JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

ผมใช้หลักเกณฑ์อะไรในการเข้าคู่นก ไม่ว่าจะเข้าคู่เพื่อเก็บทำพันธุ์ หรือ เข้าคู่เพื่อใช้แข่งขัน และ แนวทางในการเลี้ยง (ตอนที่ 1)

2016-01-23 10:25:41 ใน สรรสาระ » 0 2104 ผมใช้หลักเกณฑ์อะไรในการเข้าคู่นก ไม่ว่าจะเข้าคู่เพื่อเก็บทำพันธุ์ หรือ เข้าคู่เพื่อใช้แข่งขัน และ แนวทางในการเลี้ยง (ตอนที่ 1)

หลายปีที่ผ่านมาคิดว่าจากผลการแข่งที่คิดว่าหรือเห็นได้ว่าดีมากพอควร โดยเฉพาะในระยะไกลซึ่งโดดเด่นในผลการแข่งขัน ซึ่งผมเองก็ประทับใจเช่นกัน  จึงทำให้มีนักเลี้ยงนกถามผมถึงคำถามที่ว่า 

“ผมใช้หลักเกณฑ์อะไรในการเข้าคู่นก ไม่ว่าจะเข้าคู่เพื่อเก็บทำพันธุ์ หรือ เข้าคู่เพื่อใช้แข่งขัน และ แนวทางในการเลี้ยง”

เป็นคำถามที่ผมได้ฟังแล้วก็ชอบนะครับ คำตอบที่ผมให้ตลอดเวลาก็ไม่ยากที่จะเข้าใจกันได้ แต่แน่นอนมันก็มันไม่ง่ายนะครับ
มันมี Process มีกระบวนการต่างๆ พอควร ไม่ใช่การตัดสินใจแบบจานด่วน แบบปุบปับ หรือ คิดแบบลวกๆ ซึ่งการเลี้ยงนกพิราบแข่งแน่นอนใครทำแบบนั้นส่วนมากก็ได้รับผลแบบลวกๆเช่นกัน 

ผมแข่งนกผมมีความสุขที่ได้เลี้ยง ได้เห็น และ สุขยิ่งกว่าถ้าเราได้รับชัยชนะในการแข่งขัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องถ้วย ต้องกินกุ๊ หรือ ห่วง แต่เป็นการเห็นนกเราชนะในอันดับที่ดีๆ ต่อเนื่อง และ มาเป็นทีมได้ ผมจะไม่เน้นนกตัวเดียว เป็นตัวชี้ความสำเร็จ ซึ่งสำหรับผมมันเป็นวัดสายพันธุ์ วัดการดูแล การบริหารจัดการ และ ที่สุดแล้วมันเป็นการวัดตัวเราเองครับ ว่าเรานะพร้อมระดับไหน ใจเราให้ไปขนาดไหน ผลที่ได้รับเป็นไงบ้าง  ผมเองเชื่อเถอะครับว่าลองผิด ลองถูก มามาก เกี่ยวกับนกพิราบแข่ง



ผมได้พูดถึง Process กระบวนการ หลายท่านคงอยากทราบว่ามันมีอะไรหรือ  บ้างก็คง “งง” ว่าผมกำลังพูดถึงธุรกิจหรือ? มันไม่ต่างกันหรอกครับ  ผมโชคดีที่อยู่ในบริษัทต่างชาติ ที่มีสาขาทั่วโลก ทำให้เราได้ถูกฝึกให้คิด ให้ทำ พบกับการเปลี่ยนแปลง Change Management มาตลอด  โลกมันไม่หยุดนิ่ง ทำงานตั้งแต่ยังไม่มี PC คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ จนเดี่ยวนี้เทคโนโลยีมันติดตัวเราตลอดเวลา  เราหนีมันไม่ได้หรอกครับ สนุกกับอะไรที่เปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีขึ้นเสมอ    ซึ่งการเลี้ยงนกเราเองก็ต้องเปิดใจครับ กล้าเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ไม่ยึดติดจนเกินไป สิ่งที่เราได้เรียนรู้มา มันอาจจะไม่ถูกไปหมด  สิ่งที่เราเห็นมาจากตอนเป็นเด็กเลี้ยงกับเพื่อนๆ กับพี่ๆนั้น มันเป็นอะไรที่แน่นอน ถูกบ้าง ผิดบ้าง แต่นั่นมีข้อดีที่เป็นจุดที่จุดประกายให้เรารักนกมาจนถึงทุกวันนี้ก็เป็นได้


 
กลับมาที่ Process ว่ากระบวนการต่างๆของผม มันมีอะไรบ้าง เอาแบบย่อๆ ง่ายต่อการเข้าใจ


Objective เรารู้หรือยังว่าตัวเราต้องการเลี้ยงนกเพื่ออะไร มีเป้าหมายอะไร ระดับไหนหรือ? ผมเชื่อว่าแต่ละคนมีระดับเป้าหมายต่างกัน แต่มีอะไรที่คล้ายกันคือ “ความหวัง” ที่จะได้ชัยชนะ



Design การวางรูปแบบ การสรรหานกพันธุ์ การออกแบบ การวางแผน วางStrategy ยุทธศาสตร์ การเอาองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องมากองรวมกัน คิดถึงเส้นทางที่เราจะเดิน   มี Expectation คาดหวังอะไรเป็น Target เป็นเป้าหมายเป็นหลักชัยในรูปแบบของเรา



Operating & Testing ดำเนินการตามที่เราวางแผนไว้  ผิดถูกไม่ว่ากัน อุปสรรคมีไว้แก้ไข มีไว้ฝ่าฟันมัน มีไว้ให้เราได้เรียนรู้กับมัน  ถือเสียว่า “ผิดเป็นครู”



Analyze สุดท้ายก็คงต้องวิเคราะห์ดูว่าผลที่ออกมาเป็นไง  ดีระดับไหน มีอะไรที่เราต้องแก้ไข ปรับปรุงไหม?  การวิเคราะห์ต้องอยู่บนพื้นฐานที่เป็นธรรมนะ อย่าเอาอารมณ์ หรือ ลืมคิดไปถึงความยุติธรรมนะ เช่น หมดสายมาดูว่าผลเป็นไงบ้าง  นกบางคู่ไม่ทำงานเลย ปรากฏว่า เพาะเพียงคู่เดียวได้ลูกนกตัวเดียวหรือสองตัว บินบ้านหาย ซ้อมนกหาย หรือ ชน ก็ไม่ได้วัดผลกันเลย ดังนั้นผมแนะนำหลายท่านไปว่าอย่าเพาะนกแค่คู่เดียวเลยมันเสี่ยงต่อการวัด การวิเคราะห์ได้ หายไป ชนซะก่อน ก็ไม่ได้แข่ง     วัดอะไรไม่ได้เลย เสียเวลาเปล่าๆ     

ผลที่ออกมามันต้องให้ชัดเจนว่าผลงานที่ดีต้องมาก่อน ไม่ใช่เงินทองที่ได้รับ จริงอยู่เงินเป็นสิ่งที่คาดหวังกัน แต่ ถ้าดวงไม่ดี โดนค้ำประจำ แต่ผลงานนกมาดี ทีมนกมาดี แล้วไงละ



ตอนที่ 1 ก็ขอจบเพียงตรงนี้ก่อน  ตอนที่ 2 ก็จะชัดขึ้น ว่าผมมีแนวทางอย่างไร  ถ้าไม่เข้าใจตอนที่ 1ซึ่งเป็น หลักการ ผมคิดว่า น่าจะลองดูนะ ควรเตรียมสำหรับตัวท่านเองก็ดีนะ
 
Copyright © 2024 www.francisloft.com All right reserved.