ลำพังแค่นกที่ดีสมัยนี้จะชนะอันดับดีๆก็ยากแล้ว... (ตอนที่2)



นกที่ไหนดีละ?
ผมเองนั้นโชคดีที่ได้ใช้ชีวิตทำงานอยู่ที่ประเทศเยอรมัน 3 ปี ก็ทำให้ตัวเองได้รู้จักนักเลี้ยงนกที่เยอรมัน เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ซึ่ง 3ประเทศนี้ถ้าจะเปรียบก็เหมือนเป็นเมกกะของวงการนกพิราบก็ว่าได้ ผมเองนั้นถ้าเอานกเก่งแบบเก่งจริงๆ ผมยึดแบบของ "ประเทศเยอรมัน" เป็นหลัก เพราะระบบการจัดให้รางวัลสำหรับนกเก่งนั้นสุดยอดและแกร่งที่สุด ที่ทั่วโลกและที่เราเรียกกันว่า ACE PIGEON ที่นั่นนกจะเก่งก็ต้องเก่งตลอดทั้งสายตั้งแต่ 100 กม. จนถึน จุดสุดท้ายก็ประมาณ 700 กม. (ก็กรุงเทพ - เชียงราย แม่สาย บ้านเราละครับ) จะมาที่ 1 สัก 2-3 ครั้ง แต่ติดแค่ 4-5 ครั้ง เขาก็ว่าไม่เก่ง ที่นั่นจะเก่งต้องตลอดสายก็ประมาณ12-14 จุดแข่ง ติดหมดทุกจุด หรือ ติดมากที่สุด ติดอันดับก็ต้องดีที่สุด (เขามีค่าเฉลี่ยเป็นคะแนน เป็น % นกที่ชนะที่ 1ในจุดแข่งวันนั้นก็ได้คะแนนเต็มร้อย100% ที่ 2ถึงสุดท้ายที่ทางสมาคมตั้งว่าก็ไปถึง0.xxx%)
.jpg)
รางวัลจัดกันอย่างไร?
หมดฤดูการแข่งขันทางคลับ ทางชมรมก็จะหานกเก่งประจำปีของชมรมตนเองและประกาศเกียรติคุณกัน ซึ่งในแต่ละจังหวัดนั้นก็อาจจะมีหลายคลับ หลสยชมรมก็เป็นได้ จากนั้นระดับจังหวัดก็หานกเก่งของจังหวัด และขยายผลออกหาแชมป์ของหลายๆจังหวัดเป็นมณฑล และเป็นตัวแทนส่งไปให้สมาพันธ์ของประเทศ เพื่อหานกเก่งของประเทศ ซึ่งต้นปีเดือนมกราคมก็จะนำนกเก่งทั้งหมดดังกล่าวออกมาหาแชมป์ของประเทศประจำปี และ ประกาศกันในงานนกพิราบแข่งประจำปีที่เรียกกันว่า DBA งานนี้ 3 วันครับก็จะนำนกเก่งทั้งหมดมาออกโชว์ให้คนทั่วไปได้ชมกัน เราก็จะเห็นนกเก่งระดับประเทศกันเต็มตาแบบใกล้ชิดมากๆ พร้อมชื่อเจ้าของและอันดับที่ชนะ
ที่เขียนมานั้นก็อยากจะสื่ออะไรหรือ?
ก็ทำให้ผมเองมานั่งคิดนอนคิด ว่าระบบของเยอรมันกับที่อื่นที่ต่างกันนั้นมันดีกว่ามากน้อยขนาดไหนและถามต้วผมเองว่าผมละชอบอะไร ก็อย่างที่บอกว่าเราโชคดีที่ได้อยู่ที่เยอรมัน 3 ปี ช่วงปี 1998-2000 ทำให้เราได้รู้จักคน ได้เข้าไปเห็นเขาเลี้ยง เขาสอน เขาตอบคำถามในสิ่งที่เราสงสัย ความที่เรารักนกเป็นทุนอยู่แล้วทำให้เราอยากรู้อยากเห็นพวกฝรั่งเขาเลี้ยง ก็เลยไปเยี่ยมพวกเขาบ่อยมากๆ ที่สนิทกันมากๆก็มีอยู่ 3 กรง ผมเองใหม่ๆก็โทรนัดว่าผมอยากจะเข้าไปวันนี้ได้ไหม? ก็โทรแบบนี้ไม่กี่ครั้งพวกเขาต่างก็ตอบเป็นเสียเดียวกันว่าต่อไปไม่ต้องโทรแล้ว ให้มาได้เลย เปิดประตูเข้ามาเลย บางบ้านก็กดกริ่งประตูได้เลย โดยเฉลี่ยผมก็จะไปเยี่ยมพวกเขา 1-2 กรงต่อ 1อาทิตย์ได้ คิดดูว่า 3 ปีมันมากขนาดไหน? เขาเห็นเราเป็นเหมือนเพื่อน เป็นเหมือนน้องเขาครับ ก็ไปดูนก ดื่มกาแฟ ชา คุ๊กกี้จนติด กินข้าวเย็นบ้านพวกเขาก็บ่อยครับ พวกเขาให้หนังสือผมมายืมอ่านเยอะมากๆ ให้วีดีโอมาดู ชวนไปงานนกประจำก็ที่ Essen, Dortmund, Kassel ก็ทำให้เราเห็นใหม่ๆก็ตาแตก ว่าโลกของวงการนกมันใหญ่กว่าที่เราคิดมากๆ
อาจารย์ผมนั้นแต่ละกรงอายุเกิน 60 ทั้งนั้นครับเลี้ยงนกมาทั้งชีวิต ดังนั้นเราเห็นเขาเลี้ยง เขาแนะนำ เขาสอนเราแบบง่ายมากๆ เพราะเขาประสบมาทั้งชีวิตแล้วสรุปเป็นเนื้อๆให้เห็นได้ภาพได้ชัด

เพราะระบบการแข่งของเขาเป็นแบบนี้ เขาจึงมุ่งมั่นพัฒนา "สายพันธุ์นก" ให้แกร่งเหมือนกับระบบการให้รางวัลที่เขาวางไว้ ดังนั้นในเมื่อการคัดกรองนกพันธุ์ที่มาเข้าคู่ ให้มีลูกแข่งนั้น เขาคัดจากนกเก่งมาตั้งแต่ ปู่ย่าตายาย ของตัวนก แน่นอนความแกร่งย่อมอยู่ในยีน ในสายเลือดของนก และ ถูกหล่อหลอมพัฒนามาตลอด ย่อมต้องเกิดผลแน่ เพราะระบบวัดความเก่งเป็นแบบนี้ คิดดูว่าทั้งประเทศเลี้ยงนกนะครับ ทุกจังหวัด อย่าถามว่าเขาทำได้ไงถึงเลี้ยงนกได้ทุกจังหวัดและมากมายขนาดนั้น ก็เป็นเพราะเป็นประเทศที่พัฒนามากๆแล้ว คนมีอาชีพ มีการมีงาน มีการศึกษา มีการเป็นอยู่ที่ดี มาตราฐานชีวิตที่ดี ก็กระจายกันไปได้ทั้งประเทศไม่ต้องแออัดที่เมืองใหญ่อย่างเดียวเหมือนบางประเทศ ที่นั่นปีหนึ่งขายห่วงขานกได้ประมาณปีละมากกว่า 2 ล้านห่วง ดังนั้นประชากรมากกว่าเราแบบไม่เห็นฝุ่น และ ถ้าจะเป็นแชมป์ระดับประเทศละยากมากๆขนาดไหนกันละ

ระบบแชมป์แบบเยอรมันเป็นต้นแบบที่สำคัญอันหนึ่งที่ผมวางเป็นหลักต้นๆในการที่ผมคัดนกเก็บทำพันธุ์ นกแข่งถ้าไม่เก่งมากๆ ก็ไม่ได้เข้ากรงนกพันธุ์ นอกจากจะเป็นพี่น้อง เป็นลูกตัวเก่งตัวแชมป์จริงๆแต่ผมชอบในรูปร่าง สายพันธุ์ และ มั่นใจในตัวมันมากๆ ถึงจะเก็บไม่อย่างนั้นนกเยอะแยะไปหมดครับ ผมเองได้นำนกระดับแชมป์เยอรมันมาทำพันธุ์หลายๆตัวซึ่งก็ไม่ผิดหวัง ผลการแข่งหลังปี 2000 เราเปลี่ยนไปมากๆ ถึงเรียกว่าแค่ฝันก็ไม่อยากคิดถึงเลยครับ มันไกลเกินเอื้อม จากตอนที่เราเป็นเด็กหรือหัดเลี้ยงใหม่ๆก็ว่าได้
ผมหยุดอยู่ที่นกเยอรมันก็พอหรือ?
เอาไว้มีเวลาว่ากันต่อนะครับ ช่วงนี้งานเยอะมากๆ ก็จะนำเรื่องราวมาแบ่งปันกันครับ