JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

สรรสาระ 5/12 : นกพิราบกับผลกระทบของความร้อนและความชื้นในอากาศ

2012-09-25 16:26:54 ใน สรรสาระ » 0 3375
นกพิราบกับผลกระทบของความร้อนและความชื้้นในอากาศ


ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณเพื่อนหลายท่านที่ได้พบปะพูดคุยกัน และ ได้มีโอกาสคุยต่อในเรื่องที่ผมได้เขียนไป บางท่านก็ถามเพิ่มเติม บางท่านก็คุยกันขยายความกันไป สำหรับวันนี้ก็มีเรื่องหนึ่งที่ผมอยากที่จะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้มานาน ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการแข่งขันนกในบ้านเราที่ต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อน และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงมากในบ้านเราซึ่งไม่ดีเอาเสียเลยกับนกพิราบแข่งเราที่ต้องเจอกับสภาวะอากาศแบบนี้
 

 
ผมเองก็ได้เคยเขียนเรื่องน้ำ เรื่องอีเลคโตรไลท์ ซึ่งถ้าท่านที่ได้ติดตามกันมาอย่างในหนังสือ Pigeon Encyclopedia เล่มที่ 1 ก็จะจำกันได้ ก็สานต่อความเข้าใจกันได้ดีขึ้น บ้านเราเป็นเมืองที่มีอากาศที่ค่อนข้างร้อนมาก การแข่งนกนั้นไม่ง่าย หรือ เรียกได้ว่ายากกว่าฝรั่งเยอะ ดังนั้นเราควรที่จะเรียนรู้เรื่องของผลกระทบของอากาศ และ ระบบกลไก การทำงานของร่างกายนก
สิ่งที่ควรกังวลและเรียนรู้กันก็เพราะ ?นกพิราบ? นั้นไม่เหมือน ?คน? ในตัวนกไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนคน การควบคุมระบบความร้อนและน้ำในร่างกายนั้นผ่าน ?ถุงลม? ดังนั้นนกทำให้ร่างกายเย็นลงได้ก็ใช้ผ่านระบบหายใจทำให้ความชื้นในร่างกายระเหยไปตอนช่วงตอนผ่านถุงลมนี่เอง ในเมื่อนกใช้น้ำ ใช้ของเหลวในร่างกายในการทำให้ร่างกายนกเย็นลง ดังนั้นการสูญเสียน้ำ ของเหลว ในร่างกายไปก็ทำให้เกิด ?การขาดน้ำในร่างกาย? ได้ ก็เป็นเรื่องที่เรามาคุยกันในวันนี้ไงครับ


ภาวะการขาดน้ำในร่างกาย

ก็อย่างที่ได้เกริ่นไว้ว่านกพิราบนั้นทำให้ร่างกายเย็นลงได้ก็ใช้น้ำ หรือ ที่พวกหมอเรียกันว่าของเหลวในร่างกายเป็นตัวควบคุม และ ที่สำคัญร่างกายนกนั้นเริ่มระบายความร้อนในตัวออกโดย การอ้าปากหายใจหอบและแรง และ นี่เองทำให้อากาศผ่านเข้าร่างกายผ่านทางถุงลมทำให้การระเหยของความชื้นในร่างกายนกนั้นเกิดขึ้นและอุณหภูมิในตัวนกเองก็เริ่มเย็นลง ก็ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำร่างกาย ในเมื่อมันต้องการน้ำ มันก็ต้องกินเพื่อทำให้ร่างกายนั้นเย็นลง ถ้าไม่มีน้ำมันก็ไม่สามารถทำให้ร่างกายมันเย็นลงได้ก็เป็นปัญหา และ ก็ทำให้เกิดการภาวการณ์ขาดน้ำในร่างกายได้ อุณหภูมิก็สูงขึ้น ที่เรามักเรียกกันว่าตัวร้อนเป็นไข้ ซึ่งเป็นภาวะขั้นที่สอง ซึ่งทำให้นกนั้นถึง ?ตาย? ได้


อาการของนกขาดน้ำ

เชื่อหรือไม่ว่าการขาดน้ำในร่างกายนกเพียง 5% นั้นก็มีผลกระทบกับนกแล้ว และ ภาวะนี้ก็อยู่ประมาณ 24 ชม.ในอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส ไอ้ช่วง5%นี้ นกก็เริ่มเงียบและขนเริ่มฟูตั้งขึ้น การที่ขนมันฟู บ้างก็มีการสลัดขนก็เพื่อเพิ่มการระบายอากาศในร่างกายมันนี่เอง และ ถ้าขาดน้ำเพิ่มขึ้นถึง 10% นกจะเริ่มเงียบมากขึ้น ขนก็จะฟูตั้งมากขึ้น และ จะมีปัญหามากขึ้นถ้าขาดน้ำถึงระดับ 15% การสูบฉีดไหลเวียนของเลือดไปอวัยวะหลักนั้นลดลงรวมถึงสมองด้วย ซึ่งในระดับนี้ก็ทำให้ความรู้สึก สติ การตอบสนองของนกนั้นลดลงไปมาก การขาดน้ำระดับ15%หรือมากกว่านั้นเป็นสาเหตุทำให้นก ?ตาย? ได้


สภาพแวดล้อมที่เราควรเฝ้าระวัง


 
คนเลี้ยงนกอย่างเราควรที่จะสังเกตและเฝ้าระวังสภาวะอากาศในวันแข่งให้ดี เพราะความเสี่ยงในเรื่องนี้มีสูงในวันแข่ง และเรื่องต่อไปนี้ที่เราควรรู้คือ

1)อุณหภูมิที่มากกว่า 25 องศาเซลเซียส นกเกิดภาวะการขาดน้ำในร่างกายได้เร็วถ้าไม่มีน้ำ

2)ความชื้นในอากาศต่ำนั้นเพิ่มอัตราการสูญเสียของเหลวในร่างกายเป็นเพราะความชื้นที่น้อยนั้นผ่านเข้าทางถุงลมก็ใช้น้ำมากขึ้น แต่ บ้านเรานั้นปรกติความชื้นในอากาศนั้นตรงกันข้าม

3)ความชื้นในอากาศสูงนั้นเป็นผลให้การระเหย การทำให้ร่างกายเย็นลงนั้นต่ำ ทำให้นกตัวร้อนขึ้น

4)การบินทวนลมนั้นทำให้นกบินยากมากขึ้น นกบินลำบากขึ้น และ มีผลทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดนั้นสูงขึ้น มีผลทำให้ระบบทางเดินหายใจของนกนั้นทำงานเพิ่มมากขึ้น ก็ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำ ของเหลว ในร่างกายมากขึ้น และ เป็นผลให้เกิดภาวะการขาดน้ำในร่างกายได้


การป้องกันการขาดน้ำ และ นกตัวร้อนเป็นไข้

ก็เป็นเรื่องปรกติที่เราให้น้ำนกตลอดเวลา ที่กรง ก่อนแข่ง และ ที่สำคัญที่รถแข่งก่อนปล่อยต้องมีน้ำให้นกกินเต็มที่ นกบินกลับมาที่กรงก็ให้น้ำ อย่ากักน้ำนานเกินไป การให้น้ำนกก็ทำให้นกนั้นปรับระดับความร้อนในร่างกายออก ให้ร่างกายนกนั้นเย็นลงและ เป็นการเติมน้ำกลับเข้าสู่ร่างกาย ชดเชยน้ำของเหลวในร่างกายของนกที่สูญเสียไป และ นกก็จะมีสุขภาพที่ดี อย่างที่เราต้องการ ก็เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ที่นำมาฝากกันครับ

 
กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ
Copyright © 2024 www.francisloft.com All right reserved.