากคนเราทำขึ้นก็มาจาก “ สื่อ”  และ สายพันธุ์ก็มีอยู่ 2 อย่างคือ  ”ดี” กับ “ไม่ดี”   อย่างแรกนั้นมี “น้อย”  แต่อย่างหลังนี่สิ  มี “มาก”
4) ต้องมีวินัยที่ดี  อย่าเลี้ยงนกจำนวนมาก อย่าเก็บมันเพราะปู่มันดี (แต่ตัวมันยังให้ลูกไม่ดี )  คนจำนวนมากพอประสบความสำเร็จก็เลี้ยงนกมากขึ้นเพราะมันขายได้   มีตัวอย่างมามากแล้วสำหรับคนที่เลี้ยงนกมากแล้วเป็นต้นเหตุของความหายนะ  สำหรับ Staf แล้ว น้อยครั้งมากที่เขาส่งนกแข่งเกิน 6 ตัว ถ้ามันดีจริงก็ส่ง
5) ลองเปลี่ยนวิธีเลี้ยงดูบ้าง  เปิดใจกว้างๆ พร้อมที่จะเรียนรู้และทดลองดู
6) ถ้าเลี้ยงนกทางไกลต้องให้นกโตเต็มวัยได้สัก 2 ปีถึงแข่งไกล  นกสายพันธุ์ที่มันไกลมันต้องใช้เวลาให้มันสร้างร่างกาย  สั่งสมประสบการณ์   ไอ้นกพวกนี้ใกล้ๆมันไม่ค่อยดีหรอกสำหรับผลแข่ง
7) อย่าส่งนกไกลที่ดีสำหรับ  “แข่งแบบวันเดียว” ในการแข่งขันแบบ “2วัน”  และ ไอ้นกประเภทดีในระยะ “2วัน” มันก็ไม่ค่อยดีในวันแรกหรอก  เพราะมันรู้มาก ฉลาด กลับอีกวันก็ได้ สบายๆ
  อย่าละเลยหรือห่างเหิน “หมอ” และ ก็อย่าคิดว่า หมอ สามารถทำให้นกคุณเป็นแชมป์ได้เช่นกัน  มันคนละเรื่อง  หาหมอเพราะ นกนะมันป่วย 
 
 
 

9) ถ้าคุณมีนกที่ดี แต่ ใช้วิธีเข้าคู่แบบให้มันอิสระเลือกคู่เอง  ก็รอโชคก็แล้วกัน
10) กรงนกเป็นเรื่องทีสำคัญต่อสภาพร่างกาย และ จิตใจของนก   กรงนกไม่จำเป็นต้องสวยหรอก เพราะไอ้คำว่า กรงสวย หรือ ไม่นั้น คนเราตั้ง หรือ เรียกมัน   นกไม่ได้ตั้งให้นะ   ตราบใดที่ผลการแข่งขันของคุณยังดี กรงคุณก็ดี  แต่ถ้าผลมันไม่ดีละก็   มี 2 อย่างที่ต้องโทษ ไม่ “คน” ก็ “นก” ละครับ
กรงของ Staf ไม่เคยตอกตะปูเพิ่มเลยตลอดระยะเวลา 50 ปี ยังไงก็ยังคงเดิม   ไม่มียาขยายหลอดลม ทางเดินหายใจดีเท่ากับ ออกซิเจนหรอกครับ

Dark Days
ผลงานที่ดีมาตลอดก็ทำให้วันที่ 6 มิถุนายน 1990นกของเขาถูกขโมย  เป็นเวลาหลายสับดาห์ที่เขาเดินเข้าออกที่กรงนก แต่ก็ยังโชคดีที่ต่อมาขโมยถูกจับได้ และ นกก็ได้คืนมา  จะมีก็แต่เพื่อนสนิทเท่านั้นที่จะรู้ว่า Staf นั้นเสียใจมากเพียงใด

In Conclusions
Staf สรุปสั้นๆ ง่ายๆถึง ความลับของเขาในวัย 90 นี้ว่าทำไมยังแข็งแรงดีอยู่ ดังนี้
1 อย่านั่งอยู่กับที่และอยู่ข้างนอกบ้านรับอากาศบริสุทธิให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2 สูบบุหรี่อย่างน้อย 30 มวนต่อวัน และ ชอบที่จะมวนเอง
3 อย่าลืมดื่มพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แบบยิ่งหนักยิ่งดีทุกวัน

ครับก็เป็นอะไรที่ Staf คนเก่งที่ไม่เคยเชื่อเรื่อง เพดดีกรี สนแต่นกที่ดี มีคุณภาพเท่านั้น  ก็เป็นวันทรงจำทีดีๆ ในม่านหมอกของควันบุหรี่ที่ นาย AD จำได้และถ่ายทอดให้กับเรา

ตอนต่อไปตอนที่ 21 ก็เป็นเรื่อง Dont' mess around


บทที่ 21 Don’t mess around
ยานกผู้ผลิดนั้นวิจัยและออกแบบมาเพื่อรักษานก  ถ้านกป่วยก็หาหมอ (ที่ยุโรปมีหมอรักษานกพิราบเป็นอาชีพ) ให้หมอดูว่ามันเป็นอะไร หมอก็ให้ยามารักษาซึ่งเป็นเรื่องดีที่ทำให้คนเลี้ยงได้รู้ว่านกเป็นอะไร อะไรเป็นสาเหตุและแนวทางรักษาเป็นอย่างไร  ขนาดมีหมอก็ยังมีนักเลี้ยงนกจำนวนมากก็ละเลย ทำตัวเป็นหมอเสียเอง ก็เลยรักษาโรคที่ไม่ถูกต้อง  ไม่เป็นอะไรก็อัดยา ให้ยา ทำไปทำมายิ่งแพงกว่าไปหาหมอเสียอีก  พวกนี้ก็กลายเป็นพวกติดยาเพราะไม่ให้ยาก็ไม่สบายใจ กลัวนกจะไม่ดี ก็ทั้งยัด ทั้งคลุกข้าว ทั้งผสมไว้ในน้ำ ก็มีคนประเภทนี้เยอะ

พวกหมอที่ไม่เก่งเรื่องนกพิราบก็ต้องระวังหน่อยเพราะหมอเขาอาจจะเก่งพวกม้า หมา วัว ควาย ไม่ใช่นกพิราบแข่ง และ เขาก็ไม่รู้วัฎจักรของนกแข่งด้วยซ้ำ  พวกนักเคมีก็เหมือนกัน ผสมเป็นยา เป็นวิตามินขายกันเกลื่อน 

นาย AD ก็มีข้อแนะนำคนที่ไม่ค่อยไปหาหมอดังนี้

Different ways
ยาปฎิชีวนะนั้นมีวิธีใช้ได้หลายทาง เช่น ในน้ำ ผสมอาหาร ใช้ฉีด เป็นเม็ดใช้ยัดให้นกกิน  การใช้ก็ขึ้นอยู่กับ
จำนวนนกที่จะรักษา  ขึ้นอยู่กับโรคและความร้ายแรง ระยะเวลารักษา และ ชนิดของยาที่มีขายกันในตลาด

การให้ในน้ำ
สะดวก รวดเร็ว และ ใช้กับนกจำนวนมากได้ และ ไม่ต้องไปไล่จับนกทีละตัว  แต่มันมีข้อเสียเหมือนกันเพราะยาพวกนี้จะระบุขนาดของยาและวิธีใช้ เช่น กี่กรัมต่อน้ำกี่ลิตร  นกมันก็ไม่ได้กินตามปริมาณที่มันควรต้องกินทุกตัว  และ อากาศเองก็เป็นตัวแปร ร้อนก็กินมาก เย็นก็กินน้อย  ดังนั้นนกก็อาจจะกินมากไป น้อยไปก็ได้  และ  ยาบางอย่างก็ต้องระวังเพราะมันจะเสียเร็วในน้ำ หลังผสมได้ไม่กี่ชั่วโมง  นกกินเข้าไปก็ท้องเสียได้   ยาบางอย่างเมื่อผสมแล้วทำให้น้ำมันมีรสแปลกๆ นกไม่ชอบกิน  ก็ไปหากินน้ำที่อื่น บางทีก็ข้างนอกบ้านกลางทางก็ได้   ยาที่เป็นพวก
 
 
 
 
Tetracyclines นั้นจะเสียเร็ว  ถ้าจะให้ก็ให้รีบเปลี่ยนน้ำ   ยาบางประเภทเป็นเม็ดใช้ยัดให้นกกิน  บางท่านก็มาฝนเป็นผงละลายน้ำ  นี่ก็ผิด   เขาผลิตยานั้นเขาวิเคราะห์กันแล้วว่า ยาไหนใช้ในน้ำ ใช้ผสมอาหาร ผสมน้ำ ก็ใช้ให้ถูกด้วย

ยาฉีด
ประโยชน์ของยาฉีดนั้นดีเพราะเป็นอะไรที่เราให้ได้ถูกต้องตามขนาด และ ถูกตัว  และ ได้ผลเร็ว บางครั้ง 2 วันก็หาย  ซึ่งถ้าเทียบกับยาน้ำบางทีเป็นอาทิตย์กว่าจะหาย  ข้อเสียก็มี เพราะนกมันเจ็บ มันกลัว ถ้าฉีดเข้ากล้ามเนื้อไม่ดีก็บวม เจ็บได้  การฉีดก็อย่าฉีดที่ต้นขาเพราะกว่ายาจะกระจายไปทั่วร่างกายนั้นมันนาน   ก็อาจจะหมดฤทธิก่อนที่มันจะทำงานได้เต็มที่ 

ผสมอาหาร
ประโยชน์ก็คล้ายกับผสมน้ำ  ผสมอาหารก็คือคลุกกับข้าว    บ้างก็พรมน้ำก่อน บ้างก็ให้วิตามินน้ำคลุกก็มี เพื่อให้ยามันติดข้าวเหมือนข้าวหมูละครับ  ข้อเสียก็มี เราให้ยาก็เพราะนกมันป่วย  และไอ้นกป่วยมันก็กินน้อย หรือ แทบจะไม่กินอยู่แล้ว ก็ทำให้ไม่เห็นผล   การให้ยาแบบไม่คิดให้ดี  ไม่เป็นอะไรก็ให้ และให้อยู่สม่ำเสมอก็ควรที่จะรู้ว่า  นั่นคือความหายนะที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะ มันจะสร้าง Super Bug ที่พัฒนาเป็นการดื้อยาโดยเฉพาะพวก Antibiotics   

ดังนั้นการให้ยาก็ควรที่จะคิดให้ดีว่าวิธีใดดีที่สุด  และ อย่าให้พร่ำเพรื่อ  เป็นโรคถึงให้ดีที่สุดครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
   ตอนที่ 22 Yong bird disease      
                  ปลายยุค 70 นกพิราบก็ได้พบกับปัญหาเรื่องสุขภาพอันใหม่ ซึ่งในเยอรมันเรียกมันว่า  “Young           bird disease โรคสำหรับลูกนก” และ ใน เบลเยี่ยม และ ฮอลแลนด์เรียกมันว่า “ Adeno / Coli” ซึ่งผมเองก็มั่นใจว่าในเมืองไทยเราก็ยังไม่ค่อยจะรู้จักโรคนี้เท่าไรนัก   โรคนี้เกิดขึ้นที่ เบลเยี่ยม และ ฮอลแลนด์ ก่อน และ มันเกิดขึ้นหลักๆ ก็กับลูกนก Young Bird

Adenoviroses type 1 พบในปี 1976 ซึ่งหลักๆแล้วลูกนกโดนหนักกว่านกแก่  แต่ก็ไม่ใช่ว่านกแก่จะไม่เป็นนะครับ   นกแก่ก็โดนในปี 1992 เป็น Adenoviroses type 2  เกิดขึ้นครั้งแรกก็ใน เบลเยี่ยม    ไอ้เจ้า Type 1 นั้น แรกๆ ก็เป็นเฉพาะบางกรงเท่านั้น แต่พอมากลางยุค 90 ก็แพร่ระบาดกันไปทั่วโลก   บางกรงเป็นก็ถึงกับปิดกรงไปก็มี

Symptoms
Type 1 นั้นปรกติ ลูกนกจะไม่ทานอาหาร  เวลาออกไปนอกกรง เราเรียกก็จะไม่ค่อยจะรีบลงกรงเหมือนเคยก็เพราะมันไม่หิว   สังเกตให้ดีลูกนกจะย่อยอาหารไม่ดี  อาหารเย็นกินเข้าไปแล้วเช้ายังไม่ย่อยก็แน่นอน  น้ำหนักตัวของนกก็ลดลง   นกจะยืนนิ่งจ๋อยๆ ดื่มน้ำมาก   ขี้เป็นน้ำ และ หนักขึ้นก็จะเขียวๆ เหลือง ๆ มีกลิ่น  และ ถ้าไม่รักษา ภายใน 2-3 วันนกจำนวนมากก็จะติดโรค   บางตัวก็ตาย   การรักษาถ้าจะฟื้นตัวก็ใช้เวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ถ้ารักษาด้วยยาที่ถูกต้อง   ถ้าเปรียบกับ Type 2 นั้น ส่วนใหญ่ตายเร็วกว่ามาก เป็นเพราะมันจู่โจมทำลายเซลของตับ   สถิติถ้าเป็นแล้วนกในกรงที่ติดประมาณ 30% ก็ตาย  บางกรงเป็นหนักๆ นกที่ติด ก็ตายได้ 100% ก็มี
 
 
 
 
 
 
Adeno-Coli

ที่จริงแล้วตัวที่เป็นปัญหาหลักนั้นคือ Adeno ซึ่งเป็นไวรัสตัวหนึ่ง ส่วน E-Coli นั้นเป็นตัวรองที่เพิ่มขึ้นมาซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่ง E-Coli ตัวมันเองไม่น่าเป็นห่วงหรอก เพราะมนุษย์หรือนกนั้น เจ้า Coli เป็นแบคทีเรียที่สำคัญต่อการดำรงชีพ  แต่เมื่อนกป่วยโดยโดนเจ้าไวรัสเล่นงานมากไป เจ้า Coli ก็พัฒนาตัวมันเองมากไปเช่นกันก็เลยเป็นปัญหาทำให้นกป่วย ดังนั้นเมื่อนกป่วยด้วย Coli ก็ต้องรีบรักษาโดยด่วน  ส่วนเจ้า Adeno นั้นตอนนี้ก็ยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะรักษาได้ ซึ่งต่างกับเจ้า E Coli ซึ่งมียาปฎิชีวนะหลายอย่างรักษาได้  แต่ก็มีอย่างหนึ่งที่ต้องรู้ไว้ว่า ไม่มีอะไรที่เรียกได้ว่า “ดีที่สุด” เพราะยาแต่ละอย่างก็มีโอกาสให้ผลที่ต่างกันได้  ยาบางตัวใช้กับกรงนี้ดีแต่อาจจะไม่ค่อยดีกับกรงอื่นก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่พบกันกันมาก

จากภาพก็เป็นนกที่ติดโรค Adeno ซึ่งเป็นแล้วก็หมดสภาพ ใช้การไม่ได้ หนักเข้ายืนแทบจะไม่ได้ก็มีสิทธิถึงตายได้
 
Cause

Type 1 ก็อย่างที่เขียนไว้ข้างต้นว่าเป็นหนักที่ลูกนกขวบแรก นกแก่จะไม่ค่อยเป็นกันนัก ก็เพราะ นกแก่แข็งแรงกว่าและที่สำคัญมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า  (Immune system จำได้ว่าตอนที่ผมอยู่ที่เยอรมันนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดถึง และ มีบทความในหนังสือนกพูดถึงเรื่องนี้กันมาก  ต้องอย่าลืมว่าที่เมืองนอกนั้นเขาแข่งนกกัน โดยนกแต่ละตัวแข่งกันได้มากหลายๆ ขวบ  โดยปรกติก็ ถึง 5 ปี  ดังนั้นสุขภาพนกนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญต้องดูแลกันให้ดีตั้งแต่ลูกนก  ฝึกให้นกมีภูมิต้านทานกันตั้งแต่เล็ก  การให้ยานั้นเป็นเรื่องที่เขาระวังกันมาก  กลัวมันจะมีผลต่อสุขภาพนกได้  ผมเคยถามคนต่างประเทศว่าทำไมกรงนกyouไม่ค่อยที่จะทำความสะอาดกันมากนักเหมือนในเมืองไทย  เขาบอกว่าทำทำไมทุกวันเช้าเย็น   นกมันอยู่ในตะกร้าแข่งเป็นวันๆ หรือ หลายวัน ตอนมันไกลขึ้น  ดังนั้นนกต้องคุ้นเคย  ไม่อย่างนั้นติดเชื้อนิดหน่อยก็ป่วยแล้ว เพราะไม่มีภูมินั่นเอง  นั่นก็เป็นแค่เรื่องหนึ่งครับ)  หลายๆ คนว่าไอ้โรคนี้มันพัฒนามาจากการใช้
 
 
 
 
Cortisone ก็ไอ้ยาหยอดตา ที่ใช้หยุดถ่ายขน แถมโด๊ปอีกต่างหาก ตอนช่วงปี 80นั่นแหละ   เรื่องนี้ก็ไม่ได้พิสูจน์กันเป็นที่แน่นอนว่าจริงหรือเปล่าว่า Cortisone เป็นผลเพราะ  ยาประเภทนี้ห้ามใช้กับนกแข่ง  ถ้าตรวจพบก็ถูกแบนห้ามแข่งครับ  บ้างก็ว่าเป็นเพราะระบบ Darkening system ที่คุมระบบการถ่ายขนของนก ก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าจริงเช่นกัน   แต่มีสิ่งหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นผลมากก็คือ  Stress ความเครียด ความกดดันของพวก Young bird มีมากขึ้น  โดยเฉพาะกรงที่เลี้ยงนกจำนวนมากเกินไป เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นก็เป็นโรคได้ หรือ ตอนช่วงซ้อมใหม่ๆก็เป็นได้

Prevention Impossible   

นักเลี้ยงนกจำนวนมากต่างก็กังวลและคิดกันว่ามียาอะไร "ป้องกัน" ไอ้โรคนี้ได้หรือเปล่า และ จำนวนมากก็คิดถึงพวก "ยาปฎิชีวนะAntibiotics"   ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกเป็นเพราะยาพวก Antibiotics นี้จะมีผลก็ต่อเมื่อมันต่อต้านสู้กับพวก Pathogens ในร่างกาย ก็คือติดเชื้อแล้วนั่นเอง

ก็พอจะจับใจความกันได้แล้วนะครับว่า  การติดโรคนั้นอย่างแรกเกิดจาก  Adedo Virus มันทำให้นกอ่อนแอมาก และ ทำให้ Coli  bacteria ในร่างกายนกมันพัฒนา  ไอ้สองอย่างนี่พอมันรวมกันเข้าก็ทำให้นกป่วย ดังนั้นพวกเบลเยี่ยมและ ฮอลแลนด์เรียกโรคนี้ว่า “Adeno / Coli”    การรักษานั้น พวกหมอนกพิราบให้พวกยา Antibiotics เพื่อฆ่าแบคทีเรียก่อน และ เมื่อนกแข็งแรงขึ้นมันก็จะต้านไวรัสได้เอง ซึ่งกว่าจะฟื้นก็ต้องเป็นอาทิตย์ เพราะเซลของตับมันถูกทำลายไปตอนติดไวรัส  ก็ต้องให้เวลามันฟื้นตัวกลับ   นกบางตัวมันอาจจะดูเหมือนกับฟื้นตัวได้เร็วหลังให้ยา  แต่ไม่ใช่หรอกครับข้างในมันยังไม่ดีดังนั้น อย่าเพิ่งบิน ซ้อม หรือ แข่ง ควรพักซักช่วงหนึ่ง นี่คือเหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้การรักษาต้องใช้เวลานานถึง 5 วัน    บางคนว่าโรคนี้มันเป็นกรรมพันธุ์  ไม่เกี่ยวกันเลยครับ  นกทุกตัวมีสิทธิเป็นโรคนี้กันได้ แม้แต่นกแก่ นกพันธุ์ ก็มีโอกาสติดโรคจาก Type 2 ได้
 
 
 
 
 
Research

ที่เยอรมัน นักเลี้ยงนกจำนวน 1605 คน ได้ถูกสัมภาษณ์เกี่ยวกับ “Young bird disease โรคของลูกนก (Adeno / E.Coli)”  วัตถุประสงค์ก็เพื่อทำความเข้าใจ เห็นภาพ สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรค ซึ่งผลของการค้นคว้านี้น่าสนใจและมีประโยชน์อย่างยิ่ง   

มีไม่น้อยไปกว่า 1153 รายจาก 1605 คน บอกว่าลูกนกของเพวกเขาประสบกับโรคนี้   บางรายบอกว่าเขาเจอโรคนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่เจอซ้ำแล้วซ้ำอีก และ บางรายบอกว่ามันเหมือนฝันร้ายเพราะเจอทุกปี 

56% ของนักเลี้ยงนกเยอรมันนั้นลี้ยงนกที่ลาน สนาม  ที่เหลือเลี้ยงบนห้องใต้หลังคา  เป็นที่น่าสังเกตุว่าคนที่เลี้ยงนกบนห้องใต้หลังคาจะเจอโรคนี้มากกว่าคนที่เลี้ยงที่ลานสนาม เหตุผลที่อาจเป็นได้ก็เพราะอุณหภูมิข้างบนสูงกว่าที่สนามนกก็เลยอ่อนแอกว่า  และ คนที่เลี้ยงนกแบบมีกรงเปิดให้อาบแดด ได้อากาศบริสุทธิ์ จะมีปัญหาน้อยกว่า และ คนที่เลี้ยงลูกนกจำนวนมากเกินไปจะเจอปัญหานี้มากกว่าเช่นกัน

การค้นคว้า วิจัย ได้แบ่ง จำนวนนกว่ามากหรือไม่ ตามนี้
1.   คนที่เลี้ยงลูกนกมากกว่า 100 ตัว
2.   คนที่เลี้ยงลูกนกระหว่าง 50 - 100 ตัว
3.   คนที่เลี้ยงลูกนกน้อยกว่า 50 ตัว
กลุ่มแรกเจอปัญหามากที่สุด และ คนที่เลี้ยงน้อยกว่า 50 ตัว เจอปัญหาน้อยที่สุด   และ  ผลที่ได้นี้ก็ตรงกับผลที่ได้จาก ฮอลแลนด์ เช่นกัน
 
 
 
 


Loft conditions and Hygiene

70% ของนักเลี้ยงนกเยอรมันนั้นทำความสะอาดกรงทุกวัน ไม่แปลกใจเลยที่คนกลุ่มนี้เจอปัญหานกป่วยมากกว่าคนที่ไม่ได้ทำทุกวัน  และ  48%ของคนที่ทำการฆ่าเชื้อโรคที่กรงนั้นจะพบปัญหาการติดโรคมากกว่าคนที่ไม่ได้ทำ  ซึ่งAdเองก็ไม่ได้ทำความสะอาดกรงทุกวัน และ ก็ไม่เจอปัญหา  พอเขียนบทความนี้นักเลี้ยงนกหลายคนก็เปลี่ยนโดยไม่ทำความสะอาดกรงบ่อยเหมือนเดิม และ สุขภาพนกก็ดีขึ้น   ที่เป็นเช่นนี้เพราะนกที่ถูกดูแลแบบอนามัยสุดๆ ก็มี “ภูมิต้านทาน” น้อยลง  เขาว่ากันว่ากรงที่ทำความสะอาดบ่อย  พวกฝุ่นขนก็ปลิวว่อนตอนทำความสะอาด พวกนี้ก็ทำให้นกป่วยได้  กรงที่ไม่ค่อยได้ทำความสะอาดบ่อยนักพวกฝุ่นขนก็จับตัวกันหรือติดอยู่ที่มูลนก  พวกกรงที่พ่นไฟเพื่อต้องการแบคทีเรีย แมลง หรือ ไวรัส นั้นก็เจอปัญหามากกว่ากรงที่ไม่ได้พ่นไฟเช่นกัน

A deal

AD จำได้ดีเพราะเขาเคยแลกนกที่บินเก่งมากตัวหนึ่งของเขา กับ ลูกนก 8 ตัว  เจ้า 8 ตัวนี้พอนำมาที่กรงเขา  มันดูดีกว่านกเขามาก สวยจนน่าอายที่นกเขาดูด้อยไปเลย แต่ หนึ่งเดือนต่อมา เจ้า 8 ตัวนี้ตายเกลี้ยง   ADเองก็งงและได้ไปหาหมอนก พร้อมซากนกที่ตาย 2 ตัว เพื่อหาเหตุผลว่าเพราะอะไร?  หมอได้ถามเขาว่า  ”AD คุณได้นำนกจากกรงอื่นที่เขาทำความสะอาดกรงทุกวันมาเข้ากรงหรือเปล่า?”   ใช่เลยกรงที่เขานำนกมานั้นทำความสะอาดอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน แถมดูดฝุ่นและฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนบ่อยๆ อีกต่างหาก   หมอเองก็บอกเขาว่า หมอไม่ได้แปลกใจเลยเพราะ กรณีแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ  แถมบอกว่า  นกที่กรงคุณไม่ได้ทำความสะอาดบ่อยครั้งนักมันมีภูมิคุ้มกันที่ดี  ผิดกับกรงที่ทำความสะอาดบ่อยๆ นกพวกนี้มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ ขาดภูมิไปเลยก็ว่าได้   

จากนั้นมาADบอกกับตัวเองว่าเขาจะไม่ซื้อนกจากกรงที่ทำความสะอาดบ่อยๆ และ ก็กรงที่ให้ยามากๆ ก็ไม่เอาเช่นกัน   
 
 
 


More
ตามที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้น ไม่ว่าจะความเครียด  พวกที่เลี้ยงนกมาก ทำความสะอาดบ่อยเกินไป และ กรงที่มีอุณหภูมิที่สูง เป็นเหตุให้เกิดโรคนี้ขึ้น    บางกรงก็เจอปัญหาหลังจากฉีกวัคซีน PMV   ADแนะนำว่าให้ฉีดยาตอนนกอายุ 6 สัปดาห์ ดีกว่า ฉีดตอนอายุน้อยไป   กรงที่ฉีดยา Paratyphoid จะมีโอกาสเป็นโรค Adeno / Coli น้อยกว่า พวกไม่ฉีด   ไม่ควรฉีด PMV กับ Paratyphoid พร้อมกัน อย่างน้อยควรห่างกัน 4 สัปดาห์   พวกโฆษณายาป้องกันโรคนี้นั้น ไร้สาระ   สิ่งที่ดีที่ควรให้กับนกคือ Apple Vinegar น้ำส้มสายชูที่ทำมาจากแอปเปิล 

In conclusion
•   หลีกเลี่ยงการเลี้ยงนกจำนวนมากเกินไป
•   หลีกเลี่ยงความเครียดกับนก เมื่อนกป่วย เช่น การซ้อมนก การแข่ง
•   อยู่ห่างๆพวกยา พวกวิตามิน  พวกนี้ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
•   กรงนกมีอากาศถ่ายเทดี
•   ในกรณีที่มีการระบาดของโรค  อย่าเคลื่อนย้ายนกจากกรง  งดข้าว 2-3 วัน ให้อีเลคโตรไลท์ พร้อม กลูโคสในน้ำ
•   อย่าให้นกขาดน้ำเพราะกลัวนกท้องเสีย  เพราะนั่นอาจทำให้นกตายได้เพราะ Dehydration ภาวะการขาดน้ำในร่างกาย 
จบตอนที่ 22 แล้วครับ  ก็เป็นโรคที่เราต้องระวัง เพราะบ้านเราแข่งนกแทบจะทั้งหมดเป็นลูกนก  ตอนต่อไป ตอนที่ 23 เป็นเรื่อง Klak Again  ก็ดูกันว่าเป็นอะไรที่เกี่ยวกับ Klak
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 23  Klak Again

ก่อนเริ่มเรื่องของ Klak นั้นเพื่อนผมก็มีโทรมาแจ้งว่านกบางกรงตายและมีอาการคล้ายกับ Adeno/E Coli ก็อย่างที่ผมบอกไว้ก่อนหน้านี้ว่าผมเชื่อว่านักเลี้ยงนกไทยเราจำนวนมากๆ ที่ไม่รู้จักโรคนี้  ถ้าเป็นก็หายาปฎิชีวนะให้กินกันครับ  สำหรับผม ผมไปต่างประเทศทีไร ก็จะเป็นยาตัวหนึ่งที่มีซื้อไว้ทุกครั้ง มีไว้ประจำกรง

ก็ขอเริ่มเรื่องของ Klak เลยครับ  AD เป็นเพื่อนสนิทคนหนึ่งของ Klak ซึ่งก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นนาฬิกาแบบอีเลคโทรนิค   AD ได้ไปช่วยกดนาฬิกาให้ถึง 4 ปี  AD แข่งวันเสาร์ ส่วน Klak แข่งวันอาทิตย์    หลังจากที่ Klak ได้เสียชีวิตไป ก็มีบทความกล่าวถึงเขา นก และ วิธีการเลี้ยงกันมาก  ซึ่ง AD คิดว่าเขาต้องแก้ไข  เรื่องที่มันไม่จริง ไม่ถูก  ที่คนนำไปเขียนกัน

Natural

Klak นั้นเป็นหนึ่งในน้อยคนที่แข่งนกด้วยระบบ Natural อยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แข่งด้วยระบบหม้าย Widowhood  เขาปล่อยนกบินเช้าเย็น ครั้งละ 45 นาที  โดยใช้ธง  ตอนเข้ากรงเขาก็จะมีไม้อันหนึ่ง  พอเคาะพื้น นกก็จะรู้แล้วว่าถึงเวลาบิน   เวลา Ad คุยกับ Klak นั้นเขาแทบจะไม่คุยเรื่องอาหารนก การให้อาหาร เพราะพวกเขาไม่สนใจ  Klak นั้นให้อาหารสูตรเดียวกันทั้งปี   นกแก่ก็ให้บนช่องเพื่อความรักช่องของมัน   เขาเกลียดการใช้วิตามิน หรือ ยา  จะมีให้ก็แต่ Canker เท่านั้น นอกนั้นไม่เคยสนเลย   นกถ้าป่วยก็แยกออกไป ถ้า 1 อาทิตย์ไม่หายก็ไปเกิดใหม่  พวกถ่ายพยาธิ Samonella Coccidiosis ไม่เคยใช้    10ปีที่ผ่านมาเคยไปหาสัตวแพทย์ 2 ครั้งเท่านั้น รู้ไหมครับไปทำไม  ไปก็ตอน “หมา” ของเขาป่วย  ใครว่าเขาหัวโบราณก็ตาม แต่ นกของเขาไปที่ไหนเห็นได้ว่าแข็งแรงตลอดปี


 
 
 

Breeding method, eyes and prices

กีฬานกแข่งนั้นเป็นกีฬาที่บ่อยครั้งพวกแข่งไม่ได้เรื่องแสดงตนเป็นผู้รู้ ส่วนคนที่เก่งก็ถ่อมตนว่ารู้น้อย  Klak เป็นคนประเภทหลังครับ   เมื่อเขาเห็นนักเลี้ยงนก โดยเฉพาะพวกต่างชาติมา ยิ่งส่อง Eye sign มีกล้องมา แบ่งเกรดตาด้วยละก็  เขาหัวเราะประจำ   

Klak บอกอยู่เสมอว่า “การเข้าคู่นกแล้วเกิดยอดนกขึ้นมานั้น มันเป็น ”โชค”

ซึ่งเรื่องนี้ Klak เองก็ยังยอมรับว่า เจ้ายอดนกของเขา “613” นั้น ก็ฟลุ๊คที่เกิดมาได้ดี   พ่อของมันขายให้ใครก็ไม่มีใครเอา เพราะรูปร่างมันช่างน่าเกลียด ไม่สวยเข้ามือเลย  นกตัวนี้ชื่อ Knook ชีวิตมันนะเป็นหนี้เจ้าเหยี่ยวที่จับนกในกรงของ Klak ไปกิน เลยทำให้ Klak ขาดนกไปหนึ่งตัว   เจ้า Knook ก็เลยได้ไปอยู่ที่กรง   ชีวิตของมันให้ลูกเก่งอยู่ตัวเดียวคือ เจ้า 613  ตัวอื่นไม่ได้เรื่องเลย    Klak บอกว่า “ถ้าคุณมีนกดีเวลาเข้าคู่นะมันยังไงก็มีผลอยู่สองอย่าง คือ นกชั้นเลว หรือ แชมเปี้ยน   ดังนั้น Klak จึงขายนกของเขาราคาเดียวเหมือนกันหมดไม่สนใจว่ามันจะเคยให้ลูกอย่างไร  ADเคยพาคนหนึ่งไปซื้อนก 4 ตัว  เป็นเงิน Euro 850  นายคนนี้บอกKlakว่านี่เป็นเงินที่เขาหามาด้วยความยากลำบากกว่าจะได้นก 4 ตัวนี้   คำตอบของ Klak อาจจะไม่เข้าหูนักแต่เป็นสัจจธรรมคือ “มันก็อาจจะเป็นไปได้ว่า คุณนะเสียเงินไปเปล่าๆ เพราะโอกาสมันมีน้อยนะที่จะมีนกที่ดีซักตัวจากนกทั้งหมดนี้  และถ้ามองในแง่ดี  ถ้าได้นกตัวเดียวและดีซะด้วยจากสี่ตัวนั้นมันก็เกินคุ้มแล้ว แต่ยากนะ”


 
 
 
 
 



 
Common sense

Klak บอกอยู่เสมอว่าชีวิตเขาที่เลี้ยงนกมาตั้งแต่เด็กมี คู่นก ที่ดีอยู่คู่เดียวเท่านั้น คือ Vechter x
Witpenneke  เขาเชื่อว่านกที่เข้าคู่เดิมอยู่เสมอ ลูกนกที่ได้จะมีคุณภาพแย่ลงๆ  แต่ เมื่อมีคนถามว่า ทำไม พ่อแม่ของเจ้า 613 ถึงเข้าคู่เดิมละ  คำตอบ Classic มาก  เป็นเพราะ  “เพื่อให้พอใจกับผู้ที่อยากนัก อยากหนา ที่จะซื้อลูกจากคู่นี้ให้ได้”  (คนจำนวนมากจองลูกของพ่อแม่ 613)

Klak เป็นคนที่ปฎิเสธการใช้ยา และ วิตามิน และ ไม่เคยเชื่อทฤษฎีการเข้าคู่นก  แต่เขาก็เป็นคนที่แข่งนกดีมาตลอดชีวิตการเลี้ยงนก  สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดของนกของเขาก็คือ  พวกมันมีกรงนกที่ดี  ถ่ายเทอากาศดี ให้ความอบอุ่นตลอดปี



 
 
 
 
 
 
 
 
   A Believer
ถ้าใครเก่งแบบที่ Klak ทำได้  เชื่อได้ว่าพูดอะไรไปก็มีคนเชื่อ คนฟัง เช่นการเข้าคู่ การเลี้ยง  การให้อาหาร ให้ยา สารพัด ก็เชื่อกันมาก  แต่Klak กลับไม่ได้ทำ ไม่ได้ให้ความสนใจพวกไร้สาระเหล่านั้น

คนเลี้ยงของเขา H v d Mierden  และ  ต่อมาก็เป็น C v Gestel  เคยถาม Klak ว่า  ไม่ให้วิตามิน หรือ ยา กับนกหรือ ?  Klak สั่นหัวราวกับบอกว่า  “พวกเองนี่นะไม่ใช่นักเลี้ยงนกที่แท้จริง”   พอ Mierden ตายไป Gestel ก็มาเลี้ยงแทนและดีใจมากที่ได้เลี้ยงนกให้ Klak หวังว่าจะได้สูตรลับสารพัด รวมถึงวิธีการต่างๆ  แต่  Gestel ไม่ได้อะไรเลยเพราะ Klak ไม่ได้ให้อะไรเป็นพิเศษกับนกเลย   ปัญหาของ Klak ก็คือเวลาที่เขาพูดเรื่องเหล่านี้ คนจะไม่ค่อยเชื่อหาว่าเขาอุบความลับไว้  ไม่บอกวิธีการต่างๆ ให้รู้  Gestel เองก็เช่นกัน  แรกๆ ก็ไม่เชื่อ  จนมาเลี้ยงเองถึงได้เชื่อว่ามันจริงที่ไม่ได้ใช้อะไรเลย
ในภาพก็เป็นบรรยากาศของการประมูลนกของ Klak นักเลี้ยงนกจากทั่วโลกได้มาเข้าร่วมประมูล  ก่อนที่ Jan Hermans จะทำการเริ่มประมูลก็ได้มีการยืนไว้อาลัยต่อการจากไปของ Klak บุคคลอันเป็นตำนานหน้าหนึ่งของวงการนกพิราบโลก  บุคคลที่ตรงต่อคำพูด การให้ข้อแนะนำ และ คนที่ขายนกราคาเดียวไม่ว่าจะคู่ไหนเพราะเขาเชื่อในประสบการณ์ของเขาว่า นกเมื่อเข้าคู่แล้ว ลูกนกมันจะได้ดี หรือ ไม่นั้นมันอยู่ที่ "โชค" ดังนั้นอะไรมันก็เป็นไปได้

ส่วนเจ้า 613 นั้นมันเป็นยอดนกที่ชนะการแข่งขันดีๆ มาก เช่น ที่ 1/2654, 1/1162, 1/1029, 2/2200, 2/1270, 2/1189, 2/1081,4/2502, 4/1416, 4/1230, 5/2432, 8/1186, 11/1236, 11/1432, 13/1061, และ ที่ 1 อีก 6ครั้ง นก 340+ 

ส่วนอีกภาพก็เป็น Klak กับ พี่น้องJanssen  ก็ขอขอบคุณ Klak ไว้ ณ ที่นี้ ที่ได้สร้างสีสรร และ เรื่องราวดีๆไว้กับวงการนกให้เราได้กล่าวถึงกันต่อไป  



ตอนที่ 24 Let’s get visual
ก่อนเริ่มเรื่องก็ขอเขียนอะไรหน่อย ก็มีเวลาหลังทานข้าวเที่ยงหน่อยสัก 10 นาที

การทำหนังสือนก หรือ ทำเว็บนั้น มันมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องค้ำจุนช่วยเหลือกันไม่ว่าจะ สมาชิก คนทำหนังสือ คนทำเว็บ  สปอนเซอร์ผู้สนับสนุน  ผลที่ออกมาก็ทำให้ผู้จัดทำ ผู้เขียนนั้นมี "กำลังใจ" ที่จะคิด เขียน  ทำผลงานดีๆ ออกมาเพื่อส่งเสริมกีฬาเราให้ดำเนิน และ ก้าวหน้าต่อไปได้ 

ถ้าไม่มีสมาชิกใหม่ๆเกิดขึ้นมา  กีฬาที่เรารักนี้ตายแน่   นั้นคือสิ่งที่เราไม่ต้องการให้มันเกิดขึ้น หรือ เป็นไป  ดังนั้นเราควรที่จะช่วยกันส่งเสริม กระตุ้น และ ช่วยเหลือทั้งคนที่สนใจ หรือ เริ่มเลี้ยงใหม่  และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จกับการแข่งขันเท่าไรนัก  ให้พวกเขามีกำลังใจ มีเพื่อนในวงการเลี้ยงนก ช่วยกันแก้ปัญหา ให้คำปรึกษา  แบ่งปันพันธุ์นกบ้างก็ฟรี หรือ อยู่ในราคาที่ย่อมเยา เพราะการเลี้ยงนกปัจจุบันนั้นเด็กๆ เริ่มเลี้ยงนั้นคงเป็นไปได้ยากเพราะต้นทุนการเลี้ยงนกมันไม่ถูกเอาเลย  และ เด็กๆนั้นมีอะไรหลายๆอย่างดึงความสนใจเขาออกไปจากเรา ไม่ว่าจะเรื่องเรียน กีฬา เกมส์  เที่ยว ฯลฯ    ดังนั้นคนที่อยู่ก็พยายามให้พวกเขาได้อยู่เลี้ยงกันนานๆ สนุก และ เป็นสังคมที่ดี  ก็ยังคงฝันอยู่นะครับ  เรื่องนี้ก็เป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับพวกเราคนเลี้ยงนก และ หน่วยงานต่างๆ ที่จะให้ความสำคัญระดับไหนกัน   

การที่เรามีเว็บที่ดีๆ เป็นกลาง เราน่าที่จะดีใจที่คนทำเขามีใจรัก  เสียสละที่ทำให้เราได้มีพื้นที่ที่เราสามารถหาความรู้  พูดคุยกัน รู้จักอะไรเกี่ยวกับนกแข่งมากขึ้น  แต่ก็ยังมีคนให้ความสำคัญไม่มากนัก  ส่วนใหญ่ที่เข้ามาก็เข้ามาดู  แต่มีส่วนร่วมในกิจกรรม หรือ  แบ่งปันข้อมูล  ข่าวสาร  ประสบการณ์ยังน้อยไปหน่อย  ก็หวังว่าจะมีมากขึ้น   



 
 
 
 
ส่วนการทำหนังสือนั้น  วัตถุประสงค์ก็ชัดเจนเพื่อเป็นสื่ออีกทางหนึ่งสำหรับวงการนกเรา  หนังสือที่ทำก็ไม่ได้เป็นของสมาคมใด หน่วยงานใด หรือ ทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือ แสวงหากำไร   ก็เป็นกลางละครับ  เหตุผลอีกอย่างที่ทำก็เพื่อเป็นการเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล แบ่งปันประสบการณ์ของนักเลี้ยงนกที่ดี ประสบความสำเร็จ มาให้ข้อมูล วิธีการ ถึงเพื่อนๆ หรือ สมาชิกใหม่ได้ทราบกัน  มีงานแปลดีๆก็มาเล่าสู่กันฟัง  ก็หวังว่าจะได้รับความร่วมมือด้วยดีจากเพื่อนๆที่มีใจรักในกีฬานี้ครับ
 
งานเขียนนั้นมันเป็นอะไรที่ง่ายขึ้นถ้ามีตัวอย่างหรือภาพประกอบผมเองก็พยายามหาบางภาพที่ดูแล้วน่าสนใจ เกี่ยวข้องกันมาลง

สิ่งสำคัญ 4 อย่างที่ควรตระหนัก

ถ้าจะประสบความสำเร็จในการแข่งนกพิราบนั้นอยากจะให้คิดถึงสิ่งสำคัญ 4 อย่าง ที่คนส่วนใหญ่พูดถึงกัน
1)   นกพันธุ์ที่ดี มีคุณภาพ
2)   กรงนกที่ดี
3)   นกมีสุขภาพที่ดี และ พร้อมแข่ง
4)   คนเลี้ยงนกที่ดี เข้าใจ และ มองเห็นปัญหา และ รู้จักแก้ไข
สำหรับผมนั้นผมให้ความสำคัญข้อหลังมากๆ เพราะ เป็นอะไรที่รวมอยู่ในตัวเขา  คนเลี้ยงนกที่ดีนั้น (รวมถึงเจ้าของกรงด้วย) จะเป็นคนแสวงหานกดีๆเข้ากรงมาทำพันธุ์ (1) และ ก็เขานั่นละเป็นคนที่ออกแบบ สร้างกรงให้เหมาะกับนกมากที่สุด  กรงแพงๆ สวย ๆ ไม่จำเป็นว่าจะดีกว่ากรงเล็กๆ เป็นเพราะถ้ากรงเล็กๆสร้างได้ถูกหลัก ทำให้นกมีสุขภาพที่ดี ย่อมดีกว่ากรงแพงๆ สวยๆ ซึ่งทำแล้วนกมีโอกาสป่วยได้ จริงไหม?  และ ก็คนเลี้ยงนี้อีกนั่นแหละที่เลี้ยงนกให้มีสุขภาพที่ดี พร้อมแข่งหรือไม่  รู้จักแก้ปัญหา หรือ แม้แต่มองเห็นปัญหาหรือไม่?  ซึ่งนกที่พร้อมแข่งนี่หละสำคัญ  เลี้ยงนกมาทั้งปีไม่พร้อมแข่งในช่วงแข่งก็ไร้ค่า  เหนื่อยเปล่า  ผมเองแข่งนกก็แข่งนกที่มีสุขภาพที่ดี พร้อมแข่ง ไม่พร้อมก็เก็บ   
 
 
 


“ชัยชนะ” นั้นปัจจุบันพูดได้ว่า “เกิดจากนกที่มีสายพันธุ์ที่ดี มีสุขภาพที่ดี อยู่ในทำเลที่ดี และ มีโชคประกอบด้วย”

กรงนก
ผมเองเป็นคนหนึ่งซึ่งรู้สึกเสียใจเหมือนกันเวลาไปเยี่ยมกรงบางคนแล้วเห็นว่าเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับ “กรงนกที่ดี” เท่าที่ควร


คนบางคนซื้อนกเป็นอาชีพ กล้าใช้เงินซื้อนก แต่ นกเหล่านี้ท้ายสุดก็อยู่กรงที่ไม่ดีนัก  กรงดีๆ ไม่ได้หมายถึง สวยๆ แพงๆ แต่เป็นกรงที่มีอากาศถ่ายเทดี  ป้องกัน ลม หรือ ฝนได้   ไม่ร้อนเกินไป แห้งไม่ชื้น น้ำไม่ขัง ดังนั้นถ้ากรงเล็ก ถูก ทำได้เข้าท่าก็ดีกว่ากรงแพงๆที่ไม่เอาไหนก็ได้

กรงนกที่ดีบางกรง หรือ แต่ละกรงอาจจะไม่เหมาะกับอีกกรงก็ได้  มันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ  กรงในแถบยุโรปแน่นอนไม่เหมาะกับเมืองไทยก็ได้  เขามีทั้งหนาว หิมะ ฝน พายุ  แดดน้อย  กรงพวกเขาส่วนใหญ่เป็นแบบปิด  ดังนั้นไม่มีกรงไหนที่เป็นมาตรฐานสำหรับสากลหรอกครับเพราะอากาศมันไม่เหมือนกัน

หลายๆคนนั้นคิดว่า สายพันธุ์ และ การให้ยาเป็นเรื่องสำคัญมากๆ จนมองข้ามปัญหาที่กรงนกของตนเองไป  บางคนถ้าการแข่งขันไม่ค่อยดี  ก็อยากให้ลองคิดถึงการออกแบบกรงนกนั้นมีปัญหาหรือไม่



.
 
 
 
 
 
ครั้งหนึ่งนาย AD ได้ถูกเชิญไปอเมริกา ไปให้สัมมนา และ หลังจากนั้นก็มีการเชิญจากนักเลี้ยงนกบางคนให้ช่วยไปคัดนกให้หน่อย  ผลการแข่งไม่ค่อยดีเลย  พอไปถึง เขาเห็นนกอยู่ในสภาพที่ไม่ค่อยดี  กรงนกนั้นออกแบบไม่ถูกเท่าไรนัก  กรงเปิดมากเกินไป ไม่ได้คิดถึงหน้าหนาว หรือ อากาศเย็น หรือ ฝนบ้างเลย  เขาก็เลยแนะนำให้ดัดแปลงกรง  และ เปลี่ยนแปลงสูตรอาหารสำหรับนก  หลังจากนั้น1-2ปีให้หลัง กรงนี้เก่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด   ก็เป็นอะไรที่อย่ามองข้าม ตะบี้ตะบันแข่งไม่ดี ก็โทษนก แบบไม่ได้คิดถึงกรง 


ฝุ่น
กรงนกควรระวังเรื่องฝุ่นเพราะฝุ่นนี้เป็นพาหของการแพร่ระบาดของแบคทีเรีย ไวรัส และ ไข่ของพยาธิได้ (hairworms)   ซึ่งอันตรายสำหรับคนและนกได้ 

ภูมิต้านทาน
บทความก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงความสำคัญของภูมิต้านทาน ยิ่งปัจจุบันนี้ทั้งคนและนกมีน้อยลงไปทุกวัน  สำหรับนกนั้น

“เราควรที่จะป้องกันไม่ให้นกป่วยมากกว่าที่จะมองหายาดีๆ”   

ที่เมืองนกนั้นโดยเฉพาะที่ยุโรปเขาห่วงเรื่องนี้มาก  บางคนก็ปล่อยนกบินตอนหน้าหนาว ซึ่งส่วนใหญ่ไม่กล้าเพราะช่วงนั้นพวก เหยี่ยว นกอินทรีย์  อันตรายมาก  อาหารมีน้อย  ยิ่งนกออกมาบินละก็โดนแน่  ผมเคยเห็นกรงหนึ่งโดน 2 ตัว  เลือดสาดเต็มพื้น  อีกกรงถึงกับวางกับดักดักจับนกอินทรีย์ เหยี่ยวก็มี  ที่นั่นห้ามยิงนะครับ  ค่าปรับแรงมาก


 
 
 
 

การให้อาหาร
หลายคนจำกัดอาหารให้กินในแต่ละมือเท่ากันหมด  มันไม่เหมาะสมเพราะนกแต่ละตัวกินในบางช่วงเวลา หรือ ต้องการอาหารในบางช่วงเวลาต่างกัน  อากาศที่เย็นนกต้องการอาหารมากขึ้น  นกป้อนลูกยิ่งกินมากเข้าไปใหญ่  คนบางคนแยกนกตัวผู้ หรือ ตัวเมียออกตอนนกป้อนได้สัก 16 วันก็มี   จะเห็นได้ว่านกพ่อ หรือ แม่นกนั้นป้อนแหลก   ก็ดีเหมือนกันเพราะนกไม่ต้องมาออกไข่ หรือ ไล่นก ไล่ปี้กัน  ป้อนอย่างเดียว   ส่วนลูกนกที่แยกออกถ้าสังเกตดูมันจะมีความชื้น ร้อนๆ จนรู้สึกได้  ดังนั้นพื้นกรงควรที่จะอุ่น  เมืองนอกถึงใช้ฟาง  ดังนั้นกรงไหนที่เป็นตาข่ายก็สังเกตดูหน่อย

No way back ไม่มีทางหวนกลับมาได้อีก
คนที่ใช้ยามากๆ นกที่โดนยามากๆ นั้นภูมิคุ้มกันก็จะน้อยลง ดังนั้นการให้ยาปฎิชีวนะมากๆ ก็ต้องระวังให้มาก  คนไหนที่ไปซื้อนกคนที่ใช้ยามากๆ ก็ระวังจะได้นกที่มีสุขภาพไม่ค่อยดี  มันอาจไม่แสดงให้เห็นตอนนั้นแต่พอมันเริ่มมีอายุสัก 5-7ปี หรือ ตอนไม่สบาย บางตัวป่วยบ่อย  ไข่หมดเร็ว ไม่มีเชื้อเร็ว พวกนี้ละครับมีส่วนมากๆ  ครั้งหนึ่งพี่โต รณชัย จองศิริ กรงสุขสันต์ จิรจริยาเวช เคยบอกผมว่า “ไอ้พวกสเตียร์นี้มันหมดเชื้อเร็วเป็นเพราะเขาใช้ยากับมันมากไป” ผมเองก็เป็นคนที่เล่นนกสายพันธุ์นี้มานานก็สังเกตุเห็นว่าเป็นเหมือนกัน

นกบางตัวนะถ้ามันป่วยก็รักษาแค่ตัวนั้นๆ ก็พอ  บางกรงหว่านไปทั้งกรง  ผมก็ไม่รู้ว่าให้ไปทำไม  คิดเอาง่ายๆ ถ้านักเรียนในชั้นของลูกคุณป่วยวิงเวียนศีรษะ เป็นหวัด หรือ ท้องเสียแค่คนหนึ่งในชั้นซึ่งมีนักเรียน 50 คน   จำเป็นต้องให้ยาหมดทั้งชั้นเรียนหรือเปล่า  คุณยอมไหมละ ที่จะให้พวกครูหรือหมอให้ยาถ้าลูกคุณไม่ป่วย


 
 
 
 
 
 
 
การติดโรค หรือ เป็นโรค
สิ่งสำคัญซึ่งทำให้นกป่วยก็มี
•   ติดมาจากนกที่อื่น
•   เลี้ยงนกจำนวนมากเกินไป
•   นกเครียด
การเป็นโรคที่ติดจากนกที่อื่นนั้นเป็นเรื่องที่เราต้องตระหนัก เราเอานกอะไรมาเข้ากรง  เราศึกษากรงนั้นดีพอหรือเปล่า การย้ายนกจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งก็เป็นการนำแบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ หรือ ไวรัสไปด้วยก็ได้    คนก็เหมือนกัน ตามฟาร์มต่างๆเขาก็มีน้ำยาล้างพื้นรองเท้าก็มี ล้างล้อรถก็มี  ผมเคยเห็นที่กรงคุณประทีปก็ใช้วิธีนี้เหมือนกันสำหรับรองเท้า  สำหรับนกแข่งเราจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายนกตลอด ก็เป็นอะไรที่เลี่ยงไม่ได้ สำหรับนกแข่ง  ก็ควรระวัง   สังเกตุนก และ รักษาสุขภาพนกให้ดี   เวลาบรรจุนกลงตะกร้าก็อย่าให้มากเกินไปต่อ 1 ตะกร้า 

หนู
เราควรระวังหนูให้มาก พวกมันเป็นพาหะนำโรค ไม่ว่าจะติดตัวมันมา เวลามันเดินผ่าน เวลามันฉี่  ผลการวิเคราะห์ที่ได้  หนูเป็นตัวร้ายที่นำโรค Salmonella หรือ เรียกง่ายๆก็ พาราไทฟอยด์ ไม่กินข้าว  ขี้แตกขี้แตน นกหมดแรง ง่อยเปลี้ย ระบาดกันไปทั่ว และ ท้ายสุดก็หมดสภาพถึงตายได้นั่นแหละ

การให้ยา
การให้ยานั้น ถ้าจำเป็นให้ก็ต้องให้เพื่อ "รักษา" แต่ต้องให้ให้ถูก “ให้น้อยไปไม่ครบโดสก็เป็นโทษมากกว่าให้มากเกินไป”

ส่วนด้านล่างก็เป็นหนังสือ The Pigeon Health & Management ที่ผมขอแนะนำว่าควรมีติดกรงเป็นเล่มที่ดีมากเล่มหนึ่ง  ว่าด้วยสุขภาพนก และ การดูแล ของ Dr. Colin Walker ที่มีชื่อเสียงของ Australia
 
 
 
 
ก่อนอื่นก็ดีใจครับที่บทความนี้มีคนเข้ามาอ่านมากกว่า 3000 ครั้ง และ สัพเพเหระ ก็ใกล้ 2000 ครั้ง  มีกำลังใจเขียนหน่อย  บทที่ 24 นี้ยาวมาก  ก็พยายามเขียนให้ได้ใจความหลักๆมากที่สุด ก็ต่อกันเลยครับ

จะโทษใครดีละ

นกที่ขี้ตื่นในกรง  นกที่มาแล้วกลัว  วนแหลกไม่ลงกรง มันมีที่มาและมีสาเหตุทั้งนั้น  นกที่มาแล้วลงกรงเร็วไม่ใช่ว่ามันเห็นเราน่าตาดี แต่งตัวดี  แล้วลงกรงเร็ว 
“นกพิราบนั้นถูกทำให้กลัว และ นกพิราบนั้นถูกทำให้เชื่อง และ มีระเบียบ”
ในกรงคนที่เป็นนักเลี้ยงที่ดีนั้น เขาค่อยๆ เคลื่อนตัว ไม่รีบร้อน กระโชก วิ่ง ตะโกนโหวกเหวก  พวกเขาค่อยๆจับนก ถ้าคุณรีบร้อน ก็อย่าเข้ากรงดีกว่า ที่จะไล่ตระคลุบพวกมัน ให้มันตื่นกลัวเปล่า ๆ   คนเลี้ยงนกที่ดีนกไม่ตื่น และ เขาสามารถจับมันได้ด้วยมือเดียว    พวกนกนั้นสูญเสียความมั่นใจในตัวคุณแค่ครั้งเดียวก็เกินพอแล้ว  ต่อไปมันก็จำแม่นซะด้วย เราดีกับมันมันดีตอบ  ผมมีนกเชื่องๆแบบนี้หลายตัว  มีตัวหนึ่ง สีมิลลี่เมียมันเชื่องมาก และมันบินดีมาก  ผมประทับใจมันมากก็ตอนที่มันกลับ  มันอยู่บนท้องฟ้าสูงแค่ไหนก็ม้วนเดียวจบ  วันที่ได้ที่ 1 เชียงใหม่  มันมาสูงลิบๆ และดิ่งลงมาผมยังไม่ทันตั้งหลักถอยเลย  ก็ลงกรงแล้ว  อีกตัวเป็นนกที่เก่งมาก บินติดเชียงราย 3 ปีติด  ตัวนี้ถ้าผมเข้ากรงเมื่อไรมันจะบินขึ้นมาเกาะไหล่ เกาะแขนผม  ต่อมาถ้าผมยืนนอกกรงมันบินมาหาผมและเกาะไหล่ผมได้เลย  จนเจ้าตรีคนเลี้ยงผมต้องขอร้องว่า  “เฮียอย่าเพิ่งออกมายืนข้างนอก เจ้าตัวเก่งมันเห็นเฮียแล้วมันจะไม่ยอมบิน มันจะลงให้ได้”  ผมรักนก 2 ตัวนี้มาก 


 
 
 
 
 

Make love
ที่เบลเยี่ยม และ ฮอลแลนด์ คนแข่งด้วยระบบ Widowhood ระบบหม้ายเป็นหลัก ก็เห็นตัวเมียก่อนลงตระกร้า และ ตอนกลับ  คนจำนวนคิดว่ามันบินกลับมาเพื่อตัวเมีย  เพื่อ Make Love  ที่จริงแล้วลงกลับมาเพราะมันรักรัง รักช่องมันต่างหาก  ตัวอย่างง่ายที่เห็นได้ชัดจากคำบอกเล่าของ Etiene de Vos เจ้าของยอดนก Kleine Didi  ในกรงที่มันอยู่นั้น มีเพื่อนร่วมห้องอยู่ตัวเดียวเท่านั้น และ มันเกลียดเจ้าหมอนี้มากๆ   ตัวหนึ่งต้องล็อกไว้ในช่อง  อีกตัวถึงปล่อยออกมาได้  ถ้าเจอกันเมื่อไร เป็นเละ วันที่แข่งจุด ประจำชาติที่สำคัญจุดหนึ่ง   Etiene ก็โชว์ตัวเมียให้เจ้า Didi เห็น ก่อนลงตะกร้า มันกลับมาวันนั้นได้ที่ 1 National กลับมาด้วยความเร็ว เหมือนมีปีศาจไล่กวดหลังมันมาก็ว่าได้   Etiene ประหลาดใจมากเพราะแทนที่มันจะเข้ามาที่ช่องมันเพื่อหาตัวเมีย  มันกลับตรงไปที่ช่องไอ้ตัวผู้อีกตัว  มันตรงเข้าไปจิกที่คอ ลาก อัดตีเจ้าหมอนั้น  แทนที่จะกลับช่องหาตัวเมียของมันเพื่อความรัก ความมันส์

ลูกนก
การฝึกลูกนกให้ “เชื่อง” นั้นกรงควรที่จะต้องเล็ก นกมีพื้นที่เคลื่อนตัวได้น้อย กรงเล็กๆ ดีสำหรับการเลี้ยง การฝึกนก เพราะมันจะห่วงพื้นที่อาณาเขตของมัน 

อย่ามองข้ามนกตัวเมียที่เข้าคู่เลสเบี้ยนกัน  ยิ่งถ้ามันไข่แล้วละก็มันจะหวงไข่มาก  บางตัวมันกันคู่ของมันมากกกไข่ แย่งกันกก ก็มี   นกพวกนี้เอาไปแข่งเก่งมีเยอะแล้วครับ

กรงนก HvR , Dr.Linssen
ย้อนกลับมาที่กรงนกอีกครั้ง  บางคนพอเลี้ยงนกดี ประสบความสำเร็จ  ก็ขยายกรง สร้างใหม่ ซะใหญ่โต หรูหราแต่ผลของมันกลับไม่ดีเท่ากับกรงเล็กๆ หรือ กรงเก่าเลย  ตัวอย่างหนึ่งก็ Huyskens Van Riel (HvR)  ช่วงปี 1950 นั้น นกเขาเก่งมาก ชนะเงินรางวัลเพียบ เขาก็เลยสร้างกรงใหม่ ใหญ่สวยหรูกว่าเดิม แต่ผลนั้นน่าผิดหวัง  นกไม่ได้ต้องการกรงที่สวยหรู แต่ นกต้องการกรงที่สร้างได้ถูกหลัก อยู่แล้วอบอุ่น มีสุขภาพที่ดี  ป้องกันความเย็น ความหนาว
 
 
 
 
จับจิต และ หน้าร้อนก็ไม่ร้อนเกินไป   HvRนั้นเล่นนกของ Jos van den Bosch (JvdB) ผ่าเข้ากับนกของเขา   นกเหล่า JvdB นี้มีสายของ Halve Fabry  ของ Janssen Brothers   และ ไอ้เจ้านกคู่ทองของ Karel Meulemans นั่นละครับ  เจ้าตัวผู้ก็มีสาย JvdB ที่ว่าไว้ข้างตนละครับ   

อีกตัวอย่างของ Dr.Linssens (LS) หมอซึ่งดูแล Klak ซึ่งต่อมา Klak ก็ได้ให้นกแก LS เพื่อเป็นของขวัญ ทั้งคู่ก็พัฒนาเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน  แต่ผลการแข่งขันของ LS  ไม่ดี  ซึ่งพวกเขาก็คิดไม่ออกว่าทำไม  นกมันไม่น่าจะแย่ขนาดนั้น  กรงอื่นแถวบ้านเขาก็ดีกัน  ซึ่งKlak สังเกตุเห็นว่าข้างกรงมีต้นไม่ขนาดใหญ่และเงาของมันนั้นพาดผ่านมาคลุมที่กรง  ซึ่ง Klak ให้คำแนะนำว่า ถ้าไม่ตัดต้นไม้ทิ้งซะ  ก็ให้เคลื่อนย้ายกรงให้พ้นเงาไม้นี้   LS ตัดสินใจเคลื่อนย้ายกรงไปสัก 30 เมตรได้   ผลการแข่งขันหลังจากนั้นดีอย่างเหลือเชื่อ  ก็เป็นเรื่องที่ไม่ใช่กรงเป็นเหตูแต่สภาพแวดล้อมเป็นเหตุครับ   ที่เมืองนอกนั้นการตัดต้นไม้อย่างเยอรมัน  ต้นไม้ตามทาง  หรือ ในสวนต้นใหญ่จะตัดต้องขอทางการเป็นเรื่องเป็นราวก่อนนะครับ  ขืนตัดแล้วเขาจับได้  ถูกปรับบาน  จะมาบอกว่าอยู่ในสวนคุณก็ไม่ได้  เขารักษ์ธรรมชาติ  รักษ์สิ่งแวดล้อม

ฮอร์โมน
นกพิราบเรานั้นพัฒนามาจากนกเขาป่า Wild doves ซึ่งธรรมชาติของมันนั้นทำรังอยู่ตามตามหินผา เป็นโพรง ดังนั้นธรรมชาติของมันชอบที่จะทำรังในความมืด   Klak, Janssen นั้นรู้ถึงธรรมชาติของนกในข้อนี้ดี ดังนั้นจึงทำช่องที่ค่อนขับมืด ทึบหน่อย 

เรื่องแสง และ ความมืด  โดยเฉพาะการแข่งขันลูกนกที่เมืองนอกในยุโรปปัจจุบันจะใช้ระบบความมืด Darkening system ด้วยเหตุผลสองอย่างคือ
1 ควบคุมการถ่ายขน
2 สร้างฟอร์มนก เพราะ 3 อาทิตย์หลังได้รับแสงปรกตินกมันจะมีสภาพที่ดีมาก



 
 
 
ระบบนี้บางกรงก็ใช้กับนกแก่เช่นกัน หลอกมันได้  นกมันไม่รู้จักปฎิทินหรอกมันรู้จักธรรมชาติของแสงแดดดี   ที่เมืองนอกนั้นเห็นได้ชัดหน้าหนาว  วันที่มีแดดน้อยมาก นกมันจะไม่เข้าคู่ ไม่คึกมากนัก  แต่พออากาศดี  แดดดี
วันยาวขึ้น  เห็นชัดว่ามันสดชื่น แจ่มใส ก็เริ่มคึก อยากเข้าคู่ สร้างครอบครัว  มันเป็นเรื่องของฮอร์โมนในร่างกายครับ

ส่วนรูปภาพที่ด้านล่างก็เป็นภาพของ Huysken van Riel และ นกของเขา
 
การอาบน้ำ

มันเป็นตัววัดอย่างหนึ่งว่านกนั้นอยู่ในฟอร์มหรือไม่  นกป่วยจะไม่อาบน้ำ นกไม่ชอบน้ำร้อนเหมือนคน  มันชอบเล่นน้ำฝน ผมจำได้ดี พี่โตก็เคยบอกผม และ ตอนผมไปไต้หวัน 12 ปีก่อน  ก็เห็นพี่โตอาบน้ำนกด้วยถาดอาบน้ำ พร้อมฉีดน้ำเป็นละอองเหมือนฝนให้นกเช่นกัน  นกถ้าแสดงอาการอาบน้ำแล้วละก็ควรจัดการให้มันอาบซะ  ไม่ควรอาบน้ำตอนเย็นเพราะตัวนกอาจจะแห้งไม่ทัน ขนชื้นแฉะย่อมไม่ดีกับนก ฟอร์มอาจตก ถึงป่วยนิดๆได้



 
 
 
 
 
 
 
 
Lier Market

ผมจำบรรยากาศที่ตลาดนกที่เมือง Lier ได้จนถึงทุกวันนี้   วันนั้นผมขับรถจากเยอรมัน พาภรรยา และ ลูกชาย Francis ไป  ออกแต่เช้า  พอถึงมันน่าทึ่งมากเพราะลานกว้างมากหน้าโบสถ์เต็มไปด้วยคนเลี้ยงนกจากทั่วยุโรปมาเพียบ  คนขายนก ขายอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงนก   ตลาดนี้จะขายช่วงฤดูใบไม้ผลิ และ เฉพาะวันอาทิตย์เท่านั้น  เฉลี่ยนกขาย 5000 ตัวต่อวัน   ส่วนใหญ่อายุประมาณ 4 สัปดาห์  ราคาก็อยู่ประมาณ 10 – 40 ยูโร  นกที่ขายที่นี่หลายๆคนก็เอาไปเก่งก็มี  ดังนั้นจะบอกว่านกถูกๆที่นี่ไม่เก่งนั้นไม่ได้   ผมเคยอ่านนิตยสารนกเจอนกที่สำเร็จมาจากตลาด Lier นี่ละครับ

Quievrain

Quievrain เป็นจุดแข่งที่มีชื่อเสียงมากของเบลเยี่ยม อยู่ใกล้พรมแดนฝรั่งเศส  กล่าวได้ว่า 80% ของนักเลี้ยงนกเบลเยี่ยมแข่งจุดนี้แม้จะเป็นจุดแข่งระะสั้นมากระยะ 60 กม.จากจุดศูนย์กลางของประเทศ  ช่วงเดือนมิถุนายนจะมีลูกนกปล่อยจากจุดนี้ประมาณ 200,000 ตัว ลองนึกดูถึงเสียงร้องคู กรุกกรู ของนกก่อนปล่อย ว่ามันเพราะขนาดไหน  ภาพนกปล่อย   ท้องฟ้าที่มืดเหมือนสุริยุปราคา ไม่ถึงนาทีหลังปล่อยพอนกไปก็ทิ้งขนนกไว้เหมือนพรมเต็มพื้นไปหมด   แต่เสียงเงียบสงัดหลังจากนั้นซิมันน่ากลัวเหลือเกิน  เพราะก่อนหน้าเสียงนกร้อง  เสียงที่มันบินออกไปมันก้อง มันประทับใจมาก แล้วก็เงียบสงัด



 
 
 
 
 
Finished or not?
หลายคนย่อมประสบกับการที่นกตัวเองหายไปตอนแข่ง  บ้างก็กลับแต่ข้ามวัน หลายวัน หลายอาทิตย์ หรือ มากกว่านั้น  แต่ที่จะพูดถึงนั้นคือสภาพนกที่กลับมามันดีขนาดไหนกัน  หลายคนเลี้ยงไม่นานก็ฟื้น  บ้างคนเป็นอาทิตย์  บางตัวเลี้ยงยังไงก็ไม่ขึ้นก็จบ   หลายคนคงถามตนเองว่า เมื่อไรมันถึงจะแข่งได้อีก  นกบางตัวดูเหมือนฟื้นเร็วแต่ก็เห็นแค่ภายนอก  ข้างในอาจจะยังไม่พร้อมก็ได้  มันมีสัญญานบอกได้บ้างดังนี้
1 ดูที่ตา  ถ้ามันกลับมาเปร่งปรั่งเป็นประกายก็โอเค 
2 น้ำหนักนก  ถ้ายังไม่คืนกลับมาดังเดิม  ตัวเบา  ก็ยังไม่น่าแข่ง 
3 เนื้อตัวสีชมพูสวยๆก็แสดงว่าดีขึ้นแล้ว  อาจพร้อมแข่งได้
 
เรื่องของไข่

•   ไข่ที่ออกมาส่ดๆ นั้น สามารถเก็บได้ถึง 1 อาทิตย์ แต่ คุณต้องพลิกไข่ทุกวัน  ถ้ามันเริ่มกกแล้วแม้แต่วันเดียวเก็บได้ไม่ถึงอาทิตย์ครับ เพราะเอมบรีโอในไข่นั้นเริ่มตั้งต้นแล้ว และ ถ้าไม่ได้กกนานก็ตาย
•   ถ้าไข่ไม่สด  มันก็ยังเคลื่อนย้ายได้ ถ้าคุณเก็บรักษามันไว้อุ่นพอ  ที่เมืองนอกอากาศเย็นเขาต้องระวังเรื่องนี้มาก   เมื่อต้นปีไปที่กรง Marc Pollin ก็เห็นเขามีตู้อบฟักไข่ เพราะอากาศตอนนั้นหนาวมาก ติดลบ20 องศาเซลเซียส  เขากลัวไข่จะไม่เป็นตัว   คนที่เคลื่อนย้ายบางคนก็ใช้ถุงน้ำร้อนหุ้มภาชนะบรรจุไข่อีกทีก็มีเยอะครับ

หลายคนสังเกตเห็นว่าตอนนี้เป็นอะไรที่รวมมิตร เกาเหลาหน่อย  มีสารพัดเรื่อง สารพัดหัวข้อ ก็ดีที่สั้นๆ ง่ายๆ เรื่องรูปภาพเนื่องจากตอนนี้ผมยังอยู่ที่ไซง่อน เวียตนาม  กลับไปที่เมืองไทยแล้วจะหาภาพมาประกอบให้ครับ  ตอนที่ 25 ก็เป็นเรื่อง The story of Twins ก็มาดูกันว่าฝาแฝดนั้นมันเกี่ยวอะไรกับตอนนี้ครับ
 
 
 
 
ตอนที่ 25 ก็เป็นเรื่อง The story of Twins

มาเวียตนามทีไร ได้เจอเพื่อนเกลอเก่าๆ แล้วมีความสุขมาก  สายตา และ นิสัยที่เราเห็นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย มิตรไมตรีที่ดีมีให้กัน  สำหรับเพื่อนต่างแดนนั้น  เป็นอะไรที่ซึ้งใจมาก    มาทุกทีก็จะนัดพบเจอกัน กับกลุ่มนั้นบ้าง กลุ่มนี้บ้าง  คราวนี้ดีหน่อยมาหลายวัน ก็พอปลีกเวลาได้บ้าง 

Pedigrees
AD เป็นคนที่ไม่ค่อยที่จะให้ความสำคัญกับเพดดีกรีมากเท่าไรนัก  ที่ทำก็เพราะลูกค้าต้องการมาก  เขาซื้อนก หานกเข้ากรงก็จะเอาที่ผลงานเป็นเกณฑ์  เขาเคยบอกว่า เพดดีกรีนั้นจริงๆแล้วไม่ควรผลิตขึ้นมาเลย  เจอคนดีก็ดีไป บางคนก็โม้สรรพคุณไว้ซะมาก  นกมีพ่อแม่จริงตามที่เขียนหรือเปล่าก็ไม่รู้  จะซื้อนกนะเราเชื่อใจเขาได้มากขนาดไหน

First Pick
ADนั้นไม่มีเวลามากนัก  อดีตเป็นครู ต่อมาภายหลังถึงผันตัวเองเป็นนักเขียนเกี่ยวกับเป็นอาชีพ  เขาเขียนให้กับนิตยสารหลายฉบับ หลายภาษา   เขาจึงแข่งได้แค่นกแก่ตั้งแต่ปี 1999  ลูกนกเขาเพาะขึ้นมา ก็มีไปให้เพื่อนเขาซึ่งอยู่อีกจังหวัด แต่ ที่นั่นการแข่งขันนั้นสูงมาก คนเก่งเยอะ เขาแข่งได้ดีมาก แต่โชคไม่ดีตายในปี 2006 ปัญหาก็มีอยู่ว่า AD เตรียมลูกนกให้เขา 40 ตัวเหมือนเคย  เขาตายไปแล้ว  AD ก็เลยตัดสินใจขายลูกนกไป 20 ตัว   คนซื้อต้องการเห็นเพดดีกรีมาก  ADก็ทำให้  หมอนี่มาดูแต่เพดดีกรีนานมาก  เลือกนกจากกระดาษเป็นหลัก และเอาไป 20 ตัว  ที่เหลือ AD ก็เอานกไปให้เพื่อนที่เบลเยี่ยม Mr.Maegh นกอายุ 4 อาทิตย์  เขาแข่งในพื้นที่ที่การแข่งนกนั้นเขี้ยวมากๆ   เขาถามADว่า สายพันธุ์มันดีหรือเปล่า แน่นอนว่าดีแน่  AD บอกว่า “นกเขานะมาจากสายพันธุ์ที่ดีแน่ แต่มันจะแข่งดีหรือเปล่านั้นไม่รู้  มันอาจจะไม่ดี  แต่ก็ไม่เลวแน่  พวกมันถูกคัดไป 20 ตัว แต่ไม่ต้องห่วงที่เหลืออยู่นั้นมีคุณภาพดีพอ”



 
 
ตอนแข่งนั้นช่วงแรกๆ ไม่ค่อยดีเอาซะเลย  อากาศไม่ดี  AD เลยแนะนำให้เก็บนกไว้ไม่ต้องแข่งสัก 2 อาทิตย์ คนที่นั่นต่างก็หัวเราะ ปนเย้ยนิดๆ ว่า “นกฮอลแลนด์กลัวที่จะแข่งตั้งแต่ต้นฤดูแล้วหรือ?” 

พอนกเริ่มแข่งได้  ผลงานนั้นดีวันดีคืน  จุดที่ 4 AD ก็เลยไปกับเพื่อนเพื่อไปเฝ้านกกลับ  เมื่อไปถึงเขาตกใจเพราะมีนักเลี้ยงนกมาร่วมเฝ้าที่ลานกันมากก็งงว่าเกิดอะไรขึ้น  ไม่นานพอนกกลับก็รู้ว่า คนที่นั่นเห็นผลงานของเจ้า 019 และ 020 บินดีมาตลอด  ก็ติดตาม   จุดที่ 5 มันก็ทำได้อีกครั้งนี้มันชนะ ที่ 1 และ ที่ 2 ในเขต และ ที่ 2 และ ที่ 6 แบบเปิดของสมาพันธ์   “มันนกอะไรกันนี่?” พวกคนเบลเยี่ยมต่างพูดถึง และ ถาม AD  ADบอกได้เพียงว่า ผมจะเช็ค  ว่าแล้วก็โดดขึ้นรถ  สิ่งเดียวที่จำได้สำหรับนกพวกนี้ก็คือ  เขาเพาะมันขึ้นมาเอง พ่อแม่จำไม่ได้ ต้องไปค้นดู

ผิดหรือถูก
สิ่งแรกที่ทำเมื่อกลับมาถึงก็คือ เปิดสมุดเข้าคู่นกหาพ่อแม่ของ 019 และ 020 มันเป็นนกที่เกิดจากทีมนกแข่งแต่พ่อแม่นกไม่อยู่ที่กรง ไปไหนแล้ว?  นึกอยู่นานก็จำได้ว่าโละไปให้คนเลี้ยงเป็ดไก่ไปแล้ว ซึ่งเขาเคยถึงกับสาบานว่าจะไม่โละนกออกจนกว่าจะเห็นผลงานของลูกๆมัน  ความผิดพลาดก็เกิดขึ้นอีกจนได้

บ่นไปบ่นมา  เมียเขาก็บอกว่า ไปหาเขาซิ เพื่อว่านกพ่อแม่มันยังอยู่  ตอนแรกเขาคิดว่า เมียเขานั้นหวังอะไรมากไปเพราะป่านนี้มันน่าจะไปเกิดใหม่นานแล้ว   แต่ AD ก็ไปครับ และ พบว่าพ่อแม่มันยังอยู่   เขาดีใจมาก และ ขอบคุณที่เพื่อนของเขายังไม่ได้ส่งไปภัตตาคาร

Mr.Maegh ดีใจมากรวมถึงเพื่อนเขาด้วยเพราะพวกเขาขอซื้อ น้องๆ ของมัน โชคไม่ดีไข่ครอก 1และ 2 แตกเพราะนกเข้าไปตีกัน  ครอก 3 OK  ADบอกกับพวกเขาว่าไม่ต้องห่วงหรอก  ได้นกแน่แต่โอกาสจะดีเหมือน 019และ 020 นั้นอาจเป็นศูนย์ก็ได้  ใครจะไปรู้

หมดสายเพื่อนของAD Mr.Maegh  ก็เรียกเขาไปดูนก และคัดนกเพื่อแข่งปีหน้า  ซึ่งADรับปากว่าจะไปแต่ เพื่อนของ
 
 
 
 
เขาต้องเขียนผลการแข่งขันของนกทั้งหมดเตรียมให้พร้อมก่อน  นก 16 ตัวที่เหลือนั้น  AD คัดออก 6 ตัว  Mr.Maegh เพื่อนของเขาถามว่า “ AD นายจะไม่ดูนก ดูสายพันธุ์มันก่อนเลยหรือ? “ 
AD ตอบว่า “ไม่ต้อง เก็บพวกที่ดี แข่งเก่งไว้ก็พอแล้ว  ที่เหลือคัดทิ้ง” 
Mr.Maegh   ตอบกลับว่า “อย่างนี้ เรามีปัญหาแน่ เพราะ 9 ใน 10 ตัวที่นายคัดเก็บไว้มันเป็นตัวเมียหมดเลย”   
AD ก็ตอบกลับว่า “แล้วไง ปี2007 เราก็แข่งแต่ตัวเมียซิ  แล้วจับมันล่อคู่กับลูกนกตัวผู้” 
Mr.Maegh งงและย้ำว่า “ แข่งตัวเมียเท่านั้น!!!”   
ADให้เหตุผลว่า “ก็นกที่พิสูจน์ผลงานการแข่งขันมีแต่ตัวเมีย ก็แข่งมันซิ” 
Mr.Maegh ไม่มั่นใจนัก ก็ถามว่า “ADนายแน่ใจเหรอว่าพวกสาวๆจะแข่งชนะพวกนกหม้ายตัวผู้ได้?”
AD “ แล้วคอยดูกัน  พวกสาวๆ ไม่เพียงแต่แข่งกับพวกนกตัวผู้ แต่ จะชนะพวกมันอีกด้วยซ้ำ”

ปี 2007 นกสาวๆพวกนี้ทำผลงานได้ดีมากๆ เล่นเอานกหนุ่ม นกแก่ตัวผู้ เสียฟอร์มกันเยอะ   Mr.Maegh เองก็ดีใจ รวมถึง AD ก็เช่นกัน   เจ้านกแฝดพี่น้อง 019 และ 020 มันแน่มาก  ตอนต่อไป ตอนที่ 26 Useful or Useless อะไรเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นก็มาดูกัน



ตอนที่ 26 Useful or Useless?

สุขภาพที่ดีย่อมมาก่อน การตบแต่ง ศัลยกรรม ให้สวยงาม   เรารักษาดูแลตัวเรา นกเราให้ดี มีสุขภาพที่ดีย่อมจะดีกว่าที่จะไปคอยหาพวกยาดี หมอดี  ใช่ไหมครับ   โฆษณาก็เป็นอะไรที่ทำมีส่วนมากๆที่ทำให้คนอ่านนั้นเชื่อ และ ซื้อของ ซื้อนก ซื้อสินค้าเขา   ยังไงก็เอาเรื่องสุขภาพที่ดีเป็นเกณฑ์หลักที่สำคัญไว้ก่อนครับ   

กีฬานกเรานั้นบ่อยครั้งที่เราเห็นคนชนะก็ชนะอยู่เป็นประจำ (ถ้าเก่งจริงด้วยฝีปีกนก)  คนจำนวนมากก็สงสัยว่า คนเก่งเหล่านี้มีอาวุธลับ สูตรลับ มากกว่าที่จะมีนกดี  มียาวิเศษแน่  เรื่องที่คนคิดแบบนี้มีมานานตั้งแต่มีกีฬานกแข่ง   พวกแชมป์เขารู้ดีว่าเขาเลี้ยง เขาดูแลนกอย่างไร  โฆษณาสรรพคุณต่างๆนั้นไม่ได้ช่วยอะไร  พวกเขาแหละที่เลี้ยงนกดี และ  ชนะแล้ว ชนะอีก  ADบอกว่าเวลาไปร้านนกเห็นคนซื้อของตามโฆษณาชวนเชื่อนี้ ก็อดเสียใจไม่ได้  เสียเงินเปล่าๆ   นกนะมันต้องการของที่จำเป็นธรรมดาๆ ธรรมชาติ เท่านั้นเช่น 

Grit หินกริต

มันเป็นแคลเชี่ยม และ แร่ธาตุที่สำคัญที่สุดสำหรับนก รองจากอาหารนก มันจำเป็นสำหรับการเสริมสร้างกระดูก และ นกใช้มันช่วยย่อย  ที่เยอรมันเคยมีหมอทดลองไม่ให้นกกินหินกริตครึ่งปี  น้ำหนักมันตกลงมาก  และ เมื่อให้มันกินต่อมาเห็นได้ชัดว่าน้ำหนักมันเพิ่มขึ้น  นกมันรู้ดีว่ามันต้องการหินพวกนี้

ถ้าสังเกตให้ดีนกที่กลับจากการแข่งที่ยากๆ  ถ้าตั้งกริต และ ตั้งอาหารกินปรกติ  นกมันจะเลือกกินหินกริตก่อน  หินพวกนี้ต้อง ใหม่ สด นะครับ   ถ้ากริตสำคัญมากๆ สำหรับนก หลายคนสงสัยว่าทำให้พวกบริษัทผู้ขายไม่ค่อยที่จะโฆษณากันมากนัก  เหตุผลง่ายๆ ก็คือมันหนัก และ ราคาถูกครับ ทำแล้วไม่ได้กำไรอะไรนัก



 
 
Beer Yeast


นี่ก็สำคัญทั้งกับคนและนก  มันทำให้อยากอาหาร และ  เลือดลมเดินดี  เมืองนอกบางคนให้ทั้งปี  มีทั้งผงและแบบน้ำ ส่วนใหญ่ใช้คลุกข้าวนก   ที่ CP Shanghai ผมก็เห็นคุณสมบัติ กับ คุณบีให้นกกิน

Vinegar

น้ำส้มสายชูนี่ก็ดีกับทั้งคนและนกเช่นกัน  มันยังช่วยต้านการเติบโตของแบคทีเรีย Coli  ส่วนใหญ่ใช้ผสมน้ำให้นกกิน ที่ยุโรปใช้กันมาตั้งแต่กลางยุค 90 แล้วครับ   บางคนให้ทุกวัน บางคนให้ 1 ช้อนต่อน้ำ 1 ลิตร

การอาบน้ำ

อาบยิ่งบ่อยยิ่งดีครับ  แนะนำให้ใส่ Vinegar  และ เกลือ ลงไปด้วย เรื่องนี้ผมเองก็ได้รับความรู้มาเป็นสูตรยุโรปที่ใช้กัน  ไอ้ผงอาบน้ำนกที่ขายกันก็ใช้ได้ แต่ มันเปลืองเงินเปล่าๆ   ยิ่งช่วงถ่ายขนนกละก็อาบบ่อยๆ จะดี    ก็อย่าอาบตอนเย็นๆ นกมันแห้งไม่ทัน  ฟอร์มตกได้ครับ




 
 
 
 
 
 
อีเลคโตรไลท์ ถั่วลิสง วิตามิน

อีเลคโตรไลท์มีประโยชน์กับนกมาก เพราะนกใช้พลังงาน และ สูญเสียน้ำในร่างกายมาก

ถั่วลิสงก็เป็นอะไรที่ดี นกชอบ และ เชื่องง่าย  ใช้ฝึกนกก็ดี   วิตามินกลับไม่จำเป็นมากนัก   ถ้าคุณแข่งดีอยู่เพราะวิตามินก็ให้ต่อไป  หมอว่าอาทิตย์ละครั้งก็มากแล้ว  ถ้าให้ก็ให้พวกวิตามินรวม  และ ก็ระวังหน่อยเพราะวิตามินนั้นเสียเร็ว  ให้นกกินแล้ว ไม่มีชั่วโมงก็ต้องรีบเปลี่ยน

สื่อ

ปัจจุบันเป็นเรื่องของการโฆษณาก็มาก  จะอ่านก็ควรอ่านพวกที่ให้ความรู้กันจริงๆ   โฆษณาชวนเชื่อ ขู่ถ้าไม่ใช้แข่งไม่ดีก็มี


 
 
 
 
 
 
 
 
 

ตอนที่  27 Wrong Choice

ตอนที่ 27 และ 28 นั้นเป็นอะไรที่ส่วนตัวของนายAD เกี่ยวกับเวลาและนก ผมคิดอยู่หลายครั้งคิดว่าเขียนดีไหมก็สรุปกับตัวเองว่าคงไม่เขียนละเอียดเหมือนตอนอื่นนัก   เพราะดูแล้วไม่มีประโยชน์อะไรมาก ก็สรุปย่อๆว่าเป็นอะไรที่นาย AD บ่นว่า วันหนึ่งๆ นั้นเขามีคนทั้งโทร ทั้งส่งจดหมาย อีเมล์มาหามาก  ก็ใช้เวลาไปกับพวกนี้เยอะ  การที่เป็นคนมีชื่อเสียง และ เขียนบทความดี ก็มีคนติดตามและติดต่อ ขอความคิดเห็น ขอการสนับสนุน  ขอความช่วยเหลือ ก็มาก  เขายกตัวอย่างในวันหนึ่งที่มีแขกมาเยี่ยมและบอกว่าเขายุ่งขนาดไหน  ก็ให้เห็นกันเป็นทีละชั่วโมงเลยครับ  ว่าแต่ละ ชม. มีอะไรเข้ามาบ้าง  ก็มีทั้งโทรศัพท์จากคนทั่วโลก  มีจดหมาย อีเมล์เพียบ

เดิมเป็นครู   ตอนนี้เป็นนักเขียนคอลัมน์ในนิตยสารนก    Ad เคยบอกว่าถ้ามีลูก มีหลาน อย่าให้มาเขียน  หรือ เลือกเกิดใหม่ เรียนเป็นพวกหมอผลิตยานกขายดีกว่า J


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 28 Breeder do exist
ตอนนี้ก็เหมือนกัน ผมไม่เขียนมากเพราะเขาเล่าถึงนกเก่งของเขาหลายตัวและพวกมันก็ให้ลูก หลานเก่ง ทั้งที่กรงเขาและ กรงคนอื่น  อย่างเช่น Verkerk , De Bruyn, van Noordene

นกเก่งของ Ad ที่มีชื่อก็มี Ace Four 96-5660145 นกตัวนี้บินที่ 1 หลายครั้ง พี่น้องมันก็เก่งหลายตัว  ลูกหลานมันก็เก่งมาก ก็เอาPedigree ของเจ้า Ace Four และ ลูกของมัน และลูกของ 144 มาให้ดูเป็น้ำจิ้ม  ก็ไม่เขียนเยอะเอาเป็นว่านกของเขาเก่งๆ มีหลายๆ ตัว  คนที่เอาไปเล่นเก่งมากๆ ก็เยอะ ก็แล้วกัน

นกเก่งของ Ad
Ace Pigeons
To introduce all the Ace pigeons which Ad Schaerlaeckens had in recent years would be too many. We restrict ourselves to those in Combine and M Brabant.
M Brabant means COMBINES TOGETHER, about 2,000 fanciers in 1990, now less.
Average 11,000 birds in the races.

89-5981411
Won 2 firsts in M Brabant. Was 1st Ace M Brabant too. She was a gr.daughter of 'Good Yearling'.

90-2657275
1st Ace pigeon M Brabant. Daughter 'Fast Blue'


 
 
 

91-5085042
1st Ace Combine, gr.son of 'Fast Blue'

93-1059867
1st Ace Combine. Father 'Fast Blue' and her mother is 'Esmarald'.

93-1059875 'Wounded Knee'   
2nd Ace Combine, 3rd Ace M Brabant. Son of 'Esmarald'. 'Wounded Knee' is father of 98-1326882 which was 1st Ace M Brabant in 2000.

94-5572872 'Wondere Janssen'   
1st Ace Combine, 2nd Ace M Brabant. Mother of 'Wondere Janssen' is 'Hollands Best' which was best youngster of Holland. 'Hollands Best' is inbred to 'Good Yearling'.

95-2067225
1st Ace Combine, 3rd Ace M Brabant. '225' is gr.daughter 'Sissi'.

95-5574642   
1st Ace M Brabant. He is a son of 'Superstar' (93-1059834) and 'car winner'.

96-5660145 "Ace Four"
1st Ace M Brabant before his sister (5660144). 96-5660145 is father of 98-5812162 which won several firsts including Creil M Br 13,203 p. 145 is grandson Sissi.



 
 
96-5660144
2nd Ace M Brabant beaten by her brother 145 in 1996. 1st Ace Combine.
In 1997 96-5660144 won in 4 weeks' time 3 first prizes. She is mother of 98-1326882 who was 1st Ace M Brabant in 2000. 5660144 is gr.daughter Sissi.

98-5812191 'Invincible'
1st Ace Combine 1999
1st Ace Combine 2000
2nd Ace Prov M Brabant 2000 (beaten by loft mate 98-1326882)
2nd National Ace NPO All Holland in 2000 (Middle Distance).
This bird is called 'Invincible' as with headwinds and hot weather he seemed to be unbeatable winning one 1st prize after the other.
He is a gr.son of 'Fast Blue' and a gr.son of 'Sissi' as well.

98-1326882
2nd Ace Combine and 1st Ace Prov M Brabant. Father is 'Wounded Knee' 93-1059875, mother is 96-5660144.

98-5812185   
1st Ace Combine, 2nd Ace Brabant 2000 (4,100 fanciers). Much inbred to 'Sissi'.
In 1996 Ad Schaerlaeckens had 1st, 2nd, 3rd, 4th, 5th, 6th Ace in Combine.
Never happened before or after.



 
 
On National level so All Holland:- Mr v d Zijde had 1st National Ace long distance, bloodline 'Sissi' and 'Superstar',
- both father and mother bred by Ad Schaerlaeckens.
- W de Bruyn had 1st Provincial Ace long distance, 5th National Ace, bloodline Sissi.
- Mr Leytens had 2nd World Champion Versele Laga long distance, bloodline Sissi.
- He also had 1st Olympiad bird Short distance, mother bred by Ad Schaerlaeckens.
- Mr Ulrich had 2nd and 3rd National Ace Middle Distance (bloodline 'Superstar') and
- Mr v d Zijde had 2nd National Ace youngsters, bloodline 'Superstar' as well.
- Mr Polhuis became National Champion All Holland (long distance) with
- Schaerlaeckensbirds.
- In 2001 Mr Swichtenberg became 1st National Champion ALL Germany fond
- with Schaerlaeckensbirds.
- Mr William Holland had 2nd National Ace Scotland with a Schaerlaeckensbird.
- Mr Eric Limbourg (Belgium) had Olympiadbird.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 29  Interview with Taiwanese Champion Mr.Lai

ตอนADเป็นเด็กนั้นคนเลี้ยงนกกันมาก   ตอนเป็นเด็กเรื่องยานั้นมีน้อยมาก และ เรื่องเซ็กส์ก็เป็นอะไรที่ยังเก็บเงียบไม่ค่อยพูดถึงกันมากเหมือนสมัยนี้   ตอนรุ่นเขาก็มีแต่ นกพิราบกับ ดนตรีร็อคแลนด์โรล

พวกคนเลี้ยงญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน นั้นไม่เคยได้ยิน  เวลาเปลี่ยนไป  ประเทศเอเชียเหล่านี้เป็นตลาดใหญ่มาก  นกดีถูกส่งไปที่พวกนี้มากมาย  ให้ราคาดีมากๆ ก็ทำให้พวกฝรั่งได้ที เห็นโอกาสฟันหัวแบะกันมานานหลายๆ สิบปีมาแล้ว   ราคานกก็แพงขึ้นมากๆ   

FORMOSA

เป็นชื่อในอดีตที่เรียกประเทศไต้หวัน โปรตุเกสเป็นประเทศที่ให้ชื่อนี้เมื่อปี 1596 ซึ่งหมายถึง เกาะสวยงาม  มีพื้นที่ 36000 ตารางกม. ก็เท่ากับประเทศสวิสเซอร์แลนด์  การแข่งนกที่นี่เรียกได้ว่าเป็นการพนันนกที่มากที่สุดในโลกก็ว่าได้  คนเลี้ยงที่นี่ไม่ธรรมดา มีทั้งหมอ นักธุรกิจ ทนายความ และ คนชั้นแรงงาน   

การแข่งนกที่นี่แข่งแต่ลูกนก  และ นกตัวนั้นๆ ก็แข่งได้ฤดูกาลเดียว มีการซ้อมที่หนัก คัดเวลาเข้ารอบ มาช้ามากต่ำกว่า 700 เมตรต่อนาทีตอนซ้อมจับเวลาก็ตกรอบ  แข่งกันทีมีเงินหลายสิบ หลายร้อยล้าน เป็นเดิมพันกัน  แข่งกันอาทิตย์ละ 2 วัน พุธกับอาทิตย์   บางทีก็แข่งอาทิตย์ละครั้ง     

นกที่นี่ซ้อมกันหนักมากๆ อายุไม่กี่เดือนก็ซ้อมกันแล้ว  หนักกว่าบ้านเราเยอะ   เนื่องจากเป็นการพนันที่มีเดิมพันสูงมาก  ก็มีพวกมาเฟียดักจับนกเรียกค่าไถ่  ค่าคุ้มครองก็มี   นักเลี้ยงนกที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งของไต้หวันคือ Mr.Lai Ming, Chivu   นายไหลใจดีมีวันหนึ่งอนุญาตให้ AD และ Ms.Maggie Ku  เข้าสัมภาษณ์ ก็ติดตามกันดูครับ  ว่าเขาจะแชร์ความรู้และประสบการณ์ ความคิดของเขากับเราอย่างไร
 
 
 
 
 
Q : คุณมีนกพันธุ์กี่คู่? คุณเข้าร่วมแข่งขันกี่ครั้งต่อปี? และแข่งด้วยนกกี่ตัว?
A:   ผมมีนกพันธุ์ประมาณ 90 คู่ ผมอยู่ที่เมืองไทจุง ตอนกลางของไต้หวัน แต่ผมแข่งนกทั่วประเทศ ผมเข้าแข่งประมาณ 20 ครั้งต่อปี และ แข่งด้วยนก 20 ตัวต่อการแข่งขัน

Q : คุณแข่งนกเป็นอาชีพ มันงานหนักมากที่ต้องฝึกนก และ ดูแลมัน   คุณมีผู้จัดการกรงหรือไม่? และ คุณดูนกคุณทุกวันหรือไม่?
A:   ผมไม่มีเวลาทำความสะอาดหรือซ้อมนก  ผมต้องเดินทางไปดู และ ตรวจดูสุขภาพของนก ผมมีคนช่วย 3 คน   ผจก. 1 คน และ คนเลี้ยง 2 คน  ปรกติผมจะไม่ค่อยรบกวนนก

Q :นักเลี้ยงนกยุโรปบางคนใช้วิธีไม่ค่อยทำความสะอาด (dry litter) กับการแข่งขันประเภทลูกนก  ผมไม่เห็นนักเลี้ยงนกที่ไต้หวันไม่ทำความสะอาดกรงเลย   มันเป็นเพราะความชื้นของอากาศในประเทศหรือเปล่า?
A:  ใช่ครับความชื้นในอากาศเป็นสาเหตุหลักที่เราต้องทำความสะอาด  เราทำอย่างน้อยก็ 2 ครั้งต่อวัน

Q : การแข่งขันลูกนกเป็นการแข่งที่เรียกได้ว่าเป็นเกมส์ในไต้หวัน   นกอายุเท่าไรถึงเริ่มฝึกครับ? ก่อนแข่งซ้อมมากขนาดไหน  ระยะไกลเท่าไร นกที่ซ้อมนั้นปล่อยรวมกันหมด หรือ ปล่อยทีละตัว  และ ช่วงแข่งยังซ้อมนกอีกหรือไม่?
A:   คลับ ชุงเชง ที่เมือง เกาซงเป็นคลับที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ พวกเราจะแข่งที่เรียกว่า Qualifying race (ซ้อมแข่งคัดตัวนกที่มีสิทธิเข้าแข่งจริง ถ้าซ้อมตกฝูงมากเช่นต่ำกว่า 700 เมตรต่อนาที ก็หมดสิทธิแข่งจริงครับ)  เราแข่งก็ตอนนกได้มีอายุ 105 วัน หลังจากนกได้ใส่ห่วง (ที่นี่ห่วงจะประกาศขาย ตามวันที่กำหนด ดังนั้นนักเลี้ยงนกจะเพาะนก และ จะกะวันที่ขายห่วงกับวันที่ใส่ห่วงได้ไล่ๆกันครับ) หลังจากคัดแล้วเราก็จะได้นกเพื่อแข่งจริง 7 อาทิตย์  ตอนช่วงหน้าร้อนเราซ้อมคัดนก ตอนอายุ 90 วัน  ซ้อมครั้งแรกระยะ 3-5 กม. เมื่อนกอายุได้ 60 วัน  ตอนซ้อมก็มีทั้งปล่อยรวมและเดี่ยว    เรามีพวกที่ชอบดักจับนก เราจึงมักซ้อมตามลม

Q : ที่ประเทศฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม เราเชี่ยวชาญการแข่งทั้งระยะใกล้ กลาง ไกล  คุณรู้ดีว่าลูกนกจะบินไม่ดีในระยะทางไกล  พวกเราก็มักถามตนเองว่า พวกคุณซื้อนกไกลพวกนี้ไปทำไม  สภาพแวดล้อมในไต้หวันนั้นแข่งก็ยากกว่าที่ยุโรป  ผมยังนึกอยู่ว่านกสปีดที่นี่เป็นอย่างไร
A:  ผมเองเป็นหนึ่งในน้อยคนนักที่แข่งทั่วไปรอบประเทศ ผมมีกรงหลายกรง อยู่ในหลายเมือง  ผมคิดว่านกสปีดนั้นดีเยี่ยม และเหมาะกับที่นี่ แม้ในวันที่การแข่งขันที่ยากมาก สำหรับผม ผมเลือกที่จะเอานกสั้นมาผ่าเข้ากับนกผม


 
 
 


 
 
Q : หนึ่งในพันธุ์หลักที่คุณเล่นอยู่เป็น นกสายคล๊าก Klak ที่เมืองจีนนกแจนเซ่นเป็นที่นิยมมาก ขณะที่ในยุโรปนั้นถือว่าล้าสมัย  ที่ไต้หวันเป็นอย่างไรครับ  นกที่ชนะกันในประเทศของคุณยังใช้แจนเซ่นเหมือนในอดีตที่ยุโรป หรือไม่ครับ?
A:  ที่ไต้หวัน แทบจะทุกกรงมีนกแจนเซ่น ดังนั้นมันก็ชนะได้อยู่ทุกที่

Q : นกเก่งของคุณมีรูปร่างอย่างไร  เล็ก ใหญ่ อินบรีด หรือ ผ่าเหล่า?
A:   ผมชอบนกขนาดกลาง และ ผมใช้ทั้งอินบรีด และ ผ่าเหล่า

Q : ผลการแข่งที่ดีที่สุดที่เคยทำได้  ได้เงินเท่าไร ถ้าไม่สะดวกที่จะบอกก็ไม่เป็นไรครับ?
A:   มีอยู่ครั้งหนึ่ง  นกเริ่มแข่งที่ 13000 ตัว แต่จุดสุดท้ายเหลือแข่งแค่ 170 ตัว   นกผมเหลือ 7 ตัว  ซึ่งมีเปอร์เซนต์ที่สูงที่สุด  ผมชนะประมาณ 3 ล้านยูโร 150 ล้านบาทครับ  ถ้าเป็นเงินก็ถือว่ามากแต่นี่ไม่ใช่ปีที่ดีที่สุดของผม  ผมเคยชนะ 5 ครั้งจาก 5 การแข่งขัน (เงินต้องมโหฬารแน่ถึงไม่ได้บอก)

Q : One loft race การแข่งขันแบบกรงรวมกรงเดียว เป็นที่นิยมกันมากในอเมริกา และ ปัจจุบันก็นิยมกันทั่วโลก  ผมแทบจะไม่ค่อยได้ยินมาก่อนเลยที่ไต้หวัน  มันมีการจัดแข่งที่นี่หรือไม่ และ คุณส่งนกเข้าร่วมแข่งที่ต่างประเทศหรือไม่?
A:  ที่ไต้หวันมีการจัดเหมือนกัน แต่น้อย  ผมไม่สนใจที่จะส่งนกแข่ง ก็มีหลายเหตุผล  แต่  หนึ่งในนั้นก็คือ ผมต้องการทำอะไรที่ผมควบคุมได้ 

Q : ที่ยุโรปตอนนี้ร้อนมากๆ  คุณคุ้นเคยกับอากาศแบบนี้ดี คุณมีวิธีอะไรที่ช่วยกำจัดการกระหายน้ำสำหรับนกได้?
A:   ถ้านกมีสุขภาพที่ดี อากาศร้อนไม่ใช่เรื่องใหญ่  ผมไม่ได้ให้อะไรเพิ่ม  ถ้าอากาศมันร้อนมากๆวันแข่งผมก็อัดน้ำเปล่าเข้าปากมัน

Q : ช่วงแข่งคนเลี้ยงที่ไต้หวัน และ คุณให้ยามากไหมครับ?
A:   คนที่นี่ให้มากจริงๆ แต่สำหรับผม ไม่ครับ  นกพันธุ์และนกแข่งผมให้วิตามินอาทิตย์ละหน  ถ้านกบินเกิน 3 ชม. ผมจะให้อีเลคโตรไลท์ และ โปรตีน


 
 
 
 



Q : หลายปีที่ผ่านมา ที่ยุโรป เจอปัญหาเรื่องโรค Adeno/coli  ที่ไต้หวันเป็นอย่างไรบ้าง?
A:   ที่ไต้หวันก็เจอเหมือนกัน ถ้าคุณอดอาหารนกสัก 3 วัน และ ให้ยาที่ถูกต้อง  นกก็ฟื้นเร็วครับ

Q : พวกคุณทำทุกอย่างเพื่อให้นกอยู่สภาพดีที่สุด  ปัจจุบันคนเลี้ยงให้สารพัด ทั้งในน้ำ หรือ คลุกข้าว ให้นกกิน   คุณคิดว่าอะไรดี และ ให้อะไรครับ
A:   สิ่งที่ดีที่สุดคือการพักผ่อนครับ

Q : นกตัวไหนที่ประทับใจ และ ประสบความสำเร็จมากที่สุด
A:   นกที่ดีที่สุดของผมก็มี
B 79 5187486 x B 78 5161129 เป็นพวก แจน กรองเดอแลร์
NL 82 1325105   Klak 05
B 84 6698864 Kleine Rode Walter De Rijck
T 82 18010  Desmet Matthys เจ้านกตัวนี้แข่งที่กรง ตอนจบได้ที่ 3  และ ไอ้นกตัวนี้นะตอนแข่งจบมันเป็นหนึ่งในนก 4 ตัวที่ผมต้องการขาย  และ มันตัวเดียวที่ไม่มีใครสนใจเอา  ต่อมาภายหลังตอนที่นกผมโดนขโมย เจ้าขโมยก็เหลือนกไม่กี่ตัว  นกตัวนี้ก็ยังอยู่ในกรง  ผมไม่มีทางเลือกมากนัก ก็ต้องเพาะลูกมันมาแข่ง  คุณเชื่อไหมว่า ลูกหลานมันเก่งมากๆ  ตอนนี้เล่นถึงชั้นที่ 10 แล้ว 

ก็จบตอนที่ 29 แล้วครับ   ตอนที่ 30 เป็นเรื่อง Country boy in the big city 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 30 เรื่อง Country boy in the big city  

เรื่องนี้ก็เป็นตอนที่ นาย AD ได้รับเกียรติให้ไปเป็นวิทยากรให้กับสมาชิกในเขตเมืองอัมสเตอร์ดัม  เป็นเมืองที่สวยงามเมืองหนึ่งซึ่งผมเองได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนมาหลายครั้ง  จำได้ว่าครั้งแรกในปี 1993 จากนั้นมาก็มีโอกาสขับรถไปเที่ยวจากเยอรมันก็ไม่ได้ยากอะไร    อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของฮอลแลนด์ มีสีสันบรรยากาศที่สวยงาม ตึกราบ้านช่องนั้นโชคดีที่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ได้ถูกทำลายไปมากนัก  มีคลองมากมาย นั่งเรือกระจกเที่ยวก็จะได้ชมทิวทัศน์ที่งดงามมาก    เมืองนี้ก็อันตรายหน่อยเพราะการสูบกัญชา ยาเสพติดบางจำพวกถือว่าถูกกฎหมาย  จะว่าไปประเทศเขาก็ฉลาดเพราะเปิดให้ที่เมืองนี้ พื้นที่ที่จำกัดนี้เท่านั้น ดังนั้น พวกอาชญากรรม ล้วงกระเป๋า  จี้ปล้น  เซ็กส์ ก็มักจะรวมหัวกันอยู่ที่นี่ เป็นเรื่องธรรมดาของเมืองใหญ่  จอดรถที่นี่ก็ต้องระวัง  ดีที่สุดคือจอดในสถานที่ที่เขารับจอดรถดีๆ ตามถนนเสี่ยงโดนทุกกระจก เมืองนี้มีคนเลี้ยงนกเยอะเหมือนกัน  และเมืองนี้บ้าฟุตบอลอยู่ทีมเดียวคือ Ajax Amsterdam ไปเมืองนี้อย่าไปเชียร์ทีมอื่นเชียวนะ เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง   คนที่นี่เรียกคนต่างถิ่นว่า Country Boy
นาย AD เรานั้นไปเพื่อแบ่งปันความรู้กับคนเลี้ยงนกที่นั่น  พอไปถึงก็ประหลาดใจที่คนจำนวนมากรอเขาอยู่แล้ว  ก็ขอเริ่มที่คำถามที่คนที่นั่นถามนาย AD
Q : มีคนเห็นคุณถือที่ให้น้ำนก เดินจากกรงหนึ่ง ไปกรงหนึ่ง  ทำไมครับ?
A:   เพราะผมไม่อยากให้มันสิ้นเปลืองเงินทองของผม  นาย AD เห็นสีหน้าของคนถามก็เลยอธิบายเพิ่มว่า จริงอยู่น้ำมันอาจจะไม่แพงแต่ คนที่เห็นผมทำแบบนี้คงเป็นตอนที่มาหาผมในวันที่อากาศร้อน และ ผมกำลังให้ยานกอยู่ในน้ำอยู่   ยานก หรือ วิตามินเหล่านี้นะมันเสียเร็ว  มันอาจจะเป็นพิษได้ โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อน  ตอนที่ผมให้ยานั้น  ผมจะเลี้ยงข้าวนกก่อน แล้ว จึงให้น้ำยาทีหลัง   ถ้าให้ทุกกรง ท้ายที่สุดที่เหลือก็ต้องโยนทิ้ง  บางคนให้ยาผสมข้าวแต่ผมชอบที่จะให้ยาในรูปแบบที่ผสมน้ำ   จะมีก็แต่พวก Rodinazole 10% ที่ผมให้ผสมข้าว 4 กรัมต่ออาหาร 1 กก.


 
 
 

Q : วิตามินอะไรที่คุณคิดว่าดีที่สุดครับ?
A: คำถามที่ไม่ง่ายนักที่จะตอบ  นกที่มีสุขภาพที่ดีไม่จำเป็นต้องให้วิตามินอะไรหรอกตามความคิดของผม  มันได้จากอาหารที่มันกิน และ แสงแดดตามธรรมชาติก็พอแล้ว  แต่เข้าใจดีว่านกพิราบนั้นไม่ใช่ว่าสุขภาพของมันจะดีได้ตลอดเพราะมันต้องแข่ง  บ้างก็เข้าคู่ทำพันธุ์มากไป  ถ้าอย่างนั้นซิวิตามินให้ได้  แต่ ให้อะไร และ ขนาดไหนดีละ?  พวกวิตามินสำหรับ หมู วัว เป็ด ไก่ นั้นมันมีบอกเพราะมันเป็นสัตว์เศรษฐกิจ  ตลาดมันใหญ่มันเลยมีการทดลอง ทดสอบกันมาเยอะ   ดังนั้นพวกนกพิราบตลาดมันเล็กพวกเขาเลยไม่สนใจทดสอบกัน  ถ้าจะใช้ก็ใช้วิตามินของบริษัทที่ดี มีชื่อเสียง และ ให้แบบวิตามินรวม ดีกว่า ให้เดี่ยวๆ เช่น A หรือ B
มีรายงานของนักวิทยาศาสตร์ที่เบลเยี่ยมบอกไว้ถึงปริมาณวิตามินที่นกต้องการต่อวันดังนี้

Vitamin A   =  200  I.U.
Vitamin B1-B2-B6 = 0.1 mg.
Vitamin B12   = 0.3 mg.
Vitamin C   =  1mg
Vitamin D3  =  50 I.U.
Vitamin E + K  =  1 mg.

ผมเคยถามหมอว่าถ้านกผมสุขภาพดีจำเป็นต้องให้วิตามินไหม  หมอสั่นหัว  คือ  ไม่จำเป็น
บางคนก็เอาวิตามินคนให้นกกินเพราะกลัวว่าฉลากที่ระบุไว้นั้นมันไม่จริง  ไม่โง่ แต่  ก็ระวังถึงขนาด น้ำหนักของคน กับนกมันต่างกัน   ( ผมเองเห็นบางคน ให้ยาหมู ยาวัว ยาเป็ด ไก่  ก็เหมือนกัน บางคนเอามาใช้ก็ระวังเรื่องปริมาณด้วย)
 
 
 
 

Q : ผมฟังแล้วยังไม่ชัด  ขอคำตอบแบบฟันธงเลยได้ไหมครับ  ว่าจำเป็นหรือเปล่าสำหรับวิตามิน?
A:   ผมไม่รู้  (อย่าลืมว่าคำตอบที่ให้ของ AD เป็นความคิดเห็นส่วนตัว)  และ ก็มีสัตวแพทย์คนหนึ่งในหมู่คนที่มาร่วมงาน ก็ลุกขึ้นพร้อมบอกว่า “มันไม่ใช่เรื่องน่าอายที่คุณตอบว่าไม่รู้  เพราะขนาดผมเป็นสัตวแพทย์ ผมเองก็ยังไม่รู้เลย”  AD ก็เลยยิ้มให้กับคุณหมอที่เสริมคำตอบให้

Q : แล้วพวก Additive เสริมให้กับนก  อะไรที่คุณคิดว่าสำคัญที่สุดครับ?

A:  หินกริต Grit   ผมได้เรียนรู้มาจาก Dr. Lemahieu หมอนกพิราบ  ว่ากริตนี้ดี  มันประกอบไปด้วย Calcium และ แร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับนก   เมื่อนกป่วย นกมันจะหาตัวช่วยนั่นก็คือ แร่ธาตุ เหล่านี้ละ   กริตนี้ถูก และ ดีที่สุด

Q :  มีคนอ่านเจอว่าคุณไม่ค่อยทำความสะอาดกรง  คุณไม่เจอปัญหาพวก Coccidioses บ้างหรือ
A:   โรค Coccidioses มันเป็นอะไรที่เว่อไปหน่อยสำหรับกีฬานกแข่งเรา  นกพิราบถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้ง จะไม่เจอปัญหานี้  แม้ว่าจะแห้งน้อยไปหน่อยก็ไม่ใช่ปัญหา  ไม่เป็นอันตราย   

เกี่ยวกับโรคนี้คุณควรรู้ว่า
- ยาที่ใช้สำหรับโรคนี้นั้น ทำให้สภาพนกตกลง  โดยเฉพาะพวก ซัลฟา
- นกมันค่อยๆ รักษาตัวมันเองได้  เพียงแต่จับมันไปไว้ในกรงที่แห้ง
- โรคนี้นะมันมักจะเป็นโรคเสริมตามจากโรคอื่น  นกอาจมีปัญหาจาก พาราไทฟอยด์ หรือ สเตปโตคอคซี มาก่อน
 
 
 
 
 
 
Q :  วิธีซ้อมนกแบบไหนดีที่สุดครับ?
A:   ผมบอกได้ในสิ่งที่ผมทำ และ ดีสำหรับผม  ผมเริ่มครั้งแรกก็สัก 5 กม. ระยะทางมันสั้นมากๆ แต่ไม่ใช่สาระ  ที่สำคัญคือให้นกคุ้นเคยกับตะกร้านกซะมากกว่า   ถ้าคนที่สังเกตจะเห็นได้ว่ามันกลัวขนาดไหน ตื่นเต้น เครียดมาก   หลังจากนั้นก็เพิ่มเป็น 10 กม. นกจะยังกลับไม่ดีพอไม่เป็นไร และ เพิ่มเป็น 15 กม. หลังจากนั้นพอนกกลับมาเริ่มนิ่งก็ค่อยเพิ่มระยะทางทีหลังเป็น 25 กม. และ มากขึ้นไปเรื่อยๆ

Q : บางคนเพาะนก 40 ตัว ดันเป็นตัวเมีย 2ส่วน3  มันดีหรือไม่ดี ครับ?
A:  ได้ขนาดนี้เป็นเรื่องบังเอิญนะ มันดีหรือไม่มันอยู่ที่คนเลี้ยงนกว่าคุณเป็นคนเลี้ยงนกแบบไหนซะมากกว่า  ถ้าชอบแข่งตัวผู้ก็บอกว่าไม่ดี  ถ้าชอบตัวเมียก็บอกว่าดี   ถ้าชอบแข่งนกแบบระบบหม้าย ก็บอกว่าตัวผู้ดี  ถ้าชอบแข่งลูกนกก็ชอบตัวเมียแน่นอน

Q :  คำถามสุดท้ายก็จากประธานของงาน ถามว่ามีอะไรที่คุณให้นกกินแล้วดี แต่ยังไม่ได้ถามถึง หรือ ตอบให้เราฟัง? 
A:  คำถามดี ผมให้นกผมกิน Sedochol และ Electrolytes ซึ่งผมให้นกกินตอนอากาศร้อน และ ไม่สบาย สูญเสียน้ำ   ถ้านกสูญเสียน้ำในร่างกายมากถึง 20% นั้นถึงตายได้

Conclusion
AD บอกว่าตอนนี้ผลแข่งของเขายังดีอยู่คนก็มาฟังกันเยอะ  เชื่อกันมาก  ถ้าผลแข่งเขาไม่ดีเมื่อไรคนก็ไปฟังแชมป์คนอื่น  เป็นสัจธรรม   แต่สำหรับผม ผมไม่คิดว่าคนที่แข่งดีๆ จะให้ข้อมูลดีๆ กับคุณตลอด บ้างก็พูดเป็นกลางๆ ทั่วๆไป  บ้างก็อ้างยาสารพัด  บางคนที่แข่งดีเพราะเขามีปัจจัยต่างๆที่ดีมากกว่า แต่ไม่ใช่ว่าเขามีความคิดอ่านที่ดีกว่านะครับ 

จบตอนนี้ก็คงอีก 3 อาทิตย์ กว่าจะได้เขียนต่อ เพราะผมต้องไปยุโรป  กลับมาก็ว่ากันถึงตอนที่ 31  Can Sprint birds’ handle longer distances?   นกสั้นๆบินไกลได้ไหม?
 
 
 
 
ตอนที่ 31  Can Sprint birds’ handle longer distances?   นกสั้นๆบินไกลได้ไหม?

สวัสดีครับ ก็กลับมาเขียนต่อหลังจากไปพักผ่อนที่ยุโรปงวดนี้ยาวหน่อย 15 วัน อากาศดีมากๆ เย็นแบบสบายๆ แดดดี ทำให้สมองโล่งขึ้นเยอะ ไม่ได้มีเวลาให้ครอบครัวนานๆเต็มๆ แบบนี้มานานพอควร ทำให้เรารู้สึกผิดได้เลยครับที่หลายปีที่ผ่านมาไม่ได้ทำ  ไปงวดนี้ก็มีอะไรดีๆ มีแง่คิดดีๆ เอาไว้จะเขียนลงในหนังสือนกเล่มใหม่ก็เป็นการแบ่งปันความคิดเห็น มุมมองกันครับ

มาถึงตอนที่ 31 ก็อีกไม่กี่บทก็จบเล่มซะที  บทนี้ก็ได้อ้างถึง Jan Grondelaers นักเลี้ยงนกชาวเบลเยี่ยมชื่อดังของโลกคนหนึ่ง  Jan แนะนำคนเลี้ยงนกว่าถ้าอยากที่จะปรับปรุงพันธุ์นกตัวเองให้ดีขึ้นก็ให้หาซื้อนกจำพวก Sprint Bird นกเร็วมาเข้ากรงซะ เพราะ นกพวกนี้มีคุณสมบัติที่สำคัญมากๆ ในตัวของมันที่นกที่ดีจะต้องมีคือ Navigating  สัญชาตญานการตัดสินใจนำทางกลับบ้านดีที่สุด และ เร็วที่สุด เพราะทุกๆวินาทีของนกสปีดนั้นมีค่ามาก  Grondelaers  ไม่เพียงแต่พูดเป็นทฤษฎีเท่านั้น  เขายังได้ให้ตัวอย่างนกของเขาเองที่ซื้อมาจาก Van Reeth นักเลี้ยงนกที่มีชื่อเสียงมากในระยะสั้น  เขาซื้อนกตัวเก่งมากๆชนะที่ 1 หลายๆ ครั้ง และ ยังซื้อนกดังที่ชื่อ Eenoog (ตาบอดหนึ่งข้าง) จาก Hofkens นกตัวนี้ตาบอดข้างหนึ่งแต่ชนะ 51 รางวัล และ  ใน 51 รางวัลนี้เป็น 11 รางวัลระดับยอดเยี่ยมอีกด้วย   ลูกของนกเหล่านี้ดังมากในระยะ กลาง และ ไกล   Jan เอาไปครอสกับนกเหล่าอื่น

Leo and Charel
ปี 2003 AD ได้นำนกจาก Leo and Charel นักเลี้ยงนกที่เป็น Coming Stars ก็หมายถึงดาวรุ่งพุ่งแรง ผลงานโดดเด่นในระยะสั้นของเบลเยี่ยมมาเข้ากรง  AD จะชอบพวกนี้มากเพราะชื่อเสียงไม่ดังมากมาก่อนแต่ด้วยฝีมือทั้งคนทั้งนกมาแซงแนวหน้าได้   นกกรงนี้นั้นแปลกกว่าทั่วไปเพราะที่เบลเยี่ยมถ้าชอบสั้นก็สั้นไปเลยแต่กรงนี้ Leoชอบสั้น แต่ Charel ชอบระยะกลาง  พวกเขาทำอย่างไรละ? ก็นกพวกเดียวกันนี้ละแต่เป็นพวกสาวๆเอาไปแข่งระยะกลางจาก
 
 
 
 
500 กม.ขึ้นไป และ เก่งซะด้วย  ปี 2004 ที่ 7 และ 10 National Bourges  นกที่พวกเขาเล่นก็มาจาก Van Dijck และ จากพวกที่ไม่ค่อยจะดังมากนักทางสื่อ  Leo นั้นมองหาแต่นกดีๆ เก่งๆ มาทำพันธุ์ซึ่งบ่อยครั้งก็ราคาไม่แพงนัก  ซึ่งจะว่าไปเงินที่ซื้อนกแพงๆก็ไม่ได้เป็นหลักประกันอะไรว่านกจะเก่งหรือเราจะประสบความสำเร็จ  ก็มีคำเปรียบเปรยที่ว่า “เงินสามารถซื้อสุนัขสวยๆได้ แต่ ไม่สามารถซื้อให้มันกระดิกหางให้คุณได้” (ผมว่ากระดิกหางด้วยความรักจากใจสุนัขให้เจ้าของหรือ คนซื้อได้)  ก็อยากจะบอกว่า “นกดีมีคุณภาพอย่างเดียวนะไม่ทำให้คุณเป็นแชมป์ได้  คุณต้องเลี้ยงดูแลมันอย่างดี และ ถูกวิธีด้วย”   คุณต้องมีความรู้สึก มี Sense + feeling ซึ่ง Leo นั้นมี และ เขาก็แสดงให้เห็น จุด National Blois เขาส่งนกตัวเดียวและได้ที่ 1 ซะด้วย
 
Dirk
Dirk van Dijck ก็เป็นคนเพาะและแข่งเจ้า “Kannibaal”  ลูกของเจ้านกตัวนี้ละครับที่ทำให้ Koopman ดังระเบิด รวมถึง Leo and Charel ด้วย  van Dijck เองก็อยากที่จะแข่งที่เดียวกับ Leo and Charel เพราะนกเยอะและเงินดี และ นั่นหมายถึงแข่งจาก 120 กม. เพราะแถบนี้ชอบเลี้ยงนกสปีด  และ เขาก็แข่ง   นกเหล่านี้ละครับที่แข่งสั้นๆ แล้ว Koopman เอา Golden Lady ลูก Kannibaal ไปผสมกับนกตนเองแล้วเก่งมากๆ ในระยะไกล ก็อย่างเช่น Kleine Dirk ,  Annalies ไง 
ในปี 2003 Mrs. Vink  ชนะถ้วยรางวัลที่สำคัญมากของยุโรปคือ  West European Nation Cup ในระยะไกล ก็นกมาจาก Koopman สาย Kannibaal นี่ละครับ  และ ก็ปีเดียวกันนั่นละครับที่ Leo and Charel ได้ถ้วยยุโรปใบเดียวกันแต่ระยะสั้น ก็นกสายเลือด Kannibaal นี่ละครับ  ทำให้ทั่วยุโรปตามหานกสายพันธุ์นี้กัน และ ราคาสูงมากๆ    นี่ละครับนกที่ดีถ่ายเลือดได้ทั้งระยะใกล้ และ ไกล  แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นแบบนี้ทุกตัวนะครับ ผมว่าแค่ให้มันให้ลูกดีระยะไหนก็ตามก็ดีแล้วละครับ


 
 
 
 
 
Marcelisนักเลี้ยงระยะสั้นชื่อดังผู้จากไปของเบลเยี่ยม เสียชีวิตในปี 2004  ระหว่างที่เข้าป่วยหนัก นกก็มาถูกขโมย นั่นหมายถึงว่านกเขาต้องดีไม่อย่างขโมยมันไม่มาขโมยไปหรอก     เขาไม่เคยแข่งนกไกลเกินกว่า 300 กม. เพราะเขาเชื่อว่านกเขาถ้าไกลกว่านั้นไม่ดีแน่  พอแก่ตัวลงช่วงปลายยุค90 เพื่อนบ้านของเขาคือ Eric Berckmoes ก็ช่วยดูแลนกของ Marcelis ซึ่งเขาก็ถาม Eric ว่า เขาควรจะตอบแทนอย่างไรดีกับการมาช่วยเหลือ  ซึ่ง Eric ก็บอกว่า แค่ให้นกกับเขาก็มีความสุขแล้วครับ     Eric นั้นเห็นว่าแข่งนกระยะสั้นนั้นไม่สนุก  เขาฝันที่จะแข่งกับนกที่มีจะนวนมากอย่างใน Antwerp และ ระยะกลาง ถึง ไกล   คนส่วนใหญ่ต่างก็หัวเราะ ขบขันที่ Eric คิดและแข่งระยะ กลาง และ ไกลด้วยนกของ Marcelis   แต่พวกเขาก็หัวเราะได้ไม่นานเพราะ Eric สามาระชนะการแข่งขันระดับชาติด้วยนกเหล่านี้   
 
Borgmans
Marcel Borgmans จาก Turnhout ก็อย่าสับสนกับ Borgmans จาก Reusel  หลาน Klak  เขาแข่งจุด Noyon แบบ Combine รวม Turnhout ทั้งหมด ก็ใหญที่สุดในเบลเยี่ยมในยุคนั้นก็ว่าได้  จุดนี้ระยะทาง 230 กม. จุดนี้ละครับที่เกิดยอดนกที่ชื่อ Olieman ของ Jos vd Veken ชนะที่หนึ่งของการแข่งขัน  Olieman เกิดปีเดียวกับ 019 ยอดนกของ Janssens Arendonk ทั้งสองคนอยู่ใกล้ๆกันแต่แข่งคนละคลับ  เรารู้กันดีว่า 019 ชนะที่ 1 หลายครั้ง แต่คนทั่วไปรู้ดีว่า Olieman นั้นดีกว่า  หลายๆครั้งที่ 019 และ Olieman แข่งจุดเดียวกันคือ Noyon แต่ถ้าดูสปีดแล้ว Olieman นั้น สปีดสูงกว่า  ถ้านก 2 ตัวนี้แข่งที่เดียวกัน  019 คงได้ที่ 2 หลายครั้งแน่  Veken นั้นเป็นคนที่ไม่ชอบโฆษณานกของเขานักซึ่งต่างจาก Janssens โดยเฉพาะ Louis

หันมาที่ Borgmans  เขาเล่นนกดีกับสาย Vanloon  และ เข่นทั้ง Hofkens และ Vanloon ในระยะกลาง  เป็นแชมป์ก็ว่าได้  แต่โชคไม่ดีที่เขาป่วยและนกทั้งหมดก็ถูกประมูลขายไป  หลายคนบอกว่านกเขาเก่งแค่กลางก็หมดแล้ว  ไกลไม่ไหว   ก็ไม่ทันได้พิสูจน์เพราะ Veken เลิกก่อน  แต่ที่รู้ๆ ก็คือ Cassaert ได้ซื้อนก Borgmans ไปครอสแล้วแข่งเก่งทางไกลได้ครับ



 
 
Soontjens

Soontjens จาก Wommelgem ก็อย่าได้สับสนกับ Soontjens จาก Riel คนเก่งของฮอลแลนด์นะครับ  เขาก็แข่ง Noyonเท่านั้น และ เก่งมากซะด้วยในยุค 80   AD เองยังโทษตัวเองเลยที่ไม่ได้นำนกของ Soontjens มาเข้ากรง ตอนนั้นติว่านกตัวใหญ่ไป  ภายหลัง  Herbots และ Pros Roosens ได้ซื้อนกของ Soontjens ไป และ ลูกหลานมันเก่งมาก  โดยเฉพาะ Pros  เกิดยอดนกของโลกที่ชื่อ Computer ก็มาจากสาย Tom Dynasty ของ Soontjens นกสายนี้ถูกส่งไปสร้างชื่อที่ อังกฤษ และ ไต้หวันมาก   

มีหลายคนบอกว่า “นกสั้นนั้นบินไกลได้ก็อยู่ที่การเลี้ยง การเตรียมนก และสภาพของมัน” ก็มีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก็ไม่รู้จะตอบอย่างไรดี  ก็ไม่รู้ว่าใครผิดใครถูก?
b]MY IDEA (ของนาย AD)[/b]

1) “นักเลี้ยงนกระยะสั้น” จำนวนมากไม่ได้ตระหนักว่านกของเขานั้นสามารถบินระยะกลางได้ดีเช่นกัน เพียงแต่ต้องมีขนที่นุ่มนวล, ใบปีกที่ยืดหยุ่นได้ดี, และ น้ำหนักตัวต้องไม่หนักเกินไป
น้ำหนักตัวอาจจะไม่เป็นปัญหาในระยะสั้น แต่ จะเป็นเมื่อนกบินระยะไกลขึ้น  และ มันเป็นข้อด้อย
2) มีนกสั้นเร็วจำนวนมากไม่ฟิตพอที่จะแข่งในระยะที่ไกลขึ้น  นกเหล่านี้ตัวใหญ่ และ ใบปีกไม่ยืดหยุ่น  หลายท่านอาจสงสัยว่าใบปีกไม่ยืดหยุ่น  นั้นคืออะไร สำคัญอย่างไรหรือ? ง่ายๆก็ขอให้ดูนกที่บินระยะทางที่ไกลกลับมา เราจะสังเกตเห็นได้ว่าใบปีกจะงอ  ถ้าใบปีกแข็งแล้วละก็ งอไม่ได้ก็จะทำให้นกนั้นออกแรงมาก เหนื่อย เมื่อยล้าได้ 
ลองดูภาพประกอบจะเห็นได้ว่านกบินนั้นใบปีกเส้นหลังๆเป็นอย่างไร ถ้าแข็งมากนกจะยิ่งใช้แรงมาก
3) กรองเดอแลร์นั้นพูดถูกที่เราควรที่จะลองนำนกสปีด เร็ว มาเข้ากรง  นกไกลนั้นมันมีโอกาสแก้ตัวได้ถ้ามันหลงทิศ หลงทาง ก็เบนกลับ ก็ยังทำให้ชนะได้ แต่ถ้านกสั้นนั้นผิดทิศเมื่อไร คือ จบ  เพราะ แพ้ชนะนั้นวัดกันที่ “วินาที” เท่านั้น  เราต้องการNavigator ที่อยู่ในตัวมันมาใช้
 





Finally

ก็ยังคงย้ำว่า มีชาวต่างชาติคนหนึ่ง มาหา AD เพื่อหานกดีๆเข้ากรง  พอADพาไปกรงที่เก่งระยะสั้น พี่แกก็ไม่ต้องการนกพวกนี้เพราะต้องการนกที่กลางเก่ง ไกลดี  ภายหลังพอทราบว่านกกรงนี้นั้นมีหลายคนเอาไปเล่นแล้วเก่งระยะกลาง  ก็จะกลับมาหานก  ก็สายไปแล้ว  เหมือนคนค่างชาติจำนวนมากที่หาแต่พวกที่มีชื่อเสียงทางโฆษณา   ผมเองเคยบอกแล้วว่าอาทิตย์หนึ่งๆ นั้นที่ยุโรปมีแชมป์จำนวนมากๆ ในระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับหลายๆจังหวัด และ บางจุดก็ระดับชาติ และ นานาชาติ   ก็อย่าลืมว่าในฮอลแลนด์นั้นมีระดับชาติหลายสถาบันที่จัดการแข่งขันเช่น NPO หรือ WHZB และ เขาแบ่งการแข่งขันระดับชาติออกเป็นสิบกว่าเขต จำไม่ได้แน่นอน ดังนั้น National Champion จุดหนึ่งมี 10 กว่าคน  ปีหนึ่งมีแข่งหลายจุด ก็น่าจะมีสัก 50 กว่าคนต่อปีได้  4 ปีก็ประมาณสัก 200 คน  จบบทที่ 31 และ ตอนที่ 32 ก็จะเป็นเรื่อง All you need is luck  ก็คิดว่าน่าจะเล่นคำจากชื่อเพลงของ The Beatles เพลง All you need is love ก็ดูกันว่า Luck โชคของ AD หมายถึงอะไรครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 32 ก็จะเป็นเรื่อง All you need is luck 

มีนักเลี้ยงนกหลายคนเชิญ AD ให้ช่วยไปคัดนกที่กรง ซึ่งหลายคนให้ค่าตอบแทนดีซะด้วย  คัดนกออกถ้ามันไม่ดีนั้นคุ้มกับค่าของเงินที่เสียไปดีกว่าเก็บไว้   ADเองก็ออกตัวว่าเขานั้นไม่รู้แบบแน่นอนหรอกว่านกตัวไหนดี หรือ  ไม่ดี  และ ตัวไหนแข่งดี หรือ ทำพันธุ์ดี  หลายคนไม่เข้าใจ บ้างก็บอกว่า เป็นไปได้ไงก็คุณนั้นก็แข่งดี  เขียนหนังสือนกก็เก่ง    เจออย่างนี้ก็เหนื่อยครับ

Pigeon Writer

คนที่เขียนบทความเรื่องนกพิราบแข่งนั้น แน่นอนว่าเขานั้นเลี้ยงนกแข่งด้วย ดังนั้นบทความที่เขียนก็มาจากประสบการณ์ที่ตัวเองนั้นประสบ ลองผิด ลองถูก จริง หรือ ไม่จริง  และ มันก็ไม่ได้ผิดอะไรที่เขาเหล่านั้นจะเขียนจากประสบการณ์กับนกของเขาเองให้เราได้อ่านกัน   เราเองก็ได้ศึกษาจากความสำเร็จ และ ล้มเหลวที่เขาได้ประสบมา   ADเองก็บอกว่าเขาเองก็ไม่อยากเขียนถึงความสำเร็จของกรงเขาเองนัก  คงกลัวชาวบ้านหมั่นไส้เอา

Champions do not day dream

ปี 1998 เพาะนกตัวหนึ่ง ต่อมามันได้ที่ 1 Prov. Ace Pigeon 1999 และ ปี 2000  ปี 2000 นั้นมันก็ได้นกยอดเยี่ยมที่ 2 ระดับชาติ NPO ฮอลแลนด์  ซึ่งหมายถึงดีที่สุดเป็นอันดับที่ 2 จากคนเลี้ยง 36000 คน  พี่ของนกตัวนี้ก็บินเก่ง  ปีต่อมาเขาก็เพาะคู่เดิมออกมาอีก  มีตัวหนึ่งสวยแต่ดูแล้วนกมันไม่มีจิตวิญญาณของนกแข่งเหมือนพี่ๆมัน คงเจียมเจี้ยมมาก แต่ AD ก็เก็บไว้แข่งเพื่อเก่งเหมือนพี่  ก็ฝันกลางวัน ผมคิดว่าภายหลังนกตัวนี้ไม่เก่งเหมือนพี่ และ คงไม่มีน้องๆตัวไหนเก่งเท่าพี่ เพราะ เขาเองก็บอกต่อว่า การที่พ่อแม่นกนั้นให้ลูกเก่งมากๆ ได้ถึง 1-2 ตัวนั้นถือได้ว่าดีมากๆ แล้ว และ ยากมาก และ ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่ามันจะให้ลูกดีเหมือนเดิม หรือ เก่งกว่า  ดังนั้นใครที่โฆษณาบอก
 
 
 
 
สรรพคุณถึง Golden Couple คู่ทอง  ให้ลูกเก่งตลอดนั้นโม้หรือเปล่าก็ไม่รู้  แน่นอนมันอาจมี แต่คงมีไม่กี่ตัวในโลกใบนี้แน่  ผมเชื่อมั่นว่ามีพวกแหกตาแน่นอนเพื่อสร้างอัจฉริยะของกรงตนเองขึ้นมา  เพื่อสร้างความเด่นที่มีเฉพาะที่กรงของตนเอง  ซึ่งคิดว่าบางทีนกที่มาเก่งๆอาจะเกิดจากนกตัวอื่นก็เป็นไปได้ ก็อ้างว่ามาจากนกตัวนี้ หรือ คู่นี้ เพื่อเสริมความเก่งของกรง ของสายนกตนเองก็มี

Schellens

วงการนกนั้นสายพันธุ์นกต่างก็สลับหน้ากันขึ้นมาดังเป็นยุคๆ  แคททรีส แจนเซ่น เดสเมธ แวนเดนบรูค  แวนลูน  ที่เยอรมันนั้นยุค 90 ตอนผมอยู่ที่นั่นจำได้ว่า นกสายพันธุ์ Schellens นั้นดังมากๆ  คนตามหากันมาก นกSchellens เกือบหมดกรงก็ถูกเหมามาอยู่ที่เยอรมันครับ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นกรง Ludwig Kolb ตอนอยู่ Leverkusen เห็นลุงคนที่ให้พ่อเจ้า Francis ให้มากับผม  เขาสั่งนกจากกรง Kolb มาหลายตัว แพงเหมือนกัน ณ ตอนนั้น ผมแข่งก็ดี    นกSchellens นั้นเกิดจากนกตัวเก่งตัวเดียวคือ Den Engels  B 73 6287434  เชลเล่นนั้นเป็นมหาเศรษฐี และ มีอาชีพเป็นช่างตัดเพชร ดังนั้นเขาจึงมีเงินซื้อนกดีๆเข้ากรงมาก  นกของเขาถูกประมูลตอนเขาอายุ 84 ปี  Den Engels นั้นชนะที่ 1 ไม่ต่ำกว่า 15 ครั้ง และ ทำพันธุ์ดีมากๆ  ถ้าใครสังเกตเพดดีกรีของเชลเล่นจะเห็นว่า มีเจ้า Den Engels อยู่เสมอ แต่ จะไม่เห็นระดับพ่อแม่ของมัน  เป็นเพราะ ไม่รู้ว่า พ่อแม่มันเป็นใคร นั่นเอง
เชลเล่นซื้อนกตัวนี้มาจาก Flor Engels ตอนเป็น ลูกนกเล็กๆ ซึ่งพ่อแม่ของมันนั้น Flor ให้กับคนที่มาช่วยทำงานเล็กๆ น้อยๆ ไป  หมอนี่ดีใจก็อวดนกคู่นี้กับคนทั่วไปและหลายคนก็วิจารณ์ว่านกไม่ดี   พอ Flor รู้ข่าวก็เรียกหมอนี่มาว่าถ้าไม่ชอบก็เอามาเปลี่ยนได้  หมอนี่จับมาจริงๆ Flor ให้ตัวใหม่ไป และ ฆ่านกคู่นี้ทิ้ง   นกที่ฆ่าทิ้งนี่ละครับเป็น พ่อแม่ ของ Den Engels



 
 
 
 
 
Young Artist และ Klak

เรื่องทำนองเดียวกับ Den Engels เกือบจะทำให้ ยอดนกอย่าง Young Artist B 82 6380170 ขึ้นสวรรค์ไปก่อนได้แสดงผลงานให้ Houben ไปแล้ว     Houbenเองดูแล้วก็ไม่ชอบรูปร่างไม่สวยซะเลย  ก็ลงตะกร้าไว้ขายเวลาคนมาซื้อ  ก็จะเหลือเจ้านี่ตลอด หลายคนจับแล้วก็ไม่เอา  จนHouben ถามตนเองว่า จะเก็บไว้เลี้ยง หรือ ฆ่าทิ้งดี ท้ายที่สุดก็ตัดสินใจถูกครับที่เก็บไว้ เพราะมันเป็นยอดนกตัวหนึ่งของโลกในเวลาต่อมา  ก็คล้ายกับเจ้า Knook ของ Klak   ปีนั้น เขามีนกตัวผู้ 43 ตัว  ตัวเมีย  42 ตัว  ก็ต้องคัดตัวผู้ออกหนึ่งตัว  ตัวที่จะคัดออกคือ Knook พ่อของเจ้า 613 โชคดีที่ก่อนจะโดนเก็บนั้น มีนกตัวผู้ตัวหนึ่งโดนเหยี่ยวตะปบก็ทำให้ขาดนกตัวผู้ ก็เลยได้อยู่ในกรงแสดงฝีปีก และ ทำพันธู์ตัวเก่งที่สุดก็ 613 ครับ

Stan Baelemans

หมอนี่เป็นนักเลี้ยงนกที่อยู่ที่ Antwerp และในปี 1971 เป็น แชมป์อันดับหนึ่งของประเทศ ตอนนั้นมีคนเลี้ยงประมาณ 100000 คน ก็มีคน ญี่ปุ่น คนหนึ่งวาน AD ให้ช่วยซื้อนกให้หน่อย   พอไปถึง AD ก็ต้องสะกดใจนิ่งไว้หน่อย เพราะ สภาพนกที่เห็นนั้นมันไม่สวย แถมน่าเกลียดก็ว่าได้   AD ก็เลยถามว่าเขาว่า เข้าคู่นกอย่างไรครับ? คำตอบที่ได้เหมือนรู้ “ ดูนกมันเหมือนไม่สวย น่าเกลียด แต่ลูกมันเก่งอะเป็นพอ”  ครับไอ้นกเหล่านี้ละเป็นแชมป์ของประเทศเบลเยี่ยม
 
 
 
 
 
 
 
Personal Experience

AD เองก็มีเรื่องเล่าเช่นกัน เขามีนกเบอร์ NL 78 430149 เป็นนกที่แข่งดีมากๆ และ แน่นอนมีคนจับจองลูกของมันมากเช่นกัน  มันมีน้องสายปี 1980 ตัวหนึ่ง แข่งก็พอใช้ได้ เป็นนกดูดีพอควร  บางคนดูแล้วก็บอกว่าทำพันธุ์ไม่น่าจะได้ดี ซึ่ง AD คิดว่าพวกเขาน่าจะคิดถูก  เจ้านกตัวนี้ต่อมาก็ชื่อ Sister Good Yearling ซึ่งมันให้ลูกดีมากและ ลูกมันตัวหนึ่งชนะที่ 1 National Orleans   ก็ทำให้คิดว่าทำไมคนเราถึงเพราะนกมากขึ้นเป็น 100 ตัว ก็เป็นเพราะหวังว่า โชคดี มีนกเก่งสักตัว
Piet de Weerd เคยบอกประโยค คลาสสิค อันหนึ่งว่า “ คนเลี้ยงนกส่วนใหญ่นะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับนกพิราบเลย และ ตัวเขาเองนั้นรู้เพียงแค่ 10% ซึ่งก็เพียงพอที่จะทำให้เขาคัดนกได้ดีกว่าคนอื่น”

Food For Thought

•   Houben  นั้นมีนกเก่งที่ชื่อ Sony และ พ่อแม่ของมันก็ให้ลูกเก่งตัวเดียวคือ Sony
•   Klak พ่อแม่ของ 613 ให้ลูกเก่งระดับนี้เพียงตัวเดียวเท่านั้นคือ 613
•   Eteinne de Vos สร้างนกเก่งอย่าง Kleine Didi และ ทั้งชีวิตก็ไม่มีพี่น้องตัวไหนเก่งได้เท่ามันเลย
ดังนั้นจริงอยู่ที่เราต้องมีนกดีๆอยู่ที่กรง แต่ สิ่งหนึ่งที่เราต้องตระหนักไว้ตลอดเวลาก็คือ เราต้องมี “โชค” ด้วย  นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราควรเพาะนกมากหน่อย เพราะถ้าน้อยโอกาสเจอนกดีก็น้อยเช่นกัน   
ก็เร่งแปลหน่อย จบบทที่ 32แล้วครับ  ตอนที่ 33 A winner need not be the bet, so buying is an art





ตอนที่ 33 A winner need not be the best, so buying is an art

สัปดาห์นี้ก็มาประชุมที่โรงงานมาบตาพุด จ.ระยอง  ก็ทำให้กลางคืนพอมีเวลาเขียนได้มากขึ้นบ้าง  ก็รวดเดียว ตอนที่32, 33, 34

หนังสือพิมพ์นกในเนเธอร์แลนด์บ่อยครั้งเราจะเห็นโฆษณาว่าต้องการซื้อนกที่ได้ที่ 1 หรือ นกที่ชนะรางวัลเยี่ยมๆ นกพวกนี้ส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดก็ส่งมาทางประเทศทางตะวันออกเพื่อนบ้านเราเป็นส่วนใหญ่   พวกนายหน้าก็โฆษณาเพื่อซื้อนกให้ลูกค้าเขาครับ  ADว่าเห็นแล้วก็เศร้าใจที่นกเหล่านี้นั้นไม่สนใจชาติตระกูล คนเลี้ยง ประวัติอะไรมากนักนอกจากเพดดีกรี และ คำบอกเล่าในนั้น ก็พอใจแล้ว  เรื่องแบบนี้ช่วงหนึ่งในอดีตก็เกิดขึ้นกับพวกญี่ปุ่น พวกนี้ตอนนั้นซื้อนกก็หาแต่พวกที่ 1   แท้จริงแล้วนกที่ได้ที่ 1 นั้นพวกเบลเยี่ยม และ ฮอลแลนด์นั้นรู้ดีว่ามันประกอบไปด้วยอะไรหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน โชคก็มี แต่ การเลี้ยง การเตรียมตัวที่ดีเป็นหลัก  แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวที่ทำให้นกเป็นนกดีได้    พวกเขารู้ดีว่า “สภาพอากาศ” และ “ลม” เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่มีผลทำให้นกแพ้ชนะกันได้มากๆ  ก็ดูอย่างบ้านเราเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา  ฝั่งธนฯ ชนะขาดๆ ทั้ง 2 สมาคม มีก็แต่สมาคมพัฒนาที่ยอดคน ของปีนี้ที่ชื่อ พิชัย นันทเสรี ชนะถ้วยที่ 1 และ 2   ผมเองก็ยังเคยคิดว่าทำไมเราต้องแบ่งเส้นกั้นสุดฝั่งธนฯกันที่ถนน วงแหวน (ยกเว้นอยู่สมาคมเดียวที่เปิดแข่งได้) เพราะ เลยจากนั้นก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ อยู่  เพราะถ้าคิดว่าเลยเส้นนี้แล้วพวกเขาจะ “ได้เปรียบ”  แล้วกรงที่เขาแห่กันมาสร้างตรงแถวๆ ขอบเส้นกันจำนวนหลายๆกรงก็กินความ “ได้เปรียบ” แบบถูกกฎใช่ไหมครับ? ? ทำไมต้องสุดตรงนั้น  ขยายออกไปใครได้เปรียบเสียเปรียบหรือ??? หรือ เกรงคนนอกเส้นจะชนะ??? บางครั้งเห็นแล้วก็ยังนึกขำตอนที่ยื่นอยู่ที่ แมคโครบางบอน แล้วมองไปอีกฝากของถนนแล้วคิดว่าฝั่งโน้นแข่งไม่ได้  ก็น่าเสียดายนะ อาจจะมีคนสร้างกรง หรือ อยู่แล้วเลี้ยงมากขึ้นก็ได้  นั่นก็คือการที่เราไปกำหนดเส้นตัดก็ทำให้การแข่งนกนั้นถูกจำกัดกันด้วยเส้นที่ขีดไว้  ซึ่งประเทศที่เขาพัฒนาการกันมานานอย่างในยุโรปนั้น เขารู้เรื่องนี้ดี รู้เรื่องเหล่านี้มานานมากแล้วก็เลยพัฒนาการแข่งขันแบบ Club, Regional, Semi-Provicial, Provincial, National, International กันขึ้นมาเป็นลำดับขั้น  ซึ่งทุกๆที่ก็สามารถแข่งนกกันได้  สนุกกันได้  การเลี้ยงก็ยังคงมีต่อเนื่อง คนเกิด
 
 
 
 
ใหม่ก็ยังพอมีบ้างแม้จะน้อยมากๆ เพราะการที่ไม่มีเส้นแบ่งไงครับ   วันก่อนได้คุยกับพี่ศรเทพก็ยังได้ถามพี่ถึงเรื่องนี้เลยว่าทำไมต้องตีเส้นจำกัดการแข่งขันกันที่ตรงนั้น ก็เอาไว้วันหลังถามไถ่พี่ศรเทพเป็นทางการ  ตอบเป็นทางการก็น่าจะดีเหมือนกัน....

My neighbour and Me

ครั้งหนึ่งในการแข่งขัน National Orleans วันนั้นนอกจากจะร้อนถึง 32 องศาเซลเซียส   นกของ AD ชนะที่  7 ระดับในคลับที่มีนกแข่ง 357 ตัว สปีด 1250 ม/นาที  และ ผลระดับ National ก็ไม่เลวนักเพราะนกในคลับนั้นชนะอันดับกันดีๆทั้งนั้น  (คิดว่านกเข้าทางนี้)  ใกล้บ้านเขา เพื่อนบ้านของ AD ได้ที่ 1 นกแข่ง 6000 ตัว แข่งคนละคลับกัน  แต่สปีดเพียงแค่ 1242 ม/นาที  พวกเขาแข่งกันคนละคลับ และ คนละ Provincial  แต่พอมาดูผลของ์National Champion นกของ AD ได้ที่ 18 National นกแข่ง 11000 ตัว  เพื่อนบ้านเขาได้ที่ 23 National   ถ้าคนทั้งสองต้องการขายนก คุณจะซื้อนกใคร???   คนซื้ออาจมองนกที่ได้ที่ 1 ซึ่งมีนกแข่ง 6000 ตัว แต่ National ที่ 23 ซึ่งสปีดน้อยกว่า AD   ที่ยุโรปนั้นลมไม่แน่นอน  การแข่งขันระดับชาติ นานาชาติ  ปีไหนลมตะวันตกแรง แชมป์ก็มักจะเป็นกรงทางด้านตะวันออก หรือ เยอรมัน  ถ้าลมตะวันออกแรงพวกอยู่ทาง Flanders ตะวันตกของ เบลเยี่ยมก็ได้เปรียบ และ ถ้าบินตามลมละก็ เนเธอร์แลนด็มาชนะได้สบาย  แรงมากเลยไปอังกฤษก็มีมาแล้วเร็วๆนี้   ก็อยากจะบอกย้ำอีกครั้งว่า “ลม” มีอิทธพลกับผลของการแข่งขันนกมากๆๆๆๆๆ


 
 
 
 
 
 
 
Understandable

หลายคนแปลกใจว่า ทำไมADโชคดีบ่อยนะ เวลาหาซื้อนกเข้ากรงแล้วเล่นได้ดี   มันไม่จริงครับ  ก็มีบ้างที่มันไม่ได้ผล  มันอาจจะเป็นโชคก็ได้ที่ได้นกดีมาเข้ากรง  แต่เบื้องหลังนะ AD อ่านผลการแข่งขัน และ ศึกษาผลการแข่งของแต่ละคลับมาก เก็บสถิติ ศึกษาว่าคลับไหนนั้นยากง่ายขนาดไหน  เพื่อพิจารณาตอนซื้อนก ผมอยากขอแทรกว่า มันก็เหมือนกับฟุตบอลที่มีหลายๆ ลีก การแข่งขันเช่น พรีเมียร์ลีก แชมเปี้ยนชิป ดีวีชั่น 1,2,3 อยู่ในประเทศเดียวกัน  แต่ละลีกก็มีหลายๆทีม    การแข่งนกคิดๆ แล้วก็ไม่ต่างกันหรอกครับในทุกๆ ประเทศ  ขอย้ำว่า ทุกๆ ประเทศ  ดังนั้นมันก็มีความยาก และ ความง่าย อยู่ไงครับ  ก็เป็นแง่คิดหนึ่งผ่านทางมุมมองของนาย AD)
เรานะเวลาจะซื้อนก สักตัวนะ ดูให้ดีๆ  ศึกษาให้ดีๆ  ว่ามาจากลีกไหนครับ  นกที่ชนะอันดับไม่ถึงที่หนึ่งในลีกที่แข็งแกร่งนั้น  อาจดีกว่านกที่ได้ที่หนึ่งในลีกที่อ่อนกว่า   This is not Theory but Reality ไม่ใช่ทฤษฎีครับแต่เป็นเรื่องจริง  

Watch Out

ครั้งหนึ่งในการแข่งขัน Barcelona ชายคนหนึ่งที่ Antwep เบลเยี่ยม ได้ที่ 1 นกมาวันอาทิตย์ตอนเช้า เท่านั้นละดังไปทั่ว ทั้งสื่อโฆษณา นกขายไปในราคาที่สูงมาก และ ได้ที่ 1 Provincial   การแข่งขันในจุดเดียวกันนี้ มีคนที่ฮอลแลนด์คนหนึ่ง ปั๊มนกของเขาไปแล้ว 8 ตัว และ กดนกเหล่านั้นในวันเสาร์ก่อนหน้าคนชนะที่เบลเยี่ยมคนหนึ่ง 1 วัน  เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ และ เวลาอ่านรายงานผลการแข่งขันก็ดูให้ดี ศึกษาให้ลึกซึ้งก่อน  ที่ 1 Provincial นะจุดหนึ่งๆ มีหลายๆ สิบตัวครับ พวกที่เขียนโปรโมท เชียร์ให้ซื้อนั้น เขาได้ค่า Commission ครับ  คนพา เพื่อน นายหน้า พวกนี้ปรกติโดยทั่วไปจะได้ค่าตอบแทน



 
 
 
 
Help

ผมเองก็เคยเขียนเรื่องคนเบลเยี่ยมนั้นแข่งนกกันน้อยตัวต่อกรงเพราะเขาเลี้ยงเป็นการพนันเหมือนกัน แต่ หลักๆเป็นเพราะเลี้ยงนกที่ดีเพื่อเล่น เพื่อชนะ  และ มีการแยกประเภทของการแข่งขันต่างกันกับHolland  ก็ลองหาอ่านกันในบทความผมก่อนหน้านี้ดูครับ

บางครั้งเวลาเราดูผลการแข่งขันจุดเดียวกัน แต่คนละคลับ ยอดรวมนกน้อยตัวกว่าอาจจะเป็นการแข่งขันที่ยากกว่า อีกคลับที่มีนกมากกว่าก็เป็นได้ค่อนข้างสูง
คลับ A ในการแข่งขันอาจจะมีคนแข่ง 70 คน นก 160 ตัว
คลับ B ในการแข่งขันอาจจะมีคนแข่ง 60 คน นก 4000 ตัว
AD ว่าคลับ A นั้นมีการแข่งขันที่ยากกว่าคลับ B
AD ให้ “กฎทอง” อันหนึ่งที่เราควรจำไว้ก็คือ ที่ใดคนส่งแข่งมากนกน้อย การแข่งที่นั่นแข็งแกร่ง ยาก เขี้ยวก็แล้วแต่จะเรียก   ส่วนที่ใด คนแข่งน้อย นกมาก การแข่งขันนั้นเรียกว่า Poor แย่ ไม่ดีนัก ตอนที่ 34 เป็นเรื่องRequirement ครับ ก็ดูกันว่าต้องการอะไรกัน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 34 Requirement
ก็ย้ำกันอีกครั้งหนึ่งว่า  ไม่มีใครในโลกนี้หรอกครับที่บอกได้ว่านกตัวนี้แข่งดี  หรือ ทำพันธุ์ดี   มันจะง่ายซะกว่าถ้าจะบอกว่านกตัวนี้ “ไม่ดี” เพราะนกที่ไม่ดีนั้นอาจมีอะไรที่เราสังเกตุได้หลายอย่าง
 ADนั้นใช้ผลการแข่งขันเป็นเกณฑ์ในการคัดนกเป็นหลักเบื้องต้น  นอกเหนือจากนั้นถ้านกตัวไหนขาดคุณสมบัติเหล่านี้แล้วละก็ อาจจะไม่มีที่ว่างในกรงให้อยู่แน่

1 นกควรมีขนที่ดี อ่อนนุ่ม
2 รูปร่างสมส่วน good balance
3 มีสุขภาพที่ดี แบบ Natural Health แบบธรรมชาติครับ โดนยาบ่อยๆ ไม่ดีแน่
4 ตาดำเล็ก พู่งตรงไปข้างหน้า  สีตาไม่สำคัญ
5 นกที่ดีมันมีจิตวิญญาณของนักสู้อยู่ในคัวมัน หวงรัง หวงคู่  หวงไข่  หวงช่อง
6 คอนกต้องดี สีไม่แดงเกินไป ไม่เปิดกว้างมากไป
7 นกต้องไม่ถ่ายขนเร็วเกินไป  นกเส้น 5 ไม่ควรแข่ง
8 นกต้องชอบอาบน้ำ  วางถาดเมื่อไรเป็นอาบละดีมาก
9 นกถ้าเข้าคู่แล้วควรไข่ภายใน 2 อาทิตย์  ถ้าไม่ไข่ก็ควรแยกออกแสดงว่านกไม่พร้อม
10 ควรคัดนกที่ไม่สร้างผลงานออกจากกรง
11 โครงสร้าง สุขภาพ ต้องแข็งแกร่งตั้งแต่เกิด
12 นกที่ดีนั้น ไม่อ้วนเร็ว ไม่ว่าจะเลี้ยงมากขนาดไหน
13 นกอายุได้ 6 อาทิตย์ควรจิกกินอาหารเมล็ดใหญ่ได้  ถ้าไม่ได้นกไม่ดีแน่
14 นกที่ดีนั้นเวลาลงตะกร้าควรสงบ  ระวังนกที่ลงตะกร้าแล้วขี้ตื่น ชอบตีกันไม่หยุด พวกนี้แข่งอาจไม่ดีแน่เพราะหมดแรงก่อนได้
 
 
 
 
 
จบตอนที่ 34 ตอนที่ 35 ก็เป็นเรื่อง Save Money  ช่วงนี้มีเวลาหน่อยก็รีบแปลให้จบโดยเร็ว เพราะอยากที่จะเอาเวลาลุยหนังสือนกเล่มใหม่ได้มากขึ้นครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 35 Save Money

การเลี้ยงนกพิราบแข่งสมัยใหม่นั้นจะประสบความสำเร็จได้ยากถ้าไม่รู้จักการให้ยาและรักษา ที่ต่างประเทศนั้นคนเลี้ยงนกเขาก็มีไปหาหมอนกกัน บ้างก็ไปประจำทุกเทศกาลก่อนแข่ง ช่วงแข่ง หลังแข่ง ก่อนเข้าคู่ ก็มี    บ้างก็หาหมอหรือเชิญหมอมาก็ต่อเมื่อมีปัญหา หรือ แข่งไม่ดี บ้างก็มีหมอประจำกรงมาเยี่ยม ตรวจเป็นประจำทุกเดือนก็มี  แต่ก็ยังมีอีกจำนวนมากพอควรที่ไม่ค่อยที่จะเยี่ยม หรือ พบบุรุษชุดขาวนักคนพวกนี้ก็รวมถึง Klak และ AD  คนพวกนี้คิดเป็นตรรกะว่า “ทำอย่างไรถึงป้องกันปัญหาได้?” ก็คือ กันไว้ดีกว่าแก้นั่นเอง  จะว่าไปมันก็มีเหตุผลสนับสนุน นั่นคือ
•   ป้องกัน Canker ให้ได้ มันเป็นโรคหลักของนกพิราบแข่ง  เขาจะสังเกตเห็นว่านกตัวไหนต้องรักษา ต้องกัน เช่น ลูกนกโตไม่ดี ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ขนขึ้นไม่สวย ผอม และ ขี้เป็นน้ำ  ถ้านกโต จับแล้วตัวไม่รัด ขนไม่รัดตัว คอไม่สะอาดก็ให้ยา
•   AD ไม่ให้ยารักษาพวก Coccidioses เพราะนกทั่วไปจะไม่มีปัญหากับโรคนี้ถ้ากรงแห้งดี
•   พาราไทฟอยด์ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะเขาไม่เสี่ยง เขาจะให้ยาช่วงฤดูใบไม้ผลิ 2 สัปดาห์
•   โรคเกี่ยวกับหลอดลมก็กันไว้ช่วงฤดูหนาวด้วยของที่ถูกที่สุดคือ ออกซิเจน  ให้นกได้รับอากาศทุกช่วงฤดู  ที่ยุโรปหลายกรงเก็บนกเพราะอากาศหนาวมาก  บางกรงก็ไม่ปล่อยเพราะกลัวนกอินทรีย์ เหยี่ยว
•   Adeno/Coli ก็ไม่ใช่ปัญหาเช่นกัน ในอดีตเคยเจอปัญหาแต่AD ก็ไม่ได้รักษา นกพวกนี้เอาเข้ามาจากที่อื่นก็ตายไป เพราะถือว่านกตัวอื่นไม่เป็นอะไร ทำไมต้องรักษาทั้งกรง นกที่เอามามันอ่อนแอไป  (ก็ขอให้ดูเรื่องที่เขียนไว้ก่อนหน้าที่เรื่อง Adeno Coli จะได้เข้าใจมากขึ้น)



 
 
 
 
 
 
Discussions

ที่เขียนมานี่  ADขอให้เข้าใจว่า เขาเองไม่ได้หมายความว่าเขาไม่เคยปรึกษาหมอมาก่อน เขาเองก็เข้าสัมมนา ปรึกษากับหมอหลายครั้ง  แต่ก็นั่นแหละ เวลามีสัมมนาก็มักจะขายของ ขายยา เป็นหลัก AD เองไม่ชอบ กลับชอบตอนเบรคกินอาหารซะมากกว่า  ไม่เห็นหมอคนไหนพูดถึง สรรพคุณความดีของ Vinegar น้ำสมสายชูเลย คงเป็นเพราะ พูดไปก็ไม่ได้เงิน  ของพวกนี้ถูกมากซื้อได้ตามตลาดทั่วไป  ที่ยุโรปผมเห็นใช้กันมาก  ที่กรง CP ที่เซี่ยงไฮ้พี่สมบัติก็ใช้ให้ผมดูเห็นๆกับตา กับนกแข่งเขาเช่นกัน  ต้องขออนุญาตเอ่ยนามเพราะจะได้รู้ว่าของนั้นมีใช้จริงดีจริง น่าเชื่อถือ คิดว่าพี่สมบัติคงไม่ว่านะครับที่เราแบ่งปันความรู้ให้เพื่อนLVH

Vinegar

โรคที่เป็นปัญหาหลักของนกพิราบแข่งก็มีหลายตัวแต่ตัวที่สำคัญที่สุดคือ Salmonella, Canker, Adeno/Coli  ส่วนใหญ่ติดมาจากน้ำ และ หลายคนบอกว่าของที่ดีที่สุดสำหรับฆ่าเชื้อก็คือ Vinegar น้ำส้มสายชู ขวดเขียวๆนี่ละครับ มันเป็นของธรรมชาติที่เป็นศัตรูกับแบคทีเรีย มันช่วยรักษาสมดุลของระบบย่อยอาหาร  หมอที่ยุโรปเองก็แนะนำให้นกกินกันพวกSamonella ได้   น้ำต้องสะอาด เปลี่ยนบ่อยๆ ภาชนะก็เช่นกัน   

ADเองใหม่ๆก็ไม่เชื่อเรื่อง Vinegar จนพบกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้มากๆ อธิบาย ADเองก็เริ่มทดลองใช้แล้วเห็นผลดีครับ  นกนั้นห่างไกลจากโรคเหล่านี้   ตอนต่อไป ตอนที่ 36 Belgium’s fastest in 2006
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 36 Belgium’s fastest in 2006

ใครที่ชอบนกสปีด มีความเร็ว ละก็  เบลเยี่ยมเป็นที่ที่ดีที่สุดครับ  เหตุผลก็เพราะว่าที่เบลเยี่ยมยังคงเป็นที่เดียวที่กรงนกนั้นแทบจะติดกันก็ว่าได้  มีประชากรที่ยังคงเลี้ยงนกอยู่มากพอควร และ คนจำนวนมากนั้นชอบที่จะเลี้ยงนกระยะสั้นเป็นหลัก ดังนั้นการแข่งขันนั้นแกร่งมาก ก็มาลองดูกันว่า AD จะพูดถึงอะไร

National Ace 2006

นกสีกระ ผู้ 04-5150951 ของ Mr. Mathieu Westhof  มันแข่ง 8 ครั้ง สิ่งที่น่าแปลกก็คือ ผลต่างของที่ 1 ถึง 4 นกยอดเยี่ยมระดับชาติ National Ace นั่นน้อยมาก เบียดกันสุดๆ นั่นหมายความว่า ในการแข่งขันทั้ง 8 ครั้งนั้น ทุกๆเสี้ยววินาทีมีค่ามากๆ  แม้แต่ Mr.Westhof ซึ่งเป็นแชมป์ยังออกตัวเลยว่าเขาโชคดีมากๆ  ที่2-4นั้นต่างก็เป็นเซียนระดับสุดๆของประเทศคือ Van Dijck เจ้าของเจ้า Kannibal ปู่ของเจ้ายอดนก Kleine Dirk ของ Koopman ไงครับ , Cappelle และ Diels  สำหรับDielsนั้น นกตัวนี้ปี 2005 เป็นแชมป์อันดับที่ 3 ดังนั้นนกตัวนี้จะเป็นตัวแทนส่งเข้า Olympiade เพราะนกโอลิมเปียดนั้นเขานับผลการแข่งขัน 2 ปีครับ  และ นกก็ต้องบินยอดเยี่ยม 2 ปีติดเช่นกัน นกตัวนี้ของ Westhof ก็ยอดเยี่ยมมาก 2 ปีเก่งก็เลยได้เป็นตัวแทนของประเทศครับ  สิ่งหนี่งที่ไม่บอกไม่ได้ก็คือ คลับที่เขาอยู่นั้นอนุญาตให้ใช้นาฬิกาอีเลคโทรนิคได้ก็บาร์โค๊ดไงครับ  ส่วนคนที่ได้ที่2-4นั้นอยู่คนละคลับกันและคลับของพวกเขาไม่ให้ใช้นาฬิกาอีเลคโทรนิคในสมัยนั้น ซึ่งความแตกต่างของวินาทีซึ่งมีค่ามากที่เบลเยี่ยมและระยะสั้นด้วยมีผลมากครับ  ก็เป็นเรื่องที่เขาเรียกกันว่า Stupid Situation สถานการณ์ที่โง่เขลาสิ้นดีกับการที่มีข้อแตกต่างในแต่ละคลับกันและมีผลแพ้ชนะกันที่วินาทีก็เลยเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา  เจ้า951ของWesthofเวลามันมามักจะลงกรงตัวแรกและลงเร็วเสมอก็เป็นโชคของมันและเจ้าของกรงไป
ที่จริงแล้วผมเคยเขียนเกี่ยวกับโอลิมเปียดไว้ทีแล้วอาจจะเป็นที่ท้ายรายการสมาคมส่งเสริมฯสมัยก่อนตอนปี 2003-2004 หรือ สมาคมอื่นก็จำไม่ได้แน่  ไม่เป็นไรก็มีเพื่อนๆ ถามผมเหมือนกันหลายคน ก็ได้ให้ความกระจ่างไป และ
 
 
 
 
หลายท่านก็ขอให้เขียนไว้ที่หนังสือนกเล่มที่จะออก  ก็จะเขียนให้ครับ  ต้นปีนี้ ปี 2009 ก็จัดกันที่ Dortmund ประเทศเยอรมันกันไปแล้ว ครั้งต่อไปก็มี 2011 ครับ ปีหน้าไม่มี ก็ยังมีคนเข้าใจผิดกันคิดว่ามีทุกปี  ไม่ใช่ครับ 2 ปีมีหนึ่งครั้งครับ  ครั้งต่อไปถ้าจำไม่ผิดก็ ฮังการี หรือ ไม่ก็ประเทศ สโลวาเกีย ครับ  มีคนบอกผมว่าที่อังกฤษ ผมก็ตอบกลับไปว่าไม่ใช่เพราะอังกฤษจัดไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้ และ ประเทศอะไรที่จะจัดปี 2011 และ 2013 นั้นเขาประกาศไปแล้วครับ   
ล่าสุดเรื่องหนังสือนกเมื่อเสาร์ที่ผ่านมาตอนผมอยู่งาน Concert Fat Fest ที่เมืองทอง ไปดูกับลูกและเพื่อนๆเขา 6 คน และ ที่บ้าน  เด็กวัยรุ่นเป็นหมื่นมากันก็ทำให้เราได้เห็นวัยของพวกเขา  สนุกดีครับเล่นกันตั้งแต่บ่าย ถึงเที่ยงคืน  คุณกิตติก็ได้โทรหาผมด้วยความยินดีว่า “ท่านประธาน CP ธนินทร์ และ เสี่ยเล็กได้ให้เกียรติตั้งชื่อหนังสือนกให้เราแล้ว 2 ชื่อ ตามที่ขอให้ท่านช่วยกรุณาตั้งชื่อหนังสือนกของเราเพื่อเป็นศิริมงคล  คุณวิรัชเลือกชื่อไหนครับ?” ผมเองก็ดีใจและก็เลือกชื่อที่สั้นไว้ก่อน เข้าใจง่ายเรียกก็ง่าย  ความหมายดีมาก ก็ให้สิ่งที่ผมคิดกับคุณกิตติไป  แต่ เราก็จะใช้ทั้งสองชื่อละครับ เพียงแต่อีกชื่อก็เป็นลูกเล่นภายในเล่ม” ก็ลองดูกันครับว่าชื่ออะไรที่ LVH
ส่วนเรื่องงาน Olympiade ก็จะเล่าให้ฟังว่ามันคืออะไร และ มีที่มาที่ไปกันอย่างไรในหนังสือนกเล่มใหม่ครับ….

Champion

Westhof นั้นเป็นแชมป์ระยะสั้นตัวจริงของเบลเยี่ยม  ปี2000 ก็ได้ที่ 2 และ 2002 ก็ได้ที่ 12 ของประเทศ  นกตัวไหนที่มีผลงานดีเขาก็แข่งระยะสั้น  ผลงานไม่ดี ลงกรงไม่ดีก็ไประยะกลาง  นกกรงนี้บางตัวบินเก่งมากระยะสั้น แต่พี่น้องกลับเก่งระยะกลางก็มี



 
 
 
 
 
 
Origin
80%ของนกกรงนี้เกิดจากนกตัวผู้ตัวหนึ่งปี1993 มันเป็นนกผ่าเหล่ากับนกของนักเลี้ยงนกที่ไม่มีชื่อเสียงกันทางสื่อนัก  นกตัวนี้มันไม่น่าจะมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวจนโชว์ฝีปีกทั้งตัวมันและลูกหลานมันได้เพราะตัวมันคนเห็นก็บอกไม่สวย  ตัวมันใหญ่เกินไป เล็กๆมันโฮมบินบ้านน่าจะครั้งเดียวเท่านั้น หายไปเกือบวันกว่าจะกลับบ้านได้  มันเองก็เกือบลงเข่งไปให้เขาทำซุปไปแล้วดีที่มันมีสายเลือดที่ผ่าเหล่าออกไปซึ่งเขาเองก็ไม่ค่อยมีในกรงก็อยากลองดู   ไอ้นกตัวนี้ละครับพออายุได้ขวบหนึ่ง Yearling มันแข่งได้ที่ 1 ครับ แม้จะลงกรงไม่ดีก็ตาม มันได้ที่ 1 หลายครั้ง  บางครั้งมาก็เกาะหลังคากว่า 10 นาที มีอยู่ครั้งหนึ่งเกาะไป 2 นาทีลงกรงก็ยังชนะที่ 2 อยู่อีก 2 นาที   และ ไอ้เจ้าแชมป์ปี 2006 ก็มาจากสายนกตัวนี้ละครับ ส่วนแม่ก็ไม่รู้สายพันธุ์เอามาจากเพื่อนของเขา

Futhurmore
นกยอดเยี่ยมระยะสั้นๆนั้นกินมากเท่าที่มันต้องการ และ กรงก็ทำความสะอาดตอนที่อากาศชื้นเท่านั้น  ก่อนแข่ง 2 สัปดาห์ตัดยาแคงเกอร์ 5 วัน และ เขาบอกว่าปีที่ดีที่สุดหลายๆปีของเขานั้นเขาไม่ได้ตัดยาระบบทางเดินหายใจเลย  เขาไม่สนใจแข่งลูกนกเลย Young bird racing นกยอดเยี่ยมอันดับที่ 2 ปี 2005 แข่งติด 2 ครั้งเองเมื่อตอนเป็นลูกนกจาก 20 ครั้งที่ส่งแข่ง  เขาคิดว่าที่เขาประสบความสำเร็จได้นั้นมาจาก "การฝึกซ้อมที่มากครั้ง" ในขณะที่คนอื่นๆคิดว่าการซ้อมนกสำหรับนกแก่นั้นเป็นเรื่อง "เสียเวลา" ยิ่งช่วงเดือนมีนาคมก่อนแข่งเขาซ้อมทุกวัน จาก 5 กม.ขยับไปเรื่อยๆถึง 35 กม. จากนั้นที่ช่วง 35 กม. ก็จะซ้อมแยกเป็นทีละ 4 ตัว ห่างกันทุกๆ 5 นาที
Finally
มันเป็นเรื่องของโชคครับเมื่อเข้าคู่แล้วเจอนกเก่งและโชคดี  ก็มีเรื่องของ Andre Roodhooft แชมป์ของเบลเยี่ยมอยู่ในเขต Antwerp เขาเคยใช้เวลาก่อนเข้าคู่นกเป็น 100 ชม.เพื่อวางแผน ดูเพดดีกรี เพื่อเข้าคู่  สุดท้ายก็มาประสบขั้นบรรลุถึงจุดสุดยอดของวิชาเข้าคู่แล้วว่าผลมันไม่ต่างอะไรกันเลยกับการที่เขาเปิดประตูแล้วให้นกมันเข้าคู่กันเองเพราะเขามั่นใจว่านกในกรงเขานั้นดีทุกตัวที่อยู่ในกรงนกพันธุ์  มันก็เกิดนกทั้งดีและไม่ดีเป็นเรื่องปรกติของการเข้าคู่นกของทุกกรงอยู่แล้ว  ก็เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งครับ  ก็เลยไม่เข้าใจว่าทำไปคนเราถึงได้บ้าเพดดีกรีกันนักหนา???  จบตอนที่ 36 ตอนต่อไปก็ 37 Direct and pure ครับ



ตอนที่ 37 Direct and pure

ก็อ่านกันให้จุใจไปเลยครับสำหรับวันนี้ที่เป็นคอนที่ 35-37  หนังสือเล่มนี้ก็ใกล้จะจบแล้วครับ ตอนที่ 42 จะเป็นตอนสุดท้ายก็จะเร่งเขียนให้ครับ จะได้มีเวลาเต็มๆกับหนังสือนกเล่มใหม่กันซะที

วันหนึ่ง เพื่อนของADคนหนึ่งได้โชว์ผลรายงานการแข่งขัน  พร้อมบอก”ยอดเยี่ยมใช่ไหม?” ก็ไม่ให้เสียบรรยากาศและทำร้ายน้ำใจเพื่อนฝูงก็ตอบว่า “ฮืม ดี”  เพื่อนของเขาก็ต่อความเติมว่า “นอกจากยอดเยี่ยมแล้วยังเป็นนกโดยตรงของแจนเซ่นแท้ๆเลยนะเว้ยสหายAD  direct Janssen!!!”  AD ก็สวนกลับว่า“เฮ้ย!!! Direct แจนเซ่นโดยตรงนะ มันหมายถึงพี่น้องแจนเซ่นเพาะขึ้นมาเองกับมือ”  เพื่อนก็จ๋อยไปนิดพร้อมบอกว่า “ เอาน่า!! ก็กูเอามาจากเพื่อนกู มันบอกว่า Direct Janssen ก็ Direct Janssen ก็โอเคน่า” 

Explanation

AD อดไม่ได้ก็เลยอธิบายให้เพื่อนคนนี้ฟังว่า “ ฟังก่อนนะเพื่อน  พวกเรารู้ดีว่านกแจนเซ่นนะแพงขนาดไหน และ ก็ไม่เคยเห็นใครที่ซื้อและปล่อยบินและแข่งนกที่ได้มาจากแจนเซ่นโดยตรง  เพราะมันเสี่ยงเหลือเกินถ้าบินบ้านหายหรือแข่งหาย  มีอยู่คนเดียวในชีวิตที่เคยเห็นก็คือ Klak   เพื่อนของนายนะอาจจะเข้าใจผิดระหว่างคำว่า “Pure” กับคำว่า “Direct”ก็ได้ “

“Direct” คืออะไรก็ได้บอกไปแล้ว ส่วนคำว่า “pure” นั้นหมายถึง บรรพบุรุษของมันนะมีเลือด มีสายพันธุ์ของนกแจนเซ่นเท่านั้น
เพื่อนของเขาก็บอกว่า “พ่อแม่ของมันอาจจะเป็นนกDirect Janssendก็ได้ หวังว่าจะเป็นอย่างนั้น  ADก็บอกว่าถ้าอยากรู้ก็โทรถามเพื่อนแกเลยว่าพ่อแม่มันห่วงเบอร์อะไร?  ผลที่ออกไม่ใช่เพราะหมายเลขที่ห่วงนั้นมาจากเขต
 
 
 
 
Brabant แต่ Janssen อยู่ในเขต Antwerp ซึ่ง หมายเลขคนละเบอร์กันเลยครับ  เพื่อนเขาก็ยังไม่ยอมจำนนก็เลยฝันว่า “ถ้าเกิดเพื่อนเขาเอาไข่มาจากแจนเซ่นละ”  “มันก็เป็นไปได้แต่ แจนเซ่นนั้นยากครับที่จะให้ไข่กับคนอื่น” Adนั้นรู้เรื่องนี้ดี


Difference per Province


มีเรื่องน่ารู้ดีๆเกี่ยวกัยเบลเยี่ยมมาเล่าสู่กันครับ
ในเบลเยี่ยมนั้นมี 9 Provinces จังหวัด และ นกพิราบของแต่ละจังหวัดนั้นก็จะใส่ห่วงที่มีหมายเลขขึ้นต้นต่างกัน
•   นกพิราบที่อยู่ในจังหวัด Antwerp นั้นขึ้นต้นด้วย หมายเลข 6
•   นกพิราบที่อยู่ในจังหวัด Limburg นั้นขึ้นต้นด้วย หมายเลข 5
•   นกพิราบที่อยู่ในจังหวัด West Flanders นั้นขึ้นต้นด้วย หมายเลข 3
•   นกพิราบที่อยู่ในจังหวัด Oost Flanders นั้นขึ้นต้นด้วย หมายเลข 4
•   นกพิราบที่อยู่ในจังหวัด Brabant นั้นขึ้นต้นด้วย หมายเลข 2
•   นกพิราบที่อยู่ในจังหวัด Luik นั้นขึ้นต้นด้วย หมายเลข 1
•   นกพิราบที่อยู่ในจังหวัด Namen นั้นขึ้นต้นด้วย หมายเลข 8
•   นกพิราบที่อยู่ในจังหวัด Luxemburg นั้นขึ้นต้นด้วย หมายเลข 7
•   นกพิราบที่อยู่ในจังหวัด Hengouwen นั้นขึ้นต้นด้วย หมายเลข 9



 
 
 
 
 
 
ดังนั้นการที่เรามองนกที่เป็นแชมเปี้ยนของเบลเยี่ยมนั้นต้องเข้าใจระบบ Provincial ทั้ง 9 ของเขาด้วย และที่สำคัญนกแชมป์ในแต่ละProvincial นั้นยากง่ายต่างกัน เช่น เขต Oost Flanders นั้นมีคนเลี้ยง 11,000 คน เขตใหญ่มาก ต่างกันกับ Luxemburg มีคนเลี้ยงเพียง 400 คน   มันต่างกันมากครับในการแข่งขัน  ดังนั้นคนที่หาซื้อนก หรือ ประเมิณคุณค่าของนกก็ขอให้ตระหนักถึงเรื่องพวกนี้ด้วยครับ  ก็อย่างที่เคยบอกว่า แชมป์นะมีหลายคน หลายเขต หลายลีก หลายดีวีชั่น มันมีความยากง่ายในการได้มา หรือ การแข่งนั้นต่างกันมาก

ก็จบตอนที่ 37 ต่อไปก็ตอนที่ 38 ก็เป็นเรื่อง How come?  ครับ  ก็มีเพื่อนๆ ถามไถ่ถึงภาพประกอบช่วงนี้ไม่เห็นมีเลย  เรื่องรูปภาพก็ขอเอาไว้ก่อนครับ เร่งเขียนให้จบและมีเวลาก็จะหาภาพที่เกี่ยวข้อง สวยๆมาลงให้ดูกันครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 38 ก็เป็นเรื่อง How come? 

ก็เป็นเรื่องที่ Ad วันหนึ่งขี่จักรยานเล่นไปตามชายทะเลของเบลเยี่ยม ก็สังเกตุเห็นกรงนกจำนวนมากแต่ดูเหมือนกับจะร้างซะแล้ว  จำได้ว่าเมื่อตอนเป็นเด็กนั้นคนเลี้ยงนกกันมาก  และมักที่จะสร้างอยู่ใต้หลังคา ซึ่งสมัยก่อนจะเป็นที่นิยมมาก บ้างก็สร้างอยู่บนโรงนา เหมือนตอนผมเป็นเด็กชอบเข้าไปแถวตรอกจันทร์ มองไปท้องฟ้าเห็นนกบิน มองไปเห็นกรงนกมากมายเดี๋ยวนี้น้อยมาก ส่วนใหญ่ก็เลิก หรือ ไม่ก็ย้ายไปแถวบางบอนกัน   หันมาเข้าเรื่อง ADเขาเห็นกรงนกก็เข้าไปถามคนแก่คนหนึ่งว่า “ตรงนี้มีคนเลี้ยงนกใช่ไหม?ผมเห็นกรงนกอยู่หลายกรง” ชายแก่ก็บอกว่า “ใช่แต่ไม่ค่อยมีคนเลี้ยงแล้ว เมื่อก่อนนั้นมีมากและแทบจะติดกันทุกบ้านก็ว่าได้ เดี๋ยวนี้เหลืออยู่ 3 กรงเอง” ว่าแล้วก็ชี้ไปทางปลายถนนซึ่งADก็ขี่ไปและเข้าไปถามว่า “คุณเลี้ยงนกใช่ไหมครับ” “ใช่พ่อหนุ่ม ผมเลี้ยงเมื่อก่อน 150 ตัว บนชั้นสองเดี๋ยวนี้แก่แล้วขึ้นไม่ไหว ก็เลี้ยงชั้นล่าง  มีอยู่ 4 ตัว “  “ 4ตัวจะแข่งและชนะอย่างไรครับ” “คุณไม่เข้าใจหรอกพ่อหนุ่ม ผมเลี้ยงไว้เพราะผมต้องการมัน ถ้าไม่มีมันผมตายแน่”   

Mia, Gust and John

ซึ่งทำให้ AD นึกถึง Mia หญิงชราคนหนึ่งซึ่งเลี้ยงนกอยู่ 3 ตัว เมื่อ AD เจอเธอเมื่อไรก็มักจะยอเธอว่า เธอดูดีอยู่เสมอ คำตอบที่เธอให้นั้นประทับใจมาก

“ตราบใดที่ฉันยังเลี้ยงนกพิราบอยู่ ฉันไม่มีเวลาที่จะตาย ไม่ต้องเป็นห่วงฉันหรอก” 

จาก Mia ก็ทำให้นึกถึง Gust ซึ่งเป็นแชมเปี้ยนแต่โชคไม่ดีที่ภรรยาเสียชีวิตไปตอนปี2006   ADเจอเขาตอนพิธีศพก็ถามว่าเขาเป็นอย่างไรบ้าง? Gustได้แต่สั่นหัว ซึ่งก็รู้กันถึงความหมายดี   ครึ่งปีต่อมา AD พบเขาอีกครั้งและแปลกใจที่Gustนั้นดูดีก็เลยถามว่า “Gustนายดูดีมาก เป็นไปได้ไงเนี่ย นายดูดีกว่าเมื่อก่อนอีกนะ!”  Gustก็ชี้ไปที่กรงนก



 
 
“มันเป็นเพราะนกพิราบ พวกมันช่วยผมให้ผ่านวันที่ยากลำบากที่ผ่านมาได้”  

เป็นไงครับถ้าใครคิดว่านกพิราบเป็นแค่อะไรที่ทำให้สนุกได้แค่นั้น ก็คิดผิดละครับ มันมีความหมายมากกว่านั้นมาก บางคนเลี้ยงเพราะหวังได้เงินไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม  บางคนเลี้ยงด้วยใจรักจริง มีชีวิตที่ผูกพันกันจริงๆ  ก็มีอีกเรื่องซึ่งเป็นของ John นักธุรกิจหนุ่ม มีธุรกิจใหญ่โต มีพนักงาน 20 คน  AD เคยถามว่า เขาดูแลตนเองอย่างไรไม่ให้เครียด ก็ได้คำตอบจาก John ว่า

“ เวลาที่ผมเครียดจนสมองแทบแตก ผมจะไปที่กรงนก และ นกก็จะเปลี่ยนชีวิตผม พอกลับบ้านขึ้นกรงนกก่อนที่จะพบเมียและลูกเสียอีก สบายใจขึ้น ปล่อยวางได้ และ ได้พักผ่อนใจและกายบ้าง ลืมเรื่องที่กังวล และรู้สึกดีขึ้น ก็ที่กรงนกนี่ละครับ” 

ก็ทำให้นึกถึงบทความหนึ่งที่เคยอ่าน เขาเขียนว่า

“การเลี้ยงสัตว์นั้น ทำให้เรามีสุขภาพที่ดี”

How Come

ถ้าการเลี้ยงนกเป็นเรื่องที่ดี ทำไมคนจำนวนมากถึงเลิกเลี้ยงละ? ก็มีเหตุผลหนึ่งที่เป็นเรื่องหลักก็คือ คนเลี้ยงต้องอยู่บ้านตรงเวลาทุกวัน ตลอดทั้งปีเพราะนกครับ    ถ้าเลี้ยงเพื่อส่งแข่งกรงประเภท One loft race ก็อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งการแข่งขันแบบนี้มีมานานมากๆแล้วที่อเมริกา และ ต่อมาก็มีประเทศอื่นตาม  ถ้ามีคนช่วยเลี้ยง มีPartner คู่หู หุ้นส่วนก็ดีไป ซึ่งไอเดียให้คนเป็นหุ้นส่วนกันนั้นก็โปรโมทกันมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปซึ่งทำให้จำนวนคนเลี้ยงนั้นไม่ลดน้อยลงเร็วจนเกินไป ช่วยกันก็เบาแรง และ เวลาที่ยุ่งหรือลำบาก อีกคนก็ช่วยดูแลได้



 
 
Finally

คนเลี้ยงที่เลิกไปก็มีส่วนมาจาก พวกของไร้สาระโฆษณาขายกันทั้ง สารพัดวิตามิน ของสารพัดให้นกกิน โฆษณากันมากจนเกินเหตุจากพวกบริษัท พวกหมอ ก็ทำให้พวกเขาไม่รู้ว่าจะเชื่ออะไร หรือ เชื่อใคร และ ของพวกนี้ก็มีราคาแพงเหลือเกินถ้าใช้เลี้ยงนกกันตลอด  คิดแล้วเปลืองเงิน นกสมัยนี้ก็ขายกันซะแพงเกินเหตุ เสียเวลาก็เลยไม่เอา หรือ เลิกเลี้ยงไปก็มี  ตอนต่อไปก็เป็นตอนที่ 39 Through Western Eyes ก็ดูกันว่าชาติตะวันตกนั้นเขามองกันอย่างไร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 39 Through Western Eyes

ADเป็นคนที่ไม่ชอบท่องเที่ยวมากนักโดยเฉพาะการนั่งเครื่องบินนั้นไม่ชอบเอาเสียเลย  ช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็มีบินมาทางประเทศตะวันออก 2 ครั้งตามคำขอปนเซ้าซี้ของเพื่อนที่ชื่อ Lin Yun Ta จากไต้หวัน  เขามาที่ไต้หวันและจีน และ ก็มาพบ ปะกับนักเลี้ยงนกที่นั่น และ ได้เที่ยวชมประเทศทั้ง 2 ด้วย  เขาก็จะพูดถึงสิ่งที่เขาได้พบให้เราได้อ่านกัน

Auction
เขาได้ร่วมงานประมูล 2 ครั้ง มันเป็นอะไรที่เขาอยากบอกว่ายากที่จะลืมได้เลย โดยเฉพาะการเตรียมงานอย่างดี ดีกว่าในเบลเยี่ยมและฮอลแลนด์ซะอีก

ที่ยุโรปมีคนเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก ถ้ามี 30 คนนั้นก็ถือว่ามากแล้วละครับ  แต่ที่เมืองจีนแค่ทีมอย่างเดียวใส่ยูนีฟอร์ม เสื้อแจ๊คเกตพิเศษก็ 30 คนเข้าไปแล้ว และ เป็นผู้หญิงอีกต่างหาก  คนเข้าร่วมประมูลก็ไม่น้อยกว่า 350 คน  บ้างก็มาพร้อมกับภรรยา  อาหารการกินนั้นบริการให้ฟรีครับ แถมมีตำรวจดูแลความสงบเรียบร้อยอีกต่างหาก  พวกคนที่มาประมูลมาหานกนอกโดยเฉพาะจากเบลเยี่ยมและฮอลแลนด์เพราะเขาคิดว่ามันดี   การประมูลนั้นส่วนใหญ่การประมูลรวมกันหลายๆกรงจากยุโรป อาจจะมีกว่า 10 กรงก็ได้ในการประมูลแต่ละครั้ง  การประมูลที่นี่น่าตื่นเต้นกว่าในยุโรปมาก ประมูลไล่กันเร็วมาก  คนเข้าประมูลจะได้รับการ์ดสีเหลือง พร้อมหมายเลขของแต่ละคน และ ถ้าต้องการประมูลก็ยกป้ายขึ้น ADเห็นบางทียกพร้อมกันทีเดียว4คนก็มี  



 
 
 
 
 
Reputation
เขาเห็นแล้วว่าทำไมคนยุโรปถึงให้ความสำคัญกับการส่งนกสวยๆมาประมูล คนที่นั่นก่อนประมูลก็จับดูกัน  คนที่นี่ก็เหมือนกับอเมริกา ชอบนกสวย ตาสีเข้มๆ และ หลายคนก็ส่องกล้องอย่างตั้งใจ  นั่นทำให้นึกถึงคนที่เบลเยี่ยมบอกไว้ว่า”คุณไม่จำเป็นต้องส่งนกดีมาที่ประเทศทางตะวันออกหรอก แต่ให้ส่งนกสวยๆงามๆ มาก็พอ” และ ที่เมืองจีนคนนั้นบ้านกแจนเซ่นมาก และ ที่น่าสังเกตอีกอย่างของที่ประเทศทางตะวันออกก็คือ เขาให้ความสำคัญกับเพดดีกรีมาก

Lofts
ที่ไต้หวันนั้นผู้คนไม่สามารถที่จะมีกรงนกอยู่ที่สนามหลังบ้านได้  เมื่อถึงเวลาซัก 3 โมงมันน่าทึ่งมากที่เห็นคนเลี้ยงนกโบกธงไล่นกบินกันบนตึกเพื่อไล่ลูกนกบิน  พวกเขาให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย บินทีเป็นชั่วโมง และ เมื่อถึงช่วงซ้อมนกละก็ ซ้อมกันแทบจะทุกวัน บางกรงวันละ 2 รอบก็มี   นกซ้อมนั้นตอนอายุเพียง 10 อาทิตย์เท่านั้น  กรงนกนั้นเปิดให้อากาศถ่ายเทได้ดี  กรงสะอาด ต่างจากที่ยุโรปเพราะความชื้นที่นี่สูงกว่ามาก

Chinese
คนจีนนั้นพูดอังกฤษได้น้อยคนนัก คนจีนนั้นมีอัธยาศัย น้ำใจที่ดี มีมิตรภาพสูง และ ทำงานกันหนักมากๆ   คนที่นี่บ้านกนอกและ ให้ราคาดีมากในการประมูลก็ทำให้คนที่ยุโรปเพิ่มความกระหายที่จะสูบเงินคนที่นี่มากขึ้น  ก็จบตอนที่ 39 ส่วนตอนที่ 40 The Truth may hurt บางครั้งความจริงถ้ารู้มันทำให้เจ็บปวดได้ ก็ติดตามกัน อีก 3 ตอนก็จบแล้วครับ 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 40 The Truth may hurt

คนเราบางครั้งการที่ไม่มีข่าวสารอะไรเข้ามาหาเลยก็ถือได้ว่าเป็นข่าวดีประจำวันแล้วก็ว่าดี ADเองก็คิดแบบนี้เพราะวันหนึ่งๆ มีเรื่องน่าเบื่อ โทรศัพท์ไร้สาระก็เยอะ

Real bad
คนเลี้ยงนกแข่งใครๆก็ชอบนกดีมีไว้ในกรง  ตอนเพาะนกก็มีความฝันสารพัด พอนกโตจะคัดทิ้งบางทีก็ลังเลใจ เพราะพี่มันเก่ง ก็เลี้ยงไว้ 1 ปี  พอปี 2 เสร็จยังเก็บไว้อีกเพราะพี่น้องมันตัวอื่นเก่ง  ปี3ก็ยังรอดเพราะมีเซียนมาทักว่ามันสวยนะ น่าจะเป็นนกที่ยอดเยี่ยมได้  พอปี 4 ก็ยังไม่ได้เรื่อง  เสียเวลาเลี้ยงมันมา 4 ปี  มันไม่แปลกหรอกครับกับกีฬานกแข่งที่พี่บินเก่งมาก น้องมันไม่ได้เรื่องเลย ทำพันธุ์ก็ไม่เอาไหน  ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดีใช่ไหม?

Surprises
ปี 1996 AD เพาะนกเก่งสองตัวคือ 144 และ 145 มันบินชนะที่ 1 และ 2 Provincial Ace ชนะนกร่วมแข่ง 11,000 ตัว พวกมันยอดมาก แต่พ่อของมันบินหายตอนแข่ง ในวันที่อากาศดี  ADก็คิดว่าไม่เป็นไร เขายังมีน้องชายมันอยู่ก็เอาไปเข้ากับแม่ของ 144 และ 145   ผลของมันต่างกันมาก ลูกของนกคู่ใหม่นี้ไม่เอาไหนเลย  นี่ละครับกีฬานกแข่ง
ADเองก็มีประสบการณ์ที่แปลกๆเล่าให้ฟังว่า  ครั้งหนึ่งมีลูกนกของคนอื่นมาลงกรง  ADก็รายงานนกตัวนี้  เจ้าของซึ่งอยู่ห่างจากเขาประมาณ 60 กม. ก็โทรมาบอกสั้นๆว่า “เขาไม่ต้องการนกตัวนี้  คุณเก็บมันไว้ได้เลย นกหลงไปลงกรงอื่นผมไม่ชอบ”  ADเองก็งงมีงี้ด้วย เขาเองก็ไม่ชอบเพราะนกที่บ้านมีมากแล้ว   อีก 2 วันต่อมาบังเอิญต้องเดินทางผ่านไปแถวบ้านของเจ้าของนกที่หายนี้  ADก็เอามันติดไปด้วย กะว่าปล่อยใกล้บ้านมัน มันคงกลับบ้านได้แน่  ครับบ้านได้ แต่ เป็นบ้านของADครับ   ADเองแปลกใจมากที่มันกลับมาบ้านเขาอีก  60กม.แม้แต่นกเก่าในกรงADยังไม่กล้าซ้อมเลย แต่นี่มันลูกนกคนอื่น อยู่ๆก็มาลงกรงแค่วันเดียว  เขาก็เลยให้โฮกาสมันอยู่ที่กรงเลี้ยงแข่ง เชื่อไหมครับมันบินชนะที่ 1 ถึง 4 ครั้ง



 
 
Later
แน่นอนADดีใจมาก เขาไปบ้านของเจ้าของที่เพาะนกพร้อมดอกไม้แสดงความขอบคุณ และ ก็หวังจะรู้จักเชื้อสายของนกตัวนี้ด้วย   คุณรู้ไหมเขาบอกว่าอะไร?  เขาจำมันไม่ได้  ADคิดว่าหมอนี่มันต้องมีนกดีแน่ เขาก็เลยขอซื้อลูกนก 10 ตัว จากนกที่เขาว่าดีที่สุดของกรง  เชื่อไหมครับไม่มีดีซักตัวเลย  นี่ละครับสีสันของกีฬานกแข่ง  ไม่มีใครรู้จริงหรอกครับ

Reality
•   นกที่สวยมากๆอาจจะให้ลูกไม่เอาไหนเลย ซึ่งสู้น้องของมันซึ่งสวยน้อยกว่าไม่ได้
•   นกเก่งบางตัวเป็นไปได้นะครับที่ให้ลูกไม่เก่ง  ซึ่งสู้พี่น้องมันซึ่งบินไม่เก่ง แต่ให้ลูกดีก็มีนะ
•   นกคู่เก่งเป็นไปได้ที่ให้ลูกเก่ง มาแล้ว 2 ตัว  ครอกต่อไปลูกมันอาจจะไม่ได้เรื่องเลยก็ได้

รูปที่ลงก็เป็นภาพเก๋ๆของ นายAD
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ 41 No Results

ถ้าผลของการแข่งขันนั้นไม่ดี ก็เครียดเหมือนกัน ยิ่งถ้าหลายๆปีติดกันไม่ดีขึ้นเลยยิ่งแย่ใหญ่ มันก็มีหลายสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุ

•   คนเลี้ยงอาจจะเลี้ยงไม่ดี ถ้าเป็นคนที่ตระหนัก ยอมรับ พร้อมเรียนรู้ ก็ควรที่อ่านและฟังให้มากจากผู้ที่เขาประสบความสำเร็จ
•   นกมากเกินไป
•   นกมีสุขภาพที่ไม่ดี
•   นกขาดคุณสมบัติที่ดี
•   กรงไม่ดี

ถ้าคนที่เคยเก่งมาก่อน ภายหลังก็ไม่ดี ถ้าอย่างนี้ "กรงนก" ไม่เกี่ยว น่าจะเป็นที่ "สุขภาพ" หรือ ไม่ก็ "คุณภาพนก" ด้อยลงไป  สิ่งที่ผิดพลาดมากที่สุดของคนเลี้ยงนกคือเมื่อนกแข่งดี ก็ "เลี้ยงนกจำนวนมากขึ้น"  นี่คือสิ่งที่ผิดเพราะ "นกมากเกินไป" ก็ทำให้สุขภาพนกในกรงโดยเฉลี่ยนั้นด้อยลง 

สิ่งที่สำคัญอย่างแรกสุดก็คือ “กรงนกที่ดี” ซึ่งทำให้นกนั้นมีสภาพร่างกายที่ดี นกที่หามานั้นควรมีสุขภาพที่ดีโดยธรรมชาติ เราต้องศึกษาจากกรงที่เรานำเข้ามาด้วย  การให้ยามากเกินไปก็คือหายนะ

ข้อแนะนำที่ดีที่สุดก็คือ
“กำจัดนกที่ไม่ดีซะ  ขายนกที่ดี และ เก็บเฉพาะยอดนกไว้ที่กรงเท่านั้น”
 
 
 
 
ตอนที่ 42 Water น้ำ

สวัสดีครับเพื่อนๆ ก็มาถึงตอนที่ 42 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายแล้ว เรื่องของน้ำนั้นสำหรับสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะคนหรือสัตว์ น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุด  นกนั้นสามารถอดอาหารได้นานแต่ถ้าขาดน้ำในร่างกายไป 20 % นั้นถึงตายได้
Sign
มีนักเลี้ยงนกไม่มากหรอกครับที่รู้ว่า “น้ำ” นั้นเป็นตัวชี้วัดบอกสภาพนกได้ดีที่สุด  นกดื่มยิ่งน้อยแสดงว่าสภาพร่างกายมันดีกว่านกที่ดื่มมาก ดังนั้นพวกแชมป์ที่ยุโรปที่เลี้ยงนกแก่เขาจะให้นกดื่มน้ำทีละตัว บนช่อง เพื่อที่จะได้รู้ว่านกตัวไหนดื่มน้ำมากน้อยแค่ไหน   นกที่มีอาหารเต็มกระเพาะ ไม่ย่อย ก็ไม่ควรส่งลงตะกร้า เพราะ มันมีอะไรผิดปรกติในร่างกายมันแล้วละ ลูกนกเล็กๆก็เช่นกัน ขี้เป็นน้ำก็มีปัญหา

Different
แน่นอนในวันที่อากาศร้อนนกดื่มน้ำมากกว่าปรกติเพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกายเพราะสูญเสียไปมาก ก็เหมือนคนละครับ เหงื่อออกมาก  อากาศหนาวเย็นนกดื่มน้ำน้อยมาก

Gone
ก็ทำให้นึกถึงครั้งหนึ่งมีคนถามถึงการรักษาโดยให้ยาตอนช่วงหน้าหนาว พวกเขาให้พวกยาต้านโรคแคงเกอร์ ซาโมเนลลา หรือ อะไรก็แล้วแต่ ก็ทำตามเอกสารกำกับการใช้ยาจากโรงงาน เช่น ยา 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร และ ให้ใช้ 7 วันติดกัน ปรากฏว่าโรคไม่หายครับ  ผู้ผลิตนะเขาคำนวณส่วนผสมกับน้ำปรกติ แต่พอหน้าหนาวนกดื่มน้ำน้อยกว่าเดิม 20%  ก็ทำให้ดื่มน้ำน้อยลง  ไม่เฉพาะเพียงหน้าหนาวเท่านั้น หน้าร้อนนกก็ดื่มน้ำมากกว่าปรกติ 3 เท่า ก็ทำให้กินยามากเกินไป3 เท่า  ดังนั้นการผสมในน้ำก็ต้องดูว่านกกินได้ปรกติหรือไม่ครับ  ดังนั้นเขาไม่นิยมให้ยาตอนช่วงหน้าหนาวในน้ำ และ การให้ยาไม่ครบโดสกินน้อยเกินไปก็ทำให้เกิดการดื้อยาได้  การให้ยามากเกินไปก็ทำให้สภาพร่างกายตก ฟอร์มตก  ดังนั้นคนเลี้ยงชอบที่จะผสมยาคลุกข้าวให้นกกิน



 
 
Taste
อีกอย่างที่ไม่ค่อยเป็นประโยชน์ในเรื่องของการผสมยา หรือ วิตามินในน้ำนั้น บางครั้งนกก็ไม่ชอบรสชาติของมัน ก็ไม่ดื่ม หรือ ดื่มน้อยมากๆ ก็ได้  ผสมไว้นานก็เสีย นกก็ไม่ดื่ม  ถ้าเป็นเช่นนี้นกก็อาจจะไม่ดื่มน้ำได้เต็มที่ หรือ หาดื่มข้างนกเวลาเดินเล่นรอบกรง ตามรางน้ำ หรือ ที่มีน้ำขัง หรือ  กลางทางตอนบินกลับก็ได้  ก็เสียเวลาไป การดื่มน้ำน้อยไปก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรค Adeno ได้เพราะ มันกระทบกับระบบการย่อยอาหาร และ เปิดประตูให้ไวรัสเข้ามาได้  ดังนั้นการลดโอกาสของ Adeno ได้นั้นก็มาจากการที่เราให้น้ำสะอาดอยู่เป็นประจำให้นกดื่ม

Canker
โรคนี้สาเหตุหลักก็มาจากน้ำละครับ  โดยเฉพาะน้ำที่อุ่นเพราะโปรโตซัวนั้นพัฒนาและแพร่ได้เร็วมากๆ  ดังนั้นถ้าให้ยาก็มักให้ในช่วงที่อากาศร้อน  ก็แนะนำว่าควรให้ยาหลังนกกลับจากแข่งในช่วงที่อากาศร้อน เพราะนกไม่รู้ไปดื่มน้ำอะไรมากลางทาง  โรคนี้ช่วงอากาศเย็นจะไม่ใช่ปัญหา   สิ่งที่สำคัญของการให้ยาของโรคนี้คือ ถ้าจะให้ก็ให้ทั้งกรง ทุกตัวพร้อมกัน

Expire
ขอย้ำอีกครั้งว่ายาและวิตามินนั้นจะเสียเร็วมาถ้าผสมในน้ำ และ อาจทำให้ท้องเสียได้ถ้าตั้งทิ้งไว้นานเกินไป  โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อน  ดังนั้นบ้านเราเป็นเมืองที่ร้อนมากๆ ต้องระวังเรื่องการให้ยาในน้ำด้วยครับ
ครับตอนที่ 42 ก็เป็นตอนสุดท้ายของหนังสือ The Best of Ad Schaerlaeckens Volume One ก็หวังว่าทุกท่านที่มีโอกาสได้อ่านก็น่าที่จะได้แง่คิดดีๆ ไม่มากก็น้อยครับ ....

สวัสดี
 
 
 
 
 
 
สวัสดีครับเพื่อนๆ

ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณเพื่อน ที่ได้ติดตามงานแปลของผมกับหนังสือ The Best of Ad Schaerlaeckens Volume One ซึ่งเป็นเล่มแรกที่แปลเป็นทางการก็ได้จบลง  จะว่าไปถ้าจะเรียกว่างานแปล มันก็อาจจะไม่ใช่ทีเดียวเป็นเพราะผมนั้นได้ใส่บทความ เรื่องราวต่างๆ ที่ผมคิดว่าน่าจะเกี่ยวกัน หรือ น่าจะขยายเพิ่มเติมในแบบสไตล์ของผม เข้าไปในนี้ด้วย  ผมมั่นใจว่าถ้าเพื่อนๆได้อ่าน ได้ติดตามกันมาตลอดก็จะได้แง่คิดดีๆ ข้อเตือนใจดีๆ หรือ การมองโลกของนกพิราบแข่ง "ออกจากความฝันในหลายๆเรื่องมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง" ได้มากขึ้นจากบทความของนาย AD  ก็ต้องขออภัยที่ใช้เวลาแปลค่อนข้างจะนานไปหน่อย  ตอนเริ่มแปลก็มีอะไรยุ่งๆ ก็ทำให้สมาธิมีน้อย ช่วงหลังนี้ดีหน่อยทำให้ไหลลื่นได้กับงานนี้   

สุดท้ายก็ขอขอบคุณ เพื่อนๆทุกท่านที่ได้ติดตามและเป็นกำลังใจกันมาตลอดครับ  ก็ขออนุญาตลงรูป Francis และ ผมเป็นที่ระลึกสำหรับการแปลเรื่องนี้ด้วยครับ

สวัสดี
วิรัช โสภิณพรรักษา
 
 
 
 









 




 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  •  
     
     
     
     
     
     
     


     
     



     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     



กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ
Copyright © 2024 www.francisloft.com All right reserved.